ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
คุณเชื่อในศรัทธาของความดีไหมครับ ( เลือกตอบแค่ เชื่อ กับ ไม่เชื่อ ครับผม):
คิดว่าความดีทำยากไหม( เลือกตอบแค่ ยาก กับ ไม่ยาก ครับผม):
ถ้าเราโกรธใคร ธรรมะจะเป็นหนทางผ่อนคลายความโกรธนั้นลงได้ใช่ไหม ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม ):
ชีวิตบางครั้งก็เหมือนเหรียญสองด้านใช่หรือไม่ครับบางครั้งก็หัวบางครั้งก็ก้อย( เลือกตอบแค่ ใช่ กับไม่ใช่ครับผม):
คุณเชื่อว่าทุกศาสนาสอนให้ทุกคนเป็นคนดีใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆแนวธรรมะในจิตใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า แสงธรรมนำใจ:
เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใครทำบุญแล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วยกมือขึ้น (สาธุ) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ  สาธุ:
ท่านจะปฏิบัติตามกฏระเบียบข้อตกลงของเว็บใต้ร่มธรรมทุกประการหรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
โดยปกติชน นิ้วมือของคนเรา มีกี่นิ้ว (ตอบเป็นภาษาไทยครับ):
คุณพ่อคุณแม่เปรียบดั่งพระอรหันต์ในบ้าน พิมพ์คำว่า "คุณพ่อคุณแม่ฉันรักและเคารพท่านดุจพระอรหันต์":
เมื่อให้ท่านเลือก ระหว่าง (หนังสือเก่าๆเล่มหนึ่งที่เรารัก) กับ (มิตรแท้ที่รักเรา) คุณจะะเลือก:
บุคคลที่ไปหลายๆเว็บไซต์ โดยที่สวมบทบาทเป็นหลายๆคน โดยที่ไม่รู้ว่า แท้จริงใจเราต้องการอะไร เพื่อน หรือ ชัยชนะ:
กล่าวคำดังนี้  "ขอโทษนะ":
ระหว่าง (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะผู้อื่น) กับ (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะตัวเอง)  ท่านจะเลือกเป็น:
กล่าวคำดังนี้  "ให้อภัยนะ":
ในโลกออนไลน์หรือโลกแห่งจิต ไม่มีใครทำอะไรเราได้ นอกเสียไปจาก (คนพาล) หรือ (ใจของเราเอง):
เคยนวดฝ่าเท้าให้ คุณพ่อคุณแม่บ้างไหม ถ้ามีโอกาส เราควรทำหรือไม่ (ควรกระทำอย่างยิ่ง หรือ ไม่ควรทำ):
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ใต้ร่มธรรมเองก็จะเป็นไปตามวัฐจักรนี้ ฉันท์ใดก็ฉันท์นั้น (เป็นจริง) หรือ (ไม่จริง):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: นิกายเซน
« เมื่อ: กุมภาพันธ์ 25, 2013, 07:11:27 pm »

บทความจากหนังสือใจต่อใจในการฝึกตน (The core of Zen)
เขียนโดย..พระอาจารย์ราเชนทร์ อานนฺโท

อรหันตมรรค   อรหันตผล

               โดยเนื้อหาแห่งธรรมชาติดั้งเดิมแท้ตามแนวคำสอนแห่งเซนซึ่งเป็นเรื่องความไร้ตัวตนนี้     ตัวธรรมชาติดั้งเดิมแท้เองนั้นมันเป็นสัจธรรมซึ่งมีเนื้อหาที่สมบูรณ์แบบโดยตัวมันเองอยู่แล้ว     และมันเป็นเนื้อหาที่ที่ไม่ต้องการสิ่งใดๆมาเพิ่มเติมหรือมายุ่งเกี่ยวกับมันอีกในทุกๆด้าน         เพราะแท้จริงมันย่อมไม่มีสิ่งใดสิ่งหนึ่งในทุกๆลักษณะในทุกๆทางที่จะเกิดขึ้นในเนื้อหาธรรมชาติดั้งเดิมแท้ได้เลย ไม่มีสิ่งใดเกิดขึ้นและดับไป       เพราะฉะนั้นธรรมชาติดั้งเดิมแท้มันจึงเป็นเรื่องสมบูรณ์แบบอยู่แล้ว มันไม่ต้องการอะไรกับอะไร      ไม่ต้องการให้ใครมาบรรลุธรรมอะไรเพื่อให้เกิดอะไร       มันไม่ใช่เป็นเรื่องใครต้องมาบรรลุอะไรแล้วธรรมชาติดั้งเดิมแท้มันถึงจะเกิดขึ้น
          แต่ในพระไตรปิฏกในส่วนของสังขตธาตุนั้น    พระพุทธองค์ทรงตรัสถึงเรื่อง ธรรมอันเกิดขึ้นว่าด้วยสมุทเฉทปหาน   ซึ่งเป็นการตัดได้โดยเด็ดขาดจากอาสวะกิเลสทั้งปวง         เป็นการตัดได้โดยเด็ดขาดจากพฤติกรรมการปรุงแต่งทางจิตทั้งปวงไปสู่ความดับสนิทไม่มีเหลือ   เป็นความดับสนิทจากเหตุแห่งการชักจูงเข้าไปปรุงแต่งทุกๆกรณี       ธรรมแห่งสมุทเฉทปหานที่พระพุทธองค์ตรัสถึงนี้เป็นธรรมอันว่าด้วย     การมีเหตุปัจจัยให้ได้พิจารณาและตกผลึกซึ่งมัน “เป็นอุบายอันแยบยล”   ที่จะทำให้เราไม่เข้าไปปรุงแต่งได้อีกอย่างเด็ดขาด ซึ่งเราเรียกว่า  ธรรมอันเกิดขึ้นว่าด้วย  อรหันตมรรค   และ อรหันตผล
          ธรรมอันเกิดขึ้น ซึ่งคือเนื้อหาแห่งอรหันตมรรคนั้น   เป็นการหยิบยกธรรมขึ้นมาพิจารณาถึงเรื่องคุณลักษณะแห่งธรรมทั้งปวงว่า อะไรคือธรรมทั้งหมดซึ่งมีลักษณะแห่งการปรุงแต่งหรือสังขตธาตุ และ      อะไรคือธรรมอันมีลักษณะธรรมชาติแห่งการปรุงแต่งไม่ได้หรืออสังขตธาตุ   เมื่อเราสามารถแยกแยะออกมาได้ทั้งหมดแล้วว่าธรรมเหล่าใดมีคุณลักษณะแห่งสังขตธาตุคือธรรมธาตุแห่งการปรุงแต่ง      พระพุทธองค์ได้ทรงชี้แนะให้ “สลัดออก”    ในธรรมอันคือสังขตธาตุ ซึ่งคือธรรมธาตุแห่งการปรุงแต่งนี้ทิ้งเสีย   และให้ดำเนินไปสู่เนื้อหาธรรมอันคือธรรมชาติอันปรุงแต่งไม่ได้หรืออสังขตธาตุนั่นเอง
          ในส่วนเนื้อหาธรรมอันคือ “สังขตธาตุ”  ทั้งหมดนั้น     ก็คือเนื้อหาธรรมอันว่าด้วยการเกิดขึ้นแห่งทุกข์      ว่าด้วยการดับไปเป็นธรรมดาแห่งทุกข์    ซึ่งประกอบไปด้วย ธรรมอันคือ   ทุกข์   สมุทัย นิโรธ มรรค สุจริต 3 สติปัฏฐาน 4 โพชฌงค์ธรรม     และธรรมทุกๆหมวดที่พระพุทธองค์ได้ทรงกล่าวถึงซึ่งมีเนื้อหาอันเกี่ยวกับสภาพธรรมที่มีลักษณะปรุงแต่งเกิดขึ้นและดับไป
          และก็เป็นเรื่องแปลกประหลาดใจ     แต่มันคือความเป็นจริงกล่าวคือ  ธรรมอันคืออรหันตมรรคนั้น    เป็นการที่ต้องหยิบยกเรื่อง “มรรคมีองค์ 8” ซึ่งเป็นหนทางหลุดพ้นนั้นขึ้นมาพิจารณาถึงความที่มันเป็นธาตุแห่งการปรุงแต่งหรือสังขตธาตุด้วย       ก็เพราะว่ามรรคมีองค์ 8   มันคืออินทรีย์แห่งธรรมที่เกิดจากการตระหนักชัดและการที่ได้ซึมทราบกลายเป็นเนื้อหาเดียวกันกับการเกิดขึ้นและดับไปเป็นธรรมดาตามสภาพธรรมชาติ     มันจึงเป็นธรรมที่เกี่ยวข้องกับสภาพธรรมที่เกิดขึ้นและดับไป    และมรรคมีองค์ 8 เองก็โดยคุณลักษณะของมัน           “มันก็คือํธรรมชนิดหนึ่งที่มีสภาพเกิดขึ้นและดับไป”   เช่นกัน     มันจึงเป็นเรื่องประหลาดใจสำหรับนักปฏิบัติธรรมที่พึ่งจะเข้าใจว่า    แท้จริงแล้วอรหันตมรรค คือ    ความที่ไม่ต้องมีธรรมอันว่าด้วยมรรคเกิดขึ้น  คือความที่ต้องสลัดมรรคมีองค์ 8   ออกไปตามพุทธประสงค์ที่ให้สลัดออกซึ่งสังขตธาตุ        เพราะถ้าเราคิดว่ามันจะต้องเดินไปบนเส้นทางมรรคมีองค์ 8  อยู่   มันก็ยังเป็นสังขตธาตุคือธรรมธาตุอันปรุงแต่งอยู่นั่นเอง   ซึ่งมันเป็นเรื่องแห่งการปรุงแต่งที่เกิดขึ้นดับไปเกี่ยวกับมรรค      มันทำให้บดบังและไม่ให้เกิดความเข้าใจใน “ธรรมชาติดั้งเดิมแท้”  ที่แท้จริง
          และก็ยิ่งเป็นที่ประหลาดใจไปมากกว่านั้นก็คือ  การหยิบยกธรรมอันว่าด้วย อรหันตมรรค อรหันตผล  ขึ้นมาพิจารณาเพื่อให้เกิดความเข้าใจในเนื้อหาธรรมนั้นว่าอะไรเป็นอะไร                ด้วยการพิจารณาเช่นนี้มันก็เป็นการเกิดขึ้นและดับไปแห่งธรรมอันว่าด้วย        อรหันตมรรค อรหันตผล  นี้ด้วย   ซึ่งเป็นคุณลักษณะแห่งสังขตธาตุที่เป็นการปรุงแต่งมีสภาพเกิดขึ้นและดับไปเป็นธรรมดาด้วยเช่นกัน    เป็นสังขตธาตุแห่ง อรหันตมรรค อรหันตผล     ที่ต้องสลัดออกสลัดทิ้งไปเพื่อไปสู่ความตระหนักชัดในเนื้อหา “ธรรมชาติดั้งเดิมแท้”     อย่างแท้จริงเช่นกัน
          ในส่วนเนื้อหาธรรมอันคือ “อสังขตธาตุ”นั้น      ก็คือเนื้อหาธรรมอันว่าด้วยธรรมชาติที่ปรุงแต่งไม่ได้แล้ว เนื้อหามันคือความว่างเปล่าอยู่อย่างนั้น มันปราศจากการพิจารณาธรรมทั้งปวง      มันเป็นเนื้อหาธรรมชาติที่ “ไม่ยุ่งเกี่ยว” กับ “กระบวนการพิจารณาแยกแยะธรรมแบบเด็ดขาดว่า  อะไรคือการปรุงแต่ง   อะไรคือธรรมชาติแห่งการไม่ปรุงแต่ง”       มันเป็นเนื้อหาธรรมชาติที่  “ไม่ยุ่งเกี่ยว”    กับ “กระบวนการการสลัดออกแห่งสังขตธาตุได้อย่างสิ้นเชิง”    มันเป็นธรรมชาติที่มันเป็นอิสระโดยตัวมันเองในความว่างเปล่าอยู่อย่างนั้น

มันแสดงเนื้อหามันอยู่อย่างนั้นโดยไม่ต้องผ่านกระบวนการใดๆทั้งสิ้น
          เมื่อสามารถตระหนักชัดว่า อะไรคือธรรมชาติดั้งเดิมแท้ที่มันปรุงแต่งไม่ได้แล้ว ซึ่งมันคือความว่างเปล่าอันไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตนโดยสภาพมันเองตามธรรมชาติอยู่อย่างนั้นตามธรรมอันว่าด้วย    “อรหันตมรรค” นั้นแล้ว       และการที่ได้ซึมทราบเป็นเนื้อหาเดียวกันแบบกลมกลืนกับธรรมชาติดั้งเดิมแท้นั้นได้ มันก็คือ “อรหันตผล” นั่นเอง  อรหันตผล เป็นเนื้อหาธรรมชาติดั้งเดิมแท้ที่มันเผยตัวมันเองออกมา       แสดงเนื้อหามันออกมาซึ่งมันคือความว่างเปล่าอันไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตนอยู่อย่างนั้น   ไม่มีธรรมสิ่งใดเลยในคุณลักษณะแห่งการปรุงแต่งคือสังขตธาตุเกิดขึ้นและดับไปในเนื้อหาธรรมชาติดั้งเดิมแท้นี้ได้  ไม่มีแม้กระทั้งการปรุงแต่งด้วยว่า   “นี่คือธรรมอันว่าด้วย อรหันตผล”             
         สรุปโดยหลักแล้ว   ธรรมชาติดั้งเดิมแท้มันมิได้เกิดขึ้นจากสิ่งใดหรือใครต้องมากระทำให้เกิดขึ้น มันแสดงเนื้อหาอันคือ ความว่างเปล่าของมันอยู่อย่างนั้น      และในเนื้อหาธรรมชาติดั้งเดิมแท้มันก็ไม่ได้มีกระบวนการ “การทำความเข้าใจและพิจารณาธรรม”   อันว่าด้วยธรรมอันคือ อรหันตมรรค อรหันตผล แต่อย่างใด     เพราะโดยสภาพแห่งธรรมอันว่าด้วย อรหันตมรรค อรหันตผล นี้    มันคือธรรมอันมีสภาพปรุงแต่งซึ่งมันมิใช่เนื้อหาของธรรมชาติดั้งเดิมแท้อยู่แล้ว  มันจึงต้องสลัดออกซึ่งธรรมอันคือ อรหันตมรรค อรหันตผล  ซึ่งเป็นสังขตธาตุ ธรรมชาติดั้งเดิมแท้มันถึงจะเผยตัวมันเองออกมา  ซึ่งมันเป็นเนื้อหาตามธรรมชาติอยู่แล้ว
         การพิจารณาธรรมอันเป็นเหตุให้เราตระหนักชัดถึง"ธรรมชาติดั้งเดิมแท้"    มันเป็นเรื่องต่างหากจากเนื้อหาธรรมชาติดั้งเดิมแท้ที่มันเผยตัวมันเองออกมา          การพิจารณาธรรมอันเป็นเหตุให้เราตระหนักชัดถึง"ธรรมชาติดั้งเดิมแท้ " มันคือเนื้อหาแห่งการปรุงแต่งด้วยชนิดหนึ่งที่ต้องสลัดออกไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยว  เมื่อพิจารณาจนเกิดความเข้าใจแล้ว      ก็ต้องสลัดการพิจารณาออกอันคือธาตุแห่งการปรุงแต่งด้วย           แล้วเราจะได้ซึมทราบเป็นเนื้อหาเดียวกันแบบกลมกลืนกับ  "ธรรมชาติดั้งเดิมแท้"     ที่มันว่างอยู่อย่างนั้นมานานแสนนานอันหาจุดเริ่มต้นไม่ได้



               




ข้อความโดย: นิกายเซน
« เมื่อ: กุมภาพันธ์ 25, 2013, 07:09:14 pm »

บทความจากหนังสือใจต่อใจในการฝึกตน (The core of Zen)
เขียนโดย..พระอาจารย์ราเชนทร์ อานนฺโท

นิพพานในฝั่งเถรวาท

 วิชชา    แปลว่า   ความรู้แจ้งทั้งปวงในธรรมชาติแห่งความว่างเปล่าของมันอยู่อย่างนั้น  โดยไม่มีเนื้อหาแห่งธรรมอันเกิดขึ้นดับไป 
      วิมุตติ   แปลว่า   ความหลุดพ้น    เป็นความหลุดพ้นจากสภาพปรุงแต่งแห่งการเกิดขึ้นดับไป         เป็นความหลุดพ้นที่เป็นเนื้อหาเดียวกับธรรมชาติดั้งเดิมแท้อยู่อย่างนั้น
      วิชชาและวิมุตติจึงเป็นความหมายของคำว่า “นิพพาน” นั่นเอง
      แต่วิชชาและวิมุตติจะบริบูรณ์เกิดขึ้นได้เพราะเกิดจากโพชฌงค์ธรรมบริบูรณ์
      และโพชฌงค์ธรรมจะบริบูรณ์ได้ เพราะเกิดจากการเจริญสติปัฏฐาน4 นั่นเอง (เป็นข้อความที่พระพุทธองค์ตรัสไว้ในกุณฑลิยสูตร)
      สรุปได้ว่า   เมื่อบุคคลได้เจริญซึ่งสติปัฏฐาน 4  เมื่อสติปัฏฐานบริบูรณ์  ย่อมยังให้โพชฌงค์บริบูรณ์และวิชชาวิมุติย่อมบริบูรณ์ตามไปด้วย   ซึ่งเท่ากับว่าเมื่อสติปัฏฐานบริบูรณ์ย่อมยังวิชชาและวิมุตติให้บริบูรณ์   ย่อมทำพระนิพพานให้แจ้งได้
      โดยลักษณะธรรมธาตุแห่งธรรมมีอยู่เพียง 2 ลักษณะเท่านั้น คือ
1. สังขตธาตุ คือ ธรรมธาตุ อันมีลักษณะปรุงแต่ง
2. อสังขตธาตุ คือ ธรรมธาตุ อันมีลักษณะไม่ปรุงแต่ง
   สังขตธาตุ นั้น   คือธรรมอันมีลักษณะปรุงแต่ง     ซึ่งเกิดจากอวิชชาความไม่รู้      โดยไม่รู้ว่า  ทุกสรรพสิ่งย่อมไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตน(อนัตตา) อยู่แล้วโดยธรรมชาติของมัน   เมื่อไม่รู้ก็เลยเข้าไปยึดมั่นถือมั่นก่อให้เกิดเป็นตัณหาอุปทานจนกลายเป็นตัวตน    มีเรา  มีเขา ขึ้นมา (อัตตา)   ซึ่งสังขตธาตุนี้เป็นธรรมซึ่งผิดไปจากความเป็นจริง  เนื้อหาแห่งสังขตธาตุไม่ตรงต่อสัจธรรม   ไม่ตรงต่อ   “ธรรมชาติดั้งเดมแท้”
          อสังขตธาตุ นั้น คือธรรมอันมีลักษณะไม่ปรุงแต่ง     ซึ่งเกิดจากความรู้เห็นตามความเป็นจริงที่ว่า       ทุกสรรพสิ่งย่อมไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตน (อนัตตา) อยู่แล้วโดยธรรมชาติของมัน  อสังขตธาตุนี้เป็นธรรมซึ่งตรงต่อความเป็นจริง    เนื้อหาแห่งอสังขตธาตุนี้เป็นเนื้อหาซึ่งตรงต่อสัจธรรมตรงต่อธรรมชาติโดยสภาพมันเองอยู่แล้ว
          การเข้าไปเจริญซึ่งสติปัฏฐาน 4 เป็นการรู้เท่าทันว่า เมื่อเกิดการปรุงแต่ง(สังขตธาตุ) ตามลักษณะของหมวดธรรมทั้ง 4    ในสติปัฏฐานแล้ว    การปรุงแต่งนั้นก็ย่อมไม่เที่ยงดับไปเองโดยสภาพมันเองโดยธรรมชาติของมันอยู่แล้ว
           เพราะฉะนั้นการเข้าไปเจริญซึ่งสติปัฏฐาน 4      จึงเป็นการตกผลึกและตระหนักชัดในธรรม  คือ   กาย  เวทนา  จิต  ธรรม  อันเกิดขึ้นตั้งอยู่แปรปรวนและดับไปเป็นธรรมดาตามสภาพธรรมชาติ           สติปัฎฐานจะบริบูรณ์ได้ย่อมเกิดจาก “การตัดได้โดยเด็ดขาด”  จากอาการปรุงแต่งทั้งปวง(สมุทเฉจ)    จนกลายเป็นสภาพแห่งธรรมอันไม่ปรุงแต่งล้วนๆ จนกลายเป็นสภาพ    “ธรรมชาติล้วนๆอันปรุงแต่งไม่ได้แล้ว”  สมุทเฉจหรือการตัดได้โดยเด็ดขาดจากการปรุงแต่งทั้งปวงนั้นเป็นอุบายอันแยบยลอันเกิดจากการพิจารณาว่า  โดยแท้จริงแล้ว สติปัฏฐานธรรมนั้นโดยสภาพมันเองก็เป็นสังขตธาตุอันคือธาตุแห่งการปรุงแต่งที่ต้องสลัดออก  เป็น “การสลัดออก”     ด้วยความเข้าใจว่าความเป็นจริงแห่งธรรมชาติอันคือลักษณะแห่งอสังขตธาตุ  มันไม่มีสิ่งใดสิ่งหนึ่งเกิดขึ้นเลยไม่มีสิ่งใดสิ่งหนึ่งตั้งอยู่  และไม่มีสิ่งใดสิ่งหนึ่งแปรปรวนดับไป    แท้จริงแล้วมันคือธรรมชาติอันปรุงแต่งไม่ได้ มันคือธรรมชาติแห่งความว่างเปล่าอยู่อย่างนั้น           มันคือธรรมชาติแห่งความเป็นเช่นนั้นเองอยู่อย่างนั้น  เมื่อเข้าใจว่าแท้จริง “สติปัฏฐานธรรม” ก็ไม่มี        มันคือความว่างเปล่าของมันอยู่อย่างนั้นซึ่งเป็นเนื้อหา “ธรรมชาติดั้งเดิมแท้”     มันจึงเป็นการตัดได้โดยเด็ดขาด     โดยที่สัมมาสติมันบริบูรณ์ มันทำหน้าที่เป็นปกติไม่ขาดตกบกพร่องในความว่างเปล่าอันไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตนอยู่อย่างนั้น
          เมื่อเข้าใจว่า ตัวสติปัฏฐานธรรม  มันคือสังขตธาตุหรือธรรมธาตุแห่งการปรุงแต่ง   ซึ่งเป็นการเกิดขึ้นแห่งธรรมอันคือสติปัฏฐาน  เป็นการตั้งอยู่แห่งธรรมอันคือสติปัฏฐาน    และธรรมชาตินั้นมีความแปรปรวนตั้งอยู่ได้ไม่นานเป็นการดับไปแห่งธรรมอันคือสติปัฏฐาน มันจึงต้อง “สลัดออก”      และส่งผลทำให้สติปัฏฐานบริบูรณ์ตามที่พระพุทธองค์ตรัสไว้ในกุณฑลิยสูตรนั้น แท้จริงแล้วมันไม่ใช่ที่ตัวสติปัฏฐานบริบูรณ์    เพราะตัวสติปัฏฐานแท้จริงไม่มี   แต่มันเป็นความบริบูรณ์ในอสังขตธรรมคือธรรมธาตุแห่ง      “ธรรมชาติอันว่างเปล่าไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตนอยู่อย่างนั้น”  เพราะฉะนั้น การที่พระพุทธองค์ตรัสว่า เมื่อสติปัฏฐานบริบูรณ์  ย่อมทำให้โพชฌงค์บริบูรณ์    และวิชชาวิมุติย่อมบริบูรณ์ตามไปด้วยนั้น     เป็นการตรัสด้วยเหตุและผลแห่งการทำหน้าที่ของอินทรีย์แห่งธรรมเท่านั้น











ข้อความโดย: นิกายเซน
« เมื่อ: กุมภาพันธ์ 25, 2013, 07:06:17 pm »

บทความจากหนังสือใจต่อใจในการฝึกตน (The core of Zen)
เขียนโดย..พระอาจารย์ราเชนทร์ อานนฺโท


ความไม่มุ่งเน้น

          ความที่มันคงคุณลักษณะของมันอยู่อย่างนั้นโดยปราศจากการตั้งต้นและไม่มีวันดับไปจบสิ้น มันแสดงเนื้อหาอันเป็นคุณสมบัติของมันอยู่อย่างนั้นโดยสภาพมันเอง    มันเป็นเช่นนั้นของมันเองอยู่อย่างนั้น  โดยไม่มีใครหรือสิ่งใดแม้กระทั้ง“ธรรมอันละเอียดประณีตแห่งสัมมาทิฐิ”    จะมาเป็นเหตุปัจจัยทำให้มันเกิดขึ้นได้เลย    ไม่มีภาวะแห่งการเกิดขึ้นดับไป        ตรงนี้เรียกว่า       ธรรมชาติอันคือ  ธรรมชาติดั้งเดิมแท้
          ธรรมชาติ   มันทำหน้าที่มันเองตามปรกติ   แต่ด้วยความไม่เข้าใจของเราก็เลยเอาความเป็น “เรา” เข้าไป “มุ่งเน้น”          เพื่อเสริมสร้างก่อรูปในสภาวะธรรมต่างๆขึ้นมา   โดยมีความเข้าใจอย่างผิดๆว่า   ธรรมต่างๆเหล่านี้จะช่วยให้ลักษณะธรรมชาติดั้งเดิมแท้มันเกิดขึ้นและจะเข้าไปช่วยให้ธรรมชาติมันทำหน้าที่ในเนื้อหาความไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตนตลอดไปอย่างมั่นคงถาวร         เช่น    การเข้าไป “มุ่งเน้น” อินทรีย์แห่งสติ  หรือ   “ ตัวรู้ ”       โดยเข้าใจว่าตัวรู้นี้คือ สัมมาสติ และสัมมาสติแห่งตัวรู้นี้เองที่เข้าใจว่า   มันจะช่วยให้ความความว่างเปล่าไร้ตัวตนนี้ทำหน้าที่ของมันได้ตลอดแบบประติดประต่อกันไปจนไม่ขาดสาย   แต่โดยความเป็นจริง    “ความมุ่งเน้น” มันคือพฤติกรรมการปรุงแต่งของจิตชนิดหนึ่งที่  “ เกิดขึ้น ” ซึ่งเป็นลักษณะแห่ง สังขตธาตุ       ซึ่งมันขัดและฝืนต่อเนื้อหาแห่งธรรมชาติที่ไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตน แห่งอสังขตธาตุ  โดยธรรมชาติดั้งเดิมแท้นั้นมันทำหน้าที่แสดงเนื้อหาของมันอยู่อย่างนั้นตลอดเวลาแบบประติดประต่อตลอดสายคงคุณลักษณะแห่งเนื้อหาความว่างเปล่าอันคือธรรมชาติอยู่แล้ว    มันเป็นคุณสมบัติโดยตัวมันเองอยู่แล้วไม่ต้องเข้าไปทำให้มัน     การคิดที่จะเข้าไปทำคุณสมบัติให้ธรรมชาติมันครบถ้วนบริบูรณ์ตามความเข้าใจผิดของตนมันกลับเป็นการปรุงแต่งทางจิตขึ้นมาแบบไม่รู้ตัวเหมือนเส้นผมบังภูเขา   ซึ่งมันกลับทำให้ความเป็นธรรมชาติดั้งเดิมแท้นั้นหายไปเสียสิ้น
        แต่ถึงกระนั้น    เมื่อตระหนักชัดเข้าใจเนื้อหาธรรมชาติข้างต้นแล้วก็ยังอดที่จะเข้าไป “มุ่งเน้น”       โดยการเข้าไปประคับประคองความเป็นธรรมชาติ   เข้าไปประคับประคองให้ธรรมชาติมันคงความเป็นธรรมชาติอยู่อย่างนั้น     เข้าไปประคับประคองโดยกลัวว่าความเป็นธรรมชาติมันจะเสียรูปทรงและหายไปต้องเข้าไปประคับประคองโดยตลอด ซึ่งความเข้าไป  “มุ่งเน้น” ในภาวะธรรมชาติเช่นนี้มันเป็นการปรุงแต่งจิตขึ้นมาด้วยเหตุแห่งความมุ่งเน้นนั้นมันปรุงแต่งซ้อนเข้ามาบังความเป็นธรรมชาติที่แท้จริง          ก็โดยเนื้อหาธรรมชาติ “ดั้งเดิมแท้” นั้นมันเป็นเนื้อหาความว่างเปล่าอันไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตนอยู่อย่างนั้นมานานแสนนานแล้ว   เป็นความ “ดั้งเดิม”    โดยความเป็นธรรมชาติที่แท้จริงของมันแบบนี้มาช้านานแล้ว       เป็นธรรมชาติที่ปราศจากการตั้งต้นและจะเป็นธรรมชาติไปแบบนี้อยู่อย่างนั้นไม่มีวันสิ้นสุดจบสิ้นแห่งความเป็นธรรมชาติอีกด้วย        เพราะฉะนั้นจงทำความเข้าใจในเนื้อหาธรรมชาติอันคือความดั้งเดิมแท้ของมันว่า  มันสามารถดำเนินเนื้อหาหรือแสดงเนื้อหาแห่งธรรมชาติอันไม่มีไม่เป็นของมันอยู่อย่างนั้นแบบ “ไม่ผิดเพี้ยน”   มันสามารถทำหน้าที่แสดงคุณสมบัติของมันได้ในทุกที่   ทุกเวลา   ทุกโอกาส     โดยที่มันไม่ต้องการความสามารถจากใครๆหรือผู้ใดเข้าไปประคับประคองในคุณสมบัติแห่งมันเลย เพราะว่ามันคือธรรมชาติ  “ อยู่แล้ว ”   มันคือธรรมชาติดั้งเดิมแท้ “อยู่แล้ว”   เป็นความ “อยู่แล้ว”    แบบบริบูรณ์ในเนื้อหาอยู่อย่างนั้นโดยไม่มีส่วนบกพร่อง







ข้อความโดย: นิกายเซน
« เมื่อ: กุมภาพันธ์ 25, 2013, 07:04:20 pm »

บทความจากหนังสือใจต่อใจในการฝึกตน (The core of Zen)
เขียนโดย..พระอาจารย์ราเชนทร์ อานนฺโท


ปีศาจแห่งความเปลี่ยนแปลง 
 
               ถึงแม้เราจะรู้ว่าสิ่งๆนี้คือสิ่งที่    “เกิดขึ้น”    จากการเข้าไปยึดมั่นถือมั่นในเวทนาทั้งหลายด้วยอวิชชาความไม่รู้จนก่อให้เกิดตัณหาอุปาทานเป็นอัตตาตัวตนขึ้นมา และเรียกสิ่งนี้ว่า “ทุกข์”   นี่ก็เป็นความรู้ที่ถูกต้อง
             และถึงแม้เราจะรู้เพิ่มเติมอีกว่าสิ่งที่   “เกิดขึ้น”   นั้น โดยธรรมชาติแล้วมันมีความแปรปรวนตั้งอยู่ได้ไม่นานและมันต้องดับไปเป็นธรรมดาตามสภาพธรรมชาติของมัน โดยที่เราไม่ต้องเข้าไปริเริ่มปฏิบัติเองแบบผิดๆเพื่อเข้าไปบังคับจับกุมให้มันไม่เที่ยงไปตามความต้องการของเราซึ่งมันเป็นการปรุงแต่งซ้อนเข้ามาปิดบังธรรมชาติแห่งความดับไปเป็นธรรมดา    นี่ก็เป็นความรู้ที่ถูกต้อง
             แต่ถึงกระนั้น       กระบวนการทั้งหมดทั้งปวงในการรู้เห็นความเกิดขึ้นและดับไปเป็นธรรมดาตามสภาพธรรมชาติแห่งความแปรปรวนนั้น          มันก็ยังเป็นเพียงแค่ความรู้ถูกต้องในระดับหนึ่งเท่านั้น   มันเป็นความถูกต้องบนพื้นฐานในความคิดเห็นว่า  “ ยังมี ”  ซึ่งมันกลับเป็นความถูกต้องในความผิดพลาดอันใหญ่หลวง   เพราะแท้จริงตามธรรมชาติดั้งเดิมแท้นั้นมันว่างเปล่าไม่มีสิ่งใดสิ่งหนึ่งเกิดขึ้นเลย  มันว่างเปล่าของมันอยู่อย่างนั้นโดยสภาพมันเอง ถึงแม้จะเห็นว่ามี   “ความเปลี่ยนแปลง”  เกิดขึ้นดับไปเป็นธรรมดา แต่มันก็ยังเป็นการเห็นบนความเข้าใจในธรรมว่ายัง “มี”    สิ่งใดสิ่งหนึ่งอยู่เพื่อให้เราเข้าไปรับรู้ถึง  “ความเปลี่ยนแปลง”   ในการเกิดขึ้นดับไปของมัน     ถึงจะรู้เห็นตามธรรมชาติว่ามันมีความเปลี่ยนแปลง    แต่โดยความเป็นจริงมันก็ยังมีอยู่เหมือนเดิม
          ถึงแม้ว่าความ “มี” อยู่   มันจะคลายออกไปมากๆแล้วก็ตามด้วยการเข้าไปปฏิบัติแบบต่อเนื่อง    แต่เมื่อยังคิดว่า “มี” มันจึงเกิดการเข้าไปตามรู้ถึงความเปลี่ยนแปลงแห่งความ “มี” ที่เรายังคิดเป็นพื้นฐานแบบนี้อยู่ตลอดเวลาไม่มีวันจบสิ้น          หากเราเข้าใจและ
ตระหนักชัดในเนื้อหาธรรมชาติดั้งเดิมแท้ว่า   แท้จริงมันย่อมไม่มีสิ่งใดๆเกิดขึ้นเลย  มันคือเนื้อหาแห่งความว่างเปล่าของมันอยู่อย่างนั้น ก็ในเมื่อเข้าใจว่าไม่มีสิ่งใดเลยสักสิ่ง          พฤติกรรมในการปฏิบัติแห่งการเข้าไประลึกรู้ตามธรรมชาติว่ามัน “มี”          และมันมีความเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นดับไป ก็จะไม่เกิดขึ้น
          “ความเปลี่ยนแปลง” จึงเปรียบเสมือนเป็นปีศาจที่มาหลอกให้เราคอยใช้ “ความพยายามแห่งปัญญาอันโง่เขลา” เข้าไปวิ่งไล่ตามจับมัน
          มันจึงเป็นการเสียเวลาเปล่าๆที่จะต้องใช้ความพยายามไล่จับ “ปีศาจแห่งความเปลี่ยนแปลง” ตลอดชีวิต เป็นการไล่จับบนพื้นฐานความคิดของเราที่ยังเห็นว่า “มี” อยู่ตลอดชีวิตเช่นกัน

                         










ข้อความโดย: นิกายเซน
« เมื่อ: กุมภาพันธ์ 25, 2013, 07:02:08 pm »

บทความจากหนังสือใจต่อใจในการฝึกตน (The core of Zen)
เขียนโดย..พระอาจารย์ราเชนทร์ อานนฺโท


ผูกมัดโดยไม่ต้องมีเชือก

   หน้าตาดั้งเดิมแท้ของธรรมชาติที่เผยตัวเองออกมาอยู่ตลอดเวลานั้น มันคงคุณลักษณะแห่ง  “ความเป็นอิสระ”  ซึ่งคือความว่างเปล่าอันไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตนอยู่อย่างนั้น     เป็นความอิสระโดยเนื้อหาตัวมันเองโดยสภาพตัวมันเอง  ไม่มีใครหรือสิ่งใดจะแทรกเข้าไปอยู่ปะปนกับมันได้เลย         หากจะไปอยู่รวมกับมันก็ไม่ใช่ไปอยู่ในสถานะที่   “ต้องอยู่”แต่ต้องมีคุณลักษณะแห่งความเป็นอิสระในความว่างเปล่าซึ่งเป็นเนื้อหาเดียวกันกับมันแบบกลมกลืนเท่านั้น           เป็นความกลมกลืนแบบไม่อาจแบ่งแยกออกมาเป็นสิ่งใดสิ่งหนึ่งได้เลย   การกลมกลืนเป็นเนื้อหาเดียวกันจึงไม่ใช่เป็นการ “เข้าไปอยู่”        หรือ ไม่ใช่เป็นการต้องทำอะไรสักอย่างหนึ่งขึ้นมาเพื่อให้ได้ “อยู่” กับมัน
          เพราะฉะนั้น นักศึกษาทางฝั่งโน้นจงอย่าได้เดินตกไปสู่หลุมลึกแห่งความขาดอิสระโดยไม่รู้ตัว     การที่เราจะกลมกลืนกับมันในความเป็นอิสระนั้น   มิใช่เป็นการที่เราต้องรีบเข้าไปกระทำการสิ่งใดสิ่งหนึ่งเพื่อให้ “ผล”แห่งการเข้าไปกระทำการนั้นเกิดขึ้นซึ่งพวกคุณเรียกมันว่า “การปฏิบัติ” และพวกคุณก็ยังเข้าใจอีกว่า “ผล”ที่เกิดขึ้นนั้นคือความเป็นอิสระอย่างแท้จริง  แต่โดยความเป็นจริงตามเนื้อหาแห่ง “ความคิด”ซึ่งสั่งการให้กระทำเหล่านี้  ความหมายของมันกลับเป็นการเข้าไปตีกรอบเพื่อให้เกิดแบบแผนซึ่งมันเป็น    “กฏเกณฑ์”   ที่เข้าใจผิดคิดขึ้นมาเองว่า  จะต้องกระทำและจะต้องได้ผลแห่งการกระทำ  ซึ่งโดยเนื้อหามันกลับเป็น “ความไม่อิสระ”   เพราะเป็นการผูกมัดตัวเองไว้กับการปรุงแต่งที่เรียกว่า   “วิธีปฏิบัติที่เป็นแบบแผนและกฎเกณฑ์” อยู่ตลอดเวลา อย่างไรก็ตามถึงแม้จะงดเว้น “ไม่เข้าไปกระทำเพื่อให้ผลเกิดขึ้น ”แล้ว       แต่ก็ยังเข้าไป “รอคอย”  ซึ่งเนื้อหาแห่งความอิสระให้เกิดขึ้น    “การรอคอย”นั้นก็เป็นการผูกมัดตัวเองด้วยเช่นกันประการหนึ่ง  เป็นการผูกมัดตัวเองไว้กับ “กาลเวลาแห่งการปรุงแต่ง”    เป็นการผูกมัดตัวเองโดยไม่ต้องใช้เชือกสักเส้นเดียว





ข้อความโดย: นิกายเซน
« เมื่อ: กุมภาพันธ์ 25, 2013, 07:00:04 pm »

บทความจากหนังสือใจต่อใจในการฝึกตน (The core of Zen)
เขียนโดย..พระอาจารย์ราเชนทร์ อานนฺโท

โศลกแห่งเซน

     เว่ยหล่าง เป็นพระอรหันต์ในยุค 1200 กว่าปีที่ผ่านมา ท่านดำรงตำแหน่งสังฆปรินายกองค์ที่ 6 แห่งนิกายเซน      ท่านเป็นโพธิสัตว์ที่ลงมาทำหน้าที่ส่วนหนึ่งในการต่ออายุพระพุทธศาสนา    ได้อย่างสมภูมิธรรมของท่าน  เว่ยหล่าง เป็นชายผู้ไม่รู้หนังสือ   อ่านไม่ออกเขียนไม่ได้    แต่ท่านสามารถฟังธรรมและวิเคราะห์ธรรมที่พระพุทธองค์ประกาศไว้ได้อย่างถูกต้องและตรงประเด็น        ถือว่าท่านเป็นอริยสงฆ์แห่งนิกายเซนในประเทศจีนที่เด่นทางด้านปฏิสัมภิทาญาณมาก   ท่านสามารถอธิบายธรรมที่ยากให้สามารถเข้าใจได้ง่าย                       
         มีอยู่วันหนึ่ง พระสังฆปรินายกองค์ที่ 5 ได้เรียกประชุมบรรดาศิษย์ทั้งหมด    เพื่อให้ทุกคนเขียนโศลก   ว่าด้วยเรื่อง    ธรรมชาติดั้งเดิมแท้ โดยหากผู้ใดเข้าใจได้ถูกต้องว่า ธรรมชาติดั้งเดิมแท้นั้นเป็นอย่างไร  ผู้นั้นจะได้รับมอบผ้ากาสาวพัตร  (อันเป็นเครื่องหมายตำแหน่งพระสังฆปรินายก)        และจะถูกสถาปนาผู้นั้นเป็นสังฆปรินายกองค์ที่ 6 แห่งนิกายเซน
         ชินเชา ภิกษุผู้เป็นเชฏฐอันเตวาสิก   ผู้มีอายุกาลพรรษามากที่สุดในบรรดาลูกศิษย์ของสังฆปรินายกองค์ที่ 5    ได้พยายามแต่งโศลกขึ้น   มีข้อความดังนี้
“กายของเราคือต้นโพธิ์
ใจของเราคือกระจกเงาอันใส
เราเช็ดมันโดยระมัดระวังทุกๆชั่วโมง
และไม่ยอมให้ฝุ่นละอองลงจับ”
                                                                                                                               
       แต่สังฆปรินายกองค์ที่ 5  ได้ทราบก่อนอยู่แล้วว่า   ชินเชาผู้นี้ยังไม่ได้ก้าวเข้าไปในประตูแห่งการตรัสรู้     และเขายังไม่ซึมทราบในธรรมชาติดั้งเดิมแท้      ท่านได้อ่านโศลกที่ชินเชาเขียนแปะไว้ที่ฝาผนังทางเดินแล้วท่านก็กล่าวแก่คนทั่วไปว่า   เพราะสูตรๆ นั้นได้กล่าวไว้ว่า "สรรพสิ่งที่มีรูป หรือมีความปรากฏกิริยาอาการ ย่อมเป็นอนิจจังและเป็นมายา" หากผู้ใดน้อมไปยึดถือปฏิบัติก็จะได้ไปจุติในสวรรค์      ครั้นเวลาเที่ยงคืน  พระสังฆปริณายกได้ให้คนไปตามตัวชินเชามาที่หอแล้วถามว่าเขาเป็นผู้เขียนโศลกนั้นใช่หรือไม่     พระสังฆปริณายกได้พูดต่ออีกว่า     "โศลกของเจ้าแสดงว่าเจ้ายังไม่ได้รู้แจ้ง   ธรรมชาติดั้งเดิมแท้   เจ้ามาถึงประตูแห่งการบรรลุธรรมแล้วเป็นนาน          แต่เจ้ายังไม่ได้ก้าวข้ามธรณีประตูเข้าไป         การแสวงหาความตรัสรู้อันสูงสุด    ด้วยความเข้าใจอย่างของเจ้าที่มีอยู่ในขณะนี้นั้น   ยากที่จะสำเร็จได้"

        "การที่ใครจะบรรลุอนุตรสัมโพธิได้นั้น   ผู้นั้นจะต้องสามารถรู้แจ้งด้วยใจเอง ในธรรมชาติแท้ของตนเอง               หรือที่เรียกว่าธรรมชาติดั้งเดิมแท้  อันเป็นสิ่งที่ใครสร้างขึ้นไม่ได้   หรือทำลายให้สูญหายไปก็ไม่ได้  ชั่วเวลาขณะจิตเดียวเท่านั้น    ผู้นั้นสามารถเห็นแจ้งธรรมชาติดั้งเดิมแท้ได้โดยตลอดกาลทั้งปวง     ต่อจากนั้นทุกๆ สิ่งก็จะเป็นอิสระจากการถูกกักขัง    กล่าวคือจะเป็นวิมุติหลุดพ้นไป ตถตา  (คือความเป็นแต่ที่เป็นอยู่เช่นนั้น ไม่อาจเปลี่ยนเป็นอย่างอื่นได้, ซึ่งเป็นชื่อของธรรมชาติดั้งเดิมแท้อีกชื่อหนึ่ง)    ปรากฏขึ้นเป็นครั้งเดียวหรือชั่วขณะจิตเดียว    ผู้นั้นก็จะเป็นอิสระจากความหลงได้ตลอดกาลไม่มีที่สิ้นสุด    ไม่ว่าสถานการณ์รอบข้างจะเป็นเช่นไรใจของผู้นั้น  ก็จะยังคงอยู่ในสภาพแห่ง  "ความเป็นเช่นนั้น"    สถานะเช่นนี้ที่จิตได้ลุถึงนั่นแหละคือตัวสัจจธรรมแท้    ถ้าเจ้าสามารถเห็นสิ่งทั้งปวง โดยลักษณะการเช่นนี้     เจ้าจะได้รู้แจ้งธรรมชาติดั้งเดิมแท้ ซึ่งเป็นการตรัสรู้อันสูงสุด"
          เวลาล่วงมาอีกสองวัน   บังเอิญเด็กหนุ่มคนหนึ่งเดินผ่านมาทางห้อง  ที่เว่ยหล่างตำข้าวอยู่  เด็กคนนั้น   ได้เดินท่องโศลกของชินเชา ที่จำมาจากฝาผนังอย่างดังๆ พอได้ยินโศลกนั้น  เว่ยหล่างก็ทราบได้ทันทีว่าผู้แต่งโศลกนั้น  ยังไม่ใช่ผู้เห็นแจ้งใน     ธรรมชาติดั้งเดิมแท้ เว่ยหล่างจึงไหว้วานเจ้าหน้าที่เสมียนพนักงานแห่งตำบลกองเจาคนหนึ่งชื่อ จางตัตยุง   เขียนโศลกให้ตนขึ้นเพราะตนเองไม่สามารถอ่านและเขียนหนังสือเองได้

โศลกของเว่ยหล่าง มีว่า:-
"ไม่มีต้นโพธิ์
ทั้งไม่มีกระจกเงาอันใสสะอาด
เมื่อทุกสิ่งว่างเปล่าแล้ว
ฝุ่นจะลงจับอะไร?"
     วันรุ่งขึ้น  พระสังฆปริณายกได้ลอบมาที่โรงตำข้าวอย่างเงียบๆหลังจากที่ท่านได้อ่านโศลกของเว่ยหล่างแล้ว    ท่านก็ได้อธิบายข้อความอันลึกซึ้งในวัชรสูตร(กิมกังเก็ง)        ให้แก่เว่ยหล่าง  เมื่อท่านได้อธิบายมาถึงข้อความที่ว่า   "คนเราควรจะใช้จิตของตน        ในวิถีทางที่มันจะเป็นอิสระได้จากเครื่องข้องทั้งหลาย              ทันใดนั้นเว่ยหล่างก็ได้บรรลุการตรัสรู้ธรรมโดยสมบูรณ์  และได้เห็นแจ้งชัดว่า  "ที่แท้ทุกๆ สิ่งในสากลโลกนี้ก็คือตัว    ธรรมชาติดั้งเดิมแท้  นั่นเองมิใช่อื่นไกล"
     เว่ยหล่างได้ร้องขึ้นในที่เฉพาะหน้าพระสังฆปริณายก ในที่นั้นว่า "แหม! ใครจะไปคิดว่า ธรรมชาติดั้งเดิมแท้ นั้น  เป็นของบริสุทธิ์อย่างบริสุทธิ์แท้จริง ใครจะไปคิดว่า ธรรมชาติดั้งเดิมแท้ นั้น    เป็นอิสระไม่อยู่ภายใต้อำนาจ ความต้องเป็นอยู่ หรือภายใต้ความดับสูญ อย่างอิสระแท้จริง  ใครจะไปคิดว่า ธรรมชาติดั้งเดิมแท้นั้น เป็นสิ่งที่มีความสมบูรณ์อยู่ในตัวมันเอง อย่างสมบูรณ์แท้จริง    ใครจะไปคิดว่า  ธรรมชาติดั้งเดิมแท้ นั้น               เป็นสิ่งที่อยู่นอกเหนือความเปลี่ยนแปลง       อย่างนอกเหนือแท้จริง  ใครจะไปคิดว่าทุกสิ่งทุกอย่างที่ปรากฏออกมานี้  ไหลเทออกมาจากตัว      ธรรมชาติดั้งเดิมแท้"
   เมื่อพระสังฆปริณายก     สังเกตเห็นว่า  เว่ยหล่างได้เห็นแจ้งแล้วใน  ธรรมชาติดั้งเดิมแท้  ท่านได้กล่าวว่า    "สำหรับผู้ที่ไม่รู้จักจิตใจของตนเอง ว่าคืออะไร            ก็ป่วยการที่ผู้นั้นจะศึกษาพุทธศาสนา  ตรงกันข้าม  ถ้าผู้ใดรู้จักจิตใจของตนเองว่าเป็นอะไร   และเห็นด้วยปัญญาอย่างซึมซับว่า ธรรมชาติแท้ของตนเองคืออะไรด้วยแล้ว   ผู้นั้นคือวีรมนุษย์   คือครูของเทวดาและมนุษย์    คือพุทธะ "
ดังนั้น, ในฐานะที่ความรู้ย่อมไม่เป็นของบุคคลใดแต่ผู้เดียว   ธรรมะอันนั้นจึงถูกมอบตกทอดมายังเว่ยหล่างในเที่ยงคืนวันนั้นเอง    พระสังฆปริณายกได้กล่าวสืบไปว่า  "บัดนี้ ท่านเป็นสังฆปริณายกองค์ที่6  ท่านต้องคุ้มครองตัวของท่านให้ดี   จงช่วยมนุษย์ให้มากพอที่จะช่วยได้ จงทำการเผยแพร่คำสอน และสืบอายุคำสอนไว้อย่าให้ขาดตอนลงได้"
          ถึงแม้ชินเชาจะบวชเป็นพระและปฏิบัติธรรมอยู่กับสังฆปรินายกองค์ที่ 5 มาเป็นเวลานานกว่า 30 ปี   แต่ชินเชากลับไม่เข้าใจธรรมชาติดั้งเดิมแท้ว่า แท้จริงโดยเนื้อหาธรรมชาติดั้งเดิมแท้มันคือความว่างเปล่าอันไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตนของมันอยู่อย่างนั้น  โดยไม่มีสิ่งใดสิ่งหนึ่งเกิดขึ้นและดับไปเลย  และธรรมชาติดั้งเดิมแท้นี้เป็นสิ่งที่

ใครสร้างขึ้นไม่ได้  แต่ชินเชากลับเห็นว่ายังมีสิ่งใดสิ่งหนึ่งเกิดขึ้นอยู่ คือยังเห็นว่ามีกายมีใจ เห็นว่ายังมีสิ่งๆหนึ่งเกิดขึ้นคือฝุ่นละอองแห่งมายาจิตที่ปรุงแต่งลงมาจับกระจกให้หมองมัวไม่ใสกระจ่างและต้องมีวิธีที่เข้าไปกวาดเช็ดถูมันทุกๆชั่วโมงซี่งเป็นความหลงปรุงแต่งที่จะเข้าไปแสวงหาสร้างธรรมชาติดั้งเดิมแท้ให้มันเกิดขึ้นมาตามความต้องการของตน  ซึ่งความเข้าใจในธรรมของชินเชา “มันขัดต่อ มันฝืนต่อ”  ความเป็นธรรมชาติดั้งเดิมแท้โดยสิ้นเชิง
           แต่ในส่วนของเว่ยหล่าง       ชายผู้ตัดฟืนเป็นคนป่าคนเยิงไม่มีความรู้อ่านและเขียนหนังสือไม่ได้และไม่เคยบวชเป็นพระในพระพุทธศาสนามาก่อน  เมื่อมาอยู่วัดก็ถูกสังฆปรินายกองค์ที่ 5 ไล่ให้ไปอยู่ในโรงตำข้าว    แต่เว่ยหล่างกลับเป็นคนผู้มีปัญญาสามารถตระหนักชัดและซึมทราบเป็นเนื้อหาเดียวกับธรรมชาติดั้งเดิมแท้แห่งความไม่มีตัวไม่มีตนโดยตัวมันเองได้     เว่ยหล่างจึงแต่งโศลกขึ้นมาว่า    แท้จริงกายใจก็ไม่มี  ฝุ่นละอองก็ไม่มี  กระจกก็ไม่มี  วิธีกำจัดฝุ่นละอองก็ไม่มี โศลกของเว่ยหล่างมีความหมายว่า   แท้จริงในทุกสรรพสิ่งสากลนั้นล้วนคือหน้าตาธรรมชาติดั้งเดิมแท้อยู่แล้ว      การที่เราจะเข้าไปกำจัดอะไรออกไปจากใจ          เพื่อให้ธรรมชาติดั้งเดิมแท้มันเกิดขึ้น   “การเข้าไปกำจัด”    มันก็คือจิตอันเป็นมายาปรุงแต่งขึ้นมาตัวหนึ่งซึ่งมาบดบังธรรมชาติดั้งเดิมแท้ไม่ให้เราได้ตระหนักชัดและซึมทราบกลายเป็นเนื้อหาเดียวกับมันได้      ธรรมชาติดั้งเดิมแท้นี้เป็นสิ่งที่ใครสร้างขึ้นไม่ได้   ธรรมชาติดั้งเดิมแท้ก็คือความว่างเปล่าอันไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตนมันก็ทำหน้าที่ของมันของมันอยู่อย่างนั้นโดยบริบูรณ์ในฐานะธรรมชาติดั้งเดิมแท้โดยเนื้อหาโดยสภาพมันเองอยู่แล้ว            การที่จะตระหนักชัดและจะสามารถซึมทราบเป็นเนื้อหาเดียวกันกับธรรมชาติดั้งเดิมแท้ได้นั้นมิใช่เกิดจากการลงมือปฏิบัติแสวงหามันเพื่อทำให้มันเกิดขึ้นตามความต้องการของเรา  เพราะการลงมือปฏิบัติแสวงหามันเป็นจิตปรุงแต่งตัวหนึ่ง    “ซึ่งมันเป็นสภาพธรรมซึ่งเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นและดับไป”      มันคืออวิชชาตัณหาอุปาทานตัวหนึ่ง มันเป็นอัตตาตัวตนชนิดหนึ่งที่มีลักษณะธรรมธาตุแห่งการเกิดขึ้นดับไป     มันจึงไม่ใช่เนื้อหาของธรรมชาติดั้งเดิมแท้ซึ่งไม่ใช่สภาพธรรมอันที่จะสามารถปรุงแต่งให้เกิดขึ้นและแปรปรวนดับไปได้           มันขัดต่อธรรมชาติดั้งเดิมแท้     มันเป็นการปรุงแต่งเพื่อหลงเข้าไปปฏิบัติอยู่อย่างนั้น   หลงปรุงแต่งเป็นจิตเกิดขึ้นในการเข้าไปปฏิบัติ เป็นการปรุงแต่งในวิธีปฏิบัติ



                         



ข้อความโดย: นิกายเซน
« เมื่อ: กุมภาพันธ์ 22, 2013, 03:36:03 pm »

บทความจากหนังสือใจต่อใจในการฝึกตน (The core of Zen)
เขียนโดย..พระอาจารย์ราเชนทร์ อานนฺโท

สลัดออก

           การ  “สลัดออก”  คือ      ศาสตร์แห่งความเป็นพุทธะวิสัยที่ตถาคตเจ้าซึ่งเปรียบเสมือนครูใหญ่ของเหล่ามนุษย์และเทวา   ท่านใช้การ    “สลัดออก”       เป็นศิลปะในการสอนเพื่อชี้แนะบรรดาหมู่เวไนยสัตว์ทั้งหลายให้ได้เรียนรู้ทำความเข้าใจเพื่อไปสู่ความตกผลึกตระหนักชัดและซึมทราบกลายเป็นเนื้อหาเดียวกับธรรมที่ตถาคตเจ้าทรงโปรดสั่งสอนบรรดาสรรพสัตว์ตามความเหมาะสมแห่งการรับธรรม
          บางครั้งตถาคตเจ้าก็ทรงสอนให้ “สลัดออก” ซึ่งภาวะจิตอันเป็นอกุศล โดยท่านทรงชี้แนะให้บรรดาสรรพสัตว์ทั้งหลายเรียนรู้ทำความเข้าใจที่จะรักษาจิตโดยการพยายามปรุงแต่งจิตไปในทางกุศล เช่น การรักษาศีล   โดยตถาคตทรงใช้อุบายอันแยบยลซึ่งคือศิลปะในการสอน         ท่านทรงชี้ถึงการได้รับโทษต่างๆเมื่อยังดำเนินจิตไปในทางอกุศลและทรงชี้ถึงการได้รับผลแห่งบุญเมื่อดำเนินจิตไปในทางกุศล
          บางครั้งตถาคตเจ้าก็สอนให้   “สลัดออก”  ซึ่งความทุกข์ทั้งปวง  โดยท่านทรงชี้แนะให้บรรดาสรรพสัตว์ทั้งหลายเรียนรู้ทำความเข้าใจเรื่องขันธ์ทั้ง 5 เรื่องธรรมชาติแห่งขันธ์ทั้ง 5  ที่มันเกิดขึ้นและดับไปเป็นธรรมดา  เรียนรู้ทำความเข้าใจเรื่องสังขตธาตุทั้งหลายอันคือธรรมธาตุที่มีคุณลักษณะแห่งการเกิดขึ้นละดับไปเป็นธรรมดา
          บางครั้งตถาคตเจ้าก็สอนให้   “สลัดออก”  ซึ่งสังขตธาตุทั้งปวง โดยท่านทรงชี้แนะให้บรรดาสรรพสัตว์ทั้งหลายเรียนรู้ทำความเข้าใจเรื่อง อสังขตธาตุ อันคือธรรมธาตุที่มีคุณลักษณะแห่งการไม่มีสิ่งใดสิ่งหนึ่งเกิดขึ้น   ไม่มีสิ่งใดสิ่งหนึ่งตั้งอยู่ได้   และไม่มีสิ่งใดสิ่งหนึ่งดับไปสิ้นไป   มันคือความเป็นอิสระอย่างเด็ดขาดแห่งความว่างเปล่าอันไร้ตัวตนอยู่อย่างนั้น  โดยตถาคตเจ้าได้ใช้อุบายอันแยบยลอันคือศิลปะในการสอน  ท่านทรงชี้ว่าสังขตธาตุนั้นความจริงมันเป็นเพียงภาวะแห่งความแปรปรวนไม่แน่นอนแห่งอัตตาตัวตนที่เกิดขึ้นและดับไปเพียงเท่านั้นแต่มันยังไม่ใช่ภาวะเด็ดขาดแห่งความว่างเปล่าอันไม่มีสิ่งใดสิ่งหนึ่งเกิดขึ้นดับไปได้เลย       แต่แท้ที่จริงมันมีภาวะธรรมที่เป็นธรรมชาติที่อยู่นอกเหนือความเป็นสังขตธาตุ มันคือ “อสังขตธาตุ”  อันคือธรรมชาติดั้งเดิมแท้ที่มันว่างเปล่าไร้ตัวตนของมันอยู่อย่างนั้น    มันเป็นความว่างเปล่าแบบเด็ดขาดที่อยู่นอกเหนือการเกิดขึ้นและดับไป   ตถาคตทรงชี้ว่า   “ความว่างเปล่าอันมิใช่ตัวมิใช่ตนนั้นมันทำหน้าที่ตามธรรมชาติอย่างสมบูรณ์โดยตัวมันเองอยู่แล้ว”   ตถาคตเจ้าจึงทรงตรัสธรรมไว้ว่า สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตา    อันหมายถึง          ธรรมทั้งหลายทั้งปวงย่อมไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตนอยู่แล้ว (โดยตัวมันเองโดยสภาพธรรมชาติของมันเอง)    เมื่อเราเข้าใจและตระหนักชัดในความหมายแห่งธรรมชาติดั้งเดิมแท้แล้ว    ตถาคตจึงทรงชี้ให้  “สลัดออก” เสียซึ่งสังขตธรรมทั้งปวงเสีย             
        การ  “สลัดออก”  จึงเป็นความหมายแห่งการละทิ้งภาวะธรรมเดิมๆของตนที่เคยได้เข้าไปเรียนรู้แล้วตกผลึกตระหนักชัดและเคยซึมทราบกลายเป็นเนื้อหาเดียวกับมัน “เป็นการละทิ้งได้โดยสิ้นเชิง” และเป็นความหมายแห่งการได้เริ่มเรียนรู้ภาวะธรรมใหม่ที่ดีกว่าอันเป็นอุบายทำให้ออกจากกองทุกข์ได้ผลมากกว่า  และท้ายที่สุดเมื่อ “สลัดออก”    ซึ่งสังขตธาตุและการที่ได้ตกผลึกตระหนักชัดและซึมทราบเป็นเนื้อหาเดียวกันกับอสังขตธาตุอันคือธรรมชาติดั้งเดิมแท้ซึ่งเป็นการออกจากกองทุกข์ทั้งปวงได้อย่างสิ้นเชิงแล้ว   มันจึงเป็นการ “สลัดออก”    ไปสู่ความเป็นที่สุดแห่งธรรม    ความรู้ที่พาพวกเธอ “สลัดออก”      และนำไปสู่ความพ้นจากกองทุกข์ทั้งปวงอย่างสิ้นเชิงได้นั้น   ก็คือ   สภาพความเป็นเช่นนั้นของมันเองอยู่อย่างนั้นซึ่งมันอยู่นอกเหนือภาวะความหลุดพ้นและภาวะความไม่หลุดพ้น 
            นี่คือ พุทธศาสตร์ที่ชื่อ “สลัดออก” แห่งพุทธะวิสัย






ข้อความโดย: นิกายเซน
« เมื่อ: กุมภาพันธ์ 22, 2013, 03:33:30 pm »

เมื่อรุ่งรางฟ้าสางที่ราวป่า
ข้าเจ้าเฝ้าดูสายหมอกขาว
เข้าห่มหมู่ไม้เห็นเป็นเงาสีเทา
แลดูคล้ายวิหารใหญ่
ข้าเจ้าแว่วเพลงบรรเลงจากยอดไม้
เสมือนว่าป่านั้นเข้าใจ
ว่าอรุณสมัยในวนาวิหาร
คือสถานอันควรแก่การภาวนา
..
..
เซน แห่ง The Meadows of Heaven : J.P. Folinsbee


ข้อความโดย: นิกายเซน
« เมื่อ: กุมภาพันธ์ 22, 2013, 03:32:13 pm »

เธอชอบเข้าไปดูในสิ่งที่มันไม่มี เธอชอบเข้าไปดู "จิต"
เมื่อเข้าใจผิดว่ามันมี..เธอก็ต้องตามรู้ความมีที่เธอเข้าใจผิด
ว่ามันดับไปเป็นธรรมดาตามหลักเกณฑ์อะไรของเธอ
และก็มานั่งภูมิใจว่านี่คือตัวรู้ นี่คือสัมมาสติ อะไรทำนองนี้
ทั้งๆที่ความจริงมันไม่เคยมีมันจึงไม่เกิดไม่ดับ..มันไร้วิถีเกิดดับ
มันจึงเป็นการที่เธอหลอกตัวเองอยู่ตลอดเวลาว่ามี
และต้องเหนื่อยกับมันในการเข้าไปตามรู้ตามดูมันที่เกิดๆดับๆ
มันเหนื่อยเปล่า...ที่ชีวิตนี้ทิ้งไปกับการปฏิบัติแบบนี้
..
..
เซน แห่ง หนังสือใจต่อใจในการฝึกตน
ครูสอนเซน พระอาจารย์ราเชนทร์ อานนฺโท




และเข้าไปฟัง ธรรมะใจต่อใจในการฝึกตน mp 3 ( video )
ได้ที่

1.นิกายเซน ใจต่อใจในการฝึกตน 1.flv
2.นิกายเซน ใจต่อใจในการฝึกตน 2.flv
3.นิกายเซน ใจต่อใจในการฝึกตน 3.flv
4.นิกายเซน ใจต่อใจในการฝึกตน 4.flv
5.นิกายเซน ใจต่อใจในการฝึกตน 5.flv
6.นิกายเซน ใจต่อใจในการฝึกตน 6.flv
7.นิกายเซน ใจต่อใจในการฝึกตน 7
8.นิกายเซน ใจต่อใจในการฝึกตน 8
9.นิกายเซน ใจต่อใจในการฝึกตน 9
[/size]



ข้อความโดย: นิกายเซน
« เมื่อ: กุมภาพันธ์ 22, 2013, 03:30:24 pm »

บทความจากหนังสือใจต่อใจในการฝึกตน (The core of Zen)
เขียนโดย..พระอาจารย์ราเชนทร์ อานนฺโท

ความสิ้นสุดแห่ง “การเกิดขึ้นและดับไป ”

          ก็ในสมัยนั้น  พระสังฆปรินายกองค์ที่ 6  (เว่ยหล่าง)      ได้ดำรงตำแหน่งผู้นำทางด้านศาสนาแห่งนิกายเซน      เพื่อทำหน้าที่เผยแพร่เนื้อหาธรรมอันหลุดพ้นจนมีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวางทางจีนตอนใต้   มีภิกษุในประเทศจีนทั่วสารทิศในยุคนั้นได้เข้ามาพำนักฝากตัวเป็นศิษย์อยู่กับท่านเพื่อศึกษาและปฏิบัติธรรมด้วยหลายร้อยรูป    หนึ่งในนั้นก็คือ ภิกษุ ฉิต่าว ภิกษุรูปนี้ท่านได้อ่านมหาปรินิรวาณสูตรมานานเป็นสิบปี   ท่านไม่เข้าใจในเนื้อหาแห่งพระสูตรที่กล่าวถึงเรื่องพระนิพพานที่ว่า   “สิ่งทุกสิ่งไม่คงตัวอยู่อย่างถาวร        ดังนั้น สิ่งทั้งปวงจึงตกอยู่ใต้อำนาจของธรรมที่เป็นความเกิดขึ้นและความแตกดับ(กล่าวคือสังขตธรรมหรือธรรมอันปรุงแต่ง) เมื่อความเกิดขึ้นและความแตกดับมาสิ้นสุดลงด้วยกัน   ศานติสุขแห่งความหยุดได้โดยสมบูรณ์          และ   ความสิ้นสุดของการเปลี่ยนแปลง (กล่าวคือนิพพาน) ย่อมปรากฏขึ้น”
       พระสังฆปรินายกเว่ยหล่าง ได้อธิบายความหมายแห่งพระสูตรนี้ให้ ภิกษุ ฉิต่าว  ฟังว่า “ ไม่ว่าในขณะใดทั้งหมด นิพพานย่อมไม่มีปรากฎการณ์แห่งการเปลี่ยนแปลง    หรือแห่งการเกิดดับ       ไม่มีแม้กระทั่งความสิ้นสุดของการทำหน้าที่ของความเกิดขึ้น  และความแตกดับ    นิพพานเป็นการแสดงออกของความหยุดได้โดยสมบูรณ์ และความสิ้นสุดของความเปลี่ยนแปลง ”
            ก็ด้วยเนื้อหาพระนิพพานหรือธรรมชาติดั้งเดิมแท้นั้นมันคือ อสังขตธรรม  กล่าวคือเป็นธรรมอันไม่ปรุงแต่ง มันคือความว่างเปล่าอันไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตนอยู่อย่างนั้น         และความว่างเปล่านั้นมันคือคุณสมบัติดั้งเดิมแท้ของมันเองเป็นเนื้อหาเดิมๆของมันอย่างนั้นอยู่แล้ว มิใช่เป็นความว่างเปล่าที่เกิดจากการอาศัยเหตุปัจจัยจากสิ่งที่มันเกิดขึ้นและดับไปและไม่ได้อาศัยเหตุปัจจัยจากการสิ้นสุดลงแห่งความเกิดและแตกดับซึ่งเป็นความดับสนิทไม่มีเหลือ      ที่เป็นเช่นนี้เพราะเหตุใดเล่า        ก็เพราะว่าเนื้อหานิพพานหรือธรรมชาติดั้งเดิมแท้    มันคือความว่างเปล่าซึ่งมันว่างเปล่าเช่นนั้นของมันเองอยู่อย่างนั้น  มันคืออสังขตธาตุ ธรรมธาตุแห่งความไม่มีการปรุงแต่ง เมื่อเป็นเช่นนี้มันจึงย่อมไม่มีปรากฎการณ์แห่งการเปลี่ยนแปลงในการเกิดขึ้นดับไป   ไม่มีแม้กระทั้งความสิ้นสุดของการทำหน้าที่แห่งความเกิดขึ้นและดับไปดังกล่าว            เพราะเนื้อหาเหล่านี้มันคือความหมายแห่งสังขตธาตุ คือ ธรรมธาตุแห่งการปรุงแต่ง    มันเป็นจิตปรุงแต่งขึ้นมา      มันเป็นจิตที่ปรุงแต่งเพื่อคอยอาศัยการเกิดดับ มันเป็นจิตที่ปรุงแต่งเพื่อรอคอยความสิ้นสุดแห่งการเกิดดับ  มันเป็นจิตที่ปรุงแต่งเข้ามาซ้อนเข้ามาปิดบังไม่ให้เห็นไม่ให้เข้าใจในความหมายที่แท้จริงแห่งพระนิพพาน    เพียงแค่ตระหนักชัดและตกผลึกว่า    เนื้อหานิพพานหรือธรรมชาติดั้งเดิมแท้นั้นมันคือความว่างเปล่าแบบถ้วนทั่วซึ่งเป็นคุณสมบัติของมันอยู่แล้ว เพียงแค่ซึมทราบกลายเป็นเนื้อหาเดียวกันกับมันด้วยความกลมกลืนในความว่างเปล่าแบบถ้วนทั่วทุกอนูธรรมธาตุซึ่งมันเป็นความบริบูรณ์แห่งความว่างเปล่าอยู่แล้ว  ไม่มีสิ่งใดอันเป็นตัวตนที่จะแทรกเข้ามาทำหน้าที่เกิดดับได้เลย
      นิพพานหรือธรรมชาติดั้งเดิมแท้นั้น เป็นการสลัดออกจากธรรมอันคือการปรุงแต่งซึ่งคือการเกิดขึ้นดับไปโดยสิ้นเชิง   เป็นการสลัดออกโดยเด็ดขาด เป็นความเด็ดขาดที่ไม่จำเป็นต้องอาศัยเหตุปัจจัยจากการทำหน้าที่แห่งความสิ้นสุดของการเกิดดับด้วยซ้ำไป     เป็นความเด็ดขาดซึ่งคือความหมายแห่งความว่างเปล่าของมันอยู่อย่างนั้นอยู่แล้ว  ไม่มีอะไรกับอะไรอยู่แล้ว  ไม่มีเกิดขึ้นและดับไปอยู่แล้ว ไม่มีอะไรที่ต้องสิ้นสุดในหน้าที่อะไรอยู่แล้ว  เป็นความเด็ดขาดที่คือความหมายแห่งความว่างเปล่าของมันอยู่อย่างนั้นซึ่งเป็นคุณสมบัติดั้งเดิมแท้ของมันเองอยู่แล้ว           เป็นความเด็ดขาดที่เรียกมันว่า “ตถตา” คือ มันเป็นเช่นนั้นของมันเองอยู่อย่างนั้น          เป็นความเด็ดขาดซึ่งคือการตกผลึกและเป็นเนื้อหาเดียวกันแบบกลมกลืนกับธรรมชาติดั้งเดิมแท้นั่นเอง