ตอบ

ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
กัน-ละ-ยา-นะ-มิด เขียนเป็นภาษาไทยที่ถูกต้องว่าอย่างไรครับ:
คิดว่าความดีทำยากไหม( เลือกตอบแค่ ยาก กับ ไม่ยาก ครับผม):
ถ้าเราโกรธใคร ธรรมะจะเป็นหนทางผ่อนคลายความโกรธนั้นลงได้ใช่ไหม ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม ):
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆแนวธรรมะในจิตใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆในโลกออนไลน์ใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
โดยปกติชน นิ้วมือของคนเรา มีกี่นิ้ว (ตอบเป็นภาษาไทยครับ):
วัฒนธรรมไทยเมื่อเห็นผู้ใหญ่ท่านจะทำความเคารพ ด้วยการไหว้ท่านก่อนเสมอใช่หรือไม่:
คุณพ่อคุณแม่เปรียบดั่งพระอรหันต์ในบ้าน พิมพ์คำว่า "คุณพ่อคุณแม่ฉันรักและเคารพท่านดุจพระอรหันต์":
ระหว่าง (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะผู้อื่น) กับ (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะตัวเอง)  ท่านจะเลือกเป็น:
กล่าวคำดังนี้  "ให้อภัยนะ":
กล่าวคำดังนี้  "ขออโหสิกรรม":
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
ในโลกออนไลน์หรือโลกแห่งจิต ไม่มีใครทำอะไรเราได้ นอกเสียไปจาก (คนพาล) หรือ (ใจของเราเอง):
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ใต้ร่มธรรมเองก็จะเป็นไปตามวัฐจักรนี้ ฉันท์ใดก็ฉันท์นั้น (เป็นจริง) หรือ (ไม่จริง):
ธรรมะคือ ธรรมชาติ พิมพ์คำว่า (ธรรมะชาติ) ครับ:
พิมพ์คำว่า (แสงธรรมนำทางธรรมะนำใจ) ครับ:
ขนทรายเข้าวัดคือ พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ทำบุญทำกุศลโดยวิธีนำหรือหาประโยชน์เพื่อส่วนรวมมิได้ทำเพื่อตนเอง):
ไม่มีอะไรสายสำหรับการเริ่มต้น พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (It is never too late to mend):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: มีนาคม 04, 2013, 09:22:12 pm »





จวงจื่อ หรือจวงโจว
เดิมชื่อจวงโจว เป็นปรัชญาเมธีและนักศิลปศาสตร์ผู้โด่งดัง แห่ง ลัทธิเต๋าในสมัยจั้นกั๋วอีกท่านหนึ่งต่อจากเหลาจื้อ

จวงจื้อเป็นชาวรัฐซ่ง(มณฑลเหอหนันในปัจจุบัน)เคยเป็นข้าราช การชั้นผู้น้อย เล่ากันว่า จวงจื้อเป็นคนเฉลียวฉลาด และชอบอ่านหนังสือตั้งแต่เด็ก เคยท่องเที่ยวไปตามรัฐต่างๆเพื่อ ศึกษาหาความรู้ด้านประเพณีนิยมพื้นเมือง จวงจื่อถือหลักการว่า จะ ต้องทำตนให้เป็นอิสระ หลุดพ้นจากโลกอันวุ่นวายนี้ ประท้วงจารีต ประเพณีและดูหมิ่นเชื้อพระวงศ์ กษัติริย์รัฐฉู่เคยเชื้อเชิญให้ดำรง ตำแหน่งเสนาบดีรัฐฉู่ด้วยเงินทองก้อนมหึมา แต่ถูกจวงจื้อปฏิเสธ เนื่องจากไม่พอใจสถานการณ์ทางการเมืองและสังคม ในสมัยนั้น จวงจื้อลาออกจากข้าราชการ เลี้ยงชีพด้วยการถักรองเท้าฟาง ไปถ่ายทอดแนวคิดลัทธิเต๋าและ ประพันธ์หนังสือ”จวงจื้อ”ที่มีตัวหนังสือถึงกว่า100,000คำ

หนังสือเรื่อง“จางจื้อ” แบ่งเนื้อหาทั้งหมดเป็น 3 เล่ม ได้แก่ ความเรียงใน ความเรียงนอก และความเรียงปกิณกะ รวม 33 บทด้วยกัน ความเรียงในเป็นบทประพันธ์ของจวงจื้อ ส่วนความเรียงนอก และความเรียงปกิณกะ อาจเป็นบทประพันธ์ของลูกศิษย์และนักปราชญ์รุ่นหลัง เนื้อหาของ ความเรียงในแบ่งเป็น3บท ได้แก่”ฉีอู้ลุ่น” “เซียวเหยาอิ๋ว” และ“ต้าจงซือ” นับเป็นแก่นสารหลักของคัมภีร์เต๋าเล่มนี้ บทประพันธ์เรื่อง”จวงจื้อ” เป็นหนังสือทั้งไพเราะและพิสดาร ถือได้ว่าเป็นวรรณกรรมปรัชญาที่ดี ที่สุดเล่มหนึ่งของโลก ผู้เชี่ยวชาญทั้งจีนและต่างประเทศ ต่างยกย่อง จวงจื้อว่าเป็นนักปรัชญาที่มีความรอบรู้ในวิชาการต่างๆอย่าง กว้างขวาง และมีภาษาหนังสือที่น่าอัศจรรย์ที่สุด


ทางด้านแนวคิดปรัชญานั้น จวงจื้อได้สืบทอดและเชิดชู ส่งเสริมแนวคิดของเหลาจื้อและลัทธิเต๋า ก่อรูปเป็นระบบแนวคิดทาง ปรัชญาที่มีเอกลักษณ์ของตนและท่วงทำนองในการใช้ภาษาหนังสือ ที่มีลักษณะพิเศษของตนขึ้นจวงจื่อเห็นว่า“เต้า”หรือ”เต๋า”เป็นการ ดำรงอยู่ในความเป็นจริงทางภววิสัย “เต๋า”เป็นบ่อเกิดสรรพสิ่งในโลกนี้ สรรพสิ่งในโลกเคลื่อนไหวอย่างไม่รู้สิ้นสุดและก็มีการเปลี่ยนแปลงตั้งแต่อุบัติจนดับสูญ อันเป็นกระบวนการที่มักเปรียบเทียบกับพระจันทร์ ที่มีข้างขึ้นข้างแรม โลกนี้ปราศจากขอบเขตทั้งในอวกาศและกาลเวลา

“จวงจื้อฝันเห็นฝีเสื้อ” เป็นเรื่องที่จวงจื้อเล่าในหนังสือ”จวงจื้อ”นั้น นับเป็นเรื่องที่คนรุ่นหลังนำมาอ้างอิงกันมากที่สุดเรื่องหนึ่ง กล่าวคือ ”ครั้งหนึ่ง ข้าพเจ้าฝันไปว่าเป็นผีเสื้อโบยบินไปมาอย่างสบายใจ ไม่มีความวิตกกังวลใดๆ ผีเสื้อตัวนี้ไม่รู้เลยว่า มันคือจวงโจว แต่แล้วในทันใดก็ตื่นขึ้นรู้สึกตัวว่า ตัวคือจวงโจว ข้าพเจ้ารู้สึกว่า เป็นการยากที่จะบอกได้ว่า ตนเองเป็นจวงโจวที่ฝันไปว่าเป็นผีเสื้อตัวนั้น หรือว่า ผีเสื้อตัวนั้นฝันไปว่า มันเป็นจวงโจว ระหว่างผีเสื้อกับจวงโจวนั้น จะต้องแตกต่างกันแน่ๆ


จวงจื้อเลื่อมใสศรัทธาในธรรมชาติ ส่งเสริมเจตนารมณ์ที่ว่า “ ฟ้าดินอยู่เคียงคู่กับข้าพเจ้า สรรพสิ่งต่างๆกับข้าพเจ้า เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ” และให้ความเห็นว่า อาณาจักรแห่งชีวิตสูงสุดคืออิสระและ ไม่มีอะไรมาบังคับความเป็นอิสระทางจิตใจได้ หากไม่ใช่การเสพสุข ทางวัตถุและชื่อเสียงอันจอมปลอม แนวคิดดังกล่าวของจวงจื้อได้ส่ง อิทธิพล ต่ออารยธรรมจีนทุกด้านอย่างกว้างขวางลึกซึ้งนับเป็นสิ่ง ล้ำค่าทางจิตใจในประวัติแนวคิดของมนุษยชาติ

“จวงจื้อ”ได้กลายเป็นหนึ่งในคัมภีร์อมตะแห่งลัทธิเต๋าอย่างเป็นทางการในราชวงศ์ถัง(ราวปี618-907) แนวการประพันธ์ของจวงจื้อ มักใช้รูปแบบเล่านิทานบรรยายอุดมคติของตน ทำให้ผู้อ่านเพลิน เพลินไปกับอารมณ์ของตนโดยไม่รู้สึกตัว กลวิธีการเขียนก็มีความพลิกแพลง ตื่นเต้น ลึกลับซับซ้อน เป็นหนึ่งในหนังสือที่เด่นที่สุดของหนังสือ ปรัชญาทั้งหลายในประวัติศาสตร์จีนและก็มีฐานะสำคัญในประวัติ วรรณกรรมของจีน หนังสือเรื่อง”จวงจื้อ”ร่วม กับหนังสืออีกสองเรื่องได้แก่เต้าเต๋อจิง”หรือ“เหลาจื่อ”และโจวอี้” หรือ”อี้จิง”รวมเป็นหนังสือสำคัญ3เล่มที่สะท้อนถึงคุณค่าของลัทธิเต๋าซึ่งเป็นปรัชญาแนวธรรมชาตินิยมได้เป็นอย่างดีที่สุด

-http://thai.cri.cn/chinaabc/chapter17/chapter170202.htm
-http://www.prachathon.org/forum/index.php?topic=7906.msg32067#msg32067




อ่านต่อ.. ปรัชญา: อิสรภาพของอิสรชนในคัมภีร์จวงจื๊อ ค่ะ...
-http://www.tairomdham.net/index.php/topic,8267.0.html

ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: มีนาคม 04, 2013, 07:39:10 pm »



               

จวงจื๊อใกล้ตาย
จวงจื๊อใกล้ตายแล้ว ลูกศิษย์ของเขาชุมนุมปรึกษาหารือกัน เตรียมจะจัดการฝังศพเขาอย่างมโหฬาร เพื่อตอบแทนบุญคุณของเขา

จวงจื๊อหัวเราะกล่าวว่า “จำเป็นด้วยหรือ? เมื่อเราตายแล้ว ใช้ฟ้าดินเป็นเปลือกโลง ใช้ดวงเดือนดวงตะวันเป็นผนังโลง ใช้ดวงดาวเป็นไข่มุก ใช้สรรพสิ่งเป็นเครื่องเซ่นไหว้ ดังนี้ พิธีศพของเราก็มิใช่สมบูรณ์ที่สุดแล้วหรือ ? ยังจะมีพิธีฝังศพที่ดีกว่านี้ที่ใดเล่า ?

               

บรรดาลูกศิษย์กล่าวว่า “พวกเราเป็นห่วงว่าท่านอาจารย์จะถูกแร้งกาเอาไปกินหมด !”
จวงจื๊อกล่าวว่า “อยู่บนพื้นดินก็อาจจะถูกแร้งกากินหมด อยู่ใต้ดินก็อาจจะถูกมดปลวกกินหมด เหตุไฉนพวกเจ้าจึงต้องไปแย่งเรามาจากปากแร้งปากกา เอาไปให้มดปลวกกินเล่า ? ทำเช่นนี้จะมิเป็นการเลือกที่รักมักที่ชังไปหน่อยหรือ ?
ความตายเป็นธรรมชาติอย่างยิ่ง การสูญหายและการเปลี่ยนแปลงของเนื้อหนังมังสา ก็ปล่อยให้ธรรมชาติไปจัดการก็แล้วกัน !
                –˜™—

                คัดลอกจาก จวงจื๊อจอมปราชญ์
                แปลโดย บุญศักดิ์  แสงระวี

ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: มีนาคม 04, 2013, 07:13:29 pm »



               

ดั่งเรือมิได้ผูก
คนเฉียบแหลมมักเหนื่อยยากลำบากกาย คนฉลาดมักจะวิตกกังวล
คนไร้ความสามารถไม่ต้องการอะไร กินอิ่มแล้วก็ท่องเที่ยวไปทุกแห่งหน
ประดุจเรือเปล่าที่มิได้มีเชือกผูกติด
เคลื่อนคล้อยโคลงเคลงไปบนสายน้ำ เป็นอิสระ เป็นตัวของตัวเอง

ความฉลาดเฉียบแหลมมักจะนำมาซึ่งความยุ่งยากอันปราศจากที่สิ้นสุด
      เครื่องถ่วงเหล่านี้คนในโลกมักจะไม่สำนึก
                –˜™—



เพื่อวัตถุนอกกายที่แปลกประหลาดพิสดาร
คนในโลกนี้มักจะลืมอันตรายที่จะเกิดแก่ชีวิตตน
นี่เป็นความหลงใหลอย่างหนึ่ง
ถ้าหากต้องเสียชีวิตไปแล้ว จะมิใช่ไม่คุ้มดอกหรือ?
              –˜™—


ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: มีนาคม 04, 2013, 06:37:11 pm »




                คนเรามีโรคร้าย ๘ ประการ มีความทุกข์ ๔ ประการ จะไม่สนใจมิได้
                ทำในสิ่งที่ท่านไม่ควรกระทำ เรียกว่า แส่เสือก คนอื่นเขาไม่เชื่อท่าน แต่ท่านก็พูดไม่หยุด เรียกว่า เพ้อพล่าม เดาใจคนอื่น พูดสิ่งที่เขาพอใจ เรียกว่า ประจบ ไม่รู้ดีชั่ว เออออตามเขาไป เรียกว่า สอพลอ ชอบพูดความผิดของคนอื่น เรียกว่า ใส่ไคล้ ทำลายความสนิทสนมของคนอื่น เรียกว่า ยุแยง ยกย่องคนชั่ว ขับไสคนที่ตนเกลียด เรียกว่า เจ้าเล่ห์ ไม่แยกดีชั่ว ทำดีทั้งสองฝ่าย เพื่อให้เขาชอบ เรียกว่า กลิ้งกลอก
     โรคร้ายทั้ง ๘ นี้ ต่อภายนอกก็ก่อกวนคนอื่น ต่อภายในก็ทำร้ายตัวเอง ซึ่งผู้มีปัญญาจะมิยอมชิดใกล้เลย



ความทุกข์ ๔ ประการคืออย่างไรเล่า ?
คิดทำแต่เรื่องใหญ่ แสวงหาชื่อเสียง เรียกว่า มักใหญ่ อวดฉลาด ทำตามใจตน เอาแต่ความคิดของตน ไม่คำนึงการล่วงเกินผู้อื่น เรียกว่า ถือดี มองเห็นความผิดตนแต่ไม่ยอมแก้ไข ได้ยินคำตักเตือนกลับโมโห เรียกว่า ยโส ความเห็นตรงกับตนก็ว่าถูก ความเห็นไม่ตรงกับตน แม้จะดีก็ว่าไม่ดี เรียกว่า ทะนง
     ๘ โรคร้าย ๔ ความทุกข์นี้เป็นความผิดที่มักจะพบเห็นได้มากที่สุด ในหมู่คนในโลกมนุษย์
                 –˜™—


ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: มีนาคม 04, 2013, 06:32:46 pm »



               

                คนที่สวมเสื้อผ้าขาวราวหิมะ ในใจไม่แน่ว่าจะขาวสะอาดไปด้วย
                ใครหากได้ลาภยศด้วยการกระทำความชั่ว มิสู้อยู่อย่างยากจนจะดีกว่า
                –˜™—



                “อาวุธมีคม” ในโลกนี้มีมากมาย เช่น สุรา กาเม ชื่อเสียง
                ผลประโยชน์ อำนาจ เป็นต้น เพลงกระบี่ก็เป็นชนิดหนึ่ง...
                ......... จุลมรรคซึ่งเป็นอันตรายแก่ร่างกายนั้นมิพึงยึดถือ
                –˜™—


ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: มีนาคม 04, 2013, 03:57:09 pm »



               

                ได้ปลาลืมไซ
                ไซเป็นเครื่องสานที่ใช้ดักจับปลา เมื่อจับปลาได้แล้วไซก็ทิ้งได้ แร้วใช้สำหรับดักจับกระต่าย เมื่อจับกระต่ายได้แล้วแร้วก็ทิ้งได้ ภาษาและอักษรใช้สำหรับถ่ายทอดความคิด เมื่อความคิดได้ถ่ายทอดออกไปแล้ว ภาษาและอักษรก็ทิ้งได้
                ภาษาและอักษรเป็นทางผ่าน มิใช่จุดหมาย การถือเคร่งต่อภาษาและอักษรจนเกินการ กระทั่ง “ไล่คัมภีร์จนผมหงอก” มันจะแตกต่างอะไรกับ “ทิ้งแก่นเอากระพี้” เล่า?
                –˜™—


ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: มีนาคม 04, 2013, 03:37:10 pm »



               

                ประโยชน์ของธรรมชาติ
                ฮุ่ยจื่อกล่าวแก่จวงจื๊อว่า “วาจาของท่านไร้ประโยชน์”
                จวงจื๊อกล่าวว่า “ก็เพราะท่านรู้ว่าไร้ประโยชน์ จึงได้สนทนาเรื่องมีประโยชน์กับท่าน”
                ฮุ่ยจื่อกล่าวว่า “ท่านหมายความว่าอย่างไร”



                จวงจื๊อกล่าวว่า “ยกตัวอย่างเช่นแผ่นดินผืนนี้ ที่ท่านใช้อยู่ก็เพียงแต่ผืนเล็ก ๆ ที่ท่านยืนอยู่ใต้เท้าท่านเท่านั้น หากขุดเอาดินนอกจากที่ท่านยืนไปเสียทั้งหมด ขุดลึกลงไปถึงใต้บาดาล กระนั้นแล้วแผ่นดินผืนเล็ก ๆ ที่ท่านยืนอยู่จะมีประโยชน์หรือไม่ ? ”
                ฮุ่ยจื่อกล่าวว่า “ก็ไม่มีประโยชน์แล้วนะซี”
                จวงจื๊อกล่าวว่า “ถ้าเช่นนั้น ประโยชน์ของสิ่งไร้ประโยชน์ก็เป็นที่ชัดเจนแล้ว”
                เพราะฉะนั้นจึงกล่าวว่า “มีประโยชน์ได้สร้างอยู่บนรากฐานของ “ไร้ประโยชน์” ไม่มี “ไร้-ประโยชน์” ก็จะไม่มี “มีประโยชน์”
                –˜™—


ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: มีนาคม 04, 2013, 03:33:39 pm »



               

                หลินหุยทิ้งหยกแผ่น
                เมื่อแคว้นเจี่ยสิ้นแผ่นดิน หลินหุยก็ทิ้งหยกแผ่นค่าควรเมืองที่เป็นสมบัติของตระกูลไปเสีย รีบพาบุตรธิดาอพยพหลบหนีไป

                สิ่งซึ่งเกี่ยวข้องกันด้วยผลประโยชน์ จะต้องแลกกันด้วยผลประโยชน์ การนำแผ่นหยกค่าควรเมืองติดตัวไปในยามที่บ้านเมืองกลียุค มีแต่จะทำให้มีอันตรายเพิ่มขึ้น แต่บิดากับบุตรธิดาเป็นความใกล้ชิดสนิทสนมที่มีมาแต่กำเนิด ย่อมจะละทิ้งโดยไม่นำพามิได้
                –˜™—

                การแสวงหาสิ่งนอกกาย มักจะมองเห็นผลประโยชน์ที่อยู่ตรงหน้า และมองข้ามอันตรายที่อยู่เบื้องหลังเราไปสิ้น
                –˜™—


                เหตุผลนั้นมิอยู่ที่ใหญ่หรือเล็ก แต่จะต้องพอเหมาะพอควรจึงจะดี ใหญ่แต่ไม่สมเหตุสมผล ย่อมไร้ประโยชน์โดยสิ้นเชิง
                สติปัญญาน้อย มีสิ่งที่เห็นแต่ก็มีสิ่งที่ไม่เห็น เพราะได้ถูกปิดบังสติปัญญาใหญ่ก็คือสติปัญญาที่ไม่มีอะไรรอดพ้นไปจากสายตาได้ เมื่อไม่มีอะไรที่รอดพ้นไปจากสายตาได้ การมองปัญหาก็จะรอบด้านสมบูรณ์
                –˜™—

               

ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: มีนาคม 04, 2013, 03:30:27 pm »


               

                บ่อน้ำใสย่อมแห้งก่อน
                ขงจื๊อท่องไปในแคว้นต่าง ๆ ถูกล้อมอยู่ในระหว่างแค้นเฉินกับแคว้นไฉ้ ไม่ได้กินไม่ได้ดื่มมา ๗ วัน
                ต้ากงเริ่นจึงไปเยี่ยมเยียนถามว่า “คราวนี้ท่านเกือบจะถูกประทุษร้ายแล้วซีนะ?”
                ขงจื๊อกล่าวว่า “ใช่”
                ต้ากงเริ่นถามอีกว่า “ท่านเกลียดการตายใช่ไหม”
                ขงจื๊อกล่าววา “ใช่”

                ต้ากงเริ่นจึงกล่าวว่า “ที่แล้วมาข้าพเจ้าเคยบอกเหตุผลของการหลีกเลี่ยงการถูกประทุษร้ายแก่ท่านแล้วมิใช่หรือ? ทางทะเลตะวันออกมีนกอยู่ตัวหนึ่งเรียกว่าอี้ไต้ นกตัวนี้ดู ๆ ไปคล้ายกับไม่มีความสามารถอะไร ในขณะที่บินมันต้องให้ตัวอื่นนำทางให้ ในขณะที่หยุดพักมันก็ปะปนอยู่ในฝูงนก ในขณะที่กินอาหารมันก็ไม่กล้าแย่งกินก่อน เพราะฉะนั้นคนภายนอกจึงไม่อาจจะทำร้ายมันได้ ต้นไม้ที่มีลำต้นตรงจะต้องถูกโค่นก่อน บ่อน้ำที่มีน้ำใสสะอาดจะต้องถูกขอดจนแห้งก่อน นี่เป็นเหตุผลที่แจ่มชัดมากเหลือเกิน บัดนี้พฤติการณ์ของท่าน ก็เหมือนหนึ่งถือแสงสว่างแห่งปัญญาไปส่องความโสมมอื่น ๆ เพื่อแสดงให้เห็นความบริสุทธิ์ผุดผ่องของท่าน การทำเช่นนี้ก็ย่อมจะไม่มีใครยอมอดกลั้นให้แก่ท่าน”

                ขงจื๊อได้ฟังดังนั้น ก็เกิดความสำนึกในทันที จึงร่ำลามิตรสหาย แยกตัวออกจากลูกศิษย์ ไปบำเพ็ญพรตในป่าเขาตามลำพัง
                สติปัญญามิพึงเผยให้ปรากฏยังภายนอก มิฉะนั้นแล้ว หากผู้อื่นมิได้กลัวท่าน ก็จะต้องริษยาท่านเป็นแน่
                –˜™—

ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: มีนาคม 04, 2013, 03:28:48 pm »



               

                เราพึงตั้งตนอยู่ในระหว่างไร้ประโยชน์กับมีประโยชน์ แต่ทว่าในทางเป็นจริง แม้จะตั้งตนอยู่ในระหว่างไร้ประโยชน์กับมีประโยชน์ ก็ยังคงต้องประสบกับความยุ่งยากอยู่ดี เพราะฉะนั้น พึงอนุโลมตามการเปลี่ยนแปลง ไม่มีสิ่งที่เรียกว่ามีประโยชน์ ไม่มีสิ่งที่เรียกว่าไร้ประโยชน์ ล่องลอยไปกับศีลธรรม (มรรควิถีแห่งธรรมชาติ) จึงจะสามารถรอดพ้นจากความอับจนได้
                ศีลธรรมในโลกมนุษย์เราล้วนสัมพัทธ์ ที่เรียกว่ามีประโยชน์และไร้ประโยชน์ก็เป็นสิ่งสัมพัทธ์เช่นกัน ดังนั้นผู้ที่มีสติปัญญาเป็นเลิศ ควรจะอยู่เหนือศีลธรรมอันสัมพัทธ์นั้น
                –˜™—