ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
คนที่มีจิตใจอ่อนโยนส่วนใหญ่มัก คิดถึงสิ่งใดก่อนเสมอ  ( เลือกตอบแค่ ตัวเอง กับ คนอื่น ครับผม ):
คุณเชื่อในศรัทธาของความดีไหมครับ ( เลือกตอบแค่ เชื่อ กับ ไม่เชื่อ ครับผม):
คิดว่าความดีทำยากไหม( เลือกตอบแค่ ยาก กับ ไม่ยาก ครับผม):
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆแนวธรรมะในจิตใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า แสงธรรมนำใจ:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ความดีนำทาง:
เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใครทำบุญแล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วยกมือขึ้น (สาธุ) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ  สาธุ:
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆในโลกออนไลน์ใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
วัฒนธรรมไทยเมื่อเห็นผู้ใหญ่ท่านจะทำความเคารพ ด้วยการไหว้ท่านก่อนเสมอใช่หรือไม่:
ใต้ร่มธรรม เป็น แค่เว็บไซต์และจินตนาการทางจิต การทำดี สำคัญที่ใจเรา เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ พิมพ์คำว่า "เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ":
คุณพ่อคุณแม่เปรียบดั่งพระอรหันต์ในบ้าน พิมพ์คำว่า "คุณพ่อคุณแม่ฉันรักและเคารพท่านดุจพระอรหันต์":
ระหว่าง (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะผู้อื่น) กับ (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะตัวเอง)  ท่านจะเลือกเป็น:
กล่าวคำดังนี้  "ให้อภัยนะ":
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ใต้ร่มธรรมเองก็จะเป็นไปตามวัฐจักรนี้ ฉันท์ใดก็ฉันท์นั้น (เป็นจริง) หรือ (ไม่จริง):
ธรรมะคือ ธรรมชาติ พิมพ์คำว่า (ธรรมะชาติ) ครับ:
รู้สึกระอายใจไหมที่เราทำร้ายคนอื่นด้วยวาจาหรือสำนวนที่ไม่สุภาพ โดยที่คนคนนั้นเค้าเคยเป็นผู้มีพระคุณต่อเรามา (ไม่ละอายใจ)หรือ(ละอายใจ):
สำนวนไทยที่ว่า แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน  พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ลางเนื้อชอบลางยา):
ขนทรายเข้าวัดคือ พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ทำบุญทำกุศลโดยวิธีนำหรือหาประโยชน์เพื่อส่วนรวมมิได้ทำเพื่อตนเอง):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: มีนาคม 14, 2013, 03:03:47 pm »



                     

ประวัติ "นิกาย" ในประเทศจีน
นิกายนี้ ภาษาแต้จิ๋วเรียกว่า "เสี่ยมจง" แต่เนื่องด้วยคนไทยเราทราบชื่อนิกายนี้ตามภาษาญี่ปุ่นมาว่า "เซ็น" ซึ่งเป็นมูลศัพท์เดียวกัน จึงขอเรียกตามญี่ปุ่นไปด้วย

นิกายนี้เป็นนิกายที่สำคัญยิ่งนิกายหนึ่ง ซึ่งมีความเจริญแพร่หลายอยู่ทุกยุคทุกสมัย คำว่า "เซ็น" มาจากศัพท์ว่า "ธฺยาน" หรือ "ฌาน" หมายถึงนิกายที่ปฎิบัติทางวิปัสสนา

ตามประวัติเล่ากันว่า ในสมัยพุทธกาล ณ ท่ามกลางประชุมบริษัท ๔ พระศาสดาได้ทรงชูดอกหนึ่ง มิได้ตรัสเทศนาว่าอย่างไร ที่ประชุมไม่มีผู้ใดเข้าใจความหมาย นอกจาก พระมหากัสสปเถระ รูปเดียวเท่านั้น ที่ยิ้มน้อยๆ อยู่ พระศาสดาจึงตรัสว่า

"ดูก่อน กัสสปะ ตถาคตมีธรรมจักษุครรถ์อันถูกต้องและนิพพานจิต ลักษณะที่แท้จริงย่อมไม่มีลักษณะ ได้มอบไว้ให้แก่เธอแล้ว"

เพราะฉะนั้น นิกายนี้จึงนับถือพระมหากัสสปเถระว่าเป็นปฐมาจารย์และถือว่าเป็นนิกายวิปัสสนาโดยเฉพาะ ไม่ต้องอาศัยตัวหนังสือหรือปริยัติธรรมใดๆ ไม่อยู่ในกรอบแห่งคำพูดใดๆ แต่ชี้ตรงไปยังจุดของจิตใจ เพราะฉะนั้น บางทีจึงมีนามเรียกว่า "การเผยแผ่นอกคำสอน"

นิกายเซ็นนับตั้งแต่พระมหากัสสปเถระ ได้มีเกจิอาจารย์สืบทอดมาอีก ๒๘ องค์ จนถึงสมัย ท่านโพธิธรรม (ตั๊กม่อโจวซือ) จึงได้นำคติของนิกายนี้มาสั่งสอนในประเทศจีน ในสมัย พระเจ้าเหลียงบูเต้ จักรพรรดิแห่งราชวงศ์เหลียง

แล้วต่อแต่นั้นมาก็มีคณาจารย์จีนสืบทอดมาอีก ๕ องค์ จึงนับว่าท่านโพธิธรรมผู้จาริกมาสู่ประเทศจีนในราวกลางพุทธศตวรรษที่ ๑๐ เป็นปฐมาจารย์แห่งนิกายเซ็นในประเทศจีน คณาจารย์ฮุ่ยค้อ เป็นองค์ที่ ๒ ท่านฮุ่ยค้อได้มอบธรรมให้แก่ คณาจารย์เจ็งชั้ง เป็นองค์ที่ ๓ และท่านเจ็งชั้งได้มอบให้แก่ คณาจารย์เต้าสิ่ง เป็นองค์ที่ ๔

นิกายเซ็นแบ่งออกเป็น ๒ สำนัก คือ สำนักของคณาจารย์ฮ่งยิ่มเรียกว่า "สำนักอึ้งบ้วย" ซึ่งถือกันว่าเป็นสำนักที่สืบเนื่องมาโดยตรง และสำนักของคณาจารย์ฮวบย้ง เรียกชื่อว่า "สำนักงู่เท้า" ซึ่งเป็นสำนักแฝงเท่านั้น คณาจารย์ฮ่งยิ่มแห่งสำนักอึ่งบ้วยนับเป็นปฐมาจารย์ของนิกายเซ็นที่แยกสาขาออกมา.


ที่มา -www.fgs-th.com/home.html

หมายเหตุ : ปรมาจารย์ต๋าหมัว (ตักม้อ) พวกเรารู้จักและเรียกกันว่า "ตั๊กม้อ" ท่านเป็นเชื้อพระวงศ์ชาวอินเดียมาก่อน แล้วได้ออกบวชเป็นพระในพุทธศาสนา ดังจะเห็นได้ว่า ชาวจีนทั้งหลายมีความเคารพนับถือ พระมหากัสสปกับพระอานนท์เป็นอย่างยิ่ง

ฉะนั้น ภายในวัดวาอารามทุกแห่งในประเทศจีน จะเห็นรูปปั้นของท่านทั้งสองอยู่ด้านข้างของพระพุทธรูปทุกองค์ คล้ายกับที่บ้านเรานิยมปั้นรูปพระอัครสาวกทั้งสอง คือ พระโมคคัลลาน์และพระสารีบุตร ไว้เช่นกัน >>> VANCO

-http://board.palungjit.com/f23/ประวัติ-พระมหากัสสปเถระ-โดยพิสดาร-หลวงพ่อพระราชพรหมยาน-206755-3.html
                        น/3 / #45