ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
คุณเชื่อในศรัทธาของความดีไหมครับ ( เลือกตอบแค่ เชื่อ กับ ไม่เชื่อ ครับผม):
คุณเชื่อว่าทุกศาสนาสอนให้ทุกคนเป็นคนดีใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆแนวธรรมะในจิตใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ใต้ร่มธรรม:
เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใครทำบุญแล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วยกมือขึ้น (สาธุ) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ  สาธุ:
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆในโลกออนไลน์ใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
โดยปกติชน นิ้วมือของคนเรา มีกี่นิ้ว (ตอบเป็นภาษาไทยครับ):
ใต้ร่มธรรม เป็น แค่เว็บไซต์และจินตนาการทางจิต การทำดี สำคัญที่ใจเรา เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ พิมพ์คำว่า "เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ":
เมื่อให้ท่านเลือก ระหว่าง (หนังสือเก่าๆเล่มหนึ่งที่เรารัก) กับ (มิตรแท้ที่รักเรา) คุณจะะเลือก:
บุคคลที่ไปหลายๆเว็บไซต์ โดยที่สวมบทบาทเป็นหลายๆคน โดยที่ไม่รู้ว่า แท้จริงใจเราต้องการอะไร เพื่อน หรือ ชัยชนะ:
ระหว่าง (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะผู้อื่น) กับ (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะตัวเอง)  ท่านจะเลือกเป็น:
กล่าวคำดังนี้  "ขออโหสิกรรม":
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
ในโลกออนไลน์หรือโลกแห่งจิต ไม่มีใครทำอะไรเราได้ นอกเสียไปจาก (คนพาล) หรือ (ใจของเราเอง):
เคยนวดฝ่าเท้าให้ คุณพ่อคุณแม่บ้างไหม ถ้ามีโอกาส เราควรทำหรือไม่ (ควรกระทำอย่างยิ่ง หรือ ไม่ควรทำ):
ธรรมะคือ ธรรมชาติ พิมพ์คำว่า (ธรรมะชาติ) ครับ:
รู้สึกระอายใจไหมที่เราทำร้ายคนอื่นด้วยวาจาหรือสำนวนที่ไม่สุภาพ โดยที่คนคนนั้นเค้าเคยเป็นผู้มีพระคุณต่อเรามา (ไม่ละอายใจ)หรือ(ละอายใจ):
ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ผู้ที่ทำตนให้เล็กที่สุด ผู้ที่เล็กที่สุดก็จะกลายเป็นผู้ที่ใหญ่ที่สุด ผู้ที่มีเกียรติคือผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น ฉะนั้นสมาชิกใต้ร่มธรรมควรให้เกียรติกันและกัน พิมพ์คำว่า (ฉันจะให้เกียรติสมาชิกทุกๆท่านในใต้ร่มธรรมเสมอด้วยวาจาสุภาพอ่อนน้อม):
ไม่มีอะไรสายสำหรับการเริ่มต้น พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (It is never too late to mend):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: มีนาคม 14, 2013, 06:47:54 pm »



                 

คำสอนหลวงพ่อปาน "ไม่เกิดต้องทำอย่างไร"
ทีนี้คนที่จะไม่เกิดต้องทำอย่างไร มันทำไม่ยาก ทำง่าย ๆ คือ

๑. รักษาศีลให้บริสุทธิ์ คนรักษาศีลน่ะเป็นคนดี ไอ้คนไม่มีศีลน่ะเป็นคนระยำ จำไว้ให้ดี ถ้าเราอยากจะเป็นคนดี เราต้องเป็นคนมีศีล ถ้าเรายังปฏิบัติศีลไม่ได้ ให้รู้ตัวว่าเราระยำเต็มทีแล้ว เลวเต็มทีแล้ว ให้รู้ตัวไว้ อย่าเป็นคนเข้าข้างตัว จงเป็นคนรู้ตัวดีกว่าคนเข้าข้างตัว

๒. รักษาสมาธิให้ตั้งมั่น ซึ่งเป็นของที่ไม่ต้องลงทุน

๓. ปลงสังขาร ไว้ว่า โลกทุกโลกเป็นแดนของความทุกข์ สังขารทุกสังขารเป็นดินแดนของความทุกข์ เราจะเกิดเป็นมนุษย์ก็ดี เทวดาก็ดี พรหมก็ดี ก็ไม่พ้นทุกข์


ถ้าเกิดเป็นเทวดาหรือพรหม ก็ต้องกลับมาเกิดเป็นมนุษย์หรือสัตว์เดรัจฉาน เราไม่ต้องการโลกทั้ง ๓ ประการ และไม่ต้องการอะไรทั้งหมด ขึ้นชื่อว่ามนุษยโลกก็ดี เทวโลกก็ดี พรหมโลกก็ดี ไม่ใช่สิ่งที่เราปรารถนา สิ่งที่เราปรารถนาจริงๆ ก็คือ พระนิพพาน ภาวนาไว้ว่า สิทตะมหานิพพานัง หรือ นิพพานัง เฉยๆ ก็ได้ นึกไว้ว่า นิพพานๆ เราต้องการพระนิพพานโลกนี้ทั้งหมดเราไม่ต้องการอะไร ความรัก ความเกลียด ความโกรธ ความเร่าร้อน เราถือเป็นของธรรมดา อะไรจะมากระทบกระทั่ง นั่นถือเป็นเรื่องธรรมดา เราจะเปลื้องสมบัติสภาวการณ์ต่างๆ ของโลกให้สิ้นไป

เราอยู่กับโลก เราจะอาศัยโลกและสมบัติของโลกชั่วคราว เมื่ออัตตภาพมีอยู่ เมื่อความสิ้นไปแห่งอัตตภาพมีเมื่อไหร่ เมื่อนั้นแหละเราจะไปพระนิพพาน

ที่มา : ศูนย์พุทธศรัทธา


-http://www.sookjai.com/index.php?topic=37340.0

ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: มีนาคม 13, 2013, 09:15:16 pm »


                 

คำสอน หลวงปู่ปาน วัดบางนมโค
อ.เสนา จ.พระนครศรีอยุธยา

ร่างกายของคนและสัตว์มันเป็นอนิจจัง มีสภาพไม่เที่ยง เวลาอยู่ก็เป็นทุกข์ แต่ในที่สุดก็เป็นอนัตตาคือตาย ใครบังคับบัญชาไม่ได้ เวลาเผาศพอย่าตั้งหน้าตั้งตาเผาเขา เวลาเราไปเผาศพก็เผากิเลสในใจของเราเสียด้วย กิเลสส่วนใดที่มันสิงอยู่ที่เรา คิดว่าเราจะไม่แก่ไม่เจ็บไม่ตายน่ะ เผามันเสียให้หมดไป เราคิดว่าวันนี้เราเผาเขาไม่ช้าเขาก็เผาเรา คนเกิดมาแล้วตายอย่างนี้เราจะเกิดมันทำไม ต่อไปข้างหน้าเราไม่เกิดดีกว่า เราไปพระนิพพานนั่นละดีที่สุด เรื่องอัตภาพร่างกายสิ่งที่มีชีวิตหรือไม่มีชีวิต ไม่มีอะไรเป็นความหมาย ไม่มีอะไรเป็นที่พึ่ง ตายแล้วหาสาระหาแก่นสารไม่ได้ หาประโยชน์ไม่ได้ ให้ทุกคนเตรียมพร้อมที่จะตายได้ ให้ขยันหมั่นเพียร ชำระจิตใจให้สะอาด มีพระนิพพานเป็นอารมณ์ จงวางภาระว่า เราของเรา เสียให้สิ้นด้วยไม่มีอะไรเลยเป็นของเรา แม้แต่ร่างกายก็มีเจ้าของคือ มรณภัยมันมาทวงคืน ให้คิดว่าเราไม่มีอะไรเป็นของเรา เราไม่ต้องการมนุษย์โลก เทวโลก พรหมโลก เรามีนิพพานเป็นที่ไป

"พระพุทธเจ้าท่านทรงตรัสไว้ว่า สัตว์ก็ดี คนก็ดี หรือสิ่งที่ไม่มีชีวิตก็ดี มีความเกิดขึ้นในเบื้องต้น แล้วมีความเปลี่ยนแปลงไปในระหว่างกลาง ที่สุดมันก็แตกทำลายหมด ถ้าเป็นสัตว์เป็นบุคคลก็ตายในที่สุด ถ้าเป็นของวัตถุธาตุ ก็แตกทำลายในที่สุด ไอ้บ้านเรือนโรงภูเขา ลำเนาป่า อะไรมันก็เหมือนกัน ภูเขามันเป็นหินแข็งแต่ว่านานๆ เข้าก็เป็นหินผุกลายเป็นดินไป ที่นี้ไอ้คนหรือสัตว์ก็เหมือนกัน มันเกิดขึ้นมาในตอนต้น มันตัวเล็กๆ แล้วมันก็เปลี่ยนแปลง มันเปลี่ยนสภาพเข้ามาทุกทีๆ ถึงความเป็นคน เป็นบุคคลใหญ่ เป็นหนุ่ม เป็นสาว แล้วก็แก่ ในระหว่างนั้นสภาพของร่างกายก็ไม่ปกติ โรคภัยไข้เจ็บเบียดเบียน นี่เป็ฯอาการเปลี่ยนแปลง จัดเป็นอนิจจัง ทีนี้ตัวอนิจจังไม่เที่ยง มีความทุกข์ก็บังเกิดขึ้น ไอ้ความทุกข์มันเกิดขึ้นก็เพราะตัวอนิจจังนี่แหละ ไม่มีใครต้องการให้มันเป็น "นิจจัง" คือมันเที่ยงแน่นอน มีสภาพปกติ แต่อนิจจังมันขับรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ให้เคลื่อนไปจากความปกติ ให้มีความเปลี่ยนแปลง แปรสภาพเสื่อมโทรมลงไปเป็นธรรมดา แล้วในเมื่อความเสื่อมโทรมมันปรากฏ ความทุกข์ใจของเจ้าของร่างกายก็ปรากฏ คือโรคภัยไข้เจ็บมันก็เกิดขึ้น ความทุกข์ใจของเจ้าของร่างกายก็ปรากฏ นี่มันเป็นตัวทุกข์ อนิจจังมันทำให้ทุกข์ ไม่มีใครจะห้ามความตาย ไม่มีใครจะห้ามความเสื่อมความสูญ ความสลายตัวได้ คนทุกคนเกิดมาแล้วเป็นอย่างนั้น สัตว์ทุกตัวเกิดมาแล้วเป็นอย่างนั้น สภาพของวัตถุต่างๆ เป็นอย่างนั้น ตรงตามความเป็นจริงทุกอย่าง ซึ่งมนุษย์ทุกคนที่เกิดมาในโลกยากนักที่จะคิดอย่างนี้ที่จะเห็นตามความเป็นจริงอย่าง
นี้

นี่พระพุทธเจ้าทรงสอนกฏของธรรมดา ซึ่งคนทั้งหลายที่เกิดมาแล้วด้วยอำนาจของกิเลสแลตัณหาเข้าไปปิดบังใจไม่ยอมรับนับถือ
กฏธรรมดา เช่น กระดูกนี่เป็นของปฏิกูลน่าเกลียด ร่างกายเราเมื่อสภาพการหมดไปแล้ว ก็คงมีโครงกระดูกนี่เป็นเรือนร่าง เป็นแก่นของร่างกาย คนและสัตว์ที่เกิดมาแล้ว ไม่มีสภาพจะคงที่ได้ ถ้ามีร่างกายบริบูรณ์สมบูรณ์ เมื่อสิ้นลมปราณแล้ว ร่างกายก็จะผุพังน้ำเหลืองจะไหล ธาตุดินไปส่วนหนึ่ง ธาตุน้ำไปส่วนหนึ่ง ธาตุไฟไปส่วนหนึ่ง ธาตุลมไปส่วนหนึ่ง ผลที่สุดเนื้อหนังก็จะละลายไป เหลือแต่ธาตุกระดูก กระดูกก็จะเป็นโครงอย่างนี้ หาความสวยไม่ได้หาความงามไม่ได้ อัตตภาพร่างกายอย่างนี้ มันเกิดขึ้นในเบื้องต้น มันเป็นอนิจจังคือ เปลี่ยนแปลงมาในระหว่างกลางแล้วต่อไปก็ผุพังทำลายไปในที่สุด เป็นอนัตตาอย่างนี้ ไม่มี อิจจัง สุขขัง อัตตา หมายความว่า นิจจังมีสภาพคงที่ สุขขังไม่มีทุกข์ อัตตามีสภาพ เป็นตัวตน ยืนตลอดกาลตลอดสมัย ไม่มีการเปลี่ยนแปลง อย่างนั้นไม่มี

สำหรับอัตตภาพที่มีขันธ์ 5 มันต้องเป้นอนิจจัง คือเปลี่ยนแปลงไม่เที่ยงอยู่เรื่อยไป เพราะความไม่เที่ยงมันจึงเป็นทุกข์ เพราะเป็นทุกข์นี่แหละสภาวะอนัตตาจึงปรากฏคือ ความไม่ใช่ตัว ไม่ใช่ตน มันพัง มันทำลาย นี่่ร่าง กระดูกที่เราเห็นนี่ เมื่อก่อนก็มีเรือนร่างครบถ้วนบริบูรณ์อย่างเรา มีลมปราณเหมือนกัน มีชีวิตจิตใจเหมือนกัน แต่ว่านี่เนื้อหนังมังสารมันหมดไปแล้วเหลือแต่กระดูก อันเป็นส่วนแก่นแท้ภาพในร่างกาย เมื่อพิจารณาไปส่วนไหนมันก็ไม่น่ารัก ไม่น่าดู ไม่น่าชม มันน่าเกลียด

จึงกล่าวได้ว่า ชีวิตเป็นของไม่เที่ยง แต่ความตายเป็นของเที่ยง การเกิดเป็นมนุษย์มันเต็มไปด้วยความทุกข์ หาความสุขไม่ได้ จงอย่าอาลัยในชีวิต มันจะตายเมื่อไหร่ก็ไดช่างมัน เอาดีเข้าไว้ ดีนั่นคือธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่ให้คิดว่าร่างกายมันไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา เราไม่มีในร่างกาย ร่างกายไม่มีในเรา ร่างกายเป็นเพียง ธาตุ 4 เข้ามาประชุมกัน มีธาตุน้ำ ธาตุดิน ธาาตุลม ธาตุไฟ มันก็ปั้นเป็นก้อนขึ้นมา เขาแยกเป็นอาการ 32 ในไม่ช้าก็ตาย อย่าลืมความตายเป็นสำคัญ

"ถึงแม้เราจะมีคาถาอาคมของดีอะไรก็ตามเราก็ต้องตาย ก่อนตายควรเลือกทางเดินเอาอย่างน้อยที่สุด เราควรไปสวรรค์ชั้นกามาวจรให้ได้ ขอให้ทุกคนนะ เวลาก่อนจะหลับ ให้นึกถึงความดีที่ตอนเคยทำ ทรัพย์สินที่สละเป็นวิหารทาน ธรรมทาน สังฆทาน เลี้ยงพระ นึกถึงศีลที่ตอนเคยรับมา เทศน์ที่ตนเคยฟัง แล้วหมั่นภาวนาถึงพระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณ พระพุทโธ ธัมโม สังโฆ เมื่อจะเจริญกรรมฐาน ให้ตั้งอยู่ในพรหมวิหาร 4 ให้เป็นฌาณสมาธิแน่วแน่ ให้แผ่เมตตาไปทั่วจักรวาล แล้วจึงพิจารณาตามอารมณ์วิปัสสนาหรือภาวนาตามแบบสมถะ ทุกคนตายแล้วจงไปสวรรค์ จงไปพรหมโลก จงไปนิพพาน"


-http://www.facebook.com/JengDhammajaree