ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
คนที่มีจิตใจอ่อนโยนส่วนใหญ่มัก คิดถึงสิ่งใดก่อนเสมอ  ( เลือกตอบแค่ ตัวเอง กับ คนอื่น ครับผม ):
ถ้าเราโกรธใคร ธรรมะจะเป็นหนทางผ่อนคลายความโกรธนั้นลงได้ใช่ไหม ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม ):
ชีวิตบางครั้งก็เหมือนเหรียญสองด้านใช่หรือไม่ครับบางครั้งก็หัวบางครั้งก็ก้อย( เลือกตอบแค่ ใช่ กับไม่ใช่ครับผม):
คุณเชื่อว่าทุกศาสนาสอนให้ทุกคนเป็นคนดีใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า แสงธรรมนำใจ:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ความดีนำทาง:
การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ นิยมใช้คำว่า (อนุโมทนา) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ อนุโมทนา:
วัฒนธรรมไทยเมื่อเห็นผู้ใหญ่ท่านจะทำความเคารพ ด้วยการไหว้ท่านก่อนเสมอใช่หรือไม่:
คุณพ่อคุณแม่เปรียบดั่งพระอรหันต์ในบ้าน พิมพ์คำว่า "คุณพ่อคุณแม่ฉันรักและเคารพท่านดุจพระอรหันต์":
เมื่อให้ท่านเลือก ระหว่าง (หนังสือเก่าๆเล่มหนึ่งที่เรารัก) กับ (มิตรแท้ที่รักเรา) คุณจะะเลือก:
กล่าวคำดังนี้  "ให้อภัยนะ":
กล่าวคำดังนี้  "ขออโหสิกรรม":
เคยนวดฝ่าเท้าให้ คุณพ่อคุณแม่บ้างไหม ถ้ามีโอกาส เราควรทำหรือไม่ (ควรกระทำอย่างยิ่ง หรือ ไม่ควรทำ):
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ใต้ร่มธรรมเองก็จะเป็นไปตามวัฐจักรนี้ ฉันท์ใดก็ฉันท์นั้น (เป็นจริง) หรือ (ไม่จริง):
พิมพ์คำว่า (แสงธรรมนำทางธรรมะนำใจ) ครับ:
รู้สึกระอายใจไหมที่เราทำร้ายคนอื่นด้วยวาจาหรือสำนวนที่ไม่สุภาพ โดยที่คนคนนั้นเค้าเคยเป็นผู้มีพระคุณต่อเรามา (ไม่ละอายใจ)หรือ(ละอายใจ):
สำนวนไทยที่ว่า แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน  พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ลางเนื้อชอบลางยา):
ขนทรายเข้าวัดคือ พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ทำบุญทำกุศลโดยวิธีนำหรือหาประโยชน์เพื่อส่วนรวมมิได้ทำเพื่อตนเอง):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: sithiphong
« เมื่อ: มีนาคม 24, 2013, 08:59:43 am »

ปรับวิธีคิด!การดำเนินชีวิตจะปลอดภัย
สวัสดีเศรษฐกิจ : เพียงปรับวิธีคิด การดำเนินชีวิตจะปลอดภัย : โดย...สุรพล โอภาสเสถียร

 

                          แม้ว่าเราจะไม่สามารถล่วงรู้อนาคตได้ แต่เราสามารถเตรียมความพร้อม เพื่อ “อนาคตที่ดีและมั่นคง” ได้ มิใช่หรือ ? ขอเพียง “วางแผนการเงิน” ให้เป็น สิ่งที่หวังและอนาคตที่ฝัน ย่อมเป็นจริงได้ไม่ยาก คำกล่าวข้างต้นอยู่ในเอกสารหนังสือเล่มเล็กๆ ขนาดกะทัดรัด ที่จัดทำโดยธนาคารแห่งประเทศไทย ในชุดคู่มือ รู้รอบเรื่องการเงิน ตอน วางแผนการเงินอย่างชาญฉลาด สำหรับประชาชนขึ้น เพื่อเป็นเสมือนเพื่อนคู่คิด ที่คอยแนะแนวทางในการจัดการทางการเงิน ซึ่งจะทำให้เกิดความมั่นคง และมีชีวิตที่ดีขึ้นในอนาคต

                          สิ่งที่ผมได้อ่านในฐานะประชาชนคนหนึ่งต้องยอมรับว่าในบางช่วงบางเวลาของการ ใช้ชีวิต ซึ่งต้องมีการวางแผนการหาเงิน การสะสมเงิน การใช้เงินเพื่อการลงทุนสำหรับอนาคต เช่น

                          1.การสร้างอนาคตสำหรับครอบครัวตัวอย่าง การสร้างเรือนหอเวลาเริ่มครอบครัว การสร้างบ้านใหม่หรือต่อเติมบ้านเก่าเมื่อลูกๆ เติบโต ท้ายสุดคือการปรับปรุงบ้านเดิมสำหรับชีวิตหลังการทำงานเมื่อเราจะมีอายุ 60 ปีกับอีก 1 วัน นั่นคือ วันที่เริ่มต้นหลุดพ้นจากงานประจำในหน้าที่ 8 โมงเช้าจบที่ 5 โมงเย็น

                          2.การสร้างความมั่งคั่ง หรือความร่ำรวยจากการหาเงินและใช้เงินไปเพื่อการออมและการลงทุน เช่น การหาที่ฝากเงินที่ให้ดอกเบี้ยสูงๆ ที่เราเรียกว่านักล่าอัตราดอกเบี้ย อีกกรณีหนึ่งคือการนำเงินไปลงทุนให้ได้ผลตอบแทนด้วยการแลกกับการบริหารความ เสี่ยงกับสิ่งที่เรียกว่าผลขาดทุน อันนี้ขึ้นกับโอกาส จังหวะการลงทุน การตัดสินใจ ความโลภ ความมีวินัยในการปฏิบัติทั้งในกรณีที่มีผลกำไรและมีผลขาดทุน

                          3.การจดบันทึกการใช้ การจ่าย ตามที่หนังสือเล่มเล็กนี้บอก หรือการทำแบบสอบถามเพื่อวัดตัวตนของเรา นิสัยของเราว่าจะรอดหรือไม่รอดในอนาคต อันนี้เป็นจุดที่น่าสนใจมากๆ นะครับ เพราะขัดกับจริตคนไทยโดยทั่วไปในเรื่องการจดการเขียนพฤติกรรมการใช้จ่ายของ ตนเอง ส่วนใหญ่จะชอบมั่วๆ ดำดิน หมุนๆ กันไปที่เรียกกันว่าชักหน้าให้ถึงหลังให้ได้ ผมเห็นด้วยว่าการจดลงไปจะเป็นตัวหยุดยั้งให้ใจของแต่ละคนเกิดความละอาย ลดละเลิกในสิ่งที่จะต้องซื้อหามาเพื่อปรุงแต่งความอยากได้ใคร่มีของแต่ละคน แต่ละท่าน

                          4.ข้อแนะนำการก่อหนี้ หากมีความจำเป็น การก่อหนี้ไม่ใช่สิ่งที่น่ากลัวเสมอไปหากรู้จักบริหารจัดการและก่อหนี้ ที่มีประโยชน์ สินเชื่อเป็นเครื่องมือสำคัญที่ช่วยให้บรรลุเป้าหมายทางการเงินได้เร็วขึ้น เช่น กู้เพื่อซื้อบ้าน กู้เพื่อประกอบธุรกิจ แต่สิ่งสำคัญ คือ ต้องประเมินความสามารถในการชำระคืนของตนเองด้วย โดยมีหลักคร่าวๆ คือ ภาระในการชำระคืนเงินต้นและดอกเบี้ยของหนี้ทุกประเภทรวมกันในแต่ละเดือน ไม่ควรเกิน 1 ใน 3 ของรายได้ต่อเดือน กล่าวคือ หากเรามีรายได้ 15,000 บาท เราควรมีภาระในการจ่ายหนี้ทุกประเภทในแต่ละเดือนไม่ควรเกิน 6,000 บาท จึงจะเหมาะสม ปลอดภัย

                          ท่านผู้อ่านสามารถดาวน์โหลดเอกสารนี้ได้จากการเข้าไปที่ www.bot.or.th และตามไปที่แหล่งข้อมูลศูนย์คุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงินหรือศูนย์ 1213 นั่นเอง อย่าลืมนะครับความรู้ที่มาจากการขนขวายจะช่วยป้องกันความเสี่ยงที่คอยจะมา รุกรานเราได้ทุกเมื่อ เพราะวันนี้ไม่มีอะไรที่แน่นอน

 

 

-----------------------

(สวัสดีเศรษฐกิจ : เพียงปรับวิธีคิด การดำเนินชีวิตจะปลอดภัย : โดย...สุรพล โอภาสเสถียร)

-http://www.komchadluek.net/detail/20130321/154243/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%98%E0%B8%B5%E0%B8%84%E0%B8%B4%E0%B8%94!%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%94%E0%B8%B3%E0%B9%80%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%8A%E0%B8%B5%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%88%E0%B8%B0%E0%B8%9B%E0%B8%A5%E0%B8%AD%E0%B8%94%E0%B8%A0%E0%B8%B1%E0%B8%A2.html-

.

http://www.komchadluek.net/detail/20130321/154243/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%98%E0%B8%B5%E0%B8%84%E0%B8%B4%E0%B8%94!%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%94%E0%B8%B3%E0%B9%80%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%8A%E0%B8%B5%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%88%E0%B8%B0%E0%B8%9B%E0%B8%A5%E0%B8%AD%E0%B8%94%E0%B8%A0%E0%B8%B1%E0%B8%A2.html

.