ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
คุณเชื่อในศรัทธาของความดีไหมครับ ( เลือกตอบแค่ เชื่อ กับ ไม่เชื่อ ครับผม):
ชีวิตบางครั้งก็เหมือนเหรียญสองด้านใช่หรือไม่ครับบางครั้งก็หัวบางครั้งก็ก้อย( เลือกตอบแค่ ใช่ กับไม่ใช่ครับผม):
คุณเชื่อว่าทุกศาสนาสอนให้ทุกคนเป็นคนดีใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ความดีนำทาง:
เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใครทำบุญแล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วยกมือขึ้น (สาธุ) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ  สาธุ:
ท่านจะปฏิบัติตามกฏระเบียบข้อตกลงของเว็บใต้ร่มธรรมทุกประการหรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
โดยปกติชน นิ้วมือของคนเรา มีกี่นิ้ว (ตอบเป็นภาษาไทยครับ):
เมื่อให้ท่านเลือก ระหว่าง (หนังสือเก่าๆเล่มหนึ่งที่เรารัก) กับ (มิตรแท้ที่รักเรา) คุณจะะเลือก:
บุคคลที่ไปหลายๆเว็บไซต์ โดยที่สวมบทบาทเป็นหลายๆคน โดยที่ไม่รู้ว่า แท้จริงใจเราต้องการอะไร เพื่อน หรือ ชัยชนะ:
ระหว่าง (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะผู้อื่น) กับ (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะตัวเอง)  ท่านจะเลือกเป็น:
กล่าวคำดังนี้  "ให้อภัยนะ":
กล่าวคำดังนี้  "ขออโหสิกรรม":
เคยนวดฝ่าเท้าให้ คุณพ่อคุณแม่บ้างไหม ถ้ามีโอกาส เราควรทำหรือไม่ (ควรกระทำอย่างยิ่ง หรือ ไม่ควรทำ):
พิมพ์คำว่า (แสงธรรมนำทางธรรมะนำใจ) ครับ:
สำนวนไทยที่ว่า แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน  พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ลางเนื้อชอบลางยา):
ขนทรายเข้าวัดคือ พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ทำบุญทำกุศลโดยวิธีนำหรือหาประโยชน์เพื่อส่วนรวมมิได้ทำเพื่อตนเอง):
ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ผู้ที่ทำตนให้เล็กที่สุด ผู้ที่เล็กที่สุดก็จะกลายเป็นผู้ที่ใหญ่ที่สุด ผู้ที่มีเกียรติคือผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น ฉะนั้นสมาชิกใต้ร่มธรรมควรให้เกียรติกันและกัน พิมพ์คำว่า (ฉันจะให้เกียรติสมาชิกทุกๆท่านในใต้ร่มธรรมเสมอด้วยวาจาสุภาพอ่อนน้อม):
ไม่มีอะไรสายสำหรับการเริ่มต้น พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (It is never too late to mend):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: มดเอ๊กซ
« เมื่อ: มีนาคม 26, 2013, 07:48:41 pm »




เกี่ยวกับกวี ( เรียงตามลำดับปีเกิด )


มะสึโอะ บะโช (Matso Basho) 1644-1694

ได้รับการยกย่องว่าเป็นกวีไฮกุชั้นปรามาจารย์แห่งยุคเอโดะ แม้หลายร้อยปีหลังจากเขาตาย ผลงานของบะโชยังได้รับการยกย่องจากทั่วโลกว่างดงาม และมีตำราเรียนในญี่ปุ่น

บะโชเกิดในจังหวัดอิกะ บิดาเป็นซามูไร แต่เขาไม่ปรารถนาในชีวิตนักรบ เคยเป็นคนรับใช้และครูสอนบทกวี เขาชอบการเดินทางท่องเที่ยวทั่วแผ่นดินและเขียนบทกวี ผลงานของเขากลั่นมาจากประสบการณ์ตรง มักเป็นเรื่องเล็ก ๆ เรียบง่าย งดงาม บะโช มีลูกศิษย์หลายคนที่เป็นกวีมีชื่อเสียง


โนะซาวะ บนโซ (Nozawa Boncho) 1640-1714

เป็นศิษย์เด่นคนหนึ่งของบะโช เกิดที่จังหวัดคานาซาวะ เป็นหมอ ใช้ชีวิตส่วนใหญ่ในเกียวโต


ทาคาราอิ คิคาขุ (Takarai Kikaku) 1661-1707

เป็นศิษย์เด่นคนหนึ่งของบะโช พ่อเป็นหมอ แต่เขาไม่อยากเจริญรอยตาม เขาเป็นผู้เขียนบันทึกชีวิตช่วงท้ายของอาจารย์


จิโยะ (Chiyo) 1703-1775

เป็นกวีสตรีที่โดดเด่นที่สุดคนหนึ่งในยุคเอโดะ เริ่มแต่งบทกวีตั้งแต่อายุเจ็ดขวบ อายุสิบสองเป็นศิษย์ของบะโช งานส่วนใหญ่เกี่ยวกับธรรมชาติ


โยซะ บุซน (Yosa Buson) 1716-1783

เป็นทั้งกวีและจิตกร จัดว่าเป็นหนึ่งในเสาหลักของกวียุคเอโดะ คู่กับบะโช และอิตสะ โยซะ บุซน เกิดที่จังหวัดเซ็ตสุ ย้ายไปเอโดะ(โตเกียว) เมื่อวัยยี่สิบ เพื่อเรียนไฮกุจากอาจารย์ฮายาโนะ ฮะจิน เมื่ออาจารย์ตาย เขาท่องเที่ยวไปทั่วตามรอยบะโช อายุสี่สิบสองตั้งรกรากที่เกียวโต และเขียนบทกวีจนวันตาย


โคบายาชิ อิตสะ(Kobayashi Issa) 1763-1828

เป็นหนึ่งในสี่ยอดกวีของญี่ปุ่น เกิดในตระกูลชาวนา แม่ตายเมื่ออายุสามขวบ เมื่อโตขึ้นเดินทางไปเอโดะ และท่องเที่ยวไปทั่ว อิตสะกลับบ้านเกิดเมื่ออายุสี่สิบเก้าแต่งงานและมีลูก ลูกสองคนเขาตายไปแต่เล็ก (เขาสะท้อนเหตุการณ์นี้ในบทกวีชื่อ โลกของน้ำค้าง) ต่อมาลูกคนที่สามก็ตายไปอีก เขาสร้างผลงานในชนบทจวบจนวันตาย มีผลงานไฮกุกว่าสองหมื่นชิ้น


มาซาโอกะ ชิกิ(Masaoka Shiki) 1867-1902

เป็นนักเขียน กวี นักวิจารณ์วรรณกรรม นักข่าว เป็นผู้เปลี่ยนบทกวีญี่ปุ่นให้ทันสมัยขึ้น สร้างสรรค์งานชั้นดีไว้มาก จนจัดเป็นกวีไฮกุผู้ยิ่งใหญ่ที่สุดคนหนึ่งซึ่งมีสี่ท่านคือ  บะโช บุซน อิตสะ และชิกิ


นัตสึเมะ โซเซกึ(Natsume Soseki) 1567-1916

เป็นนักเขียนทั้งเรื่องสั้น  นวนิยาย และบทกวี จัดว่าเป็นนักเขียนนวนิยายระดับคุณภาพ เคยศึกษาในภาษาอังกฤษ  และเชี่ยวชาญวรรณกรรมตะวันตก เขาคิดจะเป็นสถาปนิก  แต่พบชิกิผู้สอนเขาถึงวิธีเขียนไฮกุ  จึงหันมาเอาดีทางด้านบทกวี


- จาก สี่ฤดู, ทั้งชีวิต ต by วินทร์ เลียววาริณ -
ข้อความโดย: มดเอ๊กซ
« เมื่อ: มีนาคม 25, 2013, 01:58:24 am »



ตัวอย่าง ไฮกุ แนว ยูเก็น :

นอนในวัด
ด้วยใบหน้าที่แท้จริงของข้าฯ
มองจันทร์

(บะโช)

ทุกสิ่งที่เคยอยู่
อันตรธานจากหัวใจชราของข้าฯ
ไร้ร่องรอย

(อิโอะ โซกิ)

มีคำกล่าวว่า ไฮกุที่ดีก็เช่น การโยนก้อนกรวด ลงไปในบ่อน้ำแห่งจิตของผู้ฟัง ขนาดของก้อนกรวดไม่สำคัญเท่าความคงอยู่ของมัน ไฮกุเป็นตัวอย่างของ ปรัชญา ‘น้อยคือมาก’ (Less is more) สิบเจ็ดพยางค์  ที่เรียบง่ายทำงานโดย ให้ความคิดของเราเป็นตัวทำงาน

ผมชอบอ่านบทกวี ไฮกุ (ซึ่งอาจจะสะท้อนนิสัยชอบอะไรรวบรัดก็ได้) และเช่นเดียวกับ การอ่านปรัชญาเต๋าและเซน มักไม่เข้าใจจนถึงระดับถ่องแท้ เพียงแต่ชอบอารมณ์ของบทกวีชนิดนี้ มันเป็นภาวะของการโหยหาอดีต (nostalgia) อยู่มาก แม้จะสั้น หลายบทกลับติดตราตรึงใจนานหลังจากอ่าน และอยากเผยแพร่อารมณ์กวีแบบนี้ต่อผู้อ่านชาวไทยให้กว้างขึ้น โดยหวังลึก ๆ ว่าอาจช่วยทำให้จิตใจชาวเรานุ่มนวลขึ้น และอาจทำให้มองเห็นความงามของธรรมชาติที่เราละเลยมานาน ทั้งที่เราเป็นเมืองเกษตรที่ไกล้ชิดกับธรรมชาติมาแต่บรรพบุรุษ

หนังสือ สี่ฤดู , ทั้งชีวิต เล่มนี้ตั้งใจให้เป็นสมุดภาพแห่งความสุขมากกว่าการพยายามเข้าใจบทกวี หรือตัวตนของกวีอย่างลึกซึ้ง ไฮกุที่นำมาถ่ายทอดทั้งหมดนี้เป็นบทกวีเก่าแก่ เช่นผลงานของ บะโช, อิตสะ ฯลฯ พิสูจน์ว่างานดีนั้นยืนยงผ่านกาลเวลาและเป็นสากล

น่าแปลกเมื่ออ่านกวีบทเก่า ๆ และชีวิตของกวีเหล่านี้แล้ว ผมอดคึดถึง กนกพงค์ สงสมพันธุ์  และหุบเขาฝนโปรยไพรของเขาไม่ได้ คนเหล่านี้เป็นกวีที่หลอมตัวเองเข้าเป็นอณูหนึ่งของธรรมชาติ  ใช้ชีวิตเรียบง่าย  และหายใจเป็นตัวอักษร ทุกยุคทุกสมัยโรคเรามี  บะโช,  อิตสะ และกวีผู้เห็นความงามของโลก ผู้เชื่อมั่นในอำนาจของวรรณกรรม เกิดและตายไปกับความงามของตัวอักษร
ข้อความโดย: มดเอ๊กซ
« เมื่อ: มีนาคม 25, 2013, 01:50:23 am »



มีผู้แบ่งประเภทของงานเหล่านี้ ออกตามคุณลักษณะอารมณ์ของมัน เช่น อารมณ์ที่แสดงความรู้สึกโดดเดี่ยวเงียบเหงา ความสงบนิ่ง ความงามสง่า เรียก ซาบิ (sabi) งานที่สะท้อนความเงียบเหงา ความรู้สึกเศร้าว่างโหวงของศิลปินในสภาวะ ‘เช่นนั้นเอง’ เรียกว่า วาบิ (wabi) อารมณ์ที่แสดงความรู้สึกเศร้าโหยหาอดีต เวทนาและการจากไปของโลกบางโลก เรียกว่า อาวาเระ (aware) อารมณ์ที่แสดงความรู้สึกแปลก ลี้ลับ ไม่อาจค้นพบ ความลุ่มลึกที่เข้าถึงยาก เรียกว่า ยูเก็น (yugen)


ตัวอย่างไฮกุแนวซาบิ :

กิ่งไม้เหี่ยวเฉา
อีกาเกาะอยู่
ในค่ำคืนฤดูไบไม้ร่วง

(บะโช)

จากยอดไม้
ความว่างเปล่าโรยตัว
ในเปลือกจักจั่น

(บะโช)

ดื่มสาเก
โดยไร้ดอกไม้และดวงจันทร์
ใครคนนั้นโดดเดี่ยวแท้

(บะโช)

สายตาของกวางตัวผู้
ฟังและรู้สึก
ลมฤดูใบไม้ผลิเริ่มพัด

(ฟุคุดะ คิเนโอะ)


ตัวอย่างไฮกุแนว วาบิ :

บนกิ่งไม้แห้งกรัง
อีกาเกาะอยู่เดียวดาย
ถึงยามค่ำของฤดูใบไม้ผลิแล้ว

(บะโช)

กองสูงสามศอก
พายุในภูเขา
ใบไม้

(บะโช)

สิ้นสุดปี
ยังคงสวมหมวกฟาง
กับรองเท้าแตะ

(บะโช)


ตัวอย่าง ไฮกุ แนว อาวาเระ :

หมู่บ้านเก่าที่รักของข้าฯ
ทุกความทรงจำของบ้าน
แทงดุจหนาม

(อิตสะ)

แม่จ๋า ฉันร้องไห้
เพื่อแม่ ขณะฉันมองทะเล
ทุกครั้งที่ฉันมองทะเล

(อิตสะ)

เศร้าอยู่แล้ว
ยามนี้ยิ่งเหงา
ดุเหว่าภูเขา

(บะโช)
ข้อความโดย: มดเอ๊กซ
« เมื่อ: มีนาคม 25, 2013, 01:13:28 am »




ไฮกุจำนวนมากสะท้อน วิถีชีวิตแบบเรียบง่าย พอเพียง สันโดษ ยกตัวอย่างเช่น :

   
ฝนฤดูใบไม้ผลิโปรยปราย
อ้าปากหาวเต็มที่
หญิงงามคนหนึ่ง

(อิตสะ)

ไร้หมวก
ฝนฤดูหนาวหล่นบนตัวข้า ฯ
แล้วทำไม

(บะโช)

ฤดูใบไม้ผลิของข้า ฯ มีเพียงเท่านี้
หน่อไผ่หน่อหนึ่ง
กิ่งหลิวกิ่งหนึ่ง

(อิตสะ)

เดี๋ยว ! หยุด !
ก่อนที่เจ้าจะตีระฆัง
รบกวนดอกซากุระที่บานสะพรั่ง

(อิชุ)

หลับกลางวันของข้า ฯ
หอมหวานขึ้น
ด้วยเสียงเพลงของคนปลูกข้าว

(อิตสะ)

หลายบทสะท้อนเซนอย่างชัดเจน :

บ่อน้ำฤดูหนาว
ถังน้ำเต็มไปด้วย
แสงดาว

(โฮริอุจิ โทชิมิ)

ภูเขาไกลโพ้น
สะท้อนในดวงตา
ของแมลงปอ

(อิตสะ)

ข้าฯ หันหลังของข้าฯ
ให้พระพุทธรูป
จันทร์งามยิ่ง

บางบทสะท้อนเรื่องชีวิต ความเปลี่ยนแปลง ความตายอันเป็นเรื่องธรรมดา ของปรัชญาตะวันออกและเซน :

ป่วยระหว่างการเดินทาง
ฝันถึงท้องทุ่งโรยรา
ท่องเที่ยวไปทั่ว

(บะโช)

สายฝนแผ่วบางในฤดูใบไม้ผลิ
จดหมายที่ถูกทอดทิ้ง
ปลิวผ่านดงไผ่

(อิตสะ)
ข้อความโดย: มดเอ๊กซ
« เมื่อ: มีนาคม 25, 2013, 01:10:13 am »




กวีไฮกุมองธรรมชาติด้วยสายตาของคนที่เข้าใจโลก หรือ ‘ภูเขาเป็นภูเขา แม่น้ำเป็นแม่น้ำ’ ว่าเป็นความงาม กวีเขียนด้วยญาณทัสนะ ความรู้สึกที่ผูกกับสิ่งที่เห็น

กวีเอกไฮกุ บะโช กล่าวว่า “ จะเขียนไฮกุหรือ ? หาเด็กสูงสามศอกมาสักคน ! ” หมายความว่า เขาเขียนไฮกุด้วยมุมมองและสายตาของเด็ก นั่นคือการมองเห็นโลกที่น่าตื่นตาตื่นใจเป็นครั้งแรก ทุกอย่างเป็นประสบการณ์ใหม่ และการมองโลกแบบนี้ทำให้เห็นหลายมุมนอกกรอบเดิม
 
ในสายฝนฤดูร้อน
ขาของนกกระสา
สั้นกว่าเดิม

(บะโช)

ไฮกุมองโลกอย่างเป็น ‘เช่นนั้นเอง’ (suchness)  ตรงกับแนวคิดที่ว่า เซนก็คือชีวิตธรรมดาในแต่ละวัน อย่างเช่น :

ข้างหน้าต่าง
งีบบนเตียง
เสื่อไผ่

(บะโช)

โพล้เพล้
อาบต้นฉำฉาแดงกับต้นสน
เถาหวายสีม่วงเบ่งบาน

(ชิโฮตะ)

ช่างสดใสและหวานเสียนี่กระไร
น้ำแห่งขุนเขา
ต่อนักเดินทาง

(คามิโอะ คุมิโกะ)

งานไฮกุมักเกี่ยวกับธรรมชาติ ดังเช่นบทกวีของบะโชที่พูดถึงบ่อยที่สุดบทนี้ :

สระเก่า
กบตัวหนึ่งกระโดดลงไป
เสียงน้ำดังจ๋อม

(บะโช)

นิ่งสงัด
จมหายลงในหิน
เสียงจักจั่น

(บะโช)

กลีบโบตั๋นร่วง
กองทับกันและกัน
สองบ้างสามบ้าง

(บุซน)
ข้อความโดย: มดเอ๊กซ
« เมื่อ: มีนาคม 25, 2013, 12:59:46 am »



กติกาการเขียนไฮกุคือ 17 พยางค์  มักใช้คำราว 3-10 คำ ในต้นฉบับญี่ปุ่นมักเขียนเป็นแถวเดียวลงมา แต่บางครั้งก็แยกเป็นสามแถว (ในภาษาอื่นนับเป็นสามบรรทัด)
 
ไฮกุก็ไม่ต่างจากงานนิพนธ์อื่น ๆ  คือเป็นการเล่าเรื่อง เพียงแต่เป็นเรื่องที่คนอ่านต้องคิดและเชื่อมโยงเอาเอง กวีไฮกุนิยมใช้การเขียนแบบนี้ ถ่ายภาพ หรือสะท้อน ความรู้สึกที่เกี่ยวพันความงามในธรรมชาติ คำแต่ละคำในไฮกุเป็นมากกว่าคำบรรยาย มันเป็นปะสบการณ์ทั้งทางโลกและจิตวิญญาณ

มีผู้วิเคราะห์ว่า “ประสบการณ์ไฮกุ” คือการรวมกันของสามองค์ประกอบ อะไร ที่ไหน เมื่อไร

อะไรคือปฏิกิริยาของกวีต่อสิ่งที่ประสบ อาจเป็นภาพ (เช่น ใบไม้ร่วง, พระจันทร์, บ่อน้ำเก่า, กบ) อาจเป็นเสียง (เช่น เสียงน้ำไหล, เสียงลมพัด, เสียงนกร้อง) อาจเป็นกลิ่น (เช่น กลิ่นหอมของดอกไม้) อาจเป็นรส (เช่น รสน้ำชา หรือ ขนม)

ที่ไหน อาจเป็นที่ใดก็ได้ อาจจะเจาะจงชื่อเมือง เช่น เอโดะ ชื่อภูเขา เช่น ฟูจิ ฯลฯ หรือ อาจไม่เจาะจง เช่น วัดโบราณแห่งหนึ่ง เมืองเก่า ชนบท, ทุ่งนา, สวนผลไม้,  ร้านเหล้า ฯลฯ

เมื่อไร เป็นส่วนสำคัญของไฮกุ หลายบทจะบอกช่วงวัน เวลา ฤดูกาล หลายบทไม่บอกตรง ๆ แต่ใช้ ‘ตัวละคร’ บอกทางอ้อม เช่น กบและหวายสีม่วงมักปรากฏในช่วงปลายฤดูใบไม้ผลิ ดอกจูงวัวในช่วงฤดูร้อน ดอกเหมยอยู่ในช่วงปีใหม่ เป็นต้น นอกจากนี้ เมื่อไร ยังอาจเป็นเวลาอดีต ปัจจุบัน หรือ อนาคตก็ได้
ข้อความโดย: มดเอ๊กซ
« เมื่อ: มีนาคม 25, 2013, 12:56:58 am »



ในครึ่งหลังของศตวรรษที่ 17 กวีบะโช และศิษย์ได้ยกระดับไฮไคขึ้นไปอีกขั้น งดงามและทรงพลัง

นี่คือที่มาของ ไฮกุ

คำว่า ไฮกุ เป็นที่เพิ่งมาใช้กันในศตวรรษที่ 19 นี่เอง กวี มาซาโอกะ ชิกิ (Masaoka Shiki 1867-1902) เป็นคนบัญญัติขึ้น ไฮ หมายถึง ไม่ปกติ กุ* หมายถึง พยางค์ บาท หรือ บทกวี   ไฮกุ หมายรวมถึง งานฮกกุที่เป็นบทกวีเดี่ยว ๆ ทั้งหมดด้วย จนกระทั่งภายหลัง ฮกกุ กับ ไฮกุ ก็พอใช้แทนกันได้
* กุ (ku) ใน ไฮกุ,  ฮกกุ,  เร็นกุ เป็นคำเดียวกัน เสียงที่ถูกต้องคือ ขุ แต่เนื่องจากเสียง ไฮกุ แพร่ หลายแล้ว จึงใช้คำว่า ไฮกุ,  ฮกกุ,  เร็นกุ ทั้งเล่มนี้

แม้จะมีบทกวีที่โดดเด่น เช่น มะสึโอะ บะโช (Matsuo Basho 1644-1694) , เรียวคัง ไดกุ (Ryokan Daiku 1758-1831), โยซะ บุซน (Yosa Buson 1718-1783), โคบายาชิ อิตสะ (Kobayashi issa 1763-1827), นัตสึเมะ โซเซกึ (Nuatsume Soseki 1867-1916) เป็นต้น แต่เนื่องจากเซนเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวัน ดังนั้นจึงไม่แปลกที่สามัญชนทั่วไปก็แต่งไฮกุกัน ในญี่ปุ่นปัจจุบันมีกวีไฮกุสมัครเล่นจำนวนนับล้าน ! หนังสือพิมพ์ญี่ปุ่นก็มักมีเนื้อที่ตีพิมพ์ไฮกุ จนอาจกล่าวได้ว่า ไม่มีชนชาติใดในโลกที่ดื่มด่ำกับบทกวีไฮกุเท่าญี่ปุ่น
ข้อความโดย: มดเอ๊กซ
« เมื่อ: มีนาคม 25, 2013, 12:52:05 am »



ไฮกุ มีรากมาจากงานกวีที่เรียกว่า เร็นกะ (Renga) ในศตวรรษที่ 12 เร็นกะ แปลตรงตัวว่า เพลงที่เชื่อมกัน หรือบทกวีที่เชื่อมกัน คุณลักษณ์ของมันคือ เป็นการเชื่อมบทกวีต่อ ๆ กันระหว่างกวีหลายคน จะว่าไปแล้วมันก็คือการด้นอย่างหนึ่ง (เหมือนศิลปินแจ๊สอิมโพรไวซ์เพลงกัน) เร็นกะ มีลักษณะการใช้คำ 17 พยางค์  (5-7-5) มาเชื่อมกับบทที่มี 14 พยางค์ (7-7) บทเปิดของเร็นกะ เรียกว่า ฮกกุ ( hokku )

ในศตวรรษที่ 16 งานศิลปะ เช่น ละครคาบูกิ และภาพพิมพ์ไม้กลายเป็นศิลปะที่สามัญชนทั่วไปเข้าถึงได้ง่าย เร็นกะ ได้พัฒนาต่อไปกว้างขึ้น มีทั้งอารมณ์ขันและความหลักแหลม กลายเป็นสไตล์ที่เรียกว่า เร็นกุ(renku) หรือ ไฮไค-โนะ-เร็นกะ (haikai-no-renga) ซึ่งเป็นที่นิยมมาก และต่อมาอีกมันก็พัฒนาเป็น ไฮไค(haikai)  ซึ่งยังคงสืบสานความงามของ ไฮไค-โนะ- เร็นกะ แต่จัดเป็นอีกสายพันธุ์หนึ่งของบทกวี วางรากฐานอย่างแข็งแร็งโดยสองมหากวี มะสึโอะ บะโช (Matsuo Basho 1644-1694) และ อุเอะชิมะ โอนิทสึระ (Ueshima Onitsura 1661-1738 ) มหากวีทั้งสองและศิษย์ไฮไคนำเสนอชีวิตสามัญทั่วไป ชีวิตประจำวัน เช่น เรื่องขอทาน ชาวนา ชาวบ้าน คนเดินทาง ซึ่งแตกต่างจากกวีแบบดั้งเดิม

หากมองด้วยสายตาของคนในศตวรรษที่ 17  ไฮไคก็น่าจะเป็นงานทดลองแบบหนึ่ง นั่นคือไม่อยู่ในกรอบระเบียบแบบเดิม ใช้ภาษาธรรมดา ซึ่งเข้ากับสามัญชนมากกว่า ช่วงนี้เองที่บทเปิด 5- 7-5 ของเร็นกะ ที่เรียกว่า ฮกกุ กลายเป็นอิสระในตัวมันเอง สมบูรณ์ในบทเดียว หรือที่ วิลเลียม เจ ฮิกกินสัน (William J. Higginson) ผู้แปลไฮกุ หลายเล่ม เรียกมันว่าเป็น stand-alone –verse (บทกวีบทเดี่ยว)
ข้อความโดย: มดเอ๊กซ
« เมื่อ: มีนาคม 25, 2013, 12:31:35 am »




ในด้านบทกวี มีการประดิษธิ์สิ่งงดงามอย่างหนึ่งที่เป็นผลสืบเนื่องมาจากรากเหง้าเซนคือ ไฮกุ (Haiku)

ไฮกุเป็นบทกวีความยาว 17 พยางค์ เรียงเป็นสามท่อน 5-7-5 พยางค์ ในบรรทัดเดียว เมื่อถ่ายทอดเป็นภาษาอื่นก็นิยมแยกเป็นสามบรรทัด การเขียนบทกวีแค่ 17 พยางค์ ดูเหมือนจะเป็นเรื่องง่าย ๆ แต่ผู้ที่ลองเขียนหนังสือ หรือ บทกวีย่อมเข้าใจซึ้งว่า การเขียนโดยใช้คำน้อยนั้นยากกว่าการเขียนเรื่องยาวนัก กวีไฮกุ ต้องใช้ คำ เสียง จังวะ อย่างละเอียดอ่อนและระมัดระวัง เหมือนการจัดดอกไม้ หรือ จัดสวนหิน มันเป็นทั้งศิลปะและปรัชญา

เซอร์ จอร์จ แซนซัม ( Sir George Sansom 1883 - 1965 ) นักประวัติศาสตร์ด้านญี่ปุ่น  ให้คำจำกัดความไฮกุว่า “หยดเล็ก ๆ ของแก่นสารกวี” ฮาโรล เฮนเดอร์สัน (Harold Henderson 1889 - 1974) นักเขืยนด้านศิลปะญี่ปุ่น บอกว่า “ ไฮกุคือการทำสมาธิที่เป็นจุดเริ่มต้นของขบวนความคิดยาวเหยียด ”

เรจินัลด์ โฮเรซ ไบล์ (Reginaid Harace Blyth 1898 - 1964) นักเขียนชาวอังกฤษผู้อุทิศตนให้แก่งานศิลปวัฒนธรรมญี่ปุ่น และเป็นผู้แปลไฮกุ หลายเล่มกล่าวว่า “วรรณกรรมญี่ปุ่นจะยืน หรือ ล้ม ก็ด้วยไฮกุ” 
ข้อความโดย: มดเอ๊กซ
« เมื่อ: มีนาคม 25, 2013, 12:06:54 am »



สำหรับศิลปะสายอื่น ๆ ที่ได้รับอิทธิพลของเซนก็มีตั้งแต่จิตรกรรม, ภาพพิมพ์, การคัดลายมือ, ดนตรี ไปจนถึงบทกวีไฮกุ

ในงานจิตรกรรม มีการสืบสานการวาดภาพโดยใช้สีขาวดำแบบจีน แสดงถึงความเรียบง่ายและอิงธรรมชาติซึ่งเป็นหัวใจของเซน ภาพจิตรกรรมมักสะท้อนชีวิตไร้จุดหมาย เรียบง่าย และสภาวะภายในของจิตรกรชั่วขณะจิตที่สงบเรียบ เหมือนพระเซนที่กำลังอยู่ในสมาธิ เมื่อมองแบบเซนจะเห็น ‘ขณะจิต’ แบบนี้มากมาย แสงแดดที่กระทบหุบเขา น้ำค้างบนยอดหญ้า ใบไม้ร่วงบนทางเดิน นกบินกลางหาว น้ำตกไหลไม่หมดสิ้น ฯลฯ ภาพต่าง ๆ เหล่านี้ สะท้อนวิถีเซน จึงไม่แปลกที่พระเซนบางท่านเช่น ฮาคุอิน (Hakuin 1686 - 1769) และ กิบน เซนไก (Gibon Sengai 1750 - 1837) ใช้ศิลปะสายจิตรกรรมเป็นหนึ่งในเครื่องมือถ่ายทอดเซน และก็ไม่แปลกอีกเช่นกันที่มีจิตรกรชั้นเซียนจำนวนมากมายตั้งแต่ ศตวรรษที่ 11 เป็นต้นมา เป็นพระเซนและเป็นกวีด้วย เช่น มุโซ โซเซกิ หรือ มุโซ โคคุชิ (Muso Soseki / Muso Kokushi 1275 - 1351) , เซ็ตชู ( Sesshu หรือ Sesshu Toyo 1420 - 1506 ) , โช เด็นสุ (Cho Densu 1351 - 1431) , ชุบุน (Shubun 1414 - 1465), โซกะ จะโซกุ (Soda Jasoku ? - 1483)

เซนมีอิทธิพลแม้แต่ในกายุทธ วิชาดาบ (เคนโด) วิชาธนู (คิวโด) การป้องกันตัว (จูโด) ฯลฯ ก็มีเงาเซนทาบอยู่ แม้แต่ยอดนักดาบ มิยาโมโตะ มุซาชิ (Miyamoto Musashi 1584 - 1645) ก็มีความสามารถในการเขียนภาพ ! เขาบอกว่า “เมื่อข้า ฯ ใช้หลักการยุทธ์สร้างสรรค์งานศิลปะสายต่าง ๆ ข้า ฯ มิจำเป็นต้องมีครูสอน ! ”