ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: มีนาคม 29, 2013, 09:53:46 pm »>> F/B ไปให้ถึงซึ่งโลกุตระ :https://www.facebook.com/groups/104243923041392/
นิพพานเป็นอย่างไร?
[พุทธวจน]
ภิกษุ ท.! สังขตลักษณะแห่งสังขตธรรม ๓ อย่าง เหล่านี้ มีอยู่.
สามอย่างอย่างไรเล่า? สามอย่างคือ :-
๑. มีการเกิดปรากฏ (อุปฺปาโท ปญฺญายติ);
๒. มีการเสื่อมปรากฏ (วโย ปญฺญายติ) ;
๓. เมื่อตั้งอยู่ ก็มีภาวะอย่างอื่นปรากฏก (ฐิตสฺส อญ ฺญถตฺตํ ปญฺญายติ).
ภิกษุ ท.! สามอย่างเหล่านี้แล คือสังขตลักษณะแห่งสังขตธรรม.
ภิกษุ ท.! อสังขตลักษณะของอสังขตธรรม ๓ อย่าง เหล่านี้ มีอยู่.
สามอย่างอย่างไรเล่า? สามอย่างคือ :-
๑. ไม่ปรากฏมีการเกิด (น อุปฺปาโท ปญฺญายติ) ;
๒. ไม่ปรากฏมีการเสื่อม (น วโย ปญฺญายติ) ;
๓. เมื่อตั้งอยู่ ก็ไม่มีภาวะอย่างอื่นปรากฏ (น ฐิตสฺส อญฺ ญถตฺตํ ปญฺญายติ).
ภิกษุ ท.! สามอย่างเหล่านี้แล คืออสังขตลักษณะของอสังขตธรรม.
- ติก. อํ. ๒๐/๑๙๒/๔๘๖-๔๘๗.
ภิกษุ ! ในปัญหาของเธอนั้น เธอไม่ควรตั้งคำถามขึ้นว่า
“มหาภูตสี่ คือ ดิน น้ำ ไฟ ลมเหล่านี้ ย่อมดับสนิทไม่มีเศษเหลือในที่ไหน?”
ดังนี้เลย, อันที่จริง เธอควรจะตั้งคำถามขึ้นอย่างนี้ว่า:
“ดิน น้ำ ไฟ ลม ไม่หยั่งลงได้ในที่ไหน?
ความยาว ความสั้น ความเล็ก ความใหญ่ ความงาม ความไม่งาม
ไม่หยั่งลงได้ในที่ไหน?
นามรูป ย่อมดับสนิทไม่มีเศษเหลือในที่ไหน? ดังนี้ต่างหาก.
ภิกษุ ! ในปัญหานั้น คำตอบมีดังนี้:“สิ่ง” สิ่งหนึ่ง
ซึ่งบุคคลพึงรู้แจ้ง
เป็นสิ่งที่ไม่มีปรากฏการณ์ไม่มีที่สุด
แต่มีทางปฏิบัติเข้ามาถึงได้โดยรอบ,นั้นมีอยู่.
ใน “สิ่ง”นั้นแหละ ดิน น้ำ ไฟ ลม ไม่หยั่งลงได้. ใน “สิ่ง”
นั้นแหละความยาว ความสั้น ความเล็ก ความใหญ่ ความงาม ความไม่งาม
ไม่หยั่งลงได้. ใน “สิ่ง” นั้นแหละ นามรูปย่อมดับสนิท ไม่มีเศษเหลือ.
นามรูป ดับสนิทใน “สิ่ง” นี้ เพราะการดับสนิทของวิญญาณ, ดังนี้”.
บาลี เกวัฏฏสูตร สี. ที. ๙/๒๗๗/๓๔๓.
ตรัสแก่เกวัฏฏะคหบดี ที่ปาวาริกัมพวัน เมืองนาลันทา.