ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: เมษายน 03, 2013, 03:51:45 pm »https://youtu.be/Y62l0cfHTrs?list=PLdG7Kf_wxHJOChDzveJlq6mudVO_Jgg5R
การจัดการความหลง ๑, การจัดการความหลง (จบ)Uploaded on Sep 13, 2011
พระอาจารย์ปราโมทย์ ปาโมช -กิเลสแมนเนจเม้นท์
https://youtu.be/Pm_7JUSIDyo
เป็นกลางด้วยปัญญา
จิตจะหมดความดิ้นรนหมดความปรุงแต่งหมดการแสวงหา
หมดกิริยาอาการทั้งหลาย
การจัดการความหลง ๑, การจัดการความหลง (จบ)Uploaded on Sep 13, 2011
พระอาจารย์ปราโมทย์ ปาโมช -กิเลสแมนเนจเม้นท์
https://youtu.be/Pm_7JUSIDyo
เป็นกลางด้วยปัญญา
จิตจะหมดความดิ้นรนหมดความปรุงแต่งหมดการแสวงหา
หมดกิริยาอาการทั้งหลาย
ถ้าเราอบรมปัญญามากพอนะ มีสติรู้กายรู้ใจตามความเป็นจริง ด้วยจิตที่ตั้งมั่นและเป็นกลางมากเข้่าๆนะ ตรง(ที่)ตั้งมั่นและเป็นกลางเนี่ย เป็นกลางด้วยสมาธิ (เป็น)กลางด้วยสติด้วยสมาธิ ในที่สุดจิตจะเกิดปัญญา เห็นว่าทุกอย่างเนี่ย เป็นของชั่วคราว เท่าๆกันหมดเลย ตรงนี้จะเป็นกลางด้วยปัญญาเมื่อมันเป็นกลางด้วยปัญญา จิตจะหมดความดิ้นรน หมดความปรุงแต่ง หมดการแสวงหา หมดกิริยาอาการทั้งหลาย จิตชนิดนี้แหล่ะพร้อมที่จะสัมผัสกับพระนิพพาน บางคนจิตจะรวมเข้าอัปปนาสมาธิ แล้วผ่านกระบวนการแห่งอริยมรรค แต่บางคนมาถึงสังขารุเปกขา(ญาณ)แล้วนะ จิตถอยออกมาอีก เสื่อมไปเลยก็ได้ บางคนไปอยู่ตรงนี้นะ แล้วปรารถนาพุทธภูมิก็ได้ เป็นทางแยกไปพุทธภูมิเพราะงั้นจะเป็นพระโพธิสัตว์ หรือจะเป็นพระอริยสงฆ์เป็นสาวกธรรมดา ก็ต้องฝึกจนกระทั่งได้สังขารุเปกขาญาณ ถ้าไม่มีสังขารุเปกขาฯเนี่ย พระโพธิสัตว์ก็อยู่ไม่รอดหรอก เดี๋ยวเจอความทุกข์เข้าก็ถอย ไม่เป็นกลางกับความทุกข์งั้นพวกเราทุกคนนะ รู้เป้าหมายของเรา เราจะต้องพัฒนาจิตใจของตนเอง จนวันหนึ่งมันเป็นกลางต่อความปรุงแต่งทั้งปวง เช่นเป็นกลางต่อความสุขความทุกข์ เป็นกลางต่อกุศลอกุศล เป็นกลางต่อความยินดียินร้ายทั้งหลาย จะเป็นกลางได้นะ อาศัยมีสติรู้กายรู้ใจตามความเป็นจริง รู้ด้วยจิตที่ตั้งมั่น รู้ด้วยจิตที่เป็นกลาง เป็นกลางตัวนี้กลางด้วยสติด้วยสมาธิไปก่อน แล้วสุดท้ายมันจะกลางด้วยปัญญา
หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
..
..
Published on Feb 2, 2016
สมพงศ์ อินดัสเตรียล อิเล็กทรอนิคส์
ถ้ารู้ความจริงของรูปของนาม ของกายของใจได้ ก็ไม่ยึดถือมันก็เท่ากับไม่ไปหยิบฉวยเอาความทุกข์ขึ้นมาวิปัสสนากรรมฐานปัสสนะ แปลว่าการเห็น วิ แปลว่าแจ้งเห็นแจ้งเห็นจริงเห็นถูก เห็นไตรลักษณ์นั่นเองเห็นว่าร่างกายนี้ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตาจิตไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตาสรุปแล้ว ให้รู้ทุกอย่างที่จิตไปรู้เข้า โดยไม่เติมความคิดนึกปรุงแต่งใดๆ ลงไปอีก เพราะ "รู้" นั่นแหละคือประตูของมรรคผลนิพพาน
..
..
สมพงศ์ อินดัสเตรียล อิเล็กทรอนิคส์ 1 week ago
การที่เราแต่ละคนๆนะ จะบรรลุพระโสดาบัน บรรลุพระสกทาคามีอนาคามี บรรลุพระอรหันต์เนี่ย ก็เดินอยู่ในร่องรอยอันเดียวกันทั้งหมดเลย เราต้องมาเห็นความเป็นจริงของรูปของนาม เห็นซ้ำแล้วซ้ำอีกนะ จนจิตมันเป็นกลาง จิตมันเป็นกลางแล้ว ถึงจะมีโอกาสเกิดอริยมรรค ความเป็นกลางต่อสังขารนี่นะ ความเป็นกลางต่อความปรุงแต่งทั้งหลายทั้งปวงนี้แหล่ะ คือประตูแห่งการบรรลุมรรคผล ถ้าเรายังภาวนาไม่สามารถเข้ามาสู่ความเป็นกลาง ต่อรูปนาม ต่อความปรุงแต่ง ได้ด้วยปัญญา ยังไกลกับมรรคผลอยู่ อย่างถ้าเราเป็นกลางด้วยสติ เป็นกลางด้วยสมาธิ ยังไกลต่อมรรคผลอยู่ แต่ถ้าเราอบรมปัญญามากพอนะ มีสติรู้กายรู้ใจตามความเป็นจริง ด้วยจิตที่ตั้งมั่นและเป็นกลางมากเข้่าๆนะ ตรง(ที่)ตั้งมั่นและเป็นกลางเนี่ย เป็นกลางด้วยสมาธิ (เป็น)กลางด้วยสติด้วยสมาธิ ในที่สุดจิตจะเกิดปัญญา เห็นว่าทุกอย่างเนี่ย เป็นของชั่วคราว เท่าๆกันหมดเลย ตรงนี้จะเป็นกลางด้วยปัญญาเมื่อมันเป็นกลางด้วยปัญญา จิตจะหมดความดิ้นรน หมดความปรุงแต่ง หมดการแสวงหา หมดกิริยาอาการทั้งหลาย จิตชนิดนี้แหล่ะพร้อมที่จะสัมผัสกับพระนิพพาน บางคนจิตจะรวมเข้าอัปปนาสมาธิ แล้วผ่านกระบวนการแห่งอริยมรรค แต่บางคนมาถึงสังขารุเปกขา(ญาณ)แล้วนะ จิตถอยออกมาอีก เสื่อมไปเลยก็ได้ บางคนไปอยู่ตรงนี้นะ แล้วปรารถนาพุทธภูมิก็ได้ เป็นทางแยกไปพุทธภูมิเพราะงั้นจะเป็นพระโพธิสัตว์ หรือจะเป็นพระอริยสงฆ์เป็นสาวกธรรมดา ก็ต้องฝึกจนกระทั่งได้สังขารุเปกขาญาณ ถ้าไม่มีสังขารุเปกขาฯเนี่ย พระโพธิสัตว์ก็อยู่ไม่รอดหรอก เดี๋ยวเจอความทุกข์เข้าก็ถอย ไม่เป็นกลางกับความทุกข์งั้นพวกเราทุกคนนะ รู้เป้าหมายของเรา เราจะต้องพัฒนาจิตใจของตนเอง จนวันหนึ่งมันเป็นกลางต่อความปรุงแต่งทั้งปวง เช่นเป็นกลางต่อความสุขความทุกข์ เป็นกลางต่อกุศลอกุศล เป็นกลางต่อความยินดียินร้ายทั้งหลาย จะเป็นกลางได้นะ อาศัยมีสติรู้กายรู้ใจตามความเป็นจริง รู้ด้วยจิตที่ตั้งมั่น รู้ด้วยจิตที่เป็นกลาง เป็นกลางตัวนี้กลางด้วยสติด้วยสมาธิไปก่อน แล้วสุดท้ายมันจะกลางด้วยปัญญา
******************************************
https://youtu.be/xhiSK6rJVLw
จิตที่ดิ้นรนแสวงหานำความทุกข์มาให้ มากมาย
Sompong Tungmepol
Published on Jan 8, 2016
เมื่อเราภาวนาคือเจริญสติจนจิตปล่อยวางความถือมั่นในจิตได้แล้ว
จิตจะเข้าไปสัมผัสกับนิพพานอันสงบและเป็นสุขอย่างยิ่ง
ที่สงบเพราะปราศจากการกระทบกระทั่งทั้งปวง
ที่สุขเพราะปราศจากความเสียดแทงทั้งปวง
เมื่อแรกเข้าถึงนิพพานนั้น
จิตได้ประสบกับความสุขอันแปลกใหม่ที่ไม่เคยพบเห็นมาก่อน
เป็นความสุขที่ท่วมท้นจิตใจและธาตุขันธ์จนสะอื้นในอกและน้ำตาตก
ระลึกถึงคราวใดก็มีความสุขจนสะอื้นในอกอยู่หลายวัน
จิตจึงค่อยๆ คุ้นชินกับความสุขสงบนั้น
และเข้าสู่ภาวะแห่งความเป็นปกติธรรมดาที่มีความสุขอย่างยิ่ง
ความสงบของนิพพานก็เป็นสิ่งที่เกินพรรณนา
เพราะนิพพานนั้นเต็มบริบูรณ์อยู่ต่อหน้าต่อตา
ครอบคลุมโลกธาตุทั้งปวงที่กำลังเคลื่อนไหวไว้ทั้งหมด
แต่สงบสงัดและไม่มีสิ่งใดปนเปื้อนเข้าถึงนิพพานอันบริสุทธิ์นั้นได้เลย
การจะเข้าใจถึงนิพพานเป็นสิ่งที่ทำได้ยาก
แต่ถ้าเข้าใจสภาวะจิตของพระอรหันต์ได้แล้ว
ก็พอจะอนุมานถึงสภาวะของนิพพานได้บ้าง
จิตของพระอรหันต์ไม่เหมือนจิตของท่านผู้อื่น
เพราะแหวกสิ่งห่อหุ้มออกได้หมดแล้วจึงเป็นอิสระและกว้างขวางไร้ขอบเขต
มีสภาพคล้ายกับไฟที่ดับลงแล้ว ไม่มีการประทุขึ้นอีก
ความร้อนของไฟย่อมกระจายออกไปเต็มโลกธาตุ
กล่าวไม่ได้ว่าไฟมีอยู่ หรือไฟดับสูญไปแล้ว
เพราะความมีอยู่และความดับสูญยังเป็นธรรมคู่ เป็นเรื่องของโลก
ส่วนจิตของพระอรหันต์เข้าถึงธรรมล้วนๆ ไม่มีความเป็นโลกเจือปนอยู่เลย
จึงไม่มีปัญหาในเรื่องความมีอยู่ หรือความขาดสูญอีกต่อไป
พระพุทธเจ้าและพระอรหันตสาวกทั้งหลายเมื่อรูปขันธ์และนามขันธ์แตกทำลายลงแล้ว
ไม่ได้คงอยู่และไม่ได้ดับสูญไปไหน
หากจิตของผู้ใดเข้าถึงสันติธรรมบริบูรณ์แล้ว
เพียงกราบลงตรงหน้าก็คือได้กราบพระบาททั้งคู่ของพระพุทธเจ้าแล้ว
วันนี้เป็นวันครบรอบปีที่พ่อมีความสุขมากที่สุด
ขอให้ลูกทั้งหลายจงมีความสุขเหมือนพ่อโดยพลันเถิด
หลวงพ่อ
๖ มีนาคม ๒๕๔๙
..
..
Sompong Tungmepol 3 weeks ago
พระเมฆิยะถูกวิตกครอบงำ
เมฆิยสูตร๑-ทั้งหมด บัณฑิตพึง (แสดง) ให้พิสดาร เพื่อให้เรื่องแห่งพระเมฆิยเถระนั้นแจ่มแจ้ง.
__________________________
๑- ขุ. อุ. เล่ม ๒๕/ข้อ ๘๕-๘๙
ก็พระศาสดาตรัสเรียกพระเมฆิยเถระผู้ไม่สามารถเพื่อประกอบความเพียรในอัมพวันนั้นได้ เพราะความที่ท่านถูกวิตก ๓ อย่างครอบงำมาแล้ว ตรัสว่า “เมฆิยะ เธอละทิ้งเราผู้อ้อนวอนอยู่ว่า ‘เมฆิยะ เราเป็นผู้ๆ เดียว, เธอจงรอคอย จนกว่าภิกษุบางรูปแม้อื่นจะปรากฏ’ ดังนี้ (ไว้ให้อยู่แต่) ผู้เดียว ไปอยู่ (ชื่อว่า) ทำกรรมอันหนักยิ่ง, ขึ้นชื่อว่าภิกษุ ไม่ควรเป็นธรรมชาติ (แล่นไป) เร็ว, การยังจิตนั้นให้เป็นไปในอำนาจของตน ย่อมควร” ดังนี้แล้ว
จึงได้ทรงภาษิตพระคาถา ๒ พระคาถาเหล่านี้ว่า
ผนฺทนํ จปลํ จิตฺตํ ทุรกฺขํ ทุนฺนิวารยํ
อุชุ ํ กโรติ เมธาวี อุสุกาโรว เตชนํ
วาริโชว ถเล ขิตฺโต โอกโมกตอุพฺภโต
ปริผนฺทติทํ จิตฺตํ มารเธยฺยํ ปหาตเว ฯ
ชนผู้มีปัญญาย่อมทำจิตที่ดิ้นรน กลับกลอก
อันบุคคลรักษาได้ยาก ห้ามได้ยาก ให้ตรง ดุจช่าง
ศรดัดลูกศรให้ตรงฉะนั้น จิตนี้ (อันพระโยคาจรยก
ขึ้นจากอาลัย คือกามคุณ ๕ แล้วซัดไปในวิปัสสนา
กัมมัฏฐาน) เพื่อละบ่วงมาร ย่อมดิ้นรน ดุจปลาอัน
พรานเบ็ด ยกขึ้นจาก(ที่อยู่) คือน้ำ แล้วโยนไปบน
บก ดิ้นรนอยู่ฉะนั้น.
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ผนฺทนํ คือดิ้นรนอยู่ในอารมณ์ทั้งหลายมีรูปเป็นต้น.
บทว่า จปลํ ความว่า ไม่ดำรงอยู่ในอารมณ์เดียวได้ เหมือนทารกในบ้านผู้ไม่นิ่งอยู่ด้วยอิริยาบถหนึ่งฉะนั้น จึงชื่อว่า กลับกลอก.
บทว่า จิตฺตํ ได้แก่ วิญญาณ. ก็วิญญาณนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกว่า “จิต” เพราะเป็นธรรมชาติวิจิตรด้วยภูมิ วัตถุ อารมณ์ และวิถีจิตมีกิริยาจิตเป็นต้น.
บทว่า ทุรกฺขํ ความว่า ชื่อว่า อันบุคคลรักษาได้ยาก เพราะตั้งไว้ได้ยากในอารมณ์ อันเป็นที่สบายอารมณ์หนึ่งนั่นแล เหมือนโคที่คอยเคี้ยวกินข้าวกล้าในนา อันคับคั่งไปด้วยข้าวกล้าฉะนั้น.
บทว่า ทุนฺนิวารยํ ความว่า ชื่อว่า อันบุคคลห้ามได้ยาก เพราะเป็นธรรมชาติที่รักษาได้ยาก เพื่อจะห้าม (กัน) จิตอันไปอยู่สู่วิสภาคารมณ์.
สองบทว่า อุสุกาโรว เตชนํ ความว่า นายช่างศรนำเอาท่อนไม้ท่อนหนึ่งมาจากป่าแล้ว ทำไม่ให้มีเปลือก (ปอกเปลือกออก) แล้วทาด้วยน้ำข้าวและน้ำมัน ลนที่กระเบื้องถ่านเพลิง ดัดที่ง่ามไม้ทำให้หายคดคือให้ตรง ให้เป็นของควรที่จะยิงขนทรายได้. ก็แลครั้นทำแล้ว จึงแสดงศิลปะแด่พระราชาและราชมหาอำมาตย์ ย่อมได้สักการะและความนับถือเป็นอันมาก ชื่อฉันใด, บุรุษผู้มีปัญญา คือผู้ฉลาด ได้แก่ผู้รู้แจ้ง ก็ฉันนั้นเหมือนกัน (คือ) ทำจิตนี้ อันมีสภาพดิ้นรนเป็นต้น ให้หมดเปลือก คือให้ปราศจากกิเลสที่หยาบด้วยอำนาจธุดงค์ และการอยู่ในป่า แล้วชโลมด้วยยางคือศรัทธา ลนด้วยความเพียรอันเป็นไปทางกายและเป็นไปทางจิต ดัดที่ง่ามคือสมถะและวิปัสสนาทำให้ตรงคือมิให้คด ได้แก่ให้สิ้นพยศ, ก็แลครั้นทำแล้วพิจารณาสังขารทั้งหลาย ทำลายกองอวิชชาใหญ่ได้แล้ว ทำคุณวิเศษนี้ คือ วิชชา ๓#๑- อภิญญา ๖#๒- โลกุตรธรรม ๙#๓- ให้อยู่ในเงื้อมมือทีเดียว ย่อมได้ความเป็นทักขิไณยบุคคลผู้เลิศ.
บทว่า วาริโชว แปลว่า ดุจปลา.
สองบทว่า ถเล ขิตฺโต ได้แก่ อันพรานเบ็ดซัดไปบนบก ด้วยมือ เท้า หรือด้วยเครื่องดักมีตาข่ายเป็นต้น อย่างใดอย่างหนึ่ง.
__________________________
#๑- วิชชา ๓ คือ ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ รู้จักระลึกชาติได้ ๑ จุตูปปาตญาณ รู้จักกำหนดจุติ และเกิดของสัตว์ทั้งหลาย ๑ อาสวักขยญาณ รู้จักทำอาสวะให้สิ้นไป ๑
#๒- อภิญญา ๖ คือ อิทธิวิธิ แสดงฤทธิ์ ๑ ทิพโสต หูทิพย์ ๑ เจโตปริยญาณ รู้จักกำหนด ใจผู้อื่นได้ ๑ ปุพเพนิวาสานุสสติ ระลึกชาติได้ ๑ ทิพยจักขุ ตาทิพย์ ๑ อาสวักขยญาณ รู้จัก ทำอาสวะให้สิ้นไป ๑.
#๓- โลกุตรธรรม ๙ คือ มรรค ๔ ผล ๔ นิพพาน ๑.
พึงทราบวินิจฉัยในบาทพระคาถาว่า โอกโมกตอุพฺภโต (ดังต่อไปนี้) :-
น้ำ ชื่อว่า โอกะ (ได้) ในคำนี้ว่า “ภิกษุชาวเมืองปาฐา มีจีวรชุ่มด้วยน้ำ ได้มาสู่เมืองสาวัตถี เพื่อประสงค์จะเฝ้าพระศาสดา.”๑-
อาลัย ชื่อว่า โอกะ (ได้) ในคำนี้ว่า “มุนีละอาลัยแล้ว ไม่ติดที่อยู่.”๒- แม้คำทั้งสองก็ย่อมได้ในบาทพระคาถานี้. ในบทว่า โอกโมกโต นี้ มีเนื้อความ (อย่าง) นี้ว่า “จากที่อยู่คือน้ำ คือจากอาลัยกล่าวคือน้ำ”,
__________________________
๑- วิ. มหาวรรค. ภาค ๒. เล่ม ๕/ข้อ ๙๕
๒- สัง. ขันธ. เล่ม ๑๗/ข้อ ๑๑.
บทว่า อุพฺภโต แปลว่า อันพรานเบ็ดยกขึ้นแล้ว.
บาทพระคาถาว่า ปริผนฺทติทํ จิตฺตํ ความว่า จิตนี้ คือที่ยินดีแล้วในอาลัยคือกามคุณ ๕ อันพระโยคาวจรยกขึ้นแล้วจากอาลัย คือกามคุณ ๕ นั้น ซัดไปในวิปัสสนากัมมัฏฐาน เผาด้วยความเพียรอันเป็นไปทางกายและเป็นไปทางจิต เพื่อละวัฏฏะ กล่าวคือ บ่วงมาร ย่อมดิ้นรน คือย่อมไม่อาจตั้งอยู่ในวิปัสสนากัมมัฏฐานนั้นได้, เหมือนอย่างปลานั้นอันพรานเบ็ดยกขึ้นจากอาลัยคือน้ำแล้วโยนไปบนบก เมื่อไม่ได้น้ำย่อมดิ้นรนฉะนั้น. แม้เมื่อเป็นอย่างนี้ บุคคลผู้มีปัญญา ไม่ทอดธุระ ย่อมทำจิตนั้นให้ตรง คือให้ควรแก่การงาน โดยนัยที่กล่าวแล้วนั่นแล.
อีกนัยหนึ่ง จิตนี้ คือที่ละบ่วงมารคือกิเลสวัฏไม่ได้ ตั้งอยู่ย่อมดิ้นรนดุจปลานั้นฉะนั้น, เพราะฉะนั้น พระโยคาวจรควรละบ่วงมารเสีย คือควรละบ่วงมาร กล่าวคือกิเลสวัฏอันเป็นเหตุดิ้นรนแห่งจิตนั้น ดังนี้แล.
ในกาลจบคาถา พระเมฆิยเถระได้ตั้งอยู่ในพระโสดาปัตติผล. ชนแม้พวกอื่นเป็นอันมาก ก็ได้เป็นอริยบุคคล มีพระโสดาบันเป็นต้นดังนี้แล.
เรื่องพระเมฆิยเถระ จบ.
..
..
Sompong Tungmepol 1 month ago
เมื่อเราภาวนาคือเจริญสติจนจิตปล่อยวางความถือมั่นในจิตได้แล้ว
จิตจะเข้าไปสัมผัสกับนิพพานอันสงบและเป็นสุขอย่างยิ่ง
ที่สงบเพราะปราศจากการกระทบกระทั่งทั้งปวง
ที่สุขเพราะปราศจากความเสียดแทงทั้งปวง
เมื่อแรกเข้าถึงนิพพานนั้น
จิตได้ประสบกับความสุขอันแปลกใหม่ที่ไม่เคยพบเห็นมาก่อน
เป็นความสุขที่ท่วมท้นจิตใจและธาตุขันธ์จนสะอื้นในอกและน้ำตาตก
ระลึกถึงคราวใดก็มีความสุขจนสะอื้นในอกอยู่หลายวัน
จิตจึงค่อยๆ คุ้นชินกับความสุขสงบนั้น
และเข้าสู่ภาวะแห่งความเป็นปกติธรรมดาที่มีความสุขอย่างยิ่ง
ความสงบของนิพพานก็เป็นสิ่งที่เกินพรรณนา
เพราะนิพพานนั้นเต็มบริบูรณ์อยู่ต่อหน้าต่อตา
ครอบคลุมโลกธาตุทั้งปวงที่กำลังเคลื่อนไหวไว้ทั้งหมด
แต่สงบสงัดและไม่มีสิ่งใดปนเปื้อนเข้าถึงนิพพานอันบริสุทธิ์นั้นได้เลย
การจะเข้าใจถึงนิพพานเป็นสิ่งที่ทำได้ยาก
แต่ถ้าเข้าใจสภาวะจิตของพระอรหันต์ได้แล้ว
ก็พอจะอนุมานถึงสภาวะของนิพพานได้บ้าง
จิตของพระอรหันต์ไม่เหมือนจิตของท่านผู้อื่น
เพราะแหวกสิ่งห่อหุ้มออกได้หมดแล้วจึงเป็นอิสระและกว้างขวางไร้ขอบเขต
มีสภาพคล้ายกับไฟที่ดับลงแล้ว ไม่มีการประทุขึ้นอีก
ความร้อนของไฟย่อมกระจายออกไปเต็มโลกธาตุ
กล่าวไม่ได้ว่าไฟมีอยู่ หรือไฟดับสูญไปแล้ว
เพราะความมีอยู่และความดับสูญยังเป็นธรรมคู่ เป็นเรื่องของโลก
ส่วนจิตของพระอรหันต์เข้าถึงธรรมล้วนๆ ไม่มีความเป็นโลกเจือปนอยู่เลย
จึงไม่มีปัญหาในเรื่องความมีอยู่ หรือความขาดสูญอีกต่อไป
มนุษย์ปรารถนาอิสรภาพ แต่มนุษย์ตกเป็นทาสของตัณหา ซึ่งเป็น เจ้านายที่มองไม่เห็นตัว เมื่อไม่รู้ว่าตนเป็นทาส มนุษย์จึงไม่คิดที่จะปลดปล่อย ตนเองให้เป็นอิสระ มีแต่จะทำตามคำสั่งของเจ้านายเท่านั้น และเจ้านายนั้นก็ดูจะรักและหวังดีต่อเรามาก เพราะจะสั่งให้เราแสวงหาความสุขและหลีกหนีความทุกข์ตลอดวันตลอดคืน ซึ่งมีผลให้เราต้องเหนื่อยกายเหนื่อยใจอย่างไม่รู้จักจบสิ้น เนื่องจากความสุขเป็นเพียงภาพลวงตาที่ไขว่คว้าเอาไว้ไม่ได้ ในขณะที่ความทุกข์เป็นสิ่งที่แนบประจำอยู่กับขันธ์นั่นเอง การจะให้ขันธ์มีความสุขหรือพ้นจากความทุกข์อย่างถาวรจึงเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้เลย
การดิ้นรนแสวงหาความสุขและหลีกหนีความทุกข์ของมนุษย์และสัตว์ทั้งหลาย มีอยู่ 3 วิธีคือ
1. การแสวงหาอารมณ์ที่เป็นสุขและหลีกหนีอารมณ์ที่เป็นทุกข์
เพราะคิดว่าอารมณ์เป็นเครื่องกำหนดให้เกิดความสุขหรือความทุกข์ อย่างไรก็ตาม ไม่มีใครสามารถเลือกอารมณ์ได้ตามใจชอบ เพราะอารมณ์ที่มา กระทบย่อมเป็นไปตามเหตุตามปัจจัย คือหากกุศลวิบากให้ผลก็ได้ประสบกับอารมณ์ที่ดี หากอกุศลวิบากให้ผลก็ต้องประสบกับอารมณ์ที่ไม่ดี นอกจากนี้ อารมณ์ก็เป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง แม้จะได้รับอารมณ์ที่ดีและเป็นสุข ไม่นานอารมณ์ ที่ดีและเป็นสุขนั้นก็ผ่านเลยไป จำเป็นต้องดิ้นรนแสวงหาความสุขและหลีกหนีความทุกข์ต่อไปอีก ดังนั้น วิธีการเลือกรับอารมณ์เพื่อให้เกิดความสุขและพ้นจากความทุกข์จึงไม่ได้ผลจริงตามที่คาดหวังไว้
2. การรักษาจิตให้สงบสบายในทุกๆ สถานการณ์
เพราะคิดว่าถ้าจิตดีเสียแล้ว ก็สามารถเป็นสุขอยู่ได้แม้จะต้องกระทบกับอารมณ์ที่ไม่ดีก็ตาม และการควบคุมจิตก็ทำได้ง่ายกว่าการควบคุมอารมณ์ เนื่องจากอารมณ์มักจะมาจากสิ่งภายนอกซึ่งควบคุมได้ยาก ในขณะที่การควบคุมจิตเป็นสิ่งที่ทำได้ด้วยตนเอง อย่างไรก็ตามจิตเป็นของไม่เที่ยงและเป็น อนัตตาคือบังคับไม่ได้จริง ดังนั้นแม้จะทำให้จิตสงบหรือมีความสุขก็ทำได้เพียงชั่วคราวด้วยอำนาจของการเพ่ง เมื่อจิตเสื่อมจากการเพ่ง จิตก็กลับมาวุ่นวายและเป็นทุกข์ต่อไปได้อีก
3. การหลีกเลี่ยงการกระทบอารมณ์
เป็นวิธีการรักษาจิตที่ประณีตยิ่งขึ้นไปอีก เพราะคิดว่าถ้าจิตไม่ต้องรับรู้อารมณ์หยาบๆ เสียแล้ว จิตจะมีความสงบสุขโดยอัตโนมัติ ดีกว่าจะต้องคอยรักษาจิต ที่ต้องกระทบอารมณ์หยาบๆ อยู่ตลอดเวลา จึงเกิดความพยายามน้อมจิตไปสู่อรูปฌาน หรือแม้กระทั่งการดับความรับรู้ด้วยการเข้าจตุตถฌาน (ตามนัยของพระสูตร) หรือปัญจมฌาน (ตามนัยของพระอภิธรรม) แล้วน้อมจิตไปสู่อสัญญสัตตาภูมิหรือพรหมลูกฟัก อย่างไรก็ตาม เมื่อหมดกำลังเพ่ง จิตก็ถอนออกมารู้อารมณ์ตามปกติต่อไปอีก
คนและสัตว์ทั้งหลายพยายามดิ้นรนหาความสุขและหลีกหนีความทุกข์ด้วยวิธีการต่างๆ แต่ไม่มีผู้ใดสามารถหนีพ้นจากความทุกข์ได้จริง เพราะความทุกข์เป็นสิ่งที่แนบประจำอยู่กับขันธ์คือร่างกาย
และจิตใจนี้เอง มีแต่พระพุทธเจ้าเท่านั้นที่ทรงค้นพบทางรอดอันเป็นทางเอก คือทางสายเดียวที่จะพาผู้ดำเนินตามให้พ้นจากทุกข์ได้จริง ทางเอกนี้คือการเจริญวิปัสสนากรรมฐานนั่นเอง
การเจริญวิปัสสนากรรมฐานเป็นการหันมาเผชิญหน้าและเรียนรู้ ความ จริงของทุกข์ เมื่อทุกข์อยู่ที่กายก็มีสติระลึกรู้กายตามความเป็นจริง เมื่อทุกข์ อยู่ที่จิตก็มีสติตามรู้จิตตามความเป็นจริง จนในที่สุดก็สามารถเข้าถึงความจริงสูงสุดคืออริยสัจจ์ข้อแรกได้ คือการรู้ทุกข์ ได้แก่การรู้ความจริงว่ากายนี้ใจนี้ไม่ใช่ตัวเรา ผู้ที่รู้ความจริงนี้เรียกว่าพระโสดาบัน เป็นผู้ละความเห็นผิดว่ากายกับใจคือตัวเรา เมื่อตามรู้กายและตามรู้ใจต่อไปอีก ถึงจุดหนึ่งจิตจะวางความยึดถือกายและใจลงได้อย่างสิ้นเชิง และไม่หยิบฉวยเอากายและใจขึ้นมาถือไว้ให้เป็นภาระกดถ่วงจิตใจอีกต่อไป
เมื่อไม่ยึดถือกายและใจแล้ว ความดิ้นรนทะยานอยากของจิตที่จะให้กาย และใจมีความสุขและพ้นจากความทุกข์ ทั้งด้วยการแสวงหา อารมณ์ที่เพลิดเพลินพอใจ การทำความสงบจิต และการหลีกหนีการรับรู้อารมณ์หยาบๆ ก็จะหมดสิ้นไป การรู้ทุกข์อย่างแจ่มแจ้งจึงเป็นเครื่องทำลายสมุทัยหรือตัณหาให้ดับสนิทลงโดยอัตโนมัติ
เมื่อปราศจากตัณหา จิตก็ได้ประจักษ์แจ้งถึงนิโรธหรือนิพพานอันเป็นสภาวธรรมซึ่งสงบสันติ ปราศจากทุกข์และกิเลสตัณหาทั้งปวง
การรู้ทุกข์จนสมุทัยถูกละไปเองและนิโรธปรากฏให้ประจักษ์โดยไม่ต้อง แสวงหานั้น คือมรรคหรือทางเอกนั่นเอง พวกเราควรเจริญมรรคให้มาก คือ หมั่นตามรู้กายตามรู้ใจอย่างถูกวิธีเนืองๆ แล้วจะพบความอัศจรรย์ของพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระอริยสาวกด้วยตนเอง
การทำความเข้าใจความทุกข์ให้แจ่มแจ้งเป็นทางพ้นทุกข์
แต่ยากนักที่คนเราจะเข้าใจความทุกข์ให้แจ่มแจ้งได้
เพราะคนเรารู้จักความทุกข์เพียงบางอย่าง
ได้แก่ทุกขเวทนาทางร่างกายเมื่อยามหิวกระหาย หนาวร้อน ต้องการขับถ่ายและเจ็บป่วย เป็นต้น
กับโทมนัสเวทนาทางใจเมื่อประสบกับอารมณ์อันไม่เป็นที่รักที่พอใจ
ทุกข์ชนิดนี้เรียกว่าทุกขทุกข์
ในเวลาที่ร่างกายเป็นปกติ หรือจิตใจได้รับอารมณ์ที่ดี
ก็รู้สึกว่ามีความสุขทางกายหรือโสมนัสเวทนาทางใจ
ตราบใดที่ยังรู้สึกว่ากายนี้เป็นสุขบ้างเป็นทุกข์บ้าง
และใจนี้มีโสมนัสบ้างมีโทมนัสบ้าง
ตราบนั้นความดิ้นรนที่จะแสวงหาความสุขโสมนัส
และความดิ้นรนที่จะหลีกหนีทุกข์โทมนัสจะไม่หมดไป
ตราบใดที่ยังไม่หมดความดิ้นรน ตราบนั้นความทุกข์ก็จะยังมีอยู่ร่ำไป
เพราะความดิ้นรนของจิตใจหรือตัณหา
เป็นเหตุให้เกิดทุกข์อีกชนิดหนึ่งนอกเหนือจากความทุกข์ที่มีอยู่แล้ว
ทุกข์ชนิดนี้เรียกว่าทุกขสัจจ์
ยังมีความทุกข์อีกชนิดหนึ่งได้แก่สภาพที่ทนได้ยาก เรียกว่าทุกขลักษณะ
เป็นสภาวะที่เกิดกับสังขารทั้งปวงที่จะทนอยู่ในสภาพเดิมตลอดไปไม่ได้
ในเวลาที่เราเจริญสตินั้นหากทุกขทุกข์ปรากฏขึ้นก็ให้รับรู้ไป
หากทุกขทุกข์ดับไปและรู้สึกเป็นสุขก็ให้รับรู้ไว้
แต่เมื่อเจริญสติปัญญาแก่รอบมากเข้าจะพบว่ากายกับใจเป็นทุกข์ล้วนๆ
ไม่ใช่ทุกข์บ้างสุขบ้างอีกต่อไป
มีแต่ทุกขทุกข์คือทุกข์มากกับทุกข์น้อยเท่านั้น
ผู้ปฏิบัติจะเห็นอีกว่าถ้าจิตเกิดความอยากและความยึดถือ
จิตจะเกิดทุกข์ที่เรียกว่าทุกขสัจจ์
เมื่อจิตปราศจากความอยากและความยึดถือ
จิตจะปราศจากความทุกข์มีแต่ความสุขโสมนัสหรืออุเบกขาเท่านั้น
แต่เมื่อเจริญสติปัญญาแก่รอบมากเข้าจะพบว่า
ไม่ว่าจิตจะอยากและยึดอารมณ์หรือไม่ จิตนั้นแหละเป็นตัวทุกข์ล้วนๆ
การเห็นทุกขทุกข์ทำให้จิตเอือมระอาต่อขันธ์
ถึงจุดหนึ่งจิตจะแจ่มแจ้งในทุกขสัจจ์และปล่อยวางความยึดถือรูปนามกายใจและสิ่งทั้งปวงได้
ถึงจุดนั้นความทุกข์ของขันธ์หรือทุกขทุกข์ก็ยังมีอยู่
ทุกขลักษณะคือความทนอยู่ไม่ได้ของสังขารทั้งรูปนามก็ยังมีอยู่
แต่ความทุกข์ของจิตใจอันเกิดแต่ตัณหาจะไม่มีอยู่อีก
เพราะปราศจากตัวตนในความรู้สึก ที่จะรองรับความทุกข์ทางใจอันเกิดจากตัณหาเสียแล้ว
กล่าวได้ว่าทุกข์ก็มีอยู่ แต่ไม่มีผู้ทุกข์อีกต่อไป เพราะปล่อยวางขันธ์โดยเฉพาะจิตลงได้แล้ว
ความสุขโสมนัสของผู้ที่ปล่อยวางจิตได้แล้วนั้นเป็นสิ่งอัศจรรย์ยิ่งกว่าสิ่งอัศจรรย์ในโลก
พระนิพพานเป็นความสุขอันเต็มเปี่ยมครอบโลกอยู่ต่อหน้าต่อตา
สงบสันติ รุ่งเรืองและเปิดเผย แจ่มจ้าไร้ตำหนิปราศจากแม้แต่ธุลีของความปรุงแต่ง
ไม่มีสิ่งใดเข้าไปตั้งอยู่ได้ในพระนิพพานนี้
ปราศจากจุดตั้งต้นและจุดสิ้นสุด
ความว่างจากกิเลส จากตัวตน และจากทุกข์ที่ยิ่งกว่าพระนิพพานไม่มี
สุขอื่นเสมอด้วยความสงบของพระนิพพานไม่มี
Show less
..
สมพงศ์ อินดัสเตรียล อิเล็กทรอนิคส์ 1 month ago
ท่านสอนให้รู้ทันที่จิตนี้เอง สมาธิมันเกิดขึ้นได้ง่ายๆเลย อย่างใจเราฟุ้งซ่านเก่งมั้ย วันนึงวันนึงนะใจเราหนีไปคิดนับครั้งไม่ถ้วน ร้อยครั้งพันครั้งหมื่นครั้งนะหนีทั้งวัน นั้นเราคอยมีสติรู้ทันนะจิตมันไหลไปแล้ว จิตมันฟุ้งซ่านไปแล้ว จิตมันหนีไปคิดแล้ว ให้เราคอยรู้ทันไว้ ถ้าเรารู้ทันจิตที่ไหลไปคิดจิตจะตั้งมั่น จิตจะตื่นขึ้นมาเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ไม่ใช่ผู้คิดผู้นึกผู้ปรุงผู้แต่ง จิตที่เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานเนี่ยเป็นจิตที่มีสมาธิที่ดี สมาธิอย่างนี้เป็นสมาธิที่สำคัญสำหรับการเจริญปัญญา
*********************************
คำสอนของพุทธะทั้งหมดในวัฏฏ์นี้ ก็คือการเพาะให้พุทธจิตนั้นผลิออกมา
ให้เราปรากฏเห็นเท่านั้นเอง เพียงแต่เราทำให้มันว่างจาก
ความคิดปรุงแต่งต่าง ๆ ซึ่งล้วนแต่นำไปสู่การเกิดและการดับอยู่ตลอดกาล
และนำไปสู่ความทุกข์เดือดร้อนใจของสัตว์โลก และโลกอื่นไปจริง ๆ เท่านั้น
เราก็ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องมีวิธิปฏิบัติเพื่อการตรัสรู้และหาทางออกทั้งหลายทั้งสิ้นเลย
คำสอนของพุทธะทั้งหมดมีวัตถุประสงค์ข้อนี้เพียงข้อเดียว
คือพาพวกเราข้ามขึ้นให้พ้นเสียจากภูมิแห่งความคิด บัดนี้ถ้ารีดความคิด
หรือหยุดความคิดของเราได้สำเร็จแล้ว ประโยชน์อะไรด้วยธรรมทั้งหลายที่พุทธะได้สอนไว้
มันหมายถึงสามารถปฏิบัติจนหยุดคิดของความคิดปรุงแต่งต่าง ๆ เสียได้
ไม่มีอะไรสามารถปรุงให้จิตคิดไปตามอำนาจกิเลสตัณหาได้อีกต่อไป เป็นจิตที่ว่างจาก
สิ่งปรุงแต่งและความคิดทั้งปวง นั่นแหละเป็นตัวธรรม หรือพุทธะ หรือธรรมชาติเดิมแท้
อยู่ในความเป็นเช่นนั้น เพราะเรานั้น ถ้าเราสามารถทำความเข้าใจอย่างลึกซึ้งแล้ว
คำพูดของมนุษย์ไม่สามารถหว่านล้อม หรือเปิดเผยมันได้
ความตรัสรู้คือความไม่มีอะไรให้ระลึกถึง
_____>>..สมพงศ์ อินดัสเตรียล อิเล็กทรอนิคส์
**************************************************ให้เราปรากฏเห็นเท่านั้นเอง เพียงแต่เราทำให้มันว่างจาก
ความคิดปรุงแต่งต่าง ๆ ซึ่งล้วนแต่นำไปสู่การเกิดและการดับอยู่ตลอดกาล
และนำไปสู่ความทุกข์เดือดร้อนใจของสัตว์โลก และโลกอื่นไปจริง ๆ เท่านั้น
เราก็ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องมีวิธิปฏิบัติเพื่อการตรัสรู้และหาทางออกทั้งหลายทั้งสิ้นเลย
คำสอนของพุทธะทั้งหมดมีวัตถุประสงค์ข้อนี้เพียงข้อเดียว
คือพาพวกเราข้ามขึ้นให้พ้นเสียจากภูมิแห่งความคิด บัดนี้ถ้ารีดความคิด
หรือหยุดความคิดของเราได้สำเร็จแล้ว ประโยชน์อะไรด้วยธรรมทั้งหลายที่พุทธะได้สอนไว้
มันหมายถึงสามารถปฏิบัติจนหยุดคิดของความคิดปรุงแต่งต่าง ๆ เสียได้
ไม่มีอะไรสามารถปรุงให้จิตคิดไปตามอำนาจกิเลสตัณหาได้อีกต่อไป เป็นจิตที่ว่างจาก
สิ่งปรุงแต่งและความคิดทั้งปวง นั่นแหละเป็นตัวธรรม หรือพุทธะ หรือธรรมชาติเดิมแท้
อยู่ในความเป็นเช่นนั้น เพราะเรานั้น ถ้าเราสามารถทำความเข้าใจอย่างลึกซึ้งแล้ว
คำพูดของมนุษย์ไม่สามารถหว่านล้อม หรือเปิดเผยมันได้
ความตรัสรู้คือความไม่มีอะไรให้ระลึกถึง
_____>>..สมพงศ์ อินดัสเตรียล อิเล็กทรอนิคส์
https://youtu.be/lBXCaNds2nk?list=PLdG7Kf_wxHJOChDzveJlq6mudVO_Jgg5R
ลพ ปราโมทย์ "จิตตภาวนา"
Published on Jul 24, 2012
หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช บรรยายธรรมในงานแสดงธรรม ครั้งที่ ๒๓
จัดโดย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ ร่วมกับ ชมรมกัลยาณธรรม
วันอาทิตย์ที่ ๘ กรกฎาคม ๒๕๕๕