ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
กัน-ละ-ยา-นะ-มิด เขียนเป็นภาษาไทยที่ถูกต้องว่าอย่างไรครับ:
คิดว่าความดีทำยากไหม( เลือกตอบแค่ ยาก กับ ไม่ยาก ครับผม):
ชีวิตบางครั้งก็เหมือนเหรียญสองด้านใช่หรือไม่ครับบางครั้งก็หัวบางครั้งก็ก้อย( เลือกตอบแค่ ใช่ กับไม่ใช่ครับผม):
คุณเชื่อว่าทุกศาสนาสอนให้ทุกคนเป็นคนดีใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆแนวธรรมะในจิตใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า แสงธรรมนำใจ:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ความดีนำทาง:
การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ นิยมใช้คำว่า (อนุโมทนา) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ อนุโมทนา:
วัฒนธรรมไทยเมื่อเห็นผู้ใหญ่ท่านจะทำความเคารพ ด้วยการไหว้ท่านก่อนเสมอใช่หรือไม่:
กล่าวคำดังนี้  "ขอโทษนะ":
ระหว่าง (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะผู้อื่น) กับ (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะตัวเอง)  ท่านจะเลือกเป็น:
กล่าวคำดังนี้  "ขออโหสิกรรม":
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
ในโลกออนไลน์หรือโลกแห่งจิต ไม่มีใครทำอะไรเราได้ นอกเสียไปจาก (คนพาล) หรือ (ใจของเราเอง):
เคยนวดฝ่าเท้าให้ คุณพ่อคุณแม่บ้างไหม ถ้ามีโอกาส เราควรทำหรือไม่ (ควรกระทำอย่างยิ่ง หรือ ไม่ควรทำ):
รู้สึกระอายใจไหมที่เราทำร้ายคนอื่นด้วยวาจาหรือสำนวนที่ไม่สุภาพ โดยที่คนคนนั้นเค้าเคยเป็นผู้มีพระคุณต่อเรามา (ไม่ละอายใจ)หรือ(ละอายใจ):
สำนวนไทยที่ว่า แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน  พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ลางเนื้อชอบลางยา):
ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ผู้ที่ทำตนให้เล็กที่สุด ผู้ที่เล็กที่สุดก็จะกลายเป็นผู้ที่ใหญ่ที่สุด ผู้ที่มีเกียรติคือผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น ฉะนั้นสมาชิกใต้ร่มธรรมควรให้เกียรติกันและกัน พิมพ์คำว่า (ฉันจะให้เกียรติสมาชิกทุกๆท่านในใต้ร่มธรรมเสมอด้วยวาจาสุภาพอ่อนน้อม):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: เมษายน 09, 2013, 10:54:11 pm »



นั่งสมาธิ   
แสดงธรรม โดย พระราชนิโรธรังสี (เทสก์ เทสรังสี)
วัดหินหมากเป้ง อำเภอศรีเชียงใหม่ จังหวัดหนองคาย

    การทำสมาธิทำให้จิตแก่กล้าแล้ว มันทำให้ร่างกายสมบูรณ์สุขภาพดีได้เหมือนกัน ถึงแม้เราไม่ต้องการว่าจะสมบูรณ์หรือไม่สมบูรณ์ก็ตาม แต่ว่ามันเป็นของมันเอง
    กาย เป็นของรองรับซึ่งทุกข์ทั้งหลาย อยากอยู่นาน ๆ อยากได้อายุยืนนาน ก็อยากทุกข์น่ะซี อายุ 80 ปี 90 ปี 100 ปี อายุนานเท่าใดมันก็ทุกข์นานเท่านั้น คนปรารถนาทุกข์เหลือเกิน เหตุนั้นเรามาทำภาวนาสมาธิดีกว่า ฝึกอบรมสมาธิให้สุขภาพจิตมันดียิ่งขึ้นไป ส่วนร่างกายเราไม่อาลัยอาวรณ์มันหรอก นั่งลงไปมันจะเจ็บปวดร้าวด้วยประการต่าง ๆ ไม่ต้องอาลัยกังวลเกี่ยวข้องกับมัน ขอให้จิตอยู่นิ่งก็แล้วกัน เมื่อจิตสงบแล้วกายมันก็อยู่นิ่งของมันเอง จิตวางกายแล้ว ไม่ปรากฏเลยว่า นั่งนอนหรือเป็นอะไรต่าง ๆ มันไม่ปรากฏ มันปรากฏเพียงจิตอันเดียว นั่นแหละจิตทิ้งกายแล้ว ทีนี้มันค่อยสบายเป็นสุข

    การทำสมาธิมีอานิสงส์มากมายหลวงหลาย ทำสมาธิให้เป็นเสียก่อนแล้วจึงจะค่อยรู้เรื่อง หากไม่ทำเอง ใครจะพูดอย่างไร เท่าใดมันก็ไม่รู้เรื่องหรอก ต้องเห็นประจักษ์ด้วยตนเองเสียก่อนจึงจะรู้จะเข้าใจ เช่นว่าเราไม่เคยนั่งเลย นั่งทีแรกมันก็ต้องเจ็บต้องปวดอะไรต่าง ๆ ครั้งฝึกหัดนั่งสมาธิจนเห็นความสุขสงบ หรือจากการยืนหรือเดินก็ตาม เมื่อจิตปล่อยวางกายหมดทุกสิ่งทุกอย่าง ได้ความสงบอย่างยิ่งแล้ว จะชอบอกชอบใจอยากทำ ทีแรกมันต้องบังคับฝืน ครั้นภาวนาเป็นสมาธิแล้ว ทีนี้ไม่ต้องบังคับหรอก มันอยากทำ มันขยันเอง

    การทำสมาธิต้องฝึกหัดจิตตัวนี้แหละ ไม่ต้องทำอย่างอื่นฝึกฝนอบรมจิตอันเดียวนี้ แต่ไหนแต่ไรมาจิตไม่เคยฝึกฝนอบรมจิตนี้หากเราไม่ฝึกฝนอบรมก็ไม่มีวันเป็นสมาธิได้สักที แล้วไม่มีใครทำให้ได้ด้วย ไม่เหมือนสิ่งอื่น วัตถุอื่น เช่นทำเรือกสวนไร่นาทำการงานต่าง ๆ คนอื่นทำให้ได้ แต่ทำสมาธิคนอื่นทำให้ไม่ได้ ตนเองทำจึงค่อยได้ แล้วเห็นด้วยตนเองคนอื่นไม่เห็น

    เหตุนั้นจึงว่า การทำสมาธินั้นจะว่ายากก็ยาก จะว่าง่ายก็ง่าย ที่ว่ายากคือจิตใจของเรานั่นอยากให้เป็นสมาธิ ทำอย่างไรจึงจะเป็นสมาธิ ก็ดิ้นรนกระเสือกกระสนด้วยประการต่าง ๆ ก็เลยไม่เป็นซ้ำ นั่นแหละเรียกว่ามันยาก ที่ว่าง่ายนั้นก็คือ มันไม่ต้องการอะไร ไม่อยากอะไร ปล่อยวางเฉย ๆ ไม่เกี่ยวข้องกับเรื่องต่าง ๆ เรื่องราวต่าง ๆ มันก็อยู่ตามเรื่องของมัน เอาแต่จิตของเรา เมื่อจิตมันวางอารมณ์ต่างๆ แล้ว มันสงบนิ่งก็เป็นสมาธิ ไม่ได้นึกได้คิดว่าจะเป็น แต่ว่ามันเป็นเอง นั่นแหละที่ว่าง่ายก็ง่าย

เหตุนั้นการทำสมาธิคือ หาอุบายที่จะจับจิตให้ได้ จิต คือผู้คิด ผู้นึก ผู้ปรุงแต่ง สารพัดทุกอย่างนั่นแหละ มันไม่อยู่กับที่ เมื่อมันไม่อยู่นิ่งก็เดือดร้อน ดิ้นรนกระสับกระส่าย ของเหล่านั้นล้วนแต่จิตทั้งนั้น มันส่งส่ายไปในที่ทั้งปวงหมด ถ้าเราเห็นโทษ ก็ปล่อยวางอันที่มันวุ่นวายอยู่นั่นทุกสิ้งทุกอย่าง ไม่เอาแล้ว ปล่อยไปตามเรื่องของมัน เมื่อปล่อยวางหมดแล้ว มันจะมีอะไรอีก? มันก็ยังเหลือแต่จิตเท่านั้น มันก็สงบอยู่ในที่เดียวนั่น มีแต่ความนิ่ง อันนั้นคือ ความรู้ หรือ ธาตุรู้ ก็เรียกหรือจะเรียก ผู้รู้ ก็ได้ นั่นได้ชื่อว่าถึงตัวของเราแล้ว รักษาตัวได้แล้ว ตัวของเราอยู่กับตัวแล้ว นั่นแหละจึงเห็น "ตัวแท้" คือธาตุรู้นั่นเอง เมื่อเข้าถึงตรงนั้นแล้ว ทีนี้ใครจะทำอะไร ใครจะคิด ใครจะพูดอะไร ก็ไม่กระทบกระเทือนแล้ว ใครจะดีชั่ว หรือถูกผิดก็ไม่กระทบกระเทือน ไม่ว่าอะไรหรอก เข้าถึงตรงนั้นแล้วมันไม่มองดูใครทั้งนั้น เอาเฉพาะแต่ตัวของมันเอง

หัดให้มันได้อย่างนี้บ่อย ๆ ได้ชื่อว่าทำจิตของเราให้มันแก่กล้า ทำจิตของเราให้เป็นคนแก่คนเฒ่า มันจะหมดเรื่องแล้วคราวนี้ ไม่มีกังวลเกี่ยวข้องอะไรทั้งปวง มันอยู่สงบเฉย ทำถึงสมาธิแล้วมันหมดเอง เข้าของเงินทองสมบัติพัสถานอะไรทั้งปวงหมดไม่มีในที่นั้นเลย ยังอยู่แต่ ผู้รู้ ผู้เดียว ไม่คิดไม่นึก ที่สุดของพุทธศาสนาอยู่ตรงนั้นแหละ อย่าไปหาที่อื่นเลย ไปเห็นตรงนั้นแล้วมันหมดที่ไป

จึงว่าการไม่คิด ไม่นึก ไม่ปรุง ไม่แต่ง อันนั้นแหละเป็นที่สุดของโลก การปรุงการแต่งนั่นเป็นเรื่องของโลก การคิดการนึกก็เป็นเรื่องของโลก ไม่คิด ไม่นึก ไม่ปรุง ไม่แต่ง แต่ว่ารู้ตัวอยู่เฉย ๆ อันนั้นมันก็เหนือโลก เรียกว่า โลกุตระ ทำได้อย่างนั้นแล้วจะเอาอย่างไรนอกเหนือจากนั้นอีก

เอาละ ทำภาวนากัน.

พระธรรมเทศนา ของหลวงปู่เทสก์ เทสรังสี
วันที่ 3 มกราคม พ.ศ.2527


-http://www.watpanonvivek.com/index.php?option=com_content&view=article&id=2705
:2010-09-27-10-23-42&catid=117:2012-07-15-07-10-21&Itemid=239