ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
คนที่มีจิตใจอ่อนโยนส่วนใหญ่มัก คิดถึงสิ่งใดก่อนเสมอ  ( เลือกตอบแค่ ตัวเอง กับ คนอื่น ครับผม ):
กัน-ละ-ยา-นะ-มิด เขียนเป็นภาษาไทยที่ถูกต้องว่าอย่างไรครับ:
คุณเชื่อว่าทุกศาสนาสอนให้ทุกคนเป็นคนดีใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า แสงธรรมนำใจ:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ใต้ร่มธรรม:
การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ นิยมใช้คำว่า (อนุโมทนา) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ อนุโมทนา:
เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใครทำบุญแล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วยกมือขึ้น (สาธุ) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ  สาธุ:
โดยปกติชน นิ้วมือของคนเรา มีกี่นิ้ว (ตอบเป็นภาษาไทยครับ):
วัฒนธรรมไทยเมื่อเห็นผู้ใหญ่ท่านจะทำความเคารพ ด้วยการไหว้ท่านก่อนเสมอใช่หรือไม่:
คุณพ่อคุณแม่เปรียบดั่งพระอรหันต์ในบ้าน พิมพ์คำว่า "คุณพ่อคุณแม่ฉันรักและเคารพท่านดุจพระอรหันต์":
เมื่อให้ท่านเลือก ระหว่าง (หนังสือเก่าๆเล่มหนึ่งที่เรารัก) กับ (มิตรแท้ที่รักเรา) คุณจะะเลือก:
บุคคลที่ไปหลายๆเว็บไซต์ โดยที่สวมบทบาทเป็นหลายๆคน โดยที่ไม่รู้ว่า แท้จริงใจเราต้องการอะไร เพื่อน หรือ ชัยชนะ:
กล่าวคำดังนี้  "ให้อภัยนะ":
กล่าวคำดังนี้  "ขออโหสิกรรม":
ในโลกออนไลน์หรือโลกแห่งจิต ไม่มีใครทำอะไรเราได้ นอกเสียไปจาก (คนพาล) หรือ (ใจของเราเอง):
เคยนวดฝ่าเท้าให้ คุณพ่อคุณแม่บ้างไหม ถ้ามีโอกาส เราควรทำหรือไม่ (ควรกระทำอย่างยิ่ง หรือ ไม่ควรทำ):
ธรรมะคือ ธรรมชาติ พิมพ์คำว่า (ธรรมะชาติ) ครับ:
พิมพ์คำว่า (แสงธรรมนำทางธรรมะนำใจ) ครับ:
ขนทรายเข้าวัดคือ พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ทำบุญทำกุศลโดยวิธีนำหรือหาประโยชน์เพื่อส่วนรวมมิได้ทำเพื่อตนเอง):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: เมษายน 14, 2013, 03:30:50 pm »




วิถีเซน(37)...ปฏิบัติต่อความโกรธด้วยความอ่อนโยน
เป็นไปเพื่อการยอมรับ และการเปลี่ยนแปลง

นี่ไม่ใช่การเก็บกดหรือการต่อสู้
ทว่าเป็นการรับรู้ เวลาที่รับรู้โทสะ
เราจะโอบกอดมันไว้ด้วยความระลึกรู้
ด้วยความอ่อนโยนอย่างยิ่งยวด



สติไม่ได้มีไว้เพื่อต่อสู้กับความโกรธหรือความสิ้นหวัง
หากมีไว้เพื่อรับรู้
การมีสติในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ก็คือ
การรับรู้ว่า มีบางสิ่งบางอย่างดำรงอยู่ที่นั่นในปัจจุบันขณะ


สติ คือ ความสามารถที่จะตระหนักรู้ว่า
กำลังเกิดอะไรขึ้นในชั่วขณะนั้น


"หายใจเข้า ฉันรู้ว่าความโกรธเกิดขึ้นกับฉัน
หายใจออก ฉันยิ้มให้กับความโกรธ"

นี่ไม่ใช่การเก็บกดหรือการต่อสู้
ทว่าเป็นการรับรู้ เวลาที่รับรู้โทสะ
เราจะโอบกอดมันไว้ด้วยความระลึกรู้
ด้วยความอ่อนโยนอย่างยิ่งยวด


หากห้องของเธอเย็น แล้วเธอเปิดเครื่องทำความร้อน
เครื่องก็จะเริ่มปล่อยกระแสลมร้อนออกมา
อากาศเย็นไม่ต้องออกไปจากห้องเพื่อให้อบอุ่นขึ้น
ทว่ามันจะถูกลมร้อนเข้าโอบล้อมจนอุ่น ไม่มีการต่อสู้ปะทะกัน

เราเอาใจใส่ดูแลความโกรธด้วยวิธีเดียวกัน
สติจะรับรู้ความโกรธ ตระหนักรู้ถึงการเกิดขึ้นของมัน
ยอมรับและปล่อยให้มันอยู่ตรงนั้น



สติเปรียบเสมือนพี่ชายคนโต
ที่ไม่ได้กดข่มความทุกข์ของน้องชายไว้
หากจะบอกว่า "น้องรัก พี่อยู่เคียงข้างน้องที่นี่แล้ว"
เธอจะอุ้มน้องไว้ แล้วปลอบประโลม นี่คือวิธีที่เราปฏิบัติจริงๆ

ลองนึกถึงแม่ที่กำลังโมโหลูกน้อย และตีลูกเวลาที่เขาร้องไห้
"แม่คนนี้ ไม่รู้ว่าตัวเองและลูกคือคนคนเดียวกัน"
เราเป็นแม่ของโทสะในตัวเราเอง
และเราต้องช่วยเหลือลูกน้อยหรือความโกรธของตัวเอง
ไม่ใช่ต่อสู้ฟาดฟันมัน


"ความโกรธก็คือตัวเรา และความกรุณาก็คือตัวเราด้วย"

การทำสมาธิ ไม่ได้หมายถึงการต่อสู้
การปฏิบัติสมาธิควรเป็นไปเพื่อการยอมรับ
และการเปลี่ยนแปลง ไม่ใช่การห้ำหั่น



ติช นัท ฮันห์ เขียน, ธารา รินศานต์ แปล,
"ความโกรธ : ปัญญาดับเปลวไฟแห่งโทสะ" เวปลานธรรมจักร
-http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=truthoflife&month=01-2011&date=13&group=9&gblog=37