ข้อความโดย: sithiphong
« เมื่อ: เมษายน 21, 2013, 10:55:23 am »รู้หลักป้องกัน..."แฮกเกอร์" ก่อนสายเกินแก้...
-http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1366333178&grpid=&catid=09&subcatid=0904-
ชื่อ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร ก็บอกอยู่แล้วว่าเป็นเลิศทางด้านเทคโนโลยี โดยมีการแสดงผลงานค้นคว้าวิจัย และสิ่งประดิษฐ์นวัตกรรมใหม่ออกสู่สายตาสาธารณชนเรื่อยๆ
ล่าสุด ภายในงานเปิดโลกไอที 2556 เมื่อเร็วๆ นี้ เหล่านักศึกษาคณะวิทยาการและเทคโนโลยีสารสนเทศ ภายใต้การดูแลของอาจารย์ที่ปรึกษา นายศุภกร กังพิสดาร ผู้อำนวยการบัณฑิตศึกษา สาขาวิชาความมั่นคงทางระบบสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร ได้ร่วมกันทำแบบจำลองการทำงานของ "แฮกเกอร์" เริ่มต้นตั้งแต่แฮกได้อย่างไร จากไหน ด้วยวิธีการใด ฯลฯ เพื่อบอกต่อให้คนทั่วไปได้รู้เทคนิค กลโกง จะได้ป้องกันตัวเองไม่ให้ใครมาฉวยโอกาสตักตวงข้อมูลส่วนตัวไปได้
นายศุภกรกล่าวถึงทำงานของแฮกเกอร์ว่า เทคโนโลยีเหมือนดาบสองคม จะเห็นจากข่าวรายวันที่มีกลโกงหลายรูปแบบ โดยผู้ร้ายลักลอบเข้าไปเจาะฐานข้อมูลของเหยื่อ และกระทำการต่างๆ เพื่อผลประโยชน์ตนเอง โดยที่เหยื่อไม่ได้มีส่วนรู้เห็นด้วย อย่างแฮกเข้าไปส่งอีเมล์ขายของอีเมล์ลูกโซ่ หรือโพสต์เข้าไปในเฟซบุ๊ก หรืออินสตาแกรม เพื่อประโยชน์ทางการค้า บางรายหลอกให้โอนเงินโดยที่เจ้าของเฟซไม่รู้ไม่เห็นอะไรด้วย ก่อให้เกิดผลเสียหายมากมาย
เหล่านี้เป็นแค่หน่วยเล็กๆ แต่ถ้ามองภาพใหญ่ หากกระทำการในลักษณะเดียวกันกับองค์กร ธนาคาร หน่วยงาน องค์กรรัฐ ฯลฯ นำข้อมูลออกมาตีแผ่ แฉ หรือเป็นประโยชน์สำหรับฝ่ายตรงข้าม ย่อมให้เกิดผลเสียอย่างกว้างขวาง ซึ่งปัจจุบันนอกจากแวดวงพณิชยกรรมแล้ว ในประเทศมหาอำนาจบางรายก็ยังมีการใช้แฮกเกอร์มือดีจารกรรมข้อมูลต่างๆ เพื่อประโยชน์ทางสงครามด้วย
"สังเกตว่าในประเทศใหญ่ๆ กำลังประสบปัญหาเรื่องแฮกเกอร์โจรกรรมข้อมูลมาก อย่างในสหรัฐอเมริกา หากมีการประชุมทางทหาร จะไม่อนุญาตให้นำเครื่องสื่อสาร เช่น โทรศัพท์มือถือ ไอแพด เข้าไปได้เลย ใช้แต่ปากกา ดินสอ เพราะมือถือหากมีการติดต่อ เปิด หรือรับสาย จะมีไวรัสชื่อ ′มัลแวร์′ ที่แฝงมาด้วย เป็นตัวดักจับข้อมูลต่างๆ คอยเป็นพาหะที่พวกแฮกเกอร์ใช้เป็นสะพานเชื่อมโยงข้อมูลสำคัญได้"
ฟังดูภาพรวมของ "แฮกเกอร์" ช่างน่ากลัว จัดเป็นอาชญากรเทรนด์ใหม่ที่เราๆ ท่านๆ ต้องโฟกัส ดังนั้น ก่อนที่จะเป็น "เหยื่อ" โดยไม่รู้ตัว ควรป้องกันไว้ก่อน
เริ่มจาก 1.การตั้งพาสเวิร์ด ให้ตั้งไกลตัวหน่อย เพราะบรรดาแฮกเกอร์รู้ว่าคนส่วนใหญ่เวลาตั้ง จะตั้งจากสิ่งที่นำได้ง่าย เช่น ชื่อเล่น วันเดือนปีเกิด บ้านเลขที่ ทะเบียนรถ มือถือ นอกจากตั้งยากแล้ว ยังต้องหมั่นเปลี่ยนพาสเวิร์ด 2.หลีกเลี่ยงการแชร์ทุกชนิด เช่น ใช้คอมพิวเตอร์สาธารณะ หรือมือถือคนอื่น เนื่องจากปัญหาที่พบบ่อยล็อกอินแต่ไม่ล็อกเอาต์ และ 3.การเรียนรู้ระบบไอทีเบื้องต้น
นอกจาก "คอมพิวเตอร์" แล้ว ปัจจุบัน "มือถือ" ก็เป็นอีกแหล่งที่เหล่าแฮกเกอร์ใช้ขโมยข้อมูล คาดการณ์กันว่าต่อไปหากเจาะข้อมูลธุรกรรมออนไลน์สั่งโอนเงินจากมือถือของเราได้โดยที่เราไม่ได้สั่ง จะวุ่นวาย และเกิดการเสียหายเพียงใด แถมต่อไป 3G, AEC, Free WiFi ฯลฯ ยังจะเจริญ และแข็งแกร่งขึ้นอีก โอกาสที่จะเป็นเหยื่อนั้นก็จะสูงตามตัว
ฉะนั้น ต้องเตรียมตัวไว้แต่เนิ่นๆ เรียกว่า รู้ไอที...มีประโยชน์
หน้า 23,มติชนรายวัน ฉบับวันศุกร์ที่ 19 เมษายน 2556
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1366333178&grpid=&catid=09&subcatid=0904
.
-http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1366333178&grpid=&catid=09&subcatid=0904-
ชื่อ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร ก็บอกอยู่แล้วว่าเป็นเลิศทางด้านเทคโนโลยี โดยมีการแสดงผลงานค้นคว้าวิจัย และสิ่งประดิษฐ์นวัตกรรมใหม่ออกสู่สายตาสาธารณชนเรื่อยๆ
ล่าสุด ภายในงานเปิดโลกไอที 2556 เมื่อเร็วๆ นี้ เหล่านักศึกษาคณะวิทยาการและเทคโนโลยีสารสนเทศ ภายใต้การดูแลของอาจารย์ที่ปรึกษา นายศุภกร กังพิสดาร ผู้อำนวยการบัณฑิตศึกษา สาขาวิชาความมั่นคงทางระบบสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร ได้ร่วมกันทำแบบจำลองการทำงานของ "แฮกเกอร์" เริ่มต้นตั้งแต่แฮกได้อย่างไร จากไหน ด้วยวิธีการใด ฯลฯ เพื่อบอกต่อให้คนทั่วไปได้รู้เทคนิค กลโกง จะได้ป้องกันตัวเองไม่ให้ใครมาฉวยโอกาสตักตวงข้อมูลส่วนตัวไปได้
นายศุภกรกล่าวถึงทำงานของแฮกเกอร์ว่า เทคโนโลยีเหมือนดาบสองคม จะเห็นจากข่าวรายวันที่มีกลโกงหลายรูปแบบ โดยผู้ร้ายลักลอบเข้าไปเจาะฐานข้อมูลของเหยื่อ และกระทำการต่างๆ เพื่อผลประโยชน์ตนเอง โดยที่เหยื่อไม่ได้มีส่วนรู้เห็นด้วย อย่างแฮกเข้าไปส่งอีเมล์ขายของอีเมล์ลูกโซ่ หรือโพสต์เข้าไปในเฟซบุ๊ก หรืออินสตาแกรม เพื่อประโยชน์ทางการค้า บางรายหลอกให้โอนเงินโดยที่เจ้าของเฟซไม่รู้ไม่เห็นอะไรด้วย ก่อให้เกิดผลเสียหายมากมาย
เหล่านี้เป็นแค่หน่วยเล็กๆ แต่ถ้ามองภาพใหญ่ หากกระทำการในลักษณะเดียวกันกับองค์กร ธนาคาร หน่วยงาน องค์กรรัฐ ฯลฯ นำข้อมูลออกมาตีแผ่ แฉ หรือเป็นประโยชน์สำหรับฝ่ายตรงข้าม ย่อมให้เกิดผลเสียอย่างกว้างขวาง ซึ่งปัจจุบันนอกจากแวดวงพณิชยกรรมแล้ว ในประเทศมหาอำนาจบางรายก็ยังมีการใช้แฮกเกอร์มือดีจารกรรมข้อมูลต่างๆ เพื่อประโยชน์ทางสงครามด้วย
"สังเกตว่าในประเทศใหญ่ๆ กำลังประสบปัญหาเรื่องแฮกเกอร์โจรกรรมข้อมูลมาก อย่างในสหรัฐอเมริกา หากมีการประชุมทางทหาร จะไม่อนุญาตให้นำเครื่องสื่อสาร เช่น โทรศัพท์มือถือ ไอแพด เข้าไปได้เลย ใช้แต่ปากกา ดินสอ เพราะมือถือหากมีการติดต่อ เปิด หรือรับสาย จะมีไวรัสชื่อ ′มัลแวร์′ ที่แฝงมาด้วย เป็นตัวดักจับข้อมูลต่างๆ คอยเป็นพาหะที่พวกแฮกเกอร์ใช้เป็นสะพานเชื่อมโยงข้อมูลสำคัญได้"
ฟังดูภาพรวมของ "แฮกเกอร์" ช่างน่ากลัว จัดเป็นอาชญากรเทรนด์ใหม่ที่เราๆ ท่านๆ ต้องโฟกัส ดังนั้น ก่อนที่จะเป็น "เหยื่อ" โดยไม่รู้ตัว ควรป้องกันไว้ก่อน
เริ่มจาก 1.การตั้งพาสเวิร์ด ให้ตั้งไกลตัวหน่อย เพราะบรรดาแฮกเกอร์รู้ว่าคนส่วนใหญ่เวลาตั้ง จะตั้งจากสิ่งที่นำได้ง่าย เช่น ชื่อเล่น วันเดือนปีเกิด บ้านเลขที่ ทะเบียนรถ มือถือ นอกจากตั้งยากแล้ว ยังต้องหมั่นเปลี่ยนพาสเวิร์ด 2.หลีกเลี่ยงการแชร์ทุกชนิด เช่น ใช้คอมพิวเตอร์สาธารณะ หรือมือถือคนอื่น เนื่องจากปัญหาที่พบบ่อยล็อกอินแต่ไม่ล็อกเอาต์ และ 3.การเรียนรู้ระบบไอทีเบื้องต้น
นอกจาก "คอมพิวเตอร์" แล้ว ปัจจุบัน "มือถือ" ก็เป็นอีกแหล่งที่เหล่าแฮกเกอร์ใช้ขโมยข้อมูล คาดการณ์กันว่าต่อไปหากเจาะข้อมูลธุรกรรมออนไลน์สั่งโอนเงินจากมือถือของเราได้โดยที่เราไม่ได้สั่ง จะวุ่นวาย และเกิดการเสียหายเพียงใด แถมต่อไป 3G, AEC, Free WiFi ฯลฯ ยังจะเจริญ และแข็งแกร่งขึ้นอีก โอกาสที่จะเป็นเหยื่อนั้นก็จะสูงตามตัว
ฉะนั้น ต้องเตรียมตัวไว้แต่เนิ่นๆ เรียกว่า รู้ไอที...มีประโยชน์
หน้า 23,มติชนรายวัน ฉบับวันศุกร์ที่ 19 เมษายน 2556
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1366333178&grpid=&catid=09&subcatid=0904
.