ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
คนที่มีจิตใจอ่อนโยนส่วนใหญ่มัก คิดถึงสิ่งใดก่อนเสมอ  ( เลือกตอบแค่ ตัวเอง กับ คนอื่น ครับผม ):
คุณเชื่อในศรัทธาของความดีไหมครับ ( เลือกตอบแค่ เชื่อ กับ ไม่เชื่อ ครับผม):
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆแนวธรรมะในจิตใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า แสงธรรมนำใจ:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ความดีนำทาง:
เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใครทำบุญแล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วยกมือขึ้น (สาธุ) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ  สาธุ:
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆในโลกออนไลน์ใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
ท่านจะปฏิบัติตามกฏระเบียบข้อตกลงของเว็บใต้ร่มธรรมทุกประการหรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
โดยปกติชน นิ้วมือของคนเรา มีกี่นิ้ว (ตอบเป็นภาษาไทยครับ):
ใต้ร่มธรรม เป็น แค่เว็บไซต์และจินตนาการทางจิต การทำดี สำคัญที่ใจเรา เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ พิมพ์คำว่า "เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ":
คุณพ่อคุณแม่เปรียบดั่งพระอรหันต์ในบ้าน พิมพ์คำว่า "คุณพ่อคุณแม่ฉันรักและเคารพท่านดุจพระอรหันต์":
เมื่อให้ท่านเลือก ระหว่าง (หนังสือเก่าๆเล่มหนึ่งที่เรารัก) กับ (มิตรแท้ที่รักเรา) คุณจะะเลือก:
บุคคลที่ไปหลายๆเว็บไซต์ โดยที่สวมบทบาทเป็นหลายๆคน โดยที่ไม่รู้ว่า แท้จริงใจเราต้องการอะไร เพื่อน หรือ ชัยชนะ:
กล่าวคำดังนี้  "ให้อภัยนะ":
กล่าวคำดังนี้  "ขออโหสิกรรม":
ธรรมะคือ ธรรมชาติ พิมพ์คำว่า (ธรรมะชาติ) ครับ:
พิมพ์คำว่า (แสงธรรมนำทางธรรมะนำใจ) ครับ:
สำนวนไทยที่ว่า แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน  พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ลางเนื้อชอบลางยา):
ขนทรายเข้าวัดคือ พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ทำบุญทำกุศลโดยวิธีนำหรือหาประโยชน์เพื่อส่วนรวมมิได้ทำเพื่อตนเอง):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: เมษายน 22, 2013, 09:59:06 pm »




        ในสมัยอื่นอีก  พระสังฆปริณายกได้แสดงธรรมแก่ผู้มาชุมนุมฟัง  ด้วยข้อความดังต่อไปนี้:-
        ในพุทธศาสนาชนิดที่เป็นไปตามคัมภีร์นั้น ความแตกต่างระหว่างนิกาย "ฉับพลัน" กับ "นิกายเชื่องช้า"  มิได้มีอยู่อย่างชัดแจ้ง ความแตกต่างเท่าที่เห็นกันอยู่ก็มีแต่เพียงว่า ตามธรรมชาติที่เกิดมา  คนบางพวกรู้อะไรได้เร็วในเมื่อคนอีกบางพวกที่ทึบต่อการที่จะเข้าใจสิ่งต่างๆ  พวกที่สว่างไสว  ก็สามารถเห็นแจ้งสัจจธรรม  ได้ทันที ในเมื่อพวกที่อยู่ภายใต้อวิชชาจะต้องค่อยๆฝึกตัวเองต่อไป  แต่ความแตกต่างเช่นกล่าวนี้  จะไม่ปรากฏเลย  ถ้าหากว่าเรามารู้จักใจของตนเอง  และรู้แจ้งต่อสภาพแท้ของเราเอง  เพราะฉะนั้น คำว่า "เชื่องช้า" กับคำว่า "ฉับพลัน" สองคำนี้ เป็นเพียงภาพเลือนๆมากกว่าที่จะเป็นของจริง


ท่านผู้คงแก่เรียนทั้งหลาย  มันเป็นจารีตในนิกายของเรา 
ในการที่จะ   ถือเอา 
"ความไม่เป็นไปตามอำนาจของวิตก"  ว่าเป็นผลที่เราจำนงหวัง   

ถือเอา  "ความไม่ตกอยู่ภายใต้วิสัยของอารมณ์"  ว่าเป็นมูลรากอันสำคัญ
และ   ถือเอา  "ความไม่ข้องติด" ว่าเป็นหลักหรือต้นตอ  อันเป็นประธานสำคัญ 

"ความไม่ตกอยู่ภายใต้วิสัยของอารมณ์" นั้น 
หมายถึงความไม่ถูกอารมณ์ดึงดูดเอาไป  ในเมื่อได้สัมผัสกันเข้ากับอารมณ์
 
"ความไม่เป็นไปตามอำนาจของวิตก" นั้น  หมายถึง
ความไม่ถูกลากเอาไป  โดยความคิดอันแตกแยกแต่อย่างใดอย่างหนึ่ง 
ในขณะที่กำลังบำเพ็ญภาวนาทางจิต
 



"ความไม่ข้องติด"  นั้น หมายถึงลักษณะเฉพาะแห่ง  จิตเดิมแท้ ของเรานั่นเอง

        สิ่งทุกสิ่ง  ไม่ว่าดีหรือเลว  สวยงามหรือน่าเกลียด  ควรจัดเป็นของว่างอย่างเดียวกัน 
แม้ในขณะที่โต้เถียงและทะเลาะวิวาท  เราควรประพฤติต่อเพื่อนและต่อศัตรูของเราอย่างเดียวกัน 

และไม่มีการ   นึกถึง   การแก้เผ็ด

ในการฝึกความนึกคิดของตนเอง จงปล่อยให้อดีตเป็นอดีต 
ถ้าเราเผลอให้ความคิดของเรา  ที่เป็นอดีต  ปัจจุบัน  และอนาคต 

มาจับติดต่อกัน เป็นห่วงโซ่  แล้วก็หมายว่า   เราจับตัวเอง   ใส่กรงขัง 
ในฝ่ายตรงกันข้าม  ถ้าเราไม่ยอมให้ใจของเรา   ข้องติดอยู่  ในสิ่งใดๆ   

 เราจะลุถึง   ความหลุดพ้น  เพื่อผลอันนี้  เราจึงถือเอา
"ความไม่ข้องติด"  ว่าเป็นหลักหรือต้นตอ  อันเป็นประธานสำคัญ

         การทำตัวเราเอง  ให้เป็นอิสระ  จาการถูกดูดดึงไปตามอารมณ์ภายนอกนี้
เรียกว่า  "ความไม่ตกอยู่ภายใต้วิสัยของอารมณ์"  เมื่ออยู่ในฐานะ   ที่จะทำได้




ดังนั้น  สภาพธรรม(ที่มีในเรา)  ก็จะบริสุทธิ์  เพื่อผลอันนี้
เราจึง   ถือเอา  "ความไม่ตกอยู่ภายใต้วิสัยของอารมณ์"  ว่าเป็นมูลรากอันสำคัญ




พระสูตรเว่ยหล่าง พุทธทาสภิกขุ แปล
- http://www.tairomdham.net/index.php/topic,298.15.html