ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
คนที่มีจิตใจอ่อนโยนส่วนใหญ่มัก คิดถึงสิ่งใดก่อนเสมอ  ( เลือกตอบแค่ ตัวเอง กับ คนอื่น ครับผม ):
กัน-ละ-ยา-นะ-มิด เขียนเป็นภาษาไทยที่ถูกต้องว่าอย่างไรครับ:
คุณเชื่อในศรัทธาของความดีไหมครับ ( เลือกตอบแค่ เชื่อ กับ ไม่เชื่อ ครับผม):
ชีวิตบางครั้งก็เหมือนเหรียญสองด้านใช่หรือไม่ครับบางครั้งก็หัวบางครั้งก็ก้อย( เลือกตอบแค่ ใช่ กับไม่ใช่ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า แสงธรรมนำใจ:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ความดีนำทาง:
การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ นิยมใช้คำว่า (อนุโมทนา) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ อนุโมทนา:
เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใครทำบุญแล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วยกมือขึ้น (สาธุ) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ  สาธุ:
เมื่อให้ท่านเลือก ระหว่าง (หนังสือเก่าๆเล่มหนึ่งที่เรารัก) กับ (มิตรแท้ที่รักเรา) คุณจะะเลือก:
บุคคลที่ไปหลายๆเว็บไซต์ โดยที่สวมบทบาทเป็นหลายๆคน โดยที่ไม่รู้ว่า แท้จริงใจเราต้องการอะไร เพื่อน หรือ ชัยชนะ:
กล่าวคำดังนี้  "ขอโทษนะ":
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
ในโลกออนไลน์หรือโลกแห่งจิต ไม่มีใครทำอะไรเราได้ นอกเสียไปจาก (คนพาล) หรือ (ใจของเราเอง):
เคยนวดฝ่าเท้าให้ คุณพ่อคุณแม่บ้างไหม ถ้ามีโอกาส เราควรทำหรือไม่ (ควรกระทำอย่างยิ่ง หรือ ไม่ควรทำ):
สำนวนไทยที่ว่า แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน  พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ลางเนื้อชอบลางยา):
ขนทรายเข้าวัดคือ พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ทำบุญทำกุศลโดยวิธีนำหรือหาประโยชน์เพื่อส่วนรวมมิได้ทำเพื่อตนเอง):
ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ผู้ที่ทำตนให้เล็กที่สุด ผู้ที่เล็กที่สุดก็จะกลายเป็นผู้ที่ใหญ่ที่สุด ผู้ที่มีเกียรติคือผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น ฉะนั้นสมาชิกใต้ร่มธรรมควรให้เกียรติกันและกัน พิมพ์คำว่า (ฉันจะให้เกียรติสมาชิกทุกๆท่านในใต้ร่มธรรมเสมอด้วยวาจาสุภาพอ่อนน้อม):
ไม่มีอะไรสายสำหรับการเริ่มต้น พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (It is never too late to mend):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: เมษายน 29, 2013, 07:18:17 pm »




เหตุเกิดของทุกข์
" ถูกแล้ว ถูกแล้ว อานนท์ ! ตามที่สารีบุตรเมื่อตอบปัญหาในลักษณะนั้นเช่นนั้น, ชื่อว่าได้ตอบโดยชอบ:
:- อานนท์ ! ความทุกข์นั้น เรากล่าวว่าเป็นสิ่งที่อาศัยปัจจัยอย่างใดอย่างหนึ่งแล้วเกิดขึ้น ( เรียกว่า ปฏิจจสมุปปันนธรรม )

" ความทุกข์นั้น อาศัยปัจจัย อะไรเล่า ?
*~* ความทุกข์นั้น อาศัยปัจจัย คือ ผัสสะ, ผู้กล่าวอย่างนี้แล ชื่อว่า กล่าวตรงตามที่เรากล่าว ไม่เป็นการกล่าวตู่เราด้วยคำไม่จริง; แต่เป็นการกล่าวโดยถูกต้อง และสหธรรมิกบางคนที่กล่าวตาม ก็จะไม่พลอยกลายเป็นผู้ควรถูกติไปด้วย.

:- อานนท์ ! ในบรรดาสมณพราหมณ์ ที่กล่าวสอนเรื่องกรรม ทั้งสี่พวกนั้น:
๑) สมณพราหมณ์ ที่กล่าวสอนเรื่องกรรมพวกใด ย่อมบัญญัติความทุกข์ ว่าเป็นสิ่งที่ " ตนทำเอาด้วยตนเอง " แม้ความทุกข์ที่พวกเขาบัญญัตินั้น ก็ยังต้องอาศัยผัสสะ เป็นปัจจัย จึงเกิดได้;

๒) สมณพราหมณ์ ที่กล่าวสอนเรื่องกรรมพวกใด ย่อมบัญญัติความทุกข์ ว่าเป็นสิ่งที่ " ผู้อื่นทำให้ " แม้ความทุกข์ที่พวกเขาบัญญัตินั้น ก็ยังต้องอาศัยผัสสะเป็นปัจจัย จึงเกิดมีได้;

๓) สมณพราหมณ์ ที่กล่าวสอนเรื่องกรรมพวกใด ย่อมบัญญัติความทุกข์ ว่าเป็นสิ่งที่ " ตนทำเอาด้วยตนเองด้วย - ผู้อื่นทำให้ด้วย " แม้ความทุกข์ที่พวกเขาบัญญัตินั้น ก็ยังต้องอาศัยผัสสะ เป็นปัจจัย จึงเกิดมีได้;

๔) ถึงแม้สมณพราหมณ์ ที่กล่าวสอนเรื่องกรรมพวกใด ย่อมบัญญัติความทุกข์ ว่าเป็นสิ่งที่ " ไม่ใช่ทำเอง หรือ ใครทำให้ก็เกิดขึ้นได้ ก็ตาม " แม้ความทุกข์ที่พวกเขาบัญญัตินั้น ก็ยังต้องอาศัยผัสสะ เป็นปัจจัย จึงเกิดมีได้อยู่นั่นเอง.
 
( นิทาน.สํ.๑๖/๔๐/๗๕.)
ชมรมรักษ์ธรรม chomromrakdham


วัดบางกุ้ง, โบสถ์ปรกโพธิ์ ตั้งอยู่ที่ตำบลบางกุ้ง
อำเภอบางคนที จังหวัดสมุทรสงคราม ริมฝั่งแม่น้ำแม่กลองฝั่งตะวันตก
ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: เมษายน 29, 2013, 06:56:16 pm »




เวลาสวดมนต์จิตจะห่างจาก
กิเลสตัณหาอุปาทาน

หลวงตาม้า สอนว่า
การสวดมนต์มันไม่ธรรมดาเลยนะ มันสามารถรักษาโรคได้ แต่เราต้องทำจิตให้เป็นเนื้อเดียวกับบทสวดมนต์ให้ได้ก่อน ต้องทำความเข้าใจก่อนว่าสวดมนต์ไปทำไหม ดูคนโบราณเขาสิ เขามีมนต์ไว้รักษาตัว
เพราะเวลาสวดมนต์จิตจะห่างจาก กิเลสตัณหาอุปาทาน
   ธาตุในร่างกายเราก็ปรับไปในทางที่ดี สมัยก่อนไม่มีใครไม่สวดมนต์ ยุคปัจจุบันไม่ทำกันติดแต่ทีวี โลกยุคใหม่กินธาตุเรา ทำให้เราเป็นโรคภัยตามหนัง เวลามันเศร้าเราก็เศร้า มันร้องให้เราก็ร้องให้ คนยุคปัจจุบันจึงอายุไม่ยืน ถ้าเราอยากให้ธาตุเรามีประโยชน์ เราต้องหมั่นสวดมนต์ให้ได้ ไม่จำเป็นต้องมาวัด ทำบ้านให้เป็นวัด สวดมนต์ที่บ้าน เสาร์อาทิตย์ก็อธิษฐานสวดมนต์เช้าเย็น อาทิตย์นึงทำได้จากวันเป็นเดือน เดือนกลายเป็นปี แล้วต่อไปเราก็จะมีฐานที่มั่นคง เขาเรียกว่าฝึกเตรียมตัวตาย ไม่ประมาท
**************************************




จงพิจารณาให้เห็นโทษของการที่จิตขาดสมาธิ ทำให้เกิดผลเสียต่อตัวเองอย่างไร เพราะจิตเรามันวอกแวกไปตามสิ่งยั่วยุภายนอกที่ผ่านเข้ามาทางตา หู จมูก ลิ้น และสัมผัสทางกายอยู่เสมอ ทำให้สมาธิขาดและไม่แล้วจิตไม่นิ่งสักที จนกระทั่งมีไฟลนก้นหรือสถานการณ์บีบบังคับ จึงรีบทำออกจากสมาธิและมีผลต่อเรื่องงาน แล้วก็ไม่มีคุณภาพ ฉาบฉวย เกิดความผิดพลาดขึ้นได้ง่าย

ลองกำหนดเป้าหมายที่สำคัญและแน่นอนที่อยากมีอยากเป็นในชีวิตอย่างเป็นขั้นเป็นตอนเราจะต้องทำอะไรให้สำเร็จหรือบรรลุอะไรให้ได้ภายในระยะเวลาเท่าไร เช่น จะทำโครงการนี้ให้เสร็จภายในกี่เดือน ชีวิตที่ไม่มีเป้าหมายจะล่องลอย ไม่แตกต่างอะไรกับเรื่อที่ไร้หางเสือ หรือเศษไม้หนึ่งท่อนที่ลอยอยู่บนพื้นน้ำหากถูกลมพัดพาไปในทิศทางใดก็จะล่องลอยไปตามทิศทางนั้นไร้จุดหมาย ไร้ทิศทาง และไร้คุณค่า คำว่า "ไม่เป็นไร" เมื่อผุดขึ้นในใจใครก็ตาม นั่นคือบ่อเกิดแห่งความประมาท

ดังนั้นต้องตัดสินใจทำอะไรเพราะมีความคิดว่า "ไม่เป็นไร" ผุดขึ้นในจิตแล้ว เราต้องระวังเป็นสองสามเท่า และหันกลับมาพิจารณาความคิดดังกล่าวอีกครั้ง มองดูผลเสียที่อาจจะเกิดขึ้นจากการกระทำดังกล่าว เพื่อป้องกันภัยเวรและผลเสียที่อาจบังเกิดขึ้น

ต้องหมั่นฝึกการปลีกวิเวก สงบสติอารมณ์อยู่ในที่สงัดจะได้รู้จักการฝึกลับความคิดให้แหลมคมจนสามารถควบคุมความคิดและพฤติกรรม มุ่งไปสู่เป้าหมายของชีวิตได้ ในขณะเดียวกันต้องตระหนักเสมอว่า จิตที่เฝ้ารอคอยแต่ความตื่นเต้นหฤหรรษ์นั้นจะเป็นที่มาของความเบื่อหน่ายได้ง่าย เพราะทุกครั้งที่เสพความสุขจากสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่กระทบมาทางตา หู จมูก ลิ้น และกายสัมผัสจิตก็จะปรารถนาให้ได้สัมผัสกับความรู้สึกนั้นๆ มากขึ้นเรื่อยๆ หากไม่สามารถหามาชโลมใจได้ก็จะเบื่อง่าย และไม่เอาอะไรกับชีวิตแล้ว

การหมั่นฝึกปลีกตัวจากสังคมหรือคนในครอบครัวเพื่อมาอยู่เงียบๆ หยุดการกระเพื่อมของจิต จึงเป็นสิ่งจำเป็นยิ่งเพื่อจะดับพลังราคะที่สุม และ เผาผลาญอยู่ในใจเสมอ


. . .

เรียบเรียงจากคติธรรมคำสอนของ
พระอาจารย์ วรงคต วิริยธโร
(หลวงตาม้า) วัดพุทธพรหมปัญโญ
(วัดถ้ำเมืองนะ) ต.เมืองนะ
อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่



ชมรมรักษ์ธรรม chomromrakdham
-http://www.facebook.com/pages/ชมรมรักษ์ธรรม-chomromrakdham/134565886589151