ข้อความโดย: sithiphong
« เมื่อ: พฤษภาคม 04, 2013, 08:30:48 am »ค่าทดแทนจากการเวนคืนที่ดิน
วันเสาร์ที่ 4 พฤษภาคม 2556 เวลา 00:00 น.
-http://www.dailynews.co.th/article/345/201761-
กระผมนั่งคิดครึ้ม ๆ ว่า วันนี้นั่งเขียนต้นฉบับด้วยดินสอท่ามกลางแสงวับแวม ๆ จากเทียนไขที่จุดรายล้อม เขียนเสร็จแล้วนั่งสามล้อถีบมาส่งต้นฉบับที่เดลินิวส์ เมื่อเห็นว่าทุกสิ่งทุกอย่างเรียบร้อยแล้ว
จึงเรียกสามล้อกลับบ้านอย่างสบายใจ รอเวลาขึ้นรถไฟไปต่างจังหวัดซึ่งคงใช้เวลาไม่กี่วันก็ถึงที่หมาย
น้ำยังท่วมตามปกติ นั่นหมายถึงว่ากระผมกำลังมีปูปลากุ้งหอยมาให้จับกินถึงหน้าบ้านอย่างอุดมสมบูรณ์ ไปไหนมาไหนก็นั่งเรือแจวไม่รีบร้อน โน พรอบเบล็ม
อา นี่มันช่างเป็นชีวิตที่แสนผาสุกอะไรอย่างนี้ มันคือชีวิตในอุดมคติ เรียบง่าย ไม่รีบเร่ง แสนสบาย ไม่มีความเครียด ทำยังไงหนอท่านผู้อ่านจึงจะได้มีชีวิตที่เพอร์เฟกต์เหมือนกระผมบ้าง
ก็ไม่แน่หรอกขอรับโปรดอย่าอิจฉากระผม วันแห่งความผาสุกเช่นนั้นกำลังใกล้เข้ามาอย่างน่าพิศวง เพราะจะสร้างโรงไฟฟ้าปรมาณูก็มีคนต่อต้าน จะมีสามจี ก็มีคนฟ้องขัดขวาง จะมีรถไฟความเร็วสูง ก็คัดค้านกันเสียงระงม จะสร้างเขื่อนใหญ่ ๆ วันนี้ไม่มีทางสร้างได้ จะจัดการเรื่องน้ำท่วมให้เป็นระบบ ก็มีการฟ้องร้องให้ระงับการดำเนินการ
ท่านผู้คัดค้านทุกเรื่องกำลังทำฝันให้เป็นจริง ขณะที่กำลังเคลิบเคลิ้ม ดันมีท่านผู้อ่านใช้นามว่า “แฟนเดลินิวส์” ถามมาอย่างไม่สนใจหน้าอินทร์หน้าพรหม สุขเสิกอะไรกันฟะ
ขอทราบหลักเกณฑ์และวิธีการในการคิดค่าทดแทนการเวนคืนที่ดินว่าจะมีการ ปรับลดจากราคาเดิมได้หรือไม่ และที่ดิน ส่วนที่เหลือจากการเวนคืนที่เหลืออยู่ไม่สามารถใช้ประโยชน์ได้อย่างเต็มที่จะมีสิทธิอย่างไรบ้างตามกฎหมาย
อันนี้สิน่าห่วงจริงเพราะโครงการต่าง ๆ ของรัฐในเรื่องเหล่านี้ต้องมีการเวนคืนที่ดินชาวบ้าน
ต้องมีการจ่ายค่าทดแทนตามกฎหมาย สุขจริงทุกข์จริง เพราะมีข้อโต้แย้งเป็นคดีปกครองจำนวนมากไม่เห็นมีใครเป็นห่วง
ประการแรก ปัญหาว่ากำหนดค่าทดแทนที่ดินไว้เรียบร้อย มีการเปลี่ยนใจจะปรับลดจำนวนเงินค่าทดแทนในภายหลังได้หรือไม่ อาจเป็นเพราะหน่วยงานผู้ดำเนินการประสบปัญหาในทางงบประมาณในภายหลัง เป็นต้น
ถ้าการกำหนดราคาครั้งแรกกระทำโดยชอบตามหลักเกณฑ์ในมาตรา ๒๑ แห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. ๒๕๓๐ และพิจารณาอย่างเป็นธรรมแล้ว พูดคำไหน คำนั้นครับ เพราะกฎหมายไม่ได้ให้อำนาจหน่วยงานผู้เวนคืนที่จะปรับลดได้ ดังมีกรณีที่คณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นพิจารณากำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินที่ถูกเวนคืนเพื่อก่อสร้างทางหลวงตารางวาละ ๑๐,๐๐๐ บาท ต่อมาได้ปรับลดอัตราค่าทดแทนลงร้อยละ ๑๐ คงเหลือตารางวาละ ๙,๐๐๐ บาท
โดยอ้างปัญหาภาวะเศรษฐกิจของประเทศในขณะนั้น (ซึ่งน่าจะหลังวิกฤติเศรษฐกิจ ต้มยำกุ้ง)
ศาลปกครองสูงสุดวินิจฉัยว่า นอกจากคณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นได้พิจารณากำหนดค่าทดแทนตามมาตรา ๒๑ แห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. ๒๕๓๐ แล้วยังพิจารณาจากสภาพและทำเลที่ตั้งของที่ดินด้วย การกำหนดราคาทดแทน จึงชอบด้วยเหตุผลและเป็นธรรมแก่เจ้าของที่ดินแล้ว
แต่การที่คณะกรรมการฯ ได้ปรับลดอัตราค่าทดแทนที่ดินลงร้อยละ ๑๐ เป็นตารางวาละ ๙,๐๐๐ บาท โดยอ้างปัญหาภาวะทางเศรษฐกิจของประเทศนั้น ไม่มีกฎหมายหรือระเบียบใดบัญญัติให้อำนาจไว้ จึงไม่เป็นธรรมแก่ผู้เป็นเจ้าของที่ดิน ศาลพิพากษาให้กำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินให้แก่เจ้าของที่ดินในอัตราตารางวาละ ๑๐,๐๐๐ บาท (คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ.๑๖๘/๒๕๔๙)
คดีปกครองเรื่องค่าทดแทนนี่ ปกติชาวบ้านเขาขอสามคำ ขอเงินเพิ่ม นี่ไปลดจนชาวบ้านฟ้องได้แค่เหลือเท่าทุน
คำถามต่อมาเกี่ยวกับที่ดินส่วนที่เหลืออยู่จากการเวนคืน มีมาตรา ๒๑ วรรคสามแห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. ๒๕๓๐ บัญญัติว่า ถ้าต้องเวนคืนอสังหาริมทรัพย์แต่เพียงส่วนหนึ่งและส่วนที่เหลือนั้นมีราคาลดลง ให้กำหนดเงินค่าทดแทนให้เฉพาะส่วนที่เหลืออันราคาลดลงนั้นด้วย
ศาลปกครองสูงสุดได้วินิจฉัยวางหลักเกณฑ์ไว้ตามคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ.๒๙ / ๒๕๔๙ ดังนี้
ประการแรกต้องได้ความว่า ที่ดินส่วนที่เหลือนั้นมีราคาลดลงอันเป็นผลจากการเวนคืน
เป็นหน้าที่ ของหน่วยงานผู้เวนคืนที่ต้องพิจารณาว่าที่ดินส่วนที่เหลือจากการเวนคืนมีราคาลดลงจากการเวนคืนหรือไม่ เพียงใด โดยไม่จำต้องให้เจ้าของที่ดินผู้ถูกเวนคืนร้องขอเสียก่อน
ซึ่งการกำหนดค่าทดแทนสำหรับที่ดินส่วนที่เหลือจากการเวนคืนที่ราคาลดลง จะต้องลดลงโดยเป็นผลโดยตรงจากการเวนคืนเท่านั้น
ทั้งนี้ ต้องพิจารณาจากผลกระทบต่าง ๆ ที่ทำให้ที่ดินเฉพาะแปลงนั้นเปลี่ยนแปลงไปอันเนื่องมาจากการเวนคืนโดยตรง
พิจารณาผลกระทบอะไรบ้าง ท่านว่าให้พิจารณาถึงรูปร่างลักษณะ ขนาดที่เปลี่ยนแปลงไปของที่ดิน รวมถึงข้อจำกัดในการใช้ประโยชน์ เป็นต้น
และ มิอาจนำราคาประเมินทุนทรัพย์เพื่อเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมมาใช้เป็นเกณฑ์พิจารณาได้ เนื่องจากราคาประเมินทุนทรัพย์ดังกล่าวเป็นการกำหนดราคาประเมินที่ดินทั้งระบบและเป็นการสำรวจเพื่อกำหนดราคาที่ดินใหม่ทุก ๆ สี่ปี
ก็ต้องกำหนดราคาค่าทดแทนที่ดินส่วนที่เหลือตามความเป็นจริงและเป็นธรรมแก่เจ้าของที่ดินผู้ถูกเวนคืน
อย่างไรก็ดี คดีนี้ ปรากฏว่าที่ดินของผู้ฟ้องคดีส่วนที่เหลือจากการเวนคืนยังคงใช้ประโยชน์ได้ และมิได้มีราคาสูงขึ้นหรือลดลงแต่อย่างใด ศาลจึงไม่จำต้องกำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินส่วนที่เหลือจากการเวนคืนให้ผู้ฟ้องคดี
เรื่องเงินค่าทดแทนที่ดินที่ถูกเวนคืนมีกำหนดไว้ในกฎหมายหลายประเด็น จึงมีปัญหากันมากสำหรับชาวบ้านที่ถูกเวนคืนและไม่ใช่นักกฎหมาย เพื่อรับใช้ท่านผู้อ่านเดลินิวส์ถ้ามีข้อสงสัยประการใดสอบถามมาที่อีเมลข้างล่างนี้ ปัญหาใดมีหลักกฎหมายน่าสนใจ ก็ขออนุญาตนำลงเผยแพร่ต่อไปขอรับ.
พิสิษฐ์ พลรักษ์เขตต์
www.naipisit.com/อีเมล์ :praepim@yahoo.com
.
วันเสาร์ที่ 4 พฤษภาคม 2556 เวลา 00:00 น.
-http://www.dailynews.co.th/article/345/201761-
กระผมนั่งคิดครึ้ม ๆ ว่า วันนี้นั่งเขียนต้นฉบับด้วยดินสอท่ามกลางแสงวับแวม ๆ จากเทียนไขที่จุดรายล้อม เขียนเสร็จแล้วนั่งสามล้อถีบมาส่งต้นฉบับที่เดลินิวส์ เมื่อเห็นว่าทุกสิ่งทุกอย่างเรียบร้อยแล้ว
จึงเรียกสามล้อกลับบ้านอย่างสบายใจ รอเวลาขึ้นรถไฟไปต่างจังหวัดซึ่งคงใช้เวลาไม่กี่วันก็ถึงที่หมาย
น้ำยังท่วมตามปกติ นั่นหมายถึงว่ากระผมกำลังมีปูปลากุ้งหอยมาให้จับกินถึงหน้าบ้านอย่างอุดมสมบูรณ์ ไปไหนมาไหนก็นั่งเรือแจวไม่รีบร้อน โน พรอบเบล็ม
อา นี่มันช่างเป็นชีวิตที่แสนผาสุกอะไรอย่างนี้ มันคือชีวิตในอุดมคติ เรียบง่าย ไม่รีบเร่ง แสนสบาย ไม่มีความเครียด ทำยังไงหนอท่านผู้อ่านจึงจะได้มีชีวิตที่เพอร์เฟกต์เหมือนกระผมบ้าง
ก็ไม่แน่หรอกขอรับโปรดอย่าอิจฉากระผม วันแห่งความผาสุกเช่นนั้นกำลังใกล้เข้ามาอย่างน่าพิศวง เพราะจะสร้างโรงไฟฟ้าปรมาณูก็มีคนต่อต้าน จะมีสามจี ก็มีคนฟ้องขัดขวาง จะมีรถไฟความเร็วสูง ก็คัดค้านกันเสียงระงม จะสร้างเขื่อนใหญ่ ๆ วันนี้ไม่มีทางสร้างได้ จะจัดการเรื่องน้ำท่วมให้เป็นระบบ ก็มีการฟ้องร้องให้ระงับการดำเนินการ
ท่านผู้คัดค้านทุกเรื่องกำลังทำฝันให้เป็นจริง ขณะที่กำลังเคลิบเคลิ้ม ดันมีท่านผู้อ่านใช้นามว่า “แฟนเดลินิวส์” ถามมาอย่างไม่สนใจหน้าอินทร์หน้าพรหม สุขเสิกอะไรกันฟะ
ขอทราบหลักเกณฑ์และวิธีการในการคิดค่าทดแทนการเวนคืนที่ดินว่าจะมีการ ปรับลดจากราคาเดิมได้หรือไม่ และที่ดิน ส่วนที่เหลือจากการเวนคืนที่เหลืออยู่ไม่สามารถใช้ประโยชน์ได้อย่างเต็มที่จะมีสิทธิอย่างไรบ้างตามกฎหมาย
อันนี้สิน่าห่วงจริงเพราะโครงการต่าง ๆ ของรัฐในเรื่องเหล่านี้ต้องมีการเวนคืนที่ดินชาวบ้าน
ต้องมีการจ่ายค่าทดแทนตามกฎหมาย สุขจริงทุกข์จริง เพราะมีข้อโต้แย้งเป็นคดีปกครองจำนวนมากไม่เห็นมีใครเป็นห่วง
ประการแรก ปัญหาว่ากำหนดค่าทดแทนที่ดินไว้เรียบร้อย มีการเปลี่ยนใจจะปรับลดจำนวนเงินค่าทดแทนในภายหลังได้หรือไม่ อาจเป็นเพราะหน่วยงานผู้ดำเนินการประสบปัญหาในทางงบประมาณในภายหลัง เป็นต้น
ถ้าการกำหนดราคาครั้งแรกกระทำโดยชอบตามหลักเกณฑ์ในมาตรา ๒๑ แห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. ๒๕๓๐ และพิจารณาอย่างเป็นธรรมแล้ว พูดคำไหน คำนั้นครับ เพราะกฎหมายไม่ได้ให้อำนาจหน่วยงานผู้เวนคืนที่จะปรับลดได้ ดังมีกรณีที่คณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นพิจารณากำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินที่ถูกเวนคืนเพื่อก่อสร้างทางหลวงตารางวาละ ๑๐,๐๐๐ บาท ต่อมาได้ปรับลดอัตราค่าทดแทนลงร้อยละ ๑๐ คงเหลือตารางวาละ ๙,๐๐๐ บาท
โดยอ้างปัญหาภาวะเศรษฐกิจของประเทศในขณะนั้น (ซึ่งน่าจะหลังวิกฤติเศรษฐกิจ ต้มยำกุ้ง)
ศาลปกครองสูงสุดวินิจฉัยว่า นอกจากคณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นได้พิจารณากำหนดค่าทดแทนตามมาตรา ๒๑ แห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. ๒๕๓๐ แล้วยังพิจารณาจากสภาพและทำเลที่ตั้งของที่ดินด้วย การกำหนดราคาทดแทน จึงชอบด้วยเหตุผลและเป็นธรรมแก่เจ้าของที่ดินแล้ว
แต่การที่คณะกรรมการฯ ได้ปรับลดอัตราค่าทดแทนที่ดินลงร้อยละ ๑๐ เป็นตารางวาละ ๙,๐๐๐ บาท โดยอ้างปัญหาภาวะทางเศรษฐกิจของประเทศนั้น ไม่มีกฎหมายหรือระเบียบใดบัญญัติให้อำนาจไว้ จึงไม่เป็นธรรมแก่ผู้เป็นเจ้าของที่ดิน ศาลพิพากษาให้กำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินให้แก่เจ้าของที่ดินในอัตราตารางวาละ ๑๐,๐๐๐ บาท (คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ.๑๖๘/๒๕๔๙)
คดีปกครองเรื่องค่าทดแทนนี่ ปกติชาวบ้านเขาขอสามคำ ขอเงินเพิ่ม นี่ไปลดจนชาวบ้านฟ้องได้แค่เหลือเท่าทุน
คำถามต่อมาเกี่ยวกับที่ดินส่วนที่เหลืออยู่จากการเวนคืน มีมาตรา ๒๑ วรรคสามแห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. ๒๕๓๐ บัญญัติว่า ถ้าต้องเวนคืนอสังหาริมทรัพย์แต่เพียงส่วนหนึ่งและส่วนที่เหลือนั้นมีราคาลดลง ให้กำหนดเงินค่าทดแทนให้เฉพาะส่วนที่เหลืออันราคาลดลงนั้นด้วย
ศาลปกครองสูงสุดได้วินิจฉัยวางหลักเกณฑ์ไว้ตามคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ.๒๙ / ๒๕๔๙ ดังนี้
ประการแรกต้องได้ความว่า ที่ดินส่วนที่เหลือนั้นมีราคาลดลงอันเป็นผลจากการเวนคืน
เป็นหน้าที่ ของหน่วยงานผู้เวนคืนที่ต้องพิจารณาว่าที่ดินส่วนที่เหลือจากการเวนคืนมีราคาลดลงจากการเวนคืนหรือไม่ เพียงใด โดยไม่จำต้องให้เจ้าของที่ดินผู้ถูกเวนคืนร้องขอเสียก่อน
ซึ่งการกำหนดค่าทดแทนสำหรับที่ดินส่วนที่เหลือจากการเวนคืนที่ราคาลดลง จะต้องลดลงโดยเป็นผลโดยตรงจากการเวนคืนเท่านั้น
ทั้งนี้ ต้องพิจารณาจากผลกระทบต่าง ๆ ที่ทำให้ที่ดินเฉพาะแปลงนั้นเปลี่ยนแปลงไปอันเนื่องมาจากการเวนคืนโดยตรง
พิจารณาผลกระทบอะไรบ้าง ท่านว่าให้พิจารณาถึงรูปร่างลักษณะ ขนาดที่เปลี่ยนแปลงไปของที่ดิน รวมถึงข้อจำกัดในการใช้ประโยชน์ เป็นต้น
และ มิอาจนำราคาประเมินทุนทรัพย์เพื่อเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมมาใช้เป็นเกณฑ์พิจารณาได้ เนื่องจากราคาประเมินทุนทรัพย์ดังกล่าวเป็นการกำหนดราคาประเมินที่ดินทั้งระบบและเป็นการสำรวจเพื่อกำหนดราคาที่ดินใหม่ทุก ๆ สี่ปี
ก็ต้องกำหนดราคาค่าทดแทนที่ดินส่วนที่เหลือตามความเป็นจริงและเป็นธรรมแก่เจ้าของที่ดินผู้ถูกเวนคืน
อย่างไรก็ดี คดีนี้ ปรากฏว่าที่ดินของผู้ฟ้องคดีส่วนที่เหลือจากการเวนคืนยังคงใช้ประโยชน์ได้ และมิได้มีราคาสูงขึ้นหรือลดลงแต่อย่างใด ศาลจึงไม่จำต้องกำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินส่วนที่เหลือจากการเวนคืนให้ผู้ฟ้องคดี
เรื่องเงินค่าทดแทนที่ดินที่ถูกเวนคืนมีกำหนดไว้ในกฎหมายหลายประเด็น จึงมีปัญหากันมากสำหรับชาวบ้านที่ถูกเวนคืนและไม่ใช่นักกฎหมาย เพื่อรับใช้ท่านผู้อ่านเดลินิวส์ถ้ามีข้อสงสัยประการใดสอบถามมาที่อีเมลข้างล่างนี้ ปัญหาใดมีหลักกฎหมายน่าสนใจ ก็ขออนุญาตนำลงเผยแพร่ต่อไปขอรับ.
พิสิษฐ์ พลรักษ์เขตต์
www.naipisit.com/อีเมล์ :praepim@yahoo.com
.