ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
คนที่มีจิตใจอ่อนโยนส่วนใหญ่มัก คิดถึงสิ่งใดก่อนเสมอ  ( เลือกตอบแค่ ตัวเอง กับ คนอื่น ครับผม ):
กัน-ละ-ยา-นะ-มิด เขียนเป็นภาษาไทยที่ถูกต้องว่าอย่างไรครับ:
คุณเชื่อในศรัทธาของความดีไหมครับ ( เลือกตอบแค่ เชื่อ กับ ไม่เชื่อ ครับผม):
คิดว่าความดีทำยากไหม( เลือกตอบแค่ ยาก กับ ไม่ยาก ครับผม):
ถ้าเราโกรธใคร ธรรมะจะเป็นหนทางผ่อนคลายความโกรธนั้นลงได้ใช่ไหม ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม ):
ชีวิตบางครั้งก็เหมือนเหรียญสองด้านใช่หรือไม่ครับบางครั้งก็หัวบางครั้งก็ก้อย( เลือกตอบแค่ ใช่ กับไม่ใช่ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ความดีนำทาง:
การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ นิยมใช้คำว่า (อนุโมทนา) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ อนุโมทนา:
โดยปกติชน นิ้วมือของคนเรา มีกี่นิ้ว (ตอบเป็นภาษาไทยครับ):
บุคคลที่ไปหลายๆเว็บไซต์ โดยที่สวมบทบาทเป็นหลายๆคน โดยที่ไม่รู้ว่า แท้จริงใจเราต้องการอะไร เพื่อน หรือ ชัยชนะ:
กล่าวคำดังนี้  "ขอโทษนะ":
ระหว่าง (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะผู้อื่น) กับ (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะตัวเอง)  ท่านจะเลือกเป็น:
กล่าวคำดังนี้  "ให้อภัยนะ":
กล่าวคำดังนี้  "ขออโหสิกรรม":
ในโลกออนไลน์หรือโลกแห่งจิต ไม่มีใครทำอะไรเราได้ นอกเสียไปจาก (คนพาล) หรือ (ใจของเราเอง):
เคยนวดฝ่าเท้าให้ คุณพ่อคุณแม่บ้างไหม ถ้ามีโอกาส เราควรทำหรือไม่ (ควรกระทำอย่างยิ่ง หรือ ไม่ควรทำ):
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ใต้ร่มธรรมเองก็จะเป็นไปตามวัฐจักรนี้ ฉันท์ใดก็ฉันท์นั้น (เป็นจริง) หรือ (ไม่จริง):
สำนวนไทยที่ว่า แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน  พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ลางเนื้อชอบลางยา):
ขนทรายเข้าวัดคือ พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ทำบุญทำกุศลโดยวิธีนำหรือหาประโยชน์เพื่อส่วนรวมมิได้ทำเพื่อตนเอง):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: สิงหาคม 01, 2010, 03:35:32 pm »

ลำพังขั้น "ในมือไร้ห่วง ในใจมีห่วง" นั้น เป็นเพียงขั้นแรกเริ่ม
เพิ่งก้าวข้ามประตู
หากคิดเข้าสู่ห้องหับรโหฐานยังไกลอีกมากนัก



"คนเราควรใช้จิตไปในทางอิสระทุกเมื่อ"


"ธรรมเหล่าใดเกิดแต่เหตุ พระตถาคตทรงแสดงเหตุแห่งธรรมเหล่านั้นและความดับแห่งธรรมเหล่านั้น"


แม้จะพบความนัยที่ซ่อนอยู่ในโศลกของท่านเหว่ยหลาง แต่ฝุ่นก็จะจับกระจกอยู่ดี เหตุเพราะถึงเข้าใจแต่ก็ยังมีกระจกอยู่ เพียงแค่เข้าใจ มันไม่ได้ทำให้กระจกหายไป เข้าใจไม่ได้ทำให้ถึงจิตเดิมแท้ เพราะยังไม่ถึงจิตเดิมแท้จึงยังมีกระจกเงาให้ฝุ่นเกาะจับอยู่


หลวงปู่ดูลย์ อตุโล อ่านพระสูตรของเว่ยหลางแล้ว ท่านเรียบเรียง จิต คือ พุทธะ ขึ้น โดยมีความตอนหนึ่งว่า

"...จิตของเรานั้น ถ้าทำความสงบเงียบอยู่จริงๆ เว้นจากการนึกซึ่งเป็นการเคลื่อนไหวของจิตแม้แต่น้อยที่สุดเสียให้ได้จริงๆ ตัวแท้ของมันจะปรากฏออกมาเป็นความว่าง แล้วเราจะได้พบว่า มันเป็นสิ่งที่ปราศจากรูป มันไม่ได้กินเนื้อที่อะไรๆ ที่ไหน แม้แต่จุดเดียว มันไม่ได้ตกลงสู่การบัญญัติว่า เป็นพวกที่มีความเป็นอยู่ แม้แต่ประการใดเลย เพราะเหตุสิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่เรารู้สึกไม่ได้ โดยทางอายตนะ ไม่มีใครทำให้เกิดขึ้น และไม่อาจถูกทำลายลงได้เลย..."


 :39:
ข้อความโดย: กระตุกหางแมว
« เมื่อ: สิงหาคม 01, 2010, 01:30:43 pm »

เห็นด้วยตรงนี้อะครับ

คนเราควรใช้จิตไปในทางอิสระทุกเมื่อ

เพราะเขาให้ผู้รับ รู้ให้ได้ด้วยตนเอง
ข้อความโดย: แก้วจ๋าหน้าร้อน
« เมื่อ: กรกฎาคม 23, 2010, 04:15:09 pm »

 :13: สวยจังครับ บทความก็ปราณีต ขอบคุณครับพี่แป๋ม
ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: กรกฎาคม 23, 2010, 04:11:03 pm »



โก้วเล้ง ราชานวนิยายกำลังภายใน ยกความนัยของโศลก 2 บทนี้มาใช้บรรยายฉากการปะทะกันระหว่าง เซี่ยงกัวกิมฮ้ง และ ลี้คิมฮวง ใน ฤทธิ์มีดสั้น ผ่านปากผู้เฒ่า เทียนกีเล่านั้ง เจ้าของกระบองสมปรารถนา เจ้าของศาสตราวุธอันดับ 1 ของแผ่นดิน ตัวละครอีกตัวในเรื่องดังกล่าวอย่างสุดพิสดาร

เทียนกีเล่านั้งระบุว่า โศลกของพระสังฆปริณายกองค์ที่ 6 นั้น จึงนับว่าเป็นแก่นธรรมอันเลอเลิศ แก่นแท้ของวิชาการต่อสู้และสรรพเรื่องราวนั้น "เมื่อถึงขั้นสุดยอด หลักเหตุผลความเป็นจริงไม่แตกต่าง ดังนั้นไม่ว่าการกระทำเรื่องราวใด ต้องดำเนินถึงขั้นไร้คนไร้เรา ลืมวัตถุลืมเรา ค่อยบรรลุถึงจุดสุดยอด สู่ความสำเร็จขั้นล้ำลึก"


ลำพังขั้น "ในมือไร้ห่วง ในใจมีห่วง" นั้น เป็นเพียงขั้นแรกเริ่ม
เพิ่งก้าวข้ามประตู
หากคิดเข้าสู่ห้องหับรโหฐานยังไกลอีกมากนัก


ว่ากันว่า เว่ยหลางบรรลุตั้งแต่อายุ 24 ปี ตั้งแต่ยังไม่เข้าสู่ชายคาสำนักปฏิบัติธรรมของท่านฮ่งยิ่ม ตั้งแต่เดินกลับจากตัดฟืนแล้ว ได้ยินเสียงคนสาธยายสูตรเก่าว่าด้วยการตัดราวกับเพชรสำหรับตัด หรือวัชรเฉจทิกสูตรว่า

 
"คนเราควรใช้จิตไปในทางอิสระทุกเมื่อ"
(เส้นทางสาย ZEN

จากปรมาจารย์ตั๊กม้อ ถึง เว่ยหลาง : เสถียร จันทิมาธร สำนักพิมพ์มติชน)


คนมีปัญญาฟังโศลกของท่านเว่ยหลางแล้ว อาจบรรลุอย่างฉับพลันทันที เหมือนสารีบุตรมานพ พบประทับใจในกิริยาพระอัสสชิ จึงถามถึงคำสอนของผู้เป็นอาจารย์ พระอัสสชิตอบว่า พระพุทธองค์สอนว่า

"ธรรมเหล่าใดเกิดแต่เหตุ พระตถาคตทรงแสดงเหตุแห่งธรรมเหล่านั้นและความดับแห่งธรรมเหล่านั้น"
เพียงเท่านั้นสารีบุตรมานพ ก็ล่วงธรณีประตูธรรม

แม้จะพบความนัยที่ซ่อนอยู่ในโศลกของท่านเหว่ยหลาง แต่ฝุ่นก็จะจับกระจกอยู่ดี เหตุเพราะถึงเข้าใจแต่ก็ยังมีกระจกอยู่ เพียงแค่เข้าใจ มันไม่ได้ทำให้กระจกหายไป เข้าใจไม่ได้ทำให้ถึงจิตเดิมแท้ เพราะยังไม่ถึงจิตเดิมแท้จึงยังมีกระจกเงาให้ฝุ่นเกาะจับอยู่

หลวงปู่ดูลย์ อตุโล อ่านพระสูตรของเว่ยหลางแล้ว ท่านเรียบเรียง จิต คือ พุทธะ ขึ้น โดยมีความตอนหนึ่งว่า

"...จิตของเรานั้น ถ้าทำความสงบเงียบอยู่จริงๆ เว้นจากการนึกซึ่งเป็นการเคลื่อนไหวของจิตแม้แต่น้อยที่สุดเสียให้ได้จริงๆ ตัวแท้ของมันจะปรากฏออกมาเป็นความว่าง แล้วเราจะได้พบว่า มันเป็นสิ่งที่ปราศจากรูป มันไม่ได้กินเนื้อที่อะไรๆ ที่ไหน แม้แต่จุดเดียว มันไม่ได้ตกลงสู่การบัญญัติว่า เป็นพวกที่มีความเป็นอยู่ แม้แต่ประการใดเลย เพราะเหตุสิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่เรารู้สึกไม่ได้ โดยทางอายตนะ ไม่มีใครทำให้เกิดขึ้น และไม่อาจถูกทำลายลงได้เลย..."

ผู้รู้ซึ่งเป็นศิษย์ของท่าน ให้ทางไว้ว่า ให้มีสติรู้ทันอารมณ์ จะรู้ทันก็ต้องรู้อารมณ์เดียวก่อน เพราะเมื่อรู้ว่าจิตเคลื่อนจากอารมณ์ที่คอยรู้อยู่ก็จะ 'รู้ทัน' เมื่อรู้ทันมันก็จะไม่แส่ส่าย รู้อย่าไปอยากเพราะยิ่งแสวงหายิ่งไม่เจอ รู้อารมณ์ก็ไม่ใช่ไปนึกเอา ให้รู้เหมือนเข้าใกล้ไฟแล้วกายรู้สึกร้อน ไม่ใช่นึกเอาจากคำบัญญัติว่าร้อน หรือคิดถึงความร้อนนั้น การรู้ตรงตามสภาวะที่มันกำลังเป็นอยู่ ไม่เข้าไปแทรกแซงสภาวะนั้นด้วยตัณหาและทิฏฐิใดๆ ทั้งสิ้น

นั่นเอง คือ การรู้สภาวะธรรม รู้ตามความเป็นจริง นั่นเอง ทำให้รู้ว่าธรรมใดเกิดจากเหตุ ถ้าเหตุดับ ธรรมนั้นก็ดับ รู้แล้ว สติสมบูรณ์แล้วไม่ต้องละกิเลสเพราะขณะสติสมบูรณ์ ไม่มีกิเลสให้ละ



รู้แล้ว สมบูรณ์แล้ว ก็ไม่มีตัวตน (วิถีแห่งการรู้แจ้ง : พระปราโมทย์ ปาโมชโช)
" ไม่มีตัวตนก็ไม่มีกระจกให้ฝุ่นลงจับอีกต่อไป "




Credit by : http://wirayuth.exteen.com/20040916/entry
            : http://www.sookjai.com/index.php?topic=2952.0

Pics by : Google
ขอบพระคุณที่มาทั้งหมดมากมายค่ะ
ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: กรกฎาคม 23, 2010, 03:57:13 pm »



ฝุ่นบนกระจก

โศลก 2 บทในศาสนาพุทธนิกายมหายานที่ถูกอ้างถึง และส่งผลสะเทือนต่อโลกทัศน์
ของคนจำนวนมากในช่วงหลายร้อยปีที่ผ่านมาก็คือ

โศลกว่าด้วยละอองฝุ่นบนกระจกของ เว่ยหลาง หรือ ฮุ่ยเล้ง สังฆปริณายกองค์ที่ 6 กับ เซ่งสิ่ว

เมื่อท่านฮ่งยิ่ม พระสังฆปริณายกองค์ที่ 5 จะหาผู้สืบทอดธรรมะและฐานะสังฆปริณายกองค์ที่ 6 นั้น
ท่านสั่งให้ศิษย์เขียนโศลกขึ้นบทหนึ่งเพื่อเป็นเครื่องตัดสิน

 เซ่งสิ่วจรดความ 4 บรรทัดไว้ที่ผนังช่องทางเดินด้านทิศใต้ของอารามว่า

กายนี้อุปมาเหมือนดั่งต้นโพธิ์
ใจนี้อุปมาเหมือนดังกระจกเงาใส
จงหมั่นเช็ดถูอยู่ทุก-ทุกกาลเวลา
อย่าให้ฝุ่นละอองเข้าจับคลุมได้

เมื่อฮุ่ยเล้ง คนป่าบ้านนอก ไร้การศึกษา อ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ เป็นคนหางแถวประจำอาราม

วันๆ ทำหน้าที่อยู่แต่ในห้องครัว ได้ยินคนท่องบ่น ก็วานคนให้เขียนความ 4 บรรทัดไว้ที่ผนังว่า

ต้นโพธิ์เดิมหามีไม่
ทั้งไม่มีกระจกเงาอันใส
มูลเดิมไม่มีอะไรสักอย่าง
แล้วฝุ่นจะจับลงอะไร

ท่านฮ่งยิ่ม กล่าวว่า เซ่งสิ่วไปถึงแค่ปากธรณีประตูธรรม ขณะที่ฮุ่ยเล้งล่วงเข้าสู่ประตูนั้นแล้ว