ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
คนที่มีจิตใจอ่อนโยนส่วนใหญ่มัก คิดถึงสิ่งใดก่อนเสมอ  ( เลือกตอบแค่ ตัวเอง กับ คนอื่น ครับผม ):
คุณเชื่อในศรัทธาของความดีไหมครับ ( เลือกตอบแค่ เชื่อ กับ ไม่เชื่อ ครับผม):
ถ้าเราโกรธใคร ธรรมะจะเป็นหนทางผ่อนคลายความโกรธนั้นลงได้ใช่ไหม ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม ):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า แสงธรรมนำใจ:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ใต้ร่มธรรม:
การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ นิยมใช้คำว่า (อนุโมทนา) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ อนุโมทนา:
เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใครทำบุญแล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วยกมือขึ้น (สาธุ) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ  สาธุ:
ใต้ร่มธรรม เป็น แค่เว็บไซต์และจินตนาการทางจิต การทำดี สำคัญที่ใจเรา เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ พิมพ์คำว่า "เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ":
คุณพ่อคุณแม่เปรียบดั่งพระอรหันต์ในบ้าน พิมพ์คำว่า "คุณพ่อคุณแม่ฉันรักและเคารพท่านดุจพระอรหันต์":
เมื่อให้ท่านเลือก ระหว่าง (หนังสือเก่าๆเล่มหนึ่งที่เรารัก) กับ (มิตรแท้ที่รักเรา) คุณจะะเลือก:
บุคคลที่ไปหลายๆเว็บไซต์ โดยที่สวมบทบาทเป็นหลายๆคน โดยที่ไม่รู้ว่า แท้จริงใจเราต้องการอะไร เพื่อน หรือ ชัยชนะ:
กล่าวคำดังนี้  "ขอโทษนะ":
กล่าวคำดังนี้  "ขออโหสิกรรม":
ในโลกออนไลน์หรือโลกแห่งจิต ไม่มีใครทำอะไรเราได้ นอกเสียไปจาก (คนพาล) หรือ (ใจของเราเอง):
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ใต้ร่มธรรมเองก็จะเป็นไปตามวัฐจักรนี้ ฉันท์ใดก็ฉันท์นั้น (เป็นจริง) หรือ (ไม่จริง):
รู้สึกระอายใจไหมที่เราทำร้ายคนอื่นด้วยวาจาหรือสำนวนที่ไม่สุภาพ โดยที่คนคนนั้นเค้าเคยเป็นผู้มีพระคุณต่อเรามา (ไม่ละอายใจ)หรือ(ละอายใจ):
สำนวนไทยที่ว่า แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน  พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ลางเนื้อชอบลางยา):
ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ผู้ที่ทำตนให้เล็กที่สุด ผู้ที่เล็กที่สุดก็จะกลายเป็นผู้ที่ใหญ่ที่สุด ผู้ที่มีเกียรติคือผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น ฉะนั้นสมาชิกใต้ร่มธรรมควรให้เกียรติกันและกัน พิมพ์คำว่า (ฉันจะให้เกียรติสมาชิกทุกๆท่านในใต้ร่มธรรมเสมอด้วยวาจาสุภาพอ่อนน้อม):
ไม่มีอะไรสายสำหรับการเริ่มต้น พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (It is never too late to mend):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: พฤษภาคม 11, 2013, 01:56:14 pm »




ความว่าง
สมเด็จพระญาณสังวร
สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก

ความว่างในขั้นศีลสมาธิปัญญา
การที่จะเป็นความว่างนั้นต้องหัดกำหนดให้รู้จัก
ความสงบกาย สงบวาจา สงบใจ ซึ่งเป็นศีล
ไม่ดิ้นรนไปเพื่อที่จะประพฤติก่อภัยก่อเวรต่างๆ
จิตพร้อม.. ทั้งกายทั้งวาจาทั้งใจ สงบเรียบร้อย

ดั่งนี้ก็เป็นศีล ตัวศีลนี่แหละเป็นความว่าง ว่างจากภัย
ว่างจากเวรทั้งหลาย ไม่ก่อภัยไม่ก่อเวรอะไรๆ ขึ้น
ทางกายวาจาพร้อมทั้งทางใจ คือใจก็ไม่คิดที่จะไป
ก่อภัยก่อเวรแก่ใคร ไปทำร้ายเบียดเบียนใคร กายวาจา
ก็ไม่ไปประพฤติกระทำร้ายใครเบียดเบียนใคร

ก็ว่างจากภัยจากเวรทั้งหลาย ใจที่ว่างดั่งนี้
กายวาจาที่ว่างดั่งนี้เป็นศีล
จิตก็เหมือนกัน เมื่อจิตสงบได้จากความคิดฟุ้งซ่านไป
ในอารมณ์ตามใคร่ตามปรารถนาต่างๆ มาตั้งมั่นอยู่
ในกิจที่ควรทำต่างๆ ตลอดจนถึงมีความสงบอยู่ในภายใน
ไม่ฟุ้งซ่านออกไป ความสงบจิตดั่งนี้ก็เป็นสมาธิ

และปัญญาคือตัวความรู้ ความรู้ที่รู้จักศีลตามเป็นจริง
รู้จักสมาธิตามเป็นจริง ตลอดจนถึงรู้จักตัวความว่าง
ว่าความว่างที่เป็นความว่างจริงนั้น ต้องว่างจาก
ความเพลิดเพลิน ความติดใจยินดี ที่ไปกับ
ตัณหา ความดิ้นรนทะยานอยาก ดั่งนี้ก็เป็นปัญญา

คือรู้จักสัจจะ คือความจริง ที่กายวาจาใจของตัวเอง
ดั่งนี้ก็เป็นปัญญา จิตที่เป็นศีลเป็นสมาธิเป็นปัญญานี้เอง
ก็เป็นตัว  ความว่าง  ซึ่งเป็นตัวผล
เป็นความสงบที่ยิ่งๆ ขึ้นไป และเป็นความรู้ที่ยิ่งๆ ขึ้นไป

เมื่อเป็นดั่งนี้แล้ว จึงจะรู้จักธรรมะ รู้จักพุทธศาสนา
เมื่อรู้จักธรรมะรู้จักพุทธศาสนาดั่งนี้ แม้น้อยหนึ่ง
ก็เป็นประโยชน์มาก เพราะได้รู้จักของจริงของแท้
ว่าพุทธศาสนาที่จริงที่แท้นั้นเป็นอย่างนี้ และจะทำให้
รู้จักลู่ทางที่จะปฏิบัติให้พบกับความว่าง ให้พบกับ
ความสงบ ให้พบกับ  ความหลุดพ้น  ของตนยิ่งๆ ขึ้นไปได้




ความจริงที่ตนเอง
พระบรมศาสดาผู้ทรงรู้ทรงเห็น ได้ทรงแสดงธรรมะสั่งสอน
ก็เพื่อให้ผู้ปฏิบัติทุกคนได้รู้ได้เห็นสัจจะคือความจริงนี้
ที่ตนเองของทุกๆ คน ไม่ใช่ที่อื่น แม้ที่ทรงแสดง
สติปัฏฐานทั้ง ๔ ตั้งสติกำหนดดูกายเวทนาจิตธรรม
ก็เป็นการดู  ให้รู้เข้ามา  ในการที่จะปฏิบัติ

อาศัยกายเวทนาจิตธรรมนี้เอง ให้เป็นศีลเป็นสมาธิเป็นปัญญาขึ้นมา
และให้พบกับความว่าง ให้พบกับความสงบ
ให้พบกับ  ความหลุดพ้น  ไม่ใช่อย่างอื่น
และก็ทรงจำแนกแจกธรรม ก็คือตรัสสอนให้ผู้ฟัง
รู้จักจำแนกทางปฏิบัติออกไป เป็นกาย เป็นเวทนา จิต ธรรม

ดูให้รู้จักกาย รู้จักเวทนา รู้จักจิต รู้จักธรรม
ดังที่ได้อธิบายมาแล้ว และโดยเฉพาะในข้อที่
เกี่ยวกับธรรมะนั้น ก็ได้ทรงสรุปเข้า
ในสัจจะคือความจริง..  ความจริง.. ที่ตนเอง



คัดจากเทปธรรมอบรมจิต
วัดบวรนิเวศวิหาร
สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
>>> Trader Hunter พบธรรม