ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
คนที่มีจิตใจอ่อนโยนส่วนใหญ่มัก คิดถึงสิ่งใดก่อนเสมอ  ( เลือกตอบแค่ ตัวเอง กับ คนอื่น ครับผม ):
คุณเชื่อในศรัทธาของความดีไหมครับ ( เลือกตอบแค่ เชื่อ กับ ไม่เชื่อ ครับผม):
คิดว่าความดีทำยากไหม( เลือกตอบแค่ ยาก กับ ไม่ยาก ครับผม):
คุณเชื่อว่าทุกศาสนาสอนให้ทุกคนเป็นคนดีใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆแนวธรรมะในจิตใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ นิยมใช้คำว่า (อนุโมทนา) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ อนุโมทนา:
เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใครทำบุญแล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วยกมือขึ้น (สาธุ) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ  สาธุ:
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆในโลกออนไลน์ใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
ท่านจะปฏิบัติตามกฏระเบียบข้อตกลงของเว็บใต้ร่มธรรมทุกประการหรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
วัฒนธรรมไทยเมื่อเห็นผู้ใหญ่ท่านจะทำความเคารพ ด้วยการไหว้ท่านก่อนเสมอใช่หรือไม่:
บุคคลที่ไปหลายๆเว็บไซต์ โดยที่สวมบทบาทเป็นหลายๆคน โดยที่ไม่รู้ว่า แท้จริงใจเราต้องการอะไร เพื่อน หรือ ชัยชนะ:
กล่าวคำดังนี้  "ขอโทษนะ":
ระหว่าง (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะผู้อื่น) กับ (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะตัวเอง)  ท่านจะเลือกเป็น:
กล่าวคำดังนี้  "ให้อภัยนะ":
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
ธรรมะคือ ธรรมชาติ พิมพ์คำว่า (ธรรมะชาติ) ครับ:
พิมพ์คำว่า (แสงธรรมนำทางธรรมะนำใจ) ครับ:
ขนทรายเข้าวัดคือ พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ทำบุญทำกุศลโดยวิธีนำหรือหาประโยชน์เพื่อส่วนรวมมิได้ทำเพื่อตนเอง):
ไม่มีอะไรสายสำหรับการเริ่มต้น พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (It is never too late to mend):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: sithiphong
« เมื่อ: พฤษภาคม 25, 2013, 07:03:22 am »

ไขรหัสสู่การเป็นองค์กรที่มีศักยภาพสูง
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์    17 พฤษภาคม 2556 10:43 น.    
-http://www.manager.co.th/iBizchannel/viewNews.aspx?NewsID=9560000059093-

เฮย์กรุ๊ป เผยพนักงานทั่วโลกผูกพันต่อองค์กรแค่ 66% ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของกลุ่มองค์กรที่มีศักยภาพสูงสุด ชี้อุปสรรคในการทำงานคือผู้บริหารไม่มีประสิทธิภาพในการสื่อสาร สร้างความสับสนให้พนักงาน ขณะที่การขาดแคลนอุปกรณ์ในการทำงาน ทั้งเครื่องมือ และข้อมูลเป็นปัญหาสำคัญในการทำงาน
       การสื่อสารที่ขาดประสิทธิภาพจากระดับบนสู่ระดับล่างในเรื่องเป้าหมายและผลงานของบริษัท พนักงานส่วนใหญ่มีความเห็นว่าการสื่อสารจากผู้บริหารสู่ทีมไม่มีประสิทธิภาพ เมื่อเป้าหมายไม่ชัดเจนทำให้พนักงานไม่แน่ใจว่าการทำงานของตัวเองสอดคล้องกับทิศทางขององค์กรหรือไม่ จึงไม่เกิดผลงานที่ดีที่สุดต่อองค์กร นอกจากนั้นการขาดแคลนทรัพยากรก็เป็นอีกปัจจัยที่สำคัญ พนักงานเห็นว่าตัวไม่ได้รับการสนับสนุนด้านทรัพยากรในการทำงานอย่างเพียงพอ ทั้งด้านเครื่องมือ กำลังคนหรือข้อมูล ทำให้มีผลกระทบต่อผลงานและสร้างความกดดันในการทำงานให้ได้คุณภาพและทันเวลา
       
       ได้ศึกษาแนวโน้มของความผูกพันที่พนักงานมีต่อองค์กร (Engagement) และการส่งเสริม สนับสนุนให้พนักงานมีประสิทธิภาพในการทำงาน (Enablement) โดยศึกษาความแตกต่างระหว่างองค์กรที่มีศักยภาพสูงกับองค์กรทั่วๆ ไป และวิเคราะห์ข้อมูลจากพนักงานมากกว่า 5 ล้านคนทั่วโลก พบว่า โดยทั่วไปพนักงานเฉลี่ยร้อยละ 66 รู้สึกผูกพันกับองค์กร ซึ่งต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของกลุ่มองค์กรที่มีศักยภาพสูงสุดของโลกอยู่มาก ทั้งนี้ ค่าเฉลี่ยขององค์กรที่มีศักยภาพสูงในที่นี้ ได้มาจากผลการสำรวจข้อมูลจากพนักงานในองค์กรที่เป็นผู้นำด้านผลประกอบการกว่า 40 องค์กร ผลการศึกษานี้แสดงให้เห็นว่า ปัจจัยที่ทำให้องค์กรที่มีศักยภาพสูงมีความผูกพันที่พนักงานมีต่อองค์กรสูงกว่าองค์กรทั่วไป มีดังนี้

       “คน” คือทรัพยากรที่สำคัญที่สุดขององค์กร

       องค์กรไม่อาจคาดหวังให้พนักงานที่ผูกพันต่อองค์กรทุ่มเทและให้ความสำคัญในเป้าหมายขององค์กร องค์กรควรตระหนักในคุณค่าและปฏิบัติต่อพนักงานโดยไม่มองพนักงานเป็นเพียงแค่ “หนึ่งในปัจจัยการผลิต” โดยเฉพาะอย่างยิ่งองค์กรในปัจจุบันถูกกดดันให้ได้ผลลัพธ์ที่มากขึ้นโดยใช้ทรัพยากรที่มีอยู่เท่าเดิม “ความทุ่มเท” ที่พนักงานมีต่อองค์กรจึงกลายเป็นหนึ่งในปัจจัยที่นำไปสู่ความสำเร็จของธุรกิจ

   
       องค์กรที่ให้ความสำคัญกับพนักงานมีแนวโน้มที่จะพบว่าพนักงานมีความทุ่มเทในการทำงานอย่างเต็มที่ ยินดีที่จะทำงานมากกว่าที่ได้รับมอบหมาย และมีผลการทำงานที่ยอดเยี่ยม องค์กรที่มีศักยภาพสูงแสดงให้เห็นถึงความสำคัญที่องค์กรให้กับพนักงาน โดยองค์กรที่มีศักยภาพสูงร้อยละ 65 มีการสื่อสารอย่างเปิดเผยและตรงไปตรงมา มากกว่าองค์กรทั่วไปร้อยละ 10 และแสดงความห่วงใยในสุขภาพและความปลอดภัยของพนักงานร้อยละ 80 มากกว่าองค์กรทั่วไปร้อยละ 5 นอกจากนั้นแล้วองค์กรที่มีศักยภาพสูงร้อยละ 66 ยังคำนึงถึงผลประโยชน์ของพนักงานอย่างมากเมื่อต้องตัดสินใจเรื่องต่างๆ มากกว่าองค์กรทั่วไปร้อยละ 11 รวมถึงมีการแจ้งให้พนักงานทราบถึงเหตุผลการตัดสินใจที่ส่งผลกระทบต่อพวกเขาร้อยละ 61 มากกว่าองค์กรทั่วไปร้อยละ 11
       
       ศักยภาพในการนำพาทีม
       โดยทั่วไปสภาวะผู้นำที่ดีนั้นสามารถสร้างความแตกต่างอย่างเด่นชัดให้กับผลการปฏิบัติงานได้ และพนักงานต้องได้รับความมั่นใจว่ามีผู้นำที่มีความสามารถผลักดันการดำเนินกลยุทธ์ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่วางไว้ พนักงานตระหนักดีว่าความมั่นคงในการทำงานและการพัฒนาในสายอาชีพนั้น ขึ้นอยู่กับสถานะ ความมั่นคง และทิศทางในอนาคตขององค์กร อีกทั้งรู้ว่าตัวเองไม่อาจหวังและมอบอนาคตไว้กับนายจ้างได้ เว้นแต่ว่าพวกเขาจะมั่นใจว่าองค์กรมีการวางแนวทางที่ดีเพื่อไปสู่ความสำเร็จ ในองค์กรศักยภาพสูงพนักงานเห็นว่าผู้นำมีประสิทธิภาพถึงร้อยละ 85 มากกว่าองค์กรทั่วไปร้อยละ 13 พนักงานมีความเชื่อมั่นและไว้ใจในตัวผู้นำร้อยละ 73 มากกว่าองค์กรทั่วไปร้อยละ 11 และมีผู้นำที่ปฏิบัติตนสอดคล้องกับคุณค่าหลักขององค์กรร้อยละ 75 มากกว่าองค์กรทั่วไปร้อยละ 10
       
       พนักงานเป็นหนึ่งเดียวกับธุรกิจ
       สภาพแวดล้อมการทำงานที่เปิดโอกาสให้พนักงานสามารถรู้สึกว่าตนได้มีส่วนร่วมและรับผิดชอบในเรื่องที่มีผลต่อความสำเร็จขององค์กร ไม่ใช่เพียงแค่งานตนเองเท่านั้น เป็นสิ่งที่พนักงานต้องการมากขึ้นเรื่อยๆ องค์กรที่มีศักยภาพสูงช่วยให้พนักงานมีความรู้สึกเป็นหนึ่งเดียวกับองค์กรโดย ร้อยละ 81 สร้างความมั่นใจว่ากลยุทธ์และเป้าหมายมีการสื่อสารถึงพนักงานอย่างชัดเจน มากกว่าองค์กรทั่วไปร้อยละ 11 และองค์กรที่มีศักยภาพสูงร้อยละ 73 ทำให้พนักงานมั่นใจด้วยว่าพวกเขาได้รับทราบข้อมูลแผนธุรกิจ และผลประกอบการทางธุรกิจอยู่เสมอ มากกว่าองค์กรทั่วไปร้อยละ 11
       
       พนักงานได้รับอิสระมากกว่า
       จากการศึกษาของเฮย์กรุ๊ปทั่วโลก พบว่ามีช่องว่างระหว่างความทุ่มเทในการทำงานของพนักงานกับระดับการส่งเสริมและสนับสนุนที่องค์กรมีให้กับพนักงาน สำหรับองค์กรที่ต้องการใช้บุคลากรให้เกิดประสิทธิผลสูงสุด หากศักยภาพที่มีของพนักงานไม่ได้ถูกนำออกมาใช้อย่างเต็มที่ ถือเป็นการสูญเสียโอกาสขององค์กรเป็นอย่างยิ่ง องค์กรที่มีศักยภาพสูงได้สนับสนุนให้พนักงานนำทักษะและความสามารถออกมาใช้ โดยให้พนักงานมีอิสระในการทำงานของตนอย่างเต็มที่เพื่อให้งานนั้นๆ ประสบความสำเร็จ พนักงานในองค์กรที่มีศักยภาพสูงร้อยละ 65 มีความมั่นใจว่าได้รับอำนาจในการตัดสินใจในระดับที่เหมาะสม มากกว่าองค์กรทั่วไปร้อยละ 7 พนักงานเห็นว่าผู้นำทำหน้าที่ในการสนับสนุนให้พนักงานแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและทรัพยากรต่างๆ ระหว่างกันได้ดีกว่าถึงร้อยละ 63 มากกว่าองค์กรทั่วไปร้อยละ 10 ผู้นำได้กระตุ้นพนักงานให้เสนอคำแนะนำเพื่อการพัฒนาปรับปรุงร้อยละ 75 มากกว่าองค์กรทั่วไปร้อยละ 6 และผู้นำมีการสร้างบรรยากาศการทำงานที่สนับสนุนการวิจารณ์เชิงสร้างสรรค์ ร้อยละ 59 มากกว่าองค์กรทั่วไปร้อยละ 5

   
       การทำงานร่วมกันเป็นทีม
       องค์กรปัจจุบันที่มีความซับซ้อน เน้นการทำงานเป็นทีม และมีการจัดองค์กรแบบเมทริกซ์ (Matrixed Organizations) เพิ่มขึ้น ทำให้การบริหารจัดการการประสานงานทั้งในระหว่างบุคคลและหน่วยงานนั้นมีความสำคัญอย่างยิ่งยวด พนักงานในองค์กรที่มีศักยภาพสูงมีระดับความพึงพอใจในเรื่องการสื่อสารระหว่างแผนกร้อยละ 49 มากกว่าองค์กรทั่วไปร้อยละ 7 และการส่งเสริม สนับสนุนให้มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลความคิดและทรัพยากรต่างๆ ภายในองค์กรนั้นร้อยละ 64 มากกว่าองค์กรทั่วไปร้อยละ 7 และพนักงานในองค์กรที่มีศักยภาพสูงร้อยละ 85 มั่นใจว่าเพื่อนร่วมงานของเขาสามารถพึ่งพาได้และจะพยายามทำงานอย่างเต็มความสามารถของเขา มากกว่าองค์กรทั่วไปร้อยละ 13
       
       สิ่งสำคัญที่สุดคือการเติบโตและการพัฒนา
       พนักงานตระหนักดีว่าตัวเองเป็นผู้รับผิดชอบต่อความก้าวหน้าในการงานของตัวเอง ดังนั้นปัจจัยด้านโอกาสการเติบโตและโอกาสในการพัฒนาของพนักงานจึงมีผลสูงอย่างยิ่งต่อระดับความผูกพันของพนักงานที่มีต่อองค์กร พนักงานในองค์กรที่มีศักยภาพสูงร้อยละ 74 เห็นว่าพวกเขามีโอกาสที่จะพัฒนาทักษะจากงานที่ทำ มากกว่าองค์กรทั่วไปร้อยละ 10 และที่สำคัญพนักงานยังมีความมั่นใจว่าเขาจะสามารถบรรลุเป้าหมายในอาชีพการงานโดยการทำงานในองค์กรของเขาต่อไปอยู่ร้อยละ 61 มากกว่าองค์กรทั่วไปอยู่ร้อยละ 8
       
       สร้างสมดุลระหว่างชีวิตและการทำงาน
       ตารางการทำงานของพนักงานในปัจจุบันนั้นนับวันยิ่งมีความไม่แน่นอนมากขึ้น ยิ่งองค์กรมีการทำงานกับต่างชาติมากขึ้น พนักงานยิ่งต้องเพิ่มเวลาการทำงานเพื่อให้สามารถทำงานกับลูกค้าและเพื่อนร่วมงานที่อยู่ต่างแดนและต่างเวลาได้ พนักงานในองค์กรที่มีศักยภาพสูงเพียงร้อยละ 73 สามารถบรรลุสมดุลระหว่างชีวิตและการทำงานได้ ซึ่งเป็นอัตราที่น้อยกว่าองค์กรทั่วไปอยู่ร้อยละ 11 อย่างไรก็ตามพวกเขาเห็นว่าองค์กรมีการสนับสนุนการสร้างสมดุลระหว่างชีวิตและการทำงานร้อยละ 64 มากกว่าองค์กรทั่วไปร้อยละ 7 การให้ความสำคัญมากกว่าเพียงแค่เวลาการทำงานที่ยืดหยุ่นและการทำงานทางไกล (telecommuting) เพื่อช่วยพนักงานบริหารการทำงานและความรับผิดชอบส่วนตัวได้นั้นเป็นสิ่งที่สำคัญมาก ซึ่งแนวทางที่จะส่งเสริมการสร้างสมดุลมีดังต่อไปนี้
       • กำหนดทิศทางที่ชัดเจนในเรื่องลำดับความสำคัญของงานเพื่อช่วยให้พนักงานให้ความสำคัญในงานที่มีคุณค่ามากที่สุด
       • มีการนำนโยบายและหลักปฏิบัติไปใช้อย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้มั่นใจว่าปริมาณงานมีการแจกจ่ายอย่างเหมาะสมและยุติธรรม
       • ส่งเสริมให้พนักงานทุกระดับมีทักษะและอำนาจการตัดสินใจที่จะทำให้งานสำเร็จลุล่วง
       • ให้ทรัพยากรที่เพียงพอเพื่อสนับสนุนพนักงานให้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพและมีคุณภาพสูง
       


       พนักงานไม่ได้รู้สึกว่าได้รับค่าตอบแทนมากเกินไป
       จากการศึกษาของเฮย์กรุ๊ปได้แสดงให้เห็นว่า องค์กรที่ได้รับการชื่นชมมากที่สุดของโลก (อ้างอิงจากนิตยสารฟอร์จูน) นั้น โดยทั่วไปแล้วมีการจ่ายค่าตอบแทนพนักงานระดับกลางที่มีศักยภาพสูงอยู่น้อยกว่าองค์กรอื่น น้อยกว่าอยู่ประมาณร้อยละ 5 ของเงินเดือนสำหรับตำแหน่งระดับผู้บริหาร ทั้งนี้เพราะบริษัทเหล่านี้ศักยภาพในการพัฒนาพนักงานภายในองค์กรที่ดีกว่า การจ้างพนักงานศักยภาพสูงจากข้างนอกด้วยค่าตอบแทนที่สูงจึงมีความจำเป็นน้อยกว่า ทั้งนี้ องค์กรที่ได้รับการชื่นชมเหล่านี้มีการให้ผลตอบแทนแก่พนักงานที่สอดคล้องกับผลการปฏิบัติงานในพนักงานทุกระดับที่ดีกว่าองค์กรทั่วไป พนักงานในองค์กรที่มีศักยภาพสูงร้อยละ 54 ชี้ว่าองค์กรของเขามีวัฒนธรรมองค์กรที่เน้นผลงานที่มีประสิทธิภาพและมีความชัดเจนในการจ่ายค่าตอบแทนตามผลการปฏิบัติงาน มากกว่าองค์กรทั่วไปร้อยละ 9
       
       โดยสรุปแล้วเราจะเห็นว่าองค์กรที่มีศักยภาพสูงมีการมอบอำนาจ สนับสนุน และพัฒนาพนักงานได้ดีกว่าองค์กรทั่วไป และเหนือสิ่งอื่นใดองค์กรที่มีศักยภาพสูงพูดจริงทำจริงในการให้ความสำคัญกับ “คน” เป็นอันดับแรก
       นางภัทรี พฤทธิธรรมกุล ที่ปรึกษา บริษัท เฮย์กรุ๊ป กล่าวว่า จากประสบการณ์ของเฮย์กรุ๊ป ปัจจัยที่เป็นอุปสรรคในการทำงานของพนักงานที่มักพบในประเทศไทย ได้แก่ การสื่อสารที่ขาดประสิทธิภาพจากระดับบนสู่ระดับล่างในเรื่องเป้าหมายและผลงานของบริษัท พนักงานส่วนใหญ่มีความเห็นว่าการสื่อสารจากผู้บริหารสู่ทีมไม่มีประสิทธิภาพ เมื่อเป้าหมายไม่ชัดเจนทำให้พนักงานไม่แน่ใจว่าการทำงานของตัวเองสอดคล้องกับทิศทางขององค์กรหรือไม่ จึงไม่เกิดผลงานที่ดีที่สุดต่อองค์กร นอกจากนั้นการขาดแคลนทรัพยากรก็เป็นอีกปัจจัยที่สำคัญ พนักงานเห็นว่าตัวไม่ได้รับการสนับสนุนด้านทรัพยากรในการทำงานอย่างเพียงพอ ทั้งด้านเครื่องมือ กำลังคนหรือข้อมูล ทำให้มีผลกระทบต่อผลงานและสร้างความกดดันในการทำงานให้ได้คุณภาพและทันเวลา
       เคล็ดลับสามประการเพื่อเพิ่มความผูกพันของพนักงาน (engagement) และการส่งเสริม สนับสนุนให้พนักงานมีประสิทธิภาพในการทำงาน (enablement) ภายในองค์กร
       • กำหนดทิศทางองค์กร โดยสร้างวิสัยทัศน์สำหรับอนาคตและสร้างความเข้าใจ โดยสื่อสารทิศทางนั้นๆ และพยายามสร้างการยอมรับ
       • สนับสนุนการให้ความร่วมมือและการทำงานเป็นทีมที่เข้มแข็ง รวมถึงสนับสนุนให้มีการแลกเปลี่ยนทรัพยากรและข้อมูลความรู้กันภายในองค์กร
       • วางโครงสร้างและบริหารจัดการขั้นตอนการทำงานภายในทีมเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ทั้งนี้โครงสร้างและขั้นตอนต่างๆ นั้น ต้องส่งเสริมการทำงานเพื่อบรรลุจุดประสงค์อย่างมีประสิทธิภาพ และสื่อสารให้พนักงานรับรู้ถึงความคาดหวังขององค์กรอย่างเป็นไปในทิศทางเดียวกัน