ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
คนที่มีจิตใจอ่อนโยนส่วนใหญ่มัก คิดถึงสิ่งใดก่อนเสมอ  ( เลือกตอบแค่ ตัวเอง กับ คนอื่น ครับผม ):
ถ้าเราโกรธใคร ธรรมะจะเป็นหนทางผ่อนคลายความโกรธนั้นลงได้ใช่ไหม ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม ):
ชีวิตบางครั้งก็เหมือนเหรียญสองด้านใช่หรือไม่ครับบางครั้งก็หัวบางครั้งก็ก้อย( เลือกตอบแค่ ใช่ กับไม่ใช่ครับผม):
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆแนวธรรมะในจิตใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า แสงธรรมนำใจ:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ใต้ร่มธรรม:
เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใครทำบุญแล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วยกมือขึ้น (สาธุ) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ  สาธุ:
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆในโลกออนไลน์ใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
ท่านจะปฏิบัติตามกฏระเบียบข้อตกลงของเว็บใต้ร่มธรรมทุกประการหรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
วัฒนธรรมไทยเมื่อเห็นผู้ใหญ่ท่านจะทำความเคารพ ด้วยการไหว้ท่านก่อนเสมอใช่หรือไม่:
คุณพ่อคุณแม่เปรียบดั่งพระอรหันต์ในบ้าน พิมพ์คำว่า "คุณพ่อคุณแม่ฉันรักและเคารพท่านดุจพระอรหันต์":
กล่าวคำดังนี้  "ขอโทษนะ":
ระหว่าง (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะผู้อื่น) กับ (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะตัวเอง)  ท่านจะเลือกเป็น:
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ใต้ร่มธรรมเองก็จะเป็นไปตามวัฐจักรนี้ ฉันท์ใดก็ฉันท์นั้น (เป็นจริง) หรือ (ไม่จริง):
ธรรมะคือ ธรรมชาติ พิมพ์คำว่า (ธรรมะชาติ) ครับ:
พิมพ์คำว่า (แสงธรรมนำทางธรรมะนำใจ) ครับ:
สำนวนไทยที่ว่า แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน  พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ลางเนื้อชอบลางยา):
ขนทรายเข้าวัดคือ พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ทำบุญทำกุศลโดยวิธีนำหรือหาประโยชน์เพื่อส่วนรวมมิได้ทำเพื่อตนเอง):
ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ผู้ที่ทำตนให้เล็กที่สุด ผู้ที่เล็กที่สุดก็จะกลายเป็นผู้ที่ใหญ่ที่สุด ผู้ที่มีเกียรติคือผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น ฉะนั้นสมาชิกใต้ร่มธรรมควรให้เกียรติกันและกัน พิมพ์คำว่า (ฉันจะให้เกียรติสมาชิกทุกๆท่านในใต้ร่มธรรมเสมอด้วยวาจาสุภาพอ่อนน้อม):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: มิถุนายน 01, 2013, 01:36:44 pm »



                   

ภิกษุทั้งหลาย ! กรรม 4 อย่างเหล่านี้ เรากระทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้วประกาศให้รู้ทั่วกัน.
กรรม 4 อย่าง อย่างไรเล่า ?

(1) ภิกษุทั้งหลาย ! กรรมดำ มีวิบากดำ ก็มีอยู่.
(2) ภิกษุทั้งหลาย ! กรรมขาว มีวิบากขาว ก็มีอยู่.
(3) ภิกษุทั้งหลาย ! กรรมทั้งดำทั้งขาว มีวิบากทั้งดำทั้งขาว ก็มีอยู่.
(4) ภิกษุทั้งหลาย ! กรรมไม่ดำไม่ขาว มีวิบากไม่ดำไม่ขาว เป็นไปเพื่อความสิ้นกรรม ก็มีอยู่.


(1) ภิกษุทั้งหลาย ! กรรมดำ มีวิบากดำ เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุทั้งหลาย ! บุคคลบางคนในกรณีนี้
ย่อมทำความปรุงแต่งทางกาย อันเป็นไปกับด้วยความเบียดเบียน
ย่อมทำความปรุงแต่งทางวาจา อันเป็นไปกับด้วยความเบียดเบียน
ย่อมทำความปรุงแต่งทางใจ อันเป็นไปกับด้วยความเบียดเบียน.

ครั้นเขาทำความปรุงแต่งดังนี้แล้ว
ย่อมเข้าถึงโลก อันเป็นไปกับด้วยความเบียดเบียน
ผัสสะทั้งหลาย อันเป็นไปกับด้วยความเบียดเบียน ย่อมถูกต้องเขา
ซึ่งเป็นผู้เข้าถึงโลกอันเป็นไปด้วยความเบียดเบียน.


เขาอันผัสสะที่เป็นไปกับด้วยความเบียดเบียนถูกต้องแล้ว
ย่อมเสวยเวทนาที่เป็นไปด้วยความเบียดเบียน อันเป็นทุกข์โดยส่วนเดียว
ดังเช่น พวกสัตว์นรก.

ภิกษุทั้งหลาย ! นี้เรียกว่ากรรมดำ มีวิบากดำ.

(2)ภิกษุทั้งหลาย ! กรรมขาว มีวิบากขาว เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุทั้งหลาย ! บุคคลบางคนในกรณีนี้
ย่อมทำความปรุงแต่งทางกาย อันไม่เป็นไปกับด้วยความเบียดเบียน
ย่อมทำความปรุงแต่งทางวาจา อันไม่เป็นไปกับด้วยความเบียดเบียน
ย่อมทำความปรุงแต่งทางใจ อันไม่เป็นไปกับด้วยความเบียดเบียน.

ครั้นเขาทำความปรุงแต่งดังนี้แล้ว ย่อมเข้าถึงโลกอันไม่เป็นไป
กับด้วยความเบียดเบียน
ผัสสะทั้งหลายที่ไม่เป็นไปกับด้วยความเบียดเบียน ย่อมถูกต้องเขา
ซึ่งเป็นผู้เข้าถึงโลกอันไม่เป็นไปกับด้วยความเบียดเบียน.

เขาอันผัสสะที่ไม่เป็นไปกับด้วยความเบียดเบียนถูกต้องแล้ว
ย่อมเสวยเวทนาที่ไม่เป็นไปกับด้วยความเบียดเบียน อันเป็นสุขโดยส่วนเดียว
ดังเช่น พวกเทพสุภกิณหา.

ภิกษุทั้งหลาย ! นี้เรียกว่ากรรมขาว มีวิบากขาว.

(3)ภิกษุทั้งหลาย ! กรรมทั้งดำทั้งขาว มีวิบากทั้งดำทั้งขาว เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุทั้งหลาย ! บุคคลบางคนในกรณีนี้
ย่อมทำความปรุงแต่งทางกาย
อันเป็นไปกับด้วยความเบียดเบียนบ้าง ไม่เป็นไปด้วยความเบียดเบียนบ้าง
ย่อมทำความปรุงแต่งทางวาจา
อันเป็นไปกับด้วยความเบียดเบียนบ้าง ไม่เป็นไปกับด้วยความเบียดเบียนบ้าง
ย่อมทำความปรุงแต่งทางใจ
อันเป็นไปกับด้วยความเบียดเบียนบ้าง ไม่เป็นไปกับด้วยความเบียดเบียนบ้าง.

ครั้นเขาทำความปรุงแต่งดังนี้แล้ว
ย่อมเข้าถึงโลกอันเป็นไปกับด้วยความเบียดเบียนบ้าง ไม่เป็นไปด้วยความเบียดเบียนบ้าง.

ผัสสะทั้งหลาย
ที่เป็นไปกับด้วยความเบียดเบียนบ้าง ไม่เป็นไปด้วยความเบียดเบียนบ้าง ย่อมถูกต้องเขา
ผู้เข้าถึงโลกอันเป็นไปกับด้วยความเบียดเบียนบ้าง ไม่เป็นไปกับด้วยความเบียดเบียนบ้าง.

เขาอันผัสสะที่เป็นไปกับด้วยความเบียดเบียนบ้าง ไม่เป็นไปด้วยความเบียดเบียนบ้างถูกต้องแล้ว
ย่อมเสวยเวทนาที่เป็นไปกับด้วยความเบียดเบียนบ้าง ไม่เป็นไปด้วยความเบียดเบียนบ้าง
อันเป็นเวทนาที่เป็นสุขและทุกข์เจือกัน
ดังเช่น พวกมนุษย์ เทพบางพวก วินิบาตบางพวก.

ภิกษุทั้งหลาย ! นี้เรียกว่า กรรมทั้งดำทั้งขาว มีวิบากทั้งดำทั้งขาว.

(4)ภิกษุทั้งหลาย ! กรรมไม่ดำไม่ขาว มีวิบากไม่ดำไม่ขาว เป็นไปเพื่อความสิ้นกรรม
นั้นเป็นอย่างไรเล่า? คือ

สัมมาทิฏฐิ (ความเห็นชอบ) สัมมาสังกัปปะ (ความดำริชอบ)
สัมมาวาจา (การพูดจาชอบ) สัมมากัมมันตะ (การทำการงานชอบ)
สัมมาอาชีวะ (การเลี้ยงชีวิตชอบ) สัมมาวายามะ (ความพากเพียรชอบ)
สัมมาสติ (ความระลึกชอบ) สัมมาสมาธิ (ความตั้งใจมั่นชอบ)

ภิกษุทั้งหลาย ! นี้เรียกว่า กรรมไม่ดำไม่ขาว มีวิบากไม่ดำไม่ขาว เป็นไปเพื่อความสิ้นกรรม.

-จตุกฺก. อํ. 21/320-321/237


                    >>>F/B pages/พระพุทธเจ้า/