ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
คนที่มีจิตใจอ่อนโยนส่วนใหญ่มัก คิดถึงสิ่งใดก่อนเสมอ  ( เลือกตอบแค่ ตัวเอง กับ คนอื่น ครับผม ):
กัน-ละ-ยา-นะ-มิด เขียนเป็นภาษาไทยที่ถูกต้องว่าอย่างไรครับ:
คุณเชื่อในศรัทธาของความดีไหมครับ ( เลือกตอบแค่ เชื่อ กับ ไม่เชื่อ ครับผม):
ถ้าเราโกรธใคร ธรรมะจะเป็นหนทางผ่อนคลายความโกรธนั้นลงได้ใช่ไหม ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม ):
คุณเชื่อว่าทุกศาสนาสอนให้ทุกคนเป็นคนดีใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ใต้ร่มธรรม:
เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใครทำบุญแล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วยกมือขึ้น (สาธุ) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ  สาธุ:
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆในโลกออนไลน์ใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
ท่านจะปฏิบัติตามกฏระเบียบข้อตกลงของเว็บใต้ร่มธรรมทุกประการหรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
โดยปกติชน นิ้วมือของคนเรา มีกี่นิ้ว (ตอบเป็นภาษาไทยครับ):
วัฒนธรรมไทยเมื่อเห็นผู้ใหญ่ท่านจะทำความเคารพ ด้วยการไหว้ท่านก่อนเสมอใช่หรือไม่:
คุณพ่อคุณแม่เปรียบดั่งพระอรหันต์ในบ้าน พิมพ์คำว่า "คุณพ่อคุณแม่ฉันรักและเคารพท่านดุจพระอรหันต์":
กล่าวคำดังนี้  "ขออโหสิกรรม":
เคยนวดฝ่าเท้าให้ คุณพ่อคุณแม่บ้างไหม ถ้ามีโอกาส เราควรทำหรือไม่ (ควรกระทำอย่างยิ่ง หรือ ไม่ควรทำ):
ธรรมะคือ ธรรมชาติ พิมพ์คำว่า (ธรรมะชาติ) ครับ:
สำนวนไทยที่ว่า แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน  พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ลางเนื้อชอบลางยา):
ขนทรายเข้าวัดคือ พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ทำบุญทำกุศลโดยวิธีนำหรือหาประโยชน์เพื่อส่วนรวมมิได้ทำเพื่อตนเอง):
ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ผู้ที่ทำตนให้เล็กที่สุด ผู้ที่เล็กที่สุดก็จะกลายเป็นผู้ที่ใหญ่ที่สุด ผู้ที่มีเกียรติคือผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น ฉะนั้นสมาชิกใต้ร่มธรรมควรให้เกียรติกันและกัน พิมพ์คำว่า (ฉันจะให้เกียรติสมาชิกทุกๆท่านในใต้ร่มธรรมเสมอด้วยวาจาสุภาพอ่อนน้อม):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: มิถุนายน 03, 2013, 09:52:51 pm »



                       

พระสูตร – อาสวะที่พึงละได้ด้วยทัสสะ (การเห็น)
“ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! อาสวะ(กิเลสที่หมักดองสันดาน)ที่พึงละได้ด้วยการเห็นเป็นไฉน?
ปุถุชน (คนผู้ยังมากด้วยกิเลส) ในโลกนี้ ผู้มิได้สดับ ผู้มิได้เห็นพระอริยเจ้า ไม่ฉลาดในธรรมของพระอริยเจ้า มิได้รับการแนะนำในธรรมของพระอริยเจ้า มิได้เห็นสัตบุรุษ (คนดี) ไม่ฉลาดในธรรมของสัตบุรุษ มิได้รับการแนะนำในธรรมของสัตบุรุษ ย่อมไม่รู้จักธรรมที่ควรทำไว้ในใจ(ควรใส่ใจ) ไม่รู้จักธรรมที่ไม่ควรทำไว้ในใจ(ไม่ควรใส่ใจ) เมื่อไม่รู้จักธรรมที่ควรใส่ใจ และไม่ควรใส่ใจ จึงใส่ใจธรรมที่ไม่ควรใส่ใจ ไม่ใส่ใจธรรมที่ควรใส่ใจ....เมื่อเขาใส่ใจโดยไม่แยบคายอย่างนี้ ทิฏฐิ (ความเห็น) ๖ อย่าง อย่างใดอย่างหนึ่งย่อมเกิดขึ้น คือ.....



ทิฏฐคตะ(ตัวทิฏฐิ)  ทิฏฐคหณะ(การยึดด้วยทิฏฐิ) 
ทิฏฐิกันตาระ(ทางกันดารคือทิฏฐิ) 
ทิฏฐิวิสูกะ(ความยอกย้อนแห่งทิฏฐิ) 
ทิฏฐิวิปผันทิตะ(ความผันผวนแห่งทิฏฐิ)
และทิฏฐิสังโยชนะ(เครื่องผูกคือทิฏิฐิ).”

       “ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! แต่อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว ผู้เห็นพระอริยเจ้า ฉลาดในธรรมของพระอริยเจ้า ได้รับการแนะนำดีแล้วในธรรมของพระอริยเจ้า ผู้เห็นสัตบุรุษ ฉลาดในธรรมของสัตบุรุษ ได้รับการแนะนำดีแล้วในธรรมของสัตบุรุษ ย่อมรู้จักธรรมที่ควรใส่ใจ และไม่ควรใส่ใจ....ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! เขาย่อมใส่ใจธรรมที่ควรใส่ใจชนิดไหน? คือชนิดที่เมื่อใส่ใจเข้า

กามาสวะ(กิเลสที่หมักดองสันดานคือกาม) 
ภวาสวะ(กิเลสที่หมักดองสันดานคือความยินดีในภพ)
อวิชชาสวะ(กิเลสที่หมักดองสันดานคืออวิชชาความไม่รู้จริง)

......เพราะการใส่ใจธรรมที่ควรใส่ใจของบุคคลนั้น อาสวะทั้งหลายที่ยังไม่เกิด ก็จะไม่เกิดขึ้น ที่เกิดแล้ว ก็จะละเสียได้ ผู้นั้นย่อมใส่ใจโดยแยบคายว่า นี้คือทุกข์, นี้คือเหตุให้ทุกข์เกิด, นี้คือความดับทุกข์, นี้คือข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ เมื่อบุคคลนั้นใส่ใจโดยแยบคายอย่างนี้ ย่อมละสังโยชน์(กิเลสเครื่องผูกมัด) ๓ อย่างเสียได้ คือ
สักกายทิฏฐ(ความเห็นเป็นเหตุยึดถือว่ากายของเรา)
วิจิกิจฉา(ความลังเลสงสัย)
สีลัพพตปรปามาส(ความยึดถือศีลและพรต ได้แก่ความติดในลัทธิพิธีต่างๆ)
นี้แล ภิกษุทั้งหลาย ! เรียกว่า อาสวะที่พึงละได้ด้วยการเห็น.”
(สัพพาสวสังวรสูตร ๑๒/๑๒-๒๐)

พระสูตร - อาสวะที่พึงละได้ด้วยสังวร (ความสำรวม)
       "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! อาสวะ(กิเลสที่หมักดองสันดาน) ที่พึงละได้ด้วยความสำรวม เป็นไฉน? ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ พิจารณาโดยแยบคายแล้ว เป็นผู้สำรวม ระวัง อินทรีย์(สภาพที่เป็นใหญ่) คือ ตา, หู, จมูก, ลิ้น, กาย และใจ ซึ่งเมื่อไม่สำรวมระวังแล้ว อาสวะที่ทำความยุ่งยากเดือดร้อนให้ ก็จะพึงเกิดขึ้น เมื่อสำรวมระวังแล้ว อาสวะที่ทำความยุ่งยากเดือดร้อน ก็จะไม่มี. นี้แล ภิกษุทั้งหลาย ! เรียกว่า อาสวะที่พึงละได้ด้วยความสำรวม."

(สัพพาสวสังวรสูตร ๑๒/๑๒-๒๐)

พระสูตร - อาสวะที่พึงละได้ด้วยปฏิเสวนะ(การส้องเสพ, การใช้สอย, การบริโภค)
       "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! อาสวะ(กิเลสที่หมักดองสันดาน) ที่พึงละได้ด้วยการส้องเสพ เป็นไฉน? ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ พิจารณาโดยแยบคายแล้ว จึงใช้สอยจีวร(ผ้านุ่งห่ม) เพียงเพื่อบำบัดความหนาว ความร้อน บำบัดสัมผัสอันเกิดจากเหลือบ ยุง ลม แดด และสัตว์เลือกคลาน เพียงเพื่อปกปิดอวัยวะที่ให้เกิดความละอาย."
       "เธอพิจารณาโดยแยบคายแล้ว จึงบริโภคบิณฑบาต(อาหาร) มิใช่เพื่อเล่น มิใช่เพื่อมัวเมา มิใช่เพื่อประดับ มิใช่เพื่อตกแต่ง เพียงเพื่อตั้งอยู่ได้แห่งร่างกายนี้ เพื่อยังชีวิต เพื่อระงับความลำบาก เพื่ออนุเคราะห์พรหมจรรย์ ด้วยคิดว่า ด้วยการบริโภคนี้ เราจักบำบัด(ทุกข์)เวทนาเก่า ไม่ทำ(ทุกข์)เวทนาใหม่ ให้เกิดขึ้น เราจักดำรงชีวิตได้ ความไม่มีโทษ และความอยู่เป็นผาสุกจักเกิดขึ้น."
       "เธอพิจารณาโดยแยบคายแล้ว จึงใช้สอยเสนาสนะ(ที่นอนที่นั่ง) เพียงเพื่อบำบัดความหนาว ความร้อน บำบัดสัมผัส อันเกิดจากเหลือบ ยุง ลม แดด และสัตว์เลือกคลาน เพื่อบรรเทาอันตรายอันเกิดแต่ฤดูกาล และเพื่อยินดีในความหลีกเร้น."
       "เธอพิจารณาโดยแยบคายแล้ว จึงบริโภคยารักษาโรค เพื่อบำบัดเวทนา เนื่องจากอาพาธต่างๆ อันเกิดขึ้นแล้ว เพื่อไม่มีความเจ็บไข้เป็นสำคัญ."
       "เพราะเมื่อภิกษุไม่ส้องเสพปัจจัย ๔ อาสวะที่ทำความยุ่งยากเดือดร้อนให้ ก็จะพึงเกิดขึ้น เมื่อส้องเสพปัจจัย ๔ อาสวะที่ทำความยุ่งยากเดือดร้อนให้ ก็จะไม่มี นี้แลภิกษุทั้งหลาย ! เรียกว่า อาสวะที่พึงละได้ด้วยการส้องเสพ."
(สัพพาสวสังวรสูตร ๑๒/๑๒-๒๐)



พระสูตร - อาสวะที่พึงละได้ด้วยอธิวาสนะ (การอดทนหรือข่มไว้)
       "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! อาสวะ(กิเลสที่หมักดองสันดาน) ที่พึงละได้ด้วยการอดทน เป็นไฉน ! ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ พิจารณาโดยแยบคายแล้ว ย่อมเป็นผู้อดทนได้ต่อหนาว ร้อน หิวกระหาย ต่อสัมผัสอันเกิดจากเหลือบ ยุง ลม แดด และสัตว์เลือกคลาน ต่อถ้อยคำหยาบคายที่มากระทบ ต่อทุกขเวทนาทางกายที่เกิดขึ้น อันกล้าแข็ง เจ็บปวด ไม่เป็นที่สำราญ ไม่เป็นที่พอใจ ขนาดจะทำลายชีวิตได้."
       "เพราะเมื่อภิกษุนั้นไม่อดทน อาสวะที่ทำความยุ่งยากเดือดร้อนให้ ก็จะพึงเกิดขึ้น เมื่อเธออดทน อาสวะที่ทำความยุ่งยากเดือดร้อนให้ ก็จะไม่มี นี้แล ภิกษุทั้งหลาย ! เรียกว่า อาสวะที่พึงละได้ด้วยการอดทน."
(สัพพาสวสังวรสูตร ๑๒/๑๒-๒๐)


พระสูตร - อาสวะที่พึงละได้ด้วยปริวัชชนะ (การงดเว้น)
       "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! อาสวะ(กิเลสที่หมักดองสันดาน) ที่พึงละได้ด้วยการงดเว้น เป็นไฉน ! ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ พิจารณาโดยแยบคายแล้ว ย่อมเว้นช้างดุ ม้าดุ โคดุ สุนัขดุ งู ตอไม้ที่มีหนาม บ่อน้ำ เหว น้ำครำ หลุมโสโครก ภิกษุนั่งในอาสนะอันไม่สมควร คบมิตรชั่ว ย่อมถูกเพื่อนพรหมจารี ผู้รู้ เข้าใจไปในฐานะอันชั่ว เธอพิจารณาโดยแยบคายแล้ว ย่อมเว้นอาสนะอันไม่สมควรนั้น ที่เที่ยวไปอันไม่สมควรนั้น และมิตรชั่วเหล่านั้น เพราะเมื่อเธอไม่เว้น อาสวะที่ทำความยุ่งยากเดือดร้อนให้ ก็จะพึงเกิดขึ้น เมื่อเธอเว้น อาสวะที่ทำความยุ่งยากเดือดร้อนให้ ก็จะไม่มี นี้แล ภิกษุทั้งหลาย ! เรียกว่า อาสวะที่พึงละได้ด้วยการงดเว้น."
(สัพพาสวสังวรสูตร ๑๒/๑๒-๒๐)

พระสูตร - อาสวะที่พึงละได้ด้วยวิโนทนะ (การบรรเทา)
       "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! อาสวะ(กิเลสที่หมักดองสันดาน) ที่พึงละได้ด้วยการบรรเทา(การทำให้น้อยลง) เป็นไฉน? ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ พิจารณาโดยแยบคายแล้ว ย่อมไม่รับไว้ ย่อมบรรเทา ย่อมทำให้หมดไป ย่อมทำให้ตั้งอยู่ไม่ได้ซึ่งกามวิตก(ความตรึกในกาม) พยาบาทวิตก(ความตรึกในการปองร้าย) วิหิงสาวิตก(ความตรึกในการเบียดเบียน) ซึ่งเกิดขึ้นแล้ว เพราะเมื่อภิกษุนั้นไม่บรรเทา อาสวะที่ทำความยุ่งยากเดือดร้อนให้ ก็จะพึงเกิดขึ้น เมื่อเธอบรรเทา อาสวะที่ทำความยุ่งยากเดือดร้อนให้ ก็จะไม่มี นี้แล ภิกษุทั้งหลาย ! เรียกว่า อาสวะที่พึงละได้ด้วยการบรรเทา(การทำให้น้อยลง)."
(สัพพาสวสังวรสูตร ๑๒/๑๒-๒๐)


พระสูตร - อาสวะที่พึงละได้ด้วยภาวนา(การอบรม)
       "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! อาสวะ(กิเลสที่หมักดองสันดาน) ที่พึงละได้ด้วยการอบรม(การลงมือปฏิบัติให้เกิดผล) เป็นไฉน? ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ พิจารณาโดยแยบคายแล้ว ย่อมอบรม(ลงมือปฏิบัติให้เกิดผล) ซึ่งสัมโพชฌงค์(องค์แห่งปัญญาเครื่องตรัสรู้) คือ (๑) สติ(ความระลึกได้)  (๒) ธัมมวิจยะ(การเลือกเฟ้นธรรม)  (๓) วิริยะ(ความเพียร)  (๔) ปิติ(ความอิ่มใจในธรรม)  (๕) ปัสสัทธิ(ความสงบใจ)  (๖) สมาธิ(ความตั้งใจมั่น)  (๗) อุเบกขา(ความวางเฉยในธรรม) อันอิงความสงัด อิงความคลายกำหนัด อิงความดับทุกข์ อันน้อมไปเพื่อความสละกิเลส เพราะเมื่อภิกษุนั้นไม่อบรม อาสวะที่ทำความยุ่งยากเดือดร้อนให้ ก็จะพึงเกิดขึ้น เมื่อเธออบรม อาสวะที่ทำความยุ่งยากเดือดร้อนให้ ก็จะไม่มี นี้แล ภิกษุทั้งหลาย ! เรียกว่า อาสวะที่พึงละได้ด้วยการอบรม."
(สัพพาสวสังวรสูตร ๑๒/๑๒-๒๐)

พระสูตร - การปิดกั้นอาสวะทั้งปวงได้
       "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! เนื่องจากอาสวะ(กิเลสที่หมักดองสันดาน) ที่พึงละได้ด้วยการเห็น อันเธอละได้แล้ว อาสวะที่พึงละได้ด้วยความสำรวม อันเธอละได้แล้ว อาสวะที่พึงละได้ด้วยการส้องเสพ อันเธอละได้แล้ว อาสวะที่พึงละได้ด้วยการอดทน อันเธอละได้แล้ว อาสวะที่พึงละได้ด้วยการงดเว้น อันเธอละได้แล้ว อาสวะที่พึงละได้ด้วยการบรรเทา อันเธอละได้แล้ว อาสวะที่พึงละได้ด้วยการอบรม อันเธอละได้แล้ว เธอจึงชื่อว่า ปิดกั้นแล้วด้วยการปิดกั้นอาสวะทั้งปวงได้ ตัดขาดซึ่งตัณหา คลายได้ซึ่งเครื่องผูกมัด ทำที่สุดทุกข์ได้โดยชอบ เพราะตรัสรู้เรื่องของจิตใจ."

(สัพพาสวสังวรสูตร ๑๒/๑๒-๒๐)


                       G+ Tung krithayavath

ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: มิถุนายน 01, 2013, 12:26:03 am »





พระสูตร - อาสวะ (กิเลสที่หมักดองสันดาน) ที่พึงละได้ด้วยอะไรบ้าง ?
       "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! อาสวะที่พึงละได้ด้วยทัสสะ (การเห็น) ก็มี 
อาสวะที่พึงละได้ด้วยสังวร (ความสำรวม) ก็มี 
อาสวะที่พึงละได้ด้วยปฏิเสวนะ (การใช้สอย, การบริโภค) ก็มี 
อาสวะที่พึงละได้ด้วยอธิวาสนะ (การอดทน หรือข่มไว้) ก็มี 
อาสวะที่พึงละได้ด้วยปริวัชชนะ (การงดเว้น) ก็มี 
อาสวะที่พึงละได้ด้วยวิโนทนะ (การบรรเทา หรือการทำให้น้อยลง) ก็มี
อาสวะที่พึงละได้ด้วยภาวนา (การอบรม คือลงมือปฏิบัติให้เกิดผล) ก็มี."

(สัพพาสวสังวรสูตร ๑๒/๑๒-๒๐)
G+ Tung krithayavath