ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
คนที่มีจิตใจอ่อนโยนส่วนใหญ่มัก คิดถึงสิ่งใดก่อนเสมอ  ( เลือกตอบแค่ ตัวเอง กับ คนอื่น ครับผม ):
คิดว่าความดีทำยากไหม( เลือกตอบแค่ ยาก กับ ไม่ยาก ครับผม):
ชีวิตบางครั้งก็เหมือนเหรียญสองด้านใช่หรือไม่ครับบางครั้งก็หัวบางครั้งก็ก้อย( เลือกตอบแค่ ใช่ กับไม่ใช่ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า แสงธรรมนำใจ:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ความดีนำทาง:
เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใครทำบุญแล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วยกมือขึ้น (สาธุ) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ  สาธุ:
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆในโลกออนไลน์ใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
ท่านจะปฏิบัติตามกฏระเบียบข้อตกลงของเว็บใต้ร่มธรรมทุกประการหรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
ใต้ร่มธรรม เป็น แค่เว็บไซต์และจินตนาการทางจิต การทำดี สำคัญที่ใจเรา เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ พิมพ์คำว่า "เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ":
คุณพ่อคุณแม่เปรียบดั่งพระอรหันต์ในบ้าน พิมพ์คำว่า "คุณพ่อคุณแม่ฉันรักและเคารพท่านดุจพระอรหันต์":
เมื่อให้ท่านเลือก ระหว่าง (หนังสือเก่าๆเล่มหนึ่งที่เรารัก) กับ (มิตรแท้ที่รักเรา) คุณจะะเลือก:
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
ในโลกออนไลน์หรือโลกแห่งจิต ไม่มีใครทำอะไรเราได้ นอกเสียไปจาก (คนพาล) หรือ (ใจของเราเอง):
ธรรมะคือ ธรรมชาติ พิมพ์คำว่า (ธรรมะชาติ) ครับ:
พิมพ์คำว่า (แสงธรรมนำทางธรรมะนำใจ) ครับ:
สำนวนไทยที่ว่า แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน  พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ลางเนื้อชอบลางยา):
ขนทรายเข้าวัดคือ พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ทำบุญทำกุศลโดยวิธีนำหรือหาประโยชน์เพื่อส่วนรวมมิได้ทำเพื่อตนเอง):
ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ผู้ที่ทำตนให้เล็กที่สุด ผู้ที่เล็กที่สุดก็จะกลายเป็นผู้ที่ใหญ่ที่สุด ผู้ที่มีเกียรติคือผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น ฉะนั้นสมาชิกใต้ร่มธรรมควรให้เกียรติกันและกัน พิมพ์คำว่า (ฉันจะให้เกียรติสมาชิกทุกๆท่านในใต้ร่มธรรมเสมอด้วยวาจาสุภาพอ่อนน้อม):
ไม่มีอะไรสายสำหรับการเริ่มต้น พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (It is never too late to mend):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: มิถุนายน 06, 2013, 10:29:41 pm »





พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๒  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๔
อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต ติกัณฑกีวรรคที่ ๕

๑. ทัตวาอวชานาติสูตร
             [๑๔๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๕ จำพวกนี้ มีปรากฏอยู่ในโลก
๕ จำพวกเป็นไฉน
คือ บุคคลให้แล้วย่อมดูหมิ่น ๑ บุคคลย่อมดูหมิ่นเพราะอยู่ร่วมกัน ๑
บุคคลเป็นผู้เชื่อง่าย ๑ บุคคลเป็นผู้โลเล ๑ บุคคลเป็นผู้เขลาหลงงมงาย ๑ ฯ

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลให้แล้วย่อมดูหมิ่นอย่างไร บุคคลในโลกนี้
ให้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขารแก่บุคคล เขาย่อม
คิดอย่างนี้ว่า เราให้ ผู้นี้รับ ดังนี้ ให้แล้วย่อมดูหมิ่นบุคคลนั้น ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย บุคคลให้แล้วย่อมดูหมิ่นอย่างนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลย่อม
ดูหมิ่นเพราะอยู่ร่วมกันอย่างไร บุคคลในโลกนี้ อยู่ร่วมกับบุคคลสองสามปี

ย่อมดูหมิ่นผู้นั้นเพราะอยู่ร่วมกัน ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลย่อมดูหมิ่นเพราะอยู่
ร่วมกันอย่างนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลเป็นผู้เชื่อง่ายอย่างไร บุคคลบางคน
ในโลกนี้ เมื่อเขากล่าวคุณหรือโทษของผู้อื่น ย่อมน้อมใจเชื่อโดยเร็วพลัน ดูกร
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลเป็นผู้เชื่อง่ายอย่างนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลเป็นผู้
โลเลอย่างไร บุคคลบางคนในโลก เป็นผู้มีศรัทธาเล็กน้อย มีความภักดีเล็กน้อย

มีความรักเล็กน้อย มีความเลื่อมใสเล็กน้อย ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลเป็นผู้
โลเลอย่างนี้แล
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลผู้เขลาหลงงมงายอย่างไร บุคคลบาง
คนในโลกนี้ ย่อมไม่รู้กุศลธรรมและอกุศลธรรม ย่อมไม่รู้ธรรมที่มีโทษและไม่มี
โทษ ย่อมไม่รู้ธรรมที่เลวและประณีต ย่อมไม่รู้ธรรมฝ่ายดำและฝ่ายขาว ดูกร
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลเป็นผู้เขลาหลงงมงายอย่างนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคล
๕ จำพวกนี้แล มีปรากฏอยู่ในโลก ฯ

                                                         จบสูตรที่ ๑

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๒  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๔
อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต ติกัณฑกีวรรคที่ ๕




ขุมทรัพย์จากพระโอษฐ์
หมวดที่ ๖
ว่าด้วย การหละหลวมในธรรม

-------------
ผู้โลเล
ภิกษุ ท.! มูลเหตุแปดอย่างนี้เล่า ย่อมเป็นไปเพื่อความเสื่อมเสียสำหรับ
ภิกษุ ผู้ยังไม่จบกิจแห่งการปฏิบัติเพื่อลุถึงนิพพาน.
มูลเหตุแปดอย่างอะไรกันเล่า ?    แปดอย่างคือ :-

(๑) ความเป็นผู้พอใจในการทำงานก่อสร้าง,
(๒) ความเป็นผู้พอใจในการคุย,
(๓) ความเป็นผู้พอใจในการนอน,
(๔) ความเป็นผู้พอใจในการจับกลุ่มคลุกคลีกัน,
(๕) ความเป็นผู้ไม่คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย.
(๖) ความเป็นผู้ไม่รู้ประมาณในการกิน,
(๗) ความเป็นผู้พอใจในการกระทำ...
.....เพื่อเกิดสัมผัสสนุกสบายทางกาย,
(๘) ความเป็นผู้พอในในการขยายกิจให้โยกโย้โอ้เอ้ เนิ่นช้า.


ภิกษุ ท.! มูลเหตุแปดอย่างนี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อความเสื่อมเสีย
สำหรับภิกษุผู้ยังไม่จบกิจ
แห่งการปฏิบัติเพื่อลุถึงนิพพาน.
_____________________________________
บาลี พระพุทธภาษิต อฏฺฐก. อํ. ๒๓/๓๔๓/๑๘๓.

       
http://www.pobbuddha.com/tripitaka/upload/files/2010/index.html