ตอบ

ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
คนที่มีจิตใจอ่อนโยนส่วนใหญ่มัก คิดถึงสิ่งใดก่อนเสมอ  ( เลือกตอบแค่ ตัวเอง กับ คนอื่น ครับผม ):
กัน-ละ-ยา-นะ-มิด เขียนเป็นภาษาไทยที่ถูกต้องว่าอย่างไรครับ:
คุณเชื่อในศรัทธาของความดีไหมครับ ( เลือกตอบแค่ เชื่อ กับ ไม่เชื่อ ครับผม):
คุณเชื่อว่าทุกศาสนาสอนให้ทุกคนเป็นคนดีใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า แสงธรรมนำใจ:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ความดีนำทาง:
การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ นิยมใช้คำว่า (อนุโมทนา) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ อนุโมทนา:
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆในโลกออนไลน์ใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
ท่านจะปฏิบัติตามกฏระเบียบข้อตกลงของเว็บใต้ร่มธรรมทุกประการหรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
โดยปกติชน นิ้วมือของคนเรา มีกี่นิ้ว (ตอบเป็นภาษาไทยครับ):
วัฒนธรรมไทยเมื่อเห็นผู้ใหญ่ท่านจะทำความเคารพ ด้วยการไหว้ท่านก่อนเสมอใช่หรือไม่:
เมื่อให้ท่านเลือก ระหว่าง (หนังสือเก่าๆเล่มหนึ่งที่เรารัก) กับ (มิตรแท้ที่รักเรา) คุณจะะเลือก:
บุคคลที่ไปหลายๆเว็บไซต์ โดยที่สวมบทบาทเป็นหลายๆคน โดยที่ไม่รู้ว่า แท้จริงใจเราต้องการอะไร เพื่อน หรือ ชัยชนะ:
กล่าวคำดังนี้  "ขอโทษนะ":
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ใต้ร่มธรรมเองก็จะเป็นไปตามวัฐจักรนี้ ฉันท์ใดก็ฉันท์นั้น (เป็นจริง) หรือ (ไม่จริง):
ธรรมะคือ ธรรมชาติ พิมพ์คำว่า (ธรรมะชาติ) ครับ:
พิมพ์คำว่า (แสงธรรมนำทางธรรมะนำใจ) ครับ:
รู้สึกระอายใจไหมที่เราทำร้ายคนอื่นด้วยวาจาหรือสำนวนที่ไม่สุภาพ โดยที่คนคนนั้นเค้าเคยเป็นผู้มีพระคุณต่อเรามา (ไม่ละอายใจ)หรือ(ละอายใจ):
ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ผู้ที่ทำตนให้เล็กที่สุด ผู้ที่เล็กที่สุดก็จะกลายเป็นผู้ที่ใหญ่ที่สุด ผู้ที่มีเกียรติคือผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น ฉะนั้นสมาชิกใต้ร่มธรรมควรให้เกียรติกันและกัน พิมพ์คำว่า (ฉันจะให้เกียรติสมาชิกทุกๆท่านในใต้ร่มธรรมเสมอด้วยวาจาสุภาพอ่อนน้อม):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: sithiphong
« เมื่อ: มิถุนายน 09, 2013, 11:52:13 am »

ระวังมัลแวร์แฝงตัวใน"แอป" ล้วงข้อมูลผ่าน"สมาร์ทโฟน"

-http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1343382206&grpid=&catid=09&subcatid=0904-




   

นายสุรศักดิ์ วนิชเวทย์พิบูล ผู้จัดการฝ่ายเทคนิค บริษัท เทรนด์ ไมโคร ประจำภูมิภาคอินโดจีนกล่าวว่า ปัจจุบันบริษัทในประเทศไทยอนุญาตให้พนักงานนำอุปกรณ์ไอทีเข้ามาใช้ในบริษัทมากขึ้น หรือ BYOD (Bring Your Own Device) นอกจากโน้ตบุ๊กยังมีการใช้สมาร์ทโฟนและแท็บเลตเพิ่มเติมด้วย เช่น เช็กอีเมล์ และสร้างงานเอกสารทำให้แต่ละองค์กรไม่ใส่ใจข้อมูลบนเครื่อง ซึ่งอาจส่งผลต่อการสูญหายของข้อมูล และการโจรกรรมเพื่อนำข้อมูลลับภายในบริษัทไปเผยแพร่โดยการนำเครื่องมาใช้ภายในองค์กรเมื่อปี 2554 ที่ผ่านมา คิดเป็นกว่า 79% ของพนักงาน ซึ่งแผนกไอทีไม่สามารถควบคุมการใช้งานเหล่านี้ได้ เพราะกว่า 35% ของผู้ใช้อุปกรณ์ปฏิเสธให้องค์กรเข้ามาควบคุมเครื่องของตน และอ้างว่านำเครื่องส่วนตัวมาใช้คุ้นเคยกว่า เมื่อองค์กรนำแอปพลิเคชั่นต่าง ๆ ลงในสมาร์ทโฟนหรือแท็บเลตจะทำให้เครื่องเหล่านั้นมีประสิทธิภาพลดลง และเทรนด์นี้ไม่ใช่เกิดในเมืองไทยเท่านั้น รวมถึงทั่วโลกด้วย หากมองแค่ในเอเชีย-แปซิฟิก และในยุโรปบางประเทศ มีการนำเครื่องส่วนตัวมาใช้งานถึง 85% เกินกว่าครึ่งคิดว่าการนำมาใช้ถูกต้อง ส่วนใหญ่เป็นโน้ตบุ๊ก เมื่อรวมสมาร์ทโฟนกับแท็บเลตจะมีมากกว่าครึ่ง ไม่ลงระบบรักษาความปลอดภัย 63% แต่ยังดีที่เป็นอุปกรณ์ที่บริษัทมอบให้พนักงานใช้กว่า 69% ทำให้ควบคุมการใช้ได้ระดับหนึ่ง


"ความเสี่ยงขององค์กรจะเพิ่มขึ้น จากช่องโหว่ทางระบบ ซึ่งส่งผลต่ออัตราการสูญหายของข้อมูลกว่า 59% และข้อมูลส่วนตัว 41% ส่วนใหญ่มาจากการใช้สมาร์ทโฟนและแท็บเลตที่ไม่มีการป้องกันมากพอ โดยเฉพาะในแอนดรอยด์เป็นระบบเปิดทำให้แอปต่าง ๆ ที่โหลดมาเสี่ยงสูงที่จะสร้างปัญหาให้เครื่องผ่านมัลแวร์ต่าง ๆ ถ้าไปปลดล็อกยิ่งทำให้การควบคุมยากขึ้นไปอีก"

บริษัทได้สำรวจจำนวนแอปพลิเคชั่นบนแอนดรอยด์พบว่า มีมัลแวร์แฝงกว่า 3,000 ตัว ในช่วง 3 เดือนแรกของปีนี้ คาดว่าสิ้นปีจะพุ่งไปถึง 129,900 ตัว หากไม่ดูแลจริงจังเมื่อนำแอนดรอยด์มาใช้มัลแวร์ที่แฝงอยู่จะรู้ว่าเครื่องอยู่ไหนส่งโฆษณาหลอกลวงมาให้ผู้ใช้ได้ถูกต้อง มีการ root เครื่องได้ด้วยตนเองเพื่อสร้างช่องโหว่ ทำการสมัครบริการที่มีค่าใช้จ่ายอัตโนมัติ, นำข้อมูลส่วนตัวไปใช้ประโยชน์, โหลดแอปเพิ่มเพื่อโจมตีต่อเนื่อง และส่งลิงก์สร้างความรำคาญให้ทุกคนในคอนแทกต์

นายสุรศักดิ์กล่าวว่า จากข้อมูลข้างต้นทำให้บริษัทซีเคียวริตี้ต่าง ๆ หันมาเล่นตลาดโมบายซีเคียวริตี้มากขึ้น โดยปีที่ผ่านมาบริษัทวิจัยไอดีซีสำรวจพบว่ามีเงินหมุนเวียนในตลาดโลก 682 ล้านเหรียญ แต่ปีนี้จะเพิ่มเป็น 1,020 ล้านเหรียญ มีแนวโน้มโตเฉลี่ย 300 ล้านเหรียญต่อปี เพราะทุกองค์กรหันมาระวังเรื่องนี้จริงจัง ส่วนในประเทศไทยหากมองแค่เทรนด์ไมโครมีลูกค้าติดตั้งระบบป้องกันทางโมบายแล้ว เป็นกลุ่มธนาคารทั้งคู่ เน้นเจาะองค์กรที่มีอุปกรณ์เหล่านี้ 1,000 เครื่องขึ้นไป มีกลุ่มธุรกิจสนใจคือ โรงงาน และภาครัฐ

ล่าสุดเปิดตัว Trend Micro Mobile Security 8.0 ระบบป้องกันเวอร์ชั่นใหม่ พร้อมฟังก์ชั่นตรวจสอบการใช้งานของโทรศัพท์มือถือแต่ละเครื่องว่ามีการดาวน์โหลดแอปพลิเคชั่นใดบ้าง พร้อมควบคุมการใช้งาน เช่น กล้อง และอีเมล์ได้มากขึ้น รวมถึงระบุการลบข้อมูลกรณีเครื่องสูญหายเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาข้อมูลส่วนตัวที่ไม่เกี่ยวกับงานหายไป พร้อมสร้างศูนย์รวมแอปพลิเคชั่นและสกรีนแอปที่มีมัลแวร์ใช้ควบคุมได้ทั้ง iOS และแอนดรอยด์

"ระบบป้องกันเวอร์ชั่นใหม่คาดว่าจะสร้างรายได้ให้ราว 500 ล้านเหรียญสหรัฐ จากเรื่อง BYOD เป็นหลัก ส่วนในประเทศไทยบริษัทตั้งเป้าหมายไว้ที่ 3 หมื่นเหรียญสหรัฐ หรือ 1 ล้านบาทจากตัวนี้อย่างเดียว และปีหน้ารายได้โตก้าวกระโดดแน่จาก BYOD และคลาวด์ที่องค์กรต่าง ๆ หันมาใช้จริงจัง ทำให้การเข้าถึงข้อมูลผ่านสมาร์ทโฟนหรือแท็บเลตเพิ่มขึ้นเช่นกัน"

 

(ที่มา:ประชาชาติธุรกิจออนไลน์)

.-----------------------------------------------------------


   แก้วจ๋าหน้าร้อน

 อันนี้ขอยืนยันว่า มีจริงครับ
สำคัญคือถ้าเราใช้ พวกสมาร์ทโฟน ต้องมี แอนตี้ไวรัสติดเครื่องไว้กันเหนียวครับ
อย่างผม ก็แอพฟรี ชื่อว่า Avast ครับ ใช้แล้วหายห่วงไปเปราะ
กับเราต้องเลือกลง แอพที่ มีคนลงเยอะๆครับ จะชัวร์กว่า พวกแอพโนเนมครับ
ประมาณนั้นครับ 55+ ต้องระวังๆกันนะครับ

ข้อความโดย: sithiphong
« เมื่อ: มิถุนายน 09, 2013, 11:50:16 am »

เตือนผู้ใช้ทวิตเตอร์เสี่ยงภัยข้อความลวง
-http://www.manager.co.th/CBiZReview/ViewNews.aspx?NewsID=9550000118289-
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์    26 กันยายน 2555 13:02 น.



ผู้ใช้ทวิตเตอร์ (Twitter) กำลังตกอยู่ในความเสี่ยงถูกล่อลวงด้วยข้อความไดเร็กต์แมสเสจ (direct message) หรือข้อความที่ถูกส่งตรงถึงผู้ใช้ทวิตเตอร์แต่ละรายโดยเฉพาะ ล่าสุดผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยคอมพิวเตอร์พบข้อความที่แอบอ้างชื่อเพื่อนของผู้ใช้ พร้อมแนบลิงก์สู่เพจเฟซบุ๊ก (Facebook) ปลอมที่จะเปิดประตูหลังระบบคอมพิวเตอร์จนทำให้นักเจาะระบบสามารถควบคุมเครื่องได้โดยที่เหยื่อไม่รู้ตัว
       
       เกรแฮม คลูลีย์ (Graham Cluley) ผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยระบบคอมพิวเตอร์ของบริษัทโซโฟส (Sophos) ประกาศเตือนภัยผู้ใช้ทวิตเตอร์ว่าจำนวนข้อความไดเร็กต์แมสเสจปลอมที่จงใจล่อลวงให้ผู้ใช้ทวิตเตอร์กดลิงก์ไม่ประสงค์ดีนั้นเพิ่มจำนวนขึ้นอย่างเห็นได้ชัด โดยล่าสุดพบกลลวงใหม่ที่ทำให้ผู้ใช้ทวิตเตอร์หลงเชื่อมากขึ้น นั่นคือการแนบลิงก์ที่ตั้งใจตบตาว่าเป็นเพจเฟซบุ๊ก ซึ่งทำให้ผู้ใช้ไม่ระวังว่าลิงก์ที่คลิกนั้นเป็นลิงก์ที่มีโปรแกรมร้ายแฝงตัวอยู่
       
       คลูลีย์ระบุว่ารูปแบบลิงก์ที่แนบในข้อความปลอมนั้นจะประกอบด้วย 'facebook.com/________' โดยหลายข้อความพบว่ามีการบรรยายให้ผู้รับข้อความเข้าใจผิดว่ามีไฟล์วิดีโอของตัวเองถูกโพสต์บนเฟซบุ๊ก เช่นข้อความว่า "Your in this facebook.com/________ video, LOL' ทำให้หลายคนอยากชมภาพตัวเองในวิดีโอนั้นว่าสนุกสนานหรือขบขันเพียงไร
       
       ข้อมูลยังระบุว่า ข้อความไดเร็กต์แมสเสจปลอมอื่นๆจะถูกส่งมากระตุ้นให้ผู้รับอยากเปิดชมวิดีโอมากขึ้น หากผู้ใช้หลงกลกดลิงก์วิดีโอนั้นจะพบว่าโปรแกรมเปิดไฟล์เล่นมัลติมีเดียถูกเปิดขึ้นอัตโนมัติ พร้อมกับแสดงข้อความให้ผู้ใช้อัปเดทโปรแกรม Youtube พร้อมกับแจ้งว่ากำลังติดตั้งโปรแกรม Flash Player 10.1 บนคอมพิวเตอร์
       
       จุดนี้ รายงานจากโซโฟสย้ำว่าเครื่องจะดาวน์โหลดไฟล์ FlashPlayerV10.1.57.108.exe ลงในเครื่อง ซึ่งไฟล์ดังกล่าวถูกตรวจจับโดยผลิตภัณฑ์แอนตี้ไวรัสของโซโฟสว่าเป็นไฟล์โทรจัน Troj/Mdrop-EML ซึ่งเป็นโปรแกรมสอดแนมเครื่องที่สามารถทำสำเนาตัวเองแล้วส่งต่อตัวเองไปยังคอมพิวเตอร์อื่นในเครื่อข่ายได้โดยที่เจ้าของเครื่องไม่รู้ตัว
       
       ตามธรรมเนียม โซโฟสย้ำว่ากลุ่มผู้ใช้ทวิตเตอร์ที่ไม่ติดตั้งโปรแกรมรักษาความปลอดภัยในคอมพิวเตอร์ล้วนมีความเสี่ยงในภัยแฝงของข้อความไดเร็กต์แมสเสจ โดยเฉพาะการใช้กลลวงที่เกี่ยวข้องกับความเชื่อใจเพื่อน ซึ่งตรงนี้หากใครไม่สามารถจับพิรุธในไดเร็กต์แมสเสจปลอมได้ จะไม่เพียงตกเป็นเหยื่อของนักแฮกตัวร้ายคนเดียว แต่ยังอาจทำให้เครื่องอื่นในเครือข่ายเสี่ยงถูกเจาะระบบได้
       
       สิ่งสำคัญที่สรุปได้จากภัยทวิตเตอร์ครั้งใหม่นี้คือการนำเฟซบุ๊กมาเป็นเครื่องมือชั้นยอดในการล่อลวง ก่อนหน้านี้ มีรายงานข่าวสแปมเมลและภัยลวงฟิชชิ่งที่เกี่ยวกับเฟซบุ๊กมากมาย เช่นปีที่แล้ว นักส่งสแปมเมลอย่างแซนฟอร์ด วอลเลซ (Sanford Wallace) นั้นถูกจับกุมหลังจากเจาะระบบเฟซบุ๊กมากกว่า 500,000 บัญชีเพื่อส่งอีเมลขยะมากกว่า 27 ล้านฉบับสู่เครือข่ายสังคมชื่อดัง ซึ่งแม้ตัวการใหญ่อย่างวอลเลซจะถูกจับกุมแล้ว แต่ชาวเครือข่ายสังคมก็ยังได้รับอีเมลขยะอย่างต่อเนื่องอยู่ดี
       
       แน่นอนว่าเฟซบุ๊กรู้ดีถึงภัยบนเครือข่ายที่เกิดขึ้น จึงประชาสัมพันธ์ให้ผู้ใช้ร่วมกันแจ้งเบาะแสภัยล่อลวงทางอีเมลบนเฟซบุ๊กมาที่อีเมล phish@fb.com
       
       ทวิตเตอร์คือบริการบล็อกสั้นหรือไมโครบล็อคกิ้งที่ผู้ใช้สามารถเขียนบล็อกเป็นข้อความยาวไม่เกิน 140 ตัวอักษรเพื่อบอกเพื่อนสมาชิกว่ากำลังทำอะไรอยู่ในขณะนั้น วันนี้ทวิตเตอร์กลายเป็นช่องทางเยี่ยมยอดสำหรับการติดต่อสื่อสารบนโลกออนไลน์ที่เติบโตอย่างรวดเร็ว มีการใช้ทวิตเตอร์กระจายข่าวความเคลื่อนไหวของภารกิจอวกาศในความรับผิดชอบของนาซ่า ตลอดจนนำทวิตเตอร์ไปอัปเดทข่าวความเคลื่อนไหวในงานประชุมหรือมหกรรมใหญ่ๆ ขณะเดียวกันก็มีข่าวว่าผู้ก่อการร้ายใช้บล็อกสั้นเป็นเครื่องมือประสานงานการก่อการร้ายด้วย
       
       Company Relate Link :
       Twitter


http://www.manager.co.th/CBiZReview/ViewNews.aspx?NewsID=9550000118289
.
ข้อความโดย: sithiphong
« เมื่อ: มิถุนายน 09, 2013, 11:49:15 am »

ระวัง! มัลแวร์ Koobface ระบาดหนักบนเฟซบุ๊ก
-http://fbguide.kapook.com/view64037.html-



ระวัง! มัลแวร์ Koobface ระบาดหนักบนเฟซบุ๊ก

เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
ขอขอบคุณภาพประกอบจาก Facerook

          ระวังมัลแวร์ (Malware) ชื่อ Koobface กำลังระบาดหนักบนเฟซบุ๊ก เตือนอย่าคลิกลิงก์แปลกปลอม ควรตรวจสอบลิงก์ให้ดีก่อนคลิก

          เมื่อวันที่ 5 มิถุนายนที่ผ่านมา McAfee บริษัทพัฒนาซอฟต์แวร์รักษาความปลอดภัยชื่อดังได้รายงานว่า ในขณะนี้กำลังมีมัลแวร์ระบาดบนเฟซุบุ๊กอย่างหนัก โดยมัลแวร์ดังกล่าวมีชื่อว่า Koobface ที่จะมาในรูปแบบของลิงก์ที่หลอกให้ผู้ใช้หลงคลิกเข้าไปเพื่อดูคลิปวิดีโอ และเมื่อคลิกเข้าไปแล้วจะมีการหลอกให้ดาวน์โหลดซอฟต์แวร์สำหรับดูวิดีโอนั้น ๆ ซึ่งหากผู้ใช้หลงกลคลิกดาวน์โหลดไปแล้ว จะทำให้มีมัลแวร์ Koobface แฝงตัวมาด้วย และมันจะทำการควบคุมโปรไฟล์เฟซบุ๊กของผู้ใช้เพื่อนำไปโพสต์ลิงก์หลอกเหยื่อรายอื่น ๆ ต่อไป

         ทั้งนี้ ทาง McAfee ได้เตือนผู้ใช้เฟซบุ๊กทุกคนว่า ไม่ควรคลิปลิงก์แปลกปลอมที่ดูไม่น่าไว้ใจ โดยก่อนจะคลิกลิงก์ใด ๆ จะต้องตรวจสอบดูให้แน่ใจก่อนว่าลิงก์ดังกล่าวเป็นลิงก์จากเว็บไซต์ที่ไว้ใจได้หรือไม่ ซึ่งสามารถดูได้ด้วยการเอาเม้าส์ชี้ที่ลิงก์แล้วดูที่มุมซ้ายล่างของเว็บบราวเซอร์ แต่ถ้าหากเผลอคลิกเข้าไปแล้วก็อย่าหลงกลดาวน์โหลดไฟล์ใด ๆ เด็ดขาด รวมทั้งอย่ากรอกข้อมูลส่วนตัวลงในเว็บไซต์เหล่านั้นด้วย


.
ข้อความโดย: แก้วจ๋าหน้าร้อน
« เมื่อ: มีนาคม 12, 2013, 12:22:58 am »

พอดี ผมใช้มือถือแอนดรอยด์ จัดเป็น สมาร์ทโฟน
มีข้อความในเมลผม จากธนาคารแจ้งมา ก็เลยนำมาให้อ่านกัน เพื่อ ระวังแอพแอบแฝงด้วยครับ


เรียน ท่านสมาชิกบัวหลวง ไอแบงก์กิ้ง
ขณะนี้มีกลุ่มมิจฉาชีพส่ง SMS หรืออีเมลหลอกลวง โดยแอบอ้างว่าส่งมาจากธนาคารให้ผู้รับดาวน์โหลด หรือติดตั้งโปรแกรมลงบนโทรศัพท์มือถือ แท็บเล็ต สมาร์ทโฟน หรือคอมพิวเตอร์ ซึ่งโปรแกรมดังกล่าวมีไวรัสที่สามารถขโมยรหัสส่วนตัว รหัสลับ และ SMS แจ้งรหัสผ่านครั้งเดียว (OTP) เพื่อใช้ลักลอบเข้าทำธุรกรรมโอนเงินออกจากบัญชีของท่านผ่านบริการธนาคารทางอินเทอร์เน็ต รวมถึงบริการบัวหลวง ไอแบงก์กิ้งของท่าน โดยที่ท่านไม่ทราบ เพราะจะไม่ได้รับ SMS แจ้ง OTP แต่อย่างใด
เพื่อความปลอดภัยในการทำธุรกรรมทางการเงินต่างๆ ผ่านอุปกรณ์โทรศัพท์มือถือ แท็บเล็ต สมาร์ทโฟน หรือคอมพิวเตอร์ ธนาคารขอให้ท่านปฏิบัติตามคำแนะนำต่อไปนี้

    หลีกเลี่ยงการคลิกลิงก์ (URL) ที่แนบมากับ SMS หรืออีเมลลักษณะหลอกลวงข้างต้น
    หลีกเลี่ยงการดาวน์โหลด หรือติดตั้งโปรแกรมจากแหล่งที่ไม่น่าเชื่อถือ
    หลีกเลี่ยงการทำธุรกรรมทางการเงินผ่านอุปกรณ์ที่ได้รับการดัดแปลงระบบปฏิบัติการ (jail break สำหรับระบบปฏิบัติการ iOS และ root สำหรับระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์)
    ติดตั้งแอพพลิเคชั่นป้องกันไวรัสบนโทรศัพท์มือถือ แท็บเล็ต สมาร์ทโฟน และคอมพิวเตอร์ โดยเฉพาะที่ใช้ทำธุรกรรมออนไลน์

ธนาคารขอยืนยันว่า ธนาคารไม่มีนโยบายส่ง SMS หรืออีเมล เพื่อขอให้ท่านดาวน์โหลดหรือติดตั้งโปรแกรมใดๆ สำหรับการทำธุรกรรมต่างๆ กับธนาคาร ดังนั้น หากท่านได้รับข้อความในลักษณะดังกล่าว หรือได้ทำการคลิกลิงก์เพื่อดาวน์โหลดโปรแกรมต้องสงสัยไปแล้ว โปรดติดต่อเจ้าหน้าที่ธนาคารทันทีที่บัวหลวงโฟน โทร. 1333 หรือ (66) 0-2645-5555 ทุกวัน ตลอด 24 ชั่วโมง

ขอแสดงความนับถือ
บัวหลวง ไอแบงก์กิ้ง

**********


Dear Bualuang iBanking customer,
Bangkok Bank is aware of attempted scams whereby you receive false SMS messages claiming to be from Bangkok Bank in an attempt to extract your personal banking information. You are asked to download or install software or applications onto your mobile phone, smartphone, tablet or PC. This is dangerous, as downloading or installing the software or application, allows thieves to steal your personal ID, password and the One Time Password (OTP) for making a funds transfer out from your account via internet banking including Bualuang iBanking. The fraudulent funds transfer can be made without causing you any alarm as you do not receive the One Time Password.

    Do not click link (URL) in SMS or email mentioned above
    Do not download or install programs from unreliable sources
    Do not make financial transactions using devices with jail-broken (iOS) or rooted (Android) operating systems
    Do install anti-virus applications onto your mobile phone, smartphone, tablet and PC

Bangkok Bank will never send an SMS requesting you to download or install any software or application to make a transaction with us. Therefore, should you receive this kind of SMS, or click any link to download suspicious software or application, please immediately contact Bualuang Phone 1333 or (66) 0-2645-5555. Our service is available 24/7.

Yours sincerely,
Bualuang iBanking

ที่มา
BualuangiBankingAlert@bangkokbank.com