ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
คนที่มีจิตใจอ่อนโยนส่วนใหญ่มัก คิดถึงสิ่งใดก่อนเสมอ  ( เลือกตอบแค่ ตัวเอง กับ คนอื่น ครับผม ):
กัน-ละ-ยา-นะ-มิด เขียนเป็นภาษาไทยที่ถูกต้องว่าอย่างไรครับ:
ชีวิตบางครั้งก็เหมือนเหรียญสองด้านใช่หรือไม่ครับบางครั้งก็หัวบางครั้งก็ก้อย( เลือกตอบแค่ ใช่ กับไม่ใช่ครับผม):
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆแนวธรรมะในจิตใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า แสงธรรมนำใจ:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ความดีนำทาง:
การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ นิยมใช้คำว่า (อนุโมทนา) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ อนุโมทนา:
วัฒนธรรมไทยเมื่อเห็นผู้ใหญ่ท่านจะทำความเคารพ ด้วยการไหว้ท่านก่อนเสมอใช่หรือไม่:
คุณพ่อคุณแม่เปรียบดั่งพระอรหันต์ในบ้าน พิมพ์คำว่า "คุณพ่อคุณแม่ฉันรักและเคารพท่านดุจพระอรหันต์":
ระหว่าง (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะผู้อื่น) กับ (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะตัวเอง)  ท่านจะเลือกเป็น:
กล่าวคำดังนี้  "ให้อภัยนะ":
กล่าวคำดังนี้  "ขออโหสิกรรม":
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
ในโลกออนไลน์หรือโลกแห่งจิต ไม่มีใครทำอะไรเราได้ นอกเสียไปจาก (คนพาล) หรือ (ใจของเราเอง):
เคยนวดฝ่าเท้าให้ คุณพ่อคุณแม่บ้างไหม ถ้ามีโอกาส เราควรทำหรือไม่ (ควรกระทำอย่างยิ่ง หรือ ไม่ควรทำ):
รู้สึกระอายใจไหมที่เราทำร้ายคนอื่นด้วยวาจาหรือสำนวนที่ไม่สุภาพ โดยที่คนคนนั้นเค้าเคยเป็นผู้มีพระคุณต่อเรามา (ไม่ละอายใจ)หรือ(ละอายใจ):
ขนทรายเข้าวัดคือ พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ทำบุญทำกุศลโดยวิธีนำหรือหาประโยชน์เพื่อส่วนรวมมิได้ทำเพื่อตนเอง):
ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ผู้ที่ทำตนให้เล็กที่สุด ผู้ที่เล็กที่สุดก็จะกลายเป็นผู้ที่ใหญ่ที่สุด ผู้ที่มีเกียรติคือผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น ฉะนั้นสมาชิกใต้ร่มธรรมควรให้เกียรติกันและกัน พิมพ์คำว่า (ฉันจะให้เกียรติสมาชิกทุกๆท่านในใต้ร่มธรรมเสมอด้วยวาจาสุภาพอ่อนน้อม):
ไม่มีอะไรสายสำหรับการเริ่มต้น พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (It is never too late to mend):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: sithiphong
« เมื่อ: มิถุนายน 11, 2013, 10:34:14 pm »

“หมูชะมวง” ชวนอร่อย เมนูเด็ดอาหารพื้นบ้านภาคตะวันออก
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์    11 มิถุนายน 2556 17:37 น.
-http://www.manager.co.th/Travel/ViewNews.aspx?NewsID=9560000070314-


แกงหมูชะมวง (ภาพ: recipes-thai.blogspot.com)


       ช่วงฤดูกาลผลไม้แบบนี้ หลายคนคงยกโขยงกันไปเที่ยวแถวภาคตะวันออกของประเทศ เนื่องจากมีสวนผลไม้มากมายให้เลือก มีผลไม้หลากหลายให้ชิม ซึ่งล้วนแล้วแต่อร่อยถูกปากทั้งนั้น แต่นอกจากผลไม้แล้ว ทางจังหวัดแถบนี้ก็ยังมีอาหารท้องถิ่นที่อร่อยขึ้นชื่อไม่แพ้กัน นั่นก็คือเมนู “หมูชะมวง”
       
       “หมูชะมวง” เป็นเมนูอาหารพื้นบ้านในแถบจังหวัดจันทบุรี ระยอง และตราด ซึ่งเป็นการใช้วัตถุดิบพื้นบ้านมาประกอบเป็นอาหารนั่นเอง โดยแกงหมูชะมวง จะใช้ “ใบชะมวง” ที่เป็นผักพื้นบ้าน มาเป็นส่วนประกอบสำคัญ ใบชะมวงนี้ก็ได้มาจากต้นชะมวง เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง พบได้ทั่วไปในเขตป่าร้อนชื้นไม่ว่าจะเป็นภาคอีสาน ภาคตะวันออก ภาคกลาง และภาคใต้
       
       ใบชะมวงจะมีลักษณะคล้ายกับใบมะดัน ใบเนื้อหา มีรสชาติเปรี้ยว จึงนำมาใช้เพิ่มรสชาติในอาหารหลายๆ จาน ส่วนสรรพคุณของใบชะมวงก็มีอยู่ไม่ใช่น้อย ช่วยเป็นยาระบาย แก้ไข้ กัดเสมหะ แก้ไอ และแก้กระหายน้ำ


ใบชะมวง (ภาพ: www.oknation.net/blog/roungkaw)

       สำหรับ “หมูชะมวง” มีวิธีการทำคือโขลกเครื่องแกงแล้วนำมาผัดกับเนื้อหมู สามารถใช้ได้ทั้งเนื้อหมูล้วนๆ หรือจะเลือกใส่หมูสามชั้นก็ได้หากไม่กลัวไขมัน ผัดเสร็จแล้วใส่ใบชะมวง เติมน้ำ ปรุงรสด้วยน้ำตาลปี๊บและเกลือ หรือน้ำปลา (บางสูตรอาจไม่ใส่น้ำปลา เนื่องจากทำให้รสชาติเพี้ยนไปจากดั้งเดิม) ส่วนความเปรี้ยวนั้นจะได้จากใบชะมวงอยู่แล้ว จากนั้นเคี่ยวต่อเรื่อยๆ จนหมูเปื่อยนุ่ม กินคู่กับข้าวสวยร้อนๆ กับแกงหมูชะมวงรสชาติเปรี้ยวหวานเค็มกลมกล่อม
       
       เคล็ดลับในการทำหมูชะมวงให้ได้รสชาติจากใบชะมวงแท้ๆ นั้น อยู่ที่การเลือกใบชะมวงที่ไม่อ่อนหรือไม่แก่จนเกินไป ล้างทำความสะอาดแล้วฉีกส่วนก้านทิ้งไป เมื่อจะใส่ลงในแกงก็ให้ใช้มือฉีกใบชะมวงเป็นชิ้นๆ และขยำให้ช้ำเล็กน้อย จะได้รสชาติความเปรี้ยวจากใบชะมวงออกมาอย่างเต็มที่
       
       ใครที่มีโอกาสไปเยือนจังหวัดแถบภาคตะวันออก ก็อย่าลืมแวะชิม “หมูชะมวง” แกงพื้นบ้านแสนอร่อยเป็นของคาว แล้วมาปิดท้ายมื้อด้วยผลไม้นานาชนิดให้อิ่มหนำสำราญใจ

http://www.manager.co.th/Travel/ViewNews.aspx?NewsID=9560000070314

.