ตอบ

ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
กัน-ละ-ยา-นะ-มิด เขียนเป็นภาษาไทยที่ถูกต้องว่าอย่างไรครับ:
คุณเชื่อว่าทุกศาสนาสอนให้ทุกคนเป็นคนดีใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆแนวธรรมะในจิตใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า แสงธรรมนำใจ:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ความดีนำทาง:
การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ นิยมใช้คำว่า (อนุโมทนา) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ อนุโมทนา:
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆในโลกออนไลน์ใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
โดยปกติชน นิ้วมือของคนเรา มีกี่นิ้ว (ตอบเป็นภาษาไทยครับ):
วัฒนธรรมไทยเมื่อเห็นผู้ใหญ่ท่านจะทำความเคารพ ด้วยการไหว้ท่านก่อนเสมอใช่หรือไม่:
ใต้ร่มธรรม เป็น แค่เว็บไซต์และจินตนาการทางจิต การทำดี สำคัญที่ใจเรา เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ พิมพ์คำว่า "เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ":
คุณพ่อคุณแม่เปรียบดั่งพระอรหันต์ในบ้าน พิมพ์คำว่า "คุณพ่อคุณแม่ฉันรักและเคารพท่านดุจพระอรหันต์":
เมื่อให้ท่านเลือก ระหว่าง (หนังสือเก่าๆเล่มหนึ่งที่เรารัก) กับ (มิตรแท้ที่รักเรา) คุณจะะเลือก:
บุคคลที่ไปหลายๆเว็บไซต์ โดยที่สวมบทบาทเป็นหลายๆคน โดยที่ไม่รู้ว่า แท้จริงใจเราต้องการอะไร เพื่อน หรือ ชัยชนะ:
กล่าวคำดังนี้  "ขอโทษนะ":
กล่าวคำดังนี้  "ขออโหสิกรรม":
ในโลกออนไลน์หรือโลกแห่งจิต ไม่มีใครทำอะไรเราได้ นอกเสียไปจาก (คนพาล) หรือ (ใจของเราเอง):
ธรรมะคือ ธรรมชาติ พิมพ์คำว่า (ธรรมะชาติ) ครับ:
สำนวนไทยที่ว่า แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน  พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ลางเนื้อชอบลางยา):
ไม่มีอะไรสายสำหรับการเริ่มต้น พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (It is never too late to mend):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: มิถุนายน 14, 2013, 10:57:03 pm »





อุปกิเลสของวิปัสสนาญาณ 10 อย่าง(สิ่งที่ต้องระมัดระวัง)

        สิ่งที่ต้องระวังการพลั้งพลาดในการเจริญวิปัสสนา  อารมณ์จิตอาจจะข้องหรือหลงใหลในอารมณ์ใดอารมณ์หนึ่ง  จนทำให้เสียผลในการกำจัดกิเลส  เช่นเดียวกับจิตข้องในนิวรณ์ทำให้เสียกำลังสมาธิ ไม่ได้ฌานเช่นกัน อารมณ์กิเลสที่คอยกีดกันอารมณ์วิปัสสนา ก็คืออารมณ์สมถะละเอียด 10 อย่าง ที่ควรระวัง ซึ่งไม่ใช่วิปัสสนาญาณแท้  เป็นเพียงญาณโลกีย์ มีอารมณ์ละเอียดคล้ายคลึงวิปัสสนาญาณ ต่อเมื่อนักปฏิบัติยกจิตเป็นพระอริยเจ้าอย่างต่ำชั้นพระโสดาบันแล้ว อาการ 10 อย่างนี้จะเปลี่ยนเป็น โลกุตตรญาณ ท่านเรียกว่า อุปกิเลสของวิปัสสนา ๑๐ อย่าง คือ

       ๑. โอภาส แปลว่า แสงสว่าง ขณะพิจารณาวิปัสสนาญาณนั้น จิตที่กำลังพิจารณาอยู่ จิตย่อมทรงอยู่ในระดับอุปจารสมาธิ สมาธิระดับนี้ เป็นสมาธิเพื่อสร้างทิพยจักษุญาณ ย่อมเกิดแสงสว่าง ขึ้น คล้ายใครเอาประทีปมาตั้งไว้ใกล้ ๆ เมื่อปรากฏแสงสว่าง จงอย่าทำความพอใจว่าเราได้มรรคผล เพราะเป็นอำนาจของอุปจารสมาธิอันเป็นผลของสมถะ ที่เป็นกำลังสนับสนุนวิปัสสนาเท่านั้น ไม่ใช่ผล ในวิปัสสนาญาณ
       ๒. ปีติ แปลว่า ความอิ่มใจ ความปลาบปลื้มเบิกบาน อาจมีขนพองสยองเกล้า น้ำตาไหล กายโยกโคลง กายลอยขึ้นบนอากาศ กายโปร่งสบาย กายเบา บางคราวคล้ายมีกายสูงใหญ่กว่าธรรมดา มีอารมณ์ไม่อิ่มไม่เบื่อในการปฏิบัติอารมณ์ สมาธิแนบแน่นดีมาก อารมณ์สงบสงัดง่าย อาการอย่างนี้ ไม่ใช่ผลของวิปัสสนา เป็นผลของสมถะ อย่าเข้าใจว่าบรรลุมรรคผล

       ๓. ปัสสัทธิ แปลว่า ความสงบระงับด้วยอำนาจฌาน มีอารมณ์สงัดเงียบ คล้าย จิตไม่มีอารมณ์อื่น มีความว่างสงัดสบาย ความรู้สึกทางอารมณ์ โลกียวิสัยดูคล้ายจะสิ้นไปเพราะความรัก ความโลภ ความโกรธ ความข้องใจในทรัพย์สินไม่ปรากฏ อาการอย่างนี้เป็นอารมณ์ของอุเบกขาใน จตุตถฌาน เป็นอาการของสมถะ ผู้เข้าถึงใหม่ๆ ส่วนมากหลงเข้าใจผิดว่าบรรลุมรรคผล เพราะความ สงัดเงียบอย่างนี้ตนไม่เคยประสบมาก่อน ต้องยับยั้งชั่งใจไว้ก่อน อย่าด่วนตัดสินใจว่าได้มรรคผล เพราะมรรคผลมีฌานเป็นเครื่องรู้มีอยู่ ถ้าญาณเป็นเครื่องรู้ยังไม่แจ้งผลเพียงใด ก็อย่าเพ่อตัดสินใจ ว่าได้บรรลุมรรคผล
       ๔. อธิโมกข์ แปลว่า อารมณ์ที่น้อมใจเชื่อโดยปราศจากเหตุผล ด้วยพอได้ฟังว่าเราได้มรรคได้ผล ยังมิได้พิจารณาให้ถ่องแท้ก็เชื่อแน่เสียแล้ว ว่าเราได้มรรคได้ผล โดยไม่ใช้ดุลพินิจเป็นเครื่องพิจารณา อาการอย่างนี้ เป็นอาการของศรัทธาตามปกติ ไม่ใช่มรรคผล ที่ตนบรรลุ

       ๕. ปัคคหะ แปลว่า มีความเพียรกล้า คนที่มีความเพียรบากบั่นไม่ท้อถอย ต่ออุปสรรค เป็นเหตุที่จะให้บรรลุมรรคผล แต่ถ้ามาเข้าใจว่าตนได้บรรลุเสียตอนที่มีความเพียร ก็เป็นการที่น่าเสียดายอย่างยิ่ง ความพากเพียรด้วยความมุมานะนี้ เป็นการหลงผิดว่าได้บรรลุ มรรคผลได้เหมือนกัน
       ๖. สุข แปลว่า ความสบายกายสบายใจ เป็นอารมณ์ของสมถะที่เข้าถึงอุปจารฌาน ระดับสูง มีความสุขทางกายและจิตอย่างประณีต ไม่เคยปรากฏมาก่อนในชีวิต อารมณ์สงัดเงียบ เอิบอิ่มผ่องใส สมาธิก็ตั้งมั่น จะเข้าสมาธิเมื่อใดก็ได้ อารมณ์อย่างนี้เป็นผลของสมถภาวนา จงอย่า หลงผิดว่าได้มรรคผลนิพพาน

       ๗. ญาณ แปลว่า ความรู้อันเกิดขึ้นด้วยอำนาจที่จิตมีสมาธิ จากผลของ สมถภาวนา เช่น ทิพยจักษุฌาน เป็นต้น สามารถเห็นนรก สวรรค์ พรหมโลกได้ และรู้อดีต อนาคต ปัจจุบันได้ตามสมควร เป็นผลของสมถะแท้ไม่ใช่ผลของวิปัสสนา เมื่อได้ เมื่อถึงแล้วอาจจะหลงผิด ว่าได้บรรลุผลนิพพาน เลยเลิกไม่ทำต่อไป พอใจในผลเพียงนั้น ก็เป็นที่น่าเสียดาย เพราะญาณที่กล่าว มาแล้วนั้นเป็นญาณในสมถะ ไม่ใช่อารมณ์วิปัสสนาญาณ ถ้าพอใจเพียงนั้นก็ยังต้องเป็นโลกียชน ต้องเวียนว่ายตายเกิดในวัฏฏะต่อไป
       ๘. อุเบกขา  แปลว่า ความวางเฉย เป็นอารมณ์ในสมถะ คือ ฌาน ๔ ถ้ามาเข้าใจว่าความวางเฉยนี้เป็นมรรคผล ก็เป็นเรื่องที่น่าเสียดายอย่างยิ่ง ความจริงก็อาจคิดไปได้ เพราะคนใหม่ยังเข้าใจอารมณ์ไม่พอ ท่านจึงบอกไว้ให้คอยระวัง

       ๙. อุปปัฏฐาน แปลว่า เข้าไปตั้งมั่น หมายถึงอารมณ์ที่เป็นสมาธิ มีอารมณ์ สงัดเยือกเย็น ดังเช่นที่ท่านเข้าฌาน ๔ มีอารมณ์สงบสงัด แม้แต่เสียงก็กำจัดตัดขาดไม่มีปรากฏ อารมณ์ใดๆ ไม่มี เป็นอารมณ์ที่แยกกันระหว่างกายกับจิตอย่างเด็ดขาด เป็นปัจจัยให้นักปฏิบัติ เข้าใจพลาดว่าบรรลุมรรคผลก็เป็นได้ ความจริงแล้วเป็นฌาน ๔ ในสมถะแท้ๆ
       ๑๐. นิกกันติ แปลว่า ความใคร่ เป็นความใคร่น้อยๆ ที่เป็นอารมณ์ละเอียด ไม่ฟูมาก ถ้าไม่กำหนดรู้อาจไม่มีความรู้สึก เพราะเป็นอารมณ์ของตัณหาสงบ ไม่ใช่ขาดเด็ด เป็นเพียงสงบ พักรบชั่วคราวด้วยอำนาจฌาน มีปฐมฌานเป็นต้น เข้าระงับ อารมณ์ตัณหาที่อ่อน ระรวยอย่างนี้ ทำให้นักปฏิบัติเผลอเข้าใจว่าบรรลุมรรคผลนิพพานมีไม่น้อย แต่พอนานหน่อย ฌานอ่อนกำลังลง พ่อกิเลสตัณหาก็กระโดดโลดเต้นตามเดิม อาการอย่างนี้ นักปฏิบัติก็ต้อง ระมัดระวัง

       วิปัสสนาญาณที่พิจารณาต้องมีสังโยชน์ ๑๐( กิเลสอันผูกใจสัตว์, ธรรมที่มัดสัตว์ไว้กับทุกข์ หรือผูกกรรมไว้กับผล) เป็นเครื่องวัด และพิจารณาไปตามแนวของ สังโยชน์เพื่อการละ ละเป็นขั้น เป็นระดับไป ค่อยละค่อยตัดไปทีละขั้น อย่าทำเพื่อรวบรัดเกินไป แล้วคอยระมัดระวังใจ อย่าให้หลงใหลในอารมณ์อุปกิเลส ๑๐ ประการ ท่านค่อยทำค่อยพิจารณา อย่างนี้ ก็มีหวังที่จะเข้าถึงความสุข ที่เป็นเอกันตบรมสุข สมความมุ่งหมาย

       อุปกิเลส ๑๐ นี้มิใช่จะเป็นโทษแก่วิปัสสนาเท่านั้น ยังสามารถทำให้เกิดวิปลาสต่างๆ จนต้องเสียผู้เสียคนไปก็ได้  เรื่องทั้งนี้เคยมีมาแล้วในอดีต หากอาจารย์ผู้สอนไม่เข้าใจ มุ่งส่งเสริมศิษย์ให้ยึดเอาเป็นของจริงแล้วก็จะทำให้ศิษย์เสียจนแก้ไม่ตก  เมื่อมีเรื่องวิปลาสเกิดขึ้นเช่นนั้น ผู้รู้เท่าและเคยผ่านมาแล้วจึงจะแก้ได้


                G+ Tung krithayavath

ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: มิถุนายน 14, 2013, 10:51:16 pm »





ใน หนังสือวิปัสสนาทีปฎีกา, อุปกิเลส ๑๐

๑.โอภาส  ได้แก่ วิปัสสโนภาส เห็นแสงสว่างมากมายเต็มไปหมด บางคนเห็นห้องที่ตนนั่งอยู่สว่างไสวไปทั้งห้อง หรือสถานที่ที่ตนบำเพ็ญวิปัสสนาอยู่สว่างไสวไปทั่วบริเวณ บางทีเห็นแสงสว่างไปจนสุดสายตา ถ้าโยคีมีมนสิการไม่ดีก็จะเข้าใจผิดคิดไปว่าตนได้สำเร็จแล้ว คือบรรลุมรรค,ผลญาณแล้ว เกิดความยินดีชอบใจเป็นหนักหนา แล้วก็เลยนึกถึงบุญบารมีของตนเองว่า ตนเป็นคนมีวาสนาบารมีสูง จึงได้ประสบพบเห็นสิ่งที่คนธรรมดาสามัญไม่อาจเห็นได้  ถ้าเรียกสั้นๆคือ ใจสว่างที่เกิดขึ้นเพราะวิปัสสนา
 
๒.ญาณ  ได้แก่ วิปัสสนาญาณ เกิดปัญญาในการบำเพ็ญวิปัสสนา กำหนดรูป,นาม ได้คล่องแคล่วว่องไวอย่างประหลาด ผิดกว่าแต่ก่อนซึ่งเคยกำหนดด้วยความยากลำบาก แม้จะอุตสาหะระมัดระวังก็ยังพลั้งเผลอบ่อยๆต้องตั้งใจอย่างเคร่งครัด แต่บัดนี้การกำหนดดูคล่องแคล่วว่องไวไปหมด ที่เคยทำไม่ได้ก็ทำได้อย่างสะดวกสบาย ระยะนี้ถ้ามนสิการไม่ดีก็จะเข้าใจผิดนึกไปเองว่า ตนคงสำเร็จแล้ว เพราะสามารถกำหนดได้สะดวกยิ่งนัก ถ้าเป็นอย่างนี้อาจารย์จะให้กัมมัฏฐานเพิ่มสักเท่าไหร่ก็ไม่กลัว อาจารย์ของตนตอนปฏิบัติจะกำหนดได้ดีเหมือนอย่างนี้หรือไม่หนอ คงไม่ได้แน่ๆ บางรายก็เกิดสงสัย อาจารย์จะให้กัมมัฏฐานผิดเสียแล้ว เพราะดูง่ายเกินไป ถ้าตนได้เป็นอาจารย์เมื่อไร จะต้องคิดตั้งบทกัมมัฏฐานให้แนบเนียนกว่านี้ เพราะอย่างนี้ใช้ไม่ได้ ง่ายเกินไป มีการดูถูกอาจารย์อย่างรุนแรง เพราะเกิดปัญญามากมายเสียเหลือเกิน  เรียกสั้นๆคือ ปัญญาที่เกิดขึ้นเพราะวิปัสสนา
 
๓.ปีติ  ได้แก่ วิปัสสนาปีติ  รู้สึกเยือกเย็นขึ้นมาอย่างบอกไม่ถูก บางทีเกิดซาบซ่าไปทั้งตัว บางทีทำให้ตัวเบาลอยก็ได้ คือเกิดความรู้สึกตัวลอยขึ้นคืบหนึ่งบ้าง บางทีลอยไปไกลๆก็มี
ปีติมี ๕ ประการ คือ
๑. ขุททกาปีติ
๒. ขณิกาปีติ
๓. โอกกันติกาปีติ
๔. อุพเภงคาปีติ
๕. ผรณาปีติ
 
ปีติทั้ง ๕ ประการนี้ย่อมเกิดขึ้นแก่ผู้ปฏิบัติอย่างแน่นอน ถ้าโยคีมนสิการไม่ดีก็ทำให้สำคัญผิด เช่นเดียวกับวิปัสสนูปกิเลสข้อต้นๆเพราะเป็นปีติที่ไม่เคยพบพานมาก่อนเลยในชีวิต  เรียกสั้นๆคือ ความอิ่มใจที่เกิดขึ้นเพราะเจริญวิปัสสนา
 
๔.ปัสสัทธิ ได้แก่ วิปัสสนาปัสสัทธิ  เกิดความสงบทั้งกายและใจ รู้สึกเย็นไปทั้งร่าง ตัวเบา ไม่หนัก ไม่แข็งกระด้าง อ่อนสลวย ทุกขเวทนาไม่มีเลย แม้ใจก็เช่นเดียวกัน เป็นจิตสงบ จิตเบา จิตอ่อน และจิตตรง เป็นความสงบอย่างยิ่ง เสวยความยินดีอย่างที่มนุษย์ธรรมดาสามัญไม่เคยพบ มีสาธกพยานว่า
 
สูญฺญาคารํ ปวิฏฺฐสฺส สนฺตจิตฺตสฺส ภิกฺขุโน อมานุสี รตี โหติ สมฺมา ธมฺมํ วิปสฺสโต ยโต สมฺมสติ ขนฺธานํ อุทยพฺพยํ ลภเต ปีติปามุชฺชํ
อมตํ ตํ วิชานตํ.

ภิกษุผู้เข้าไปอยู่เรือนว่าง เห็นแจ้งธรรมด้วยดี ย่อมประสบความยินดีที่มนุษย์ธรรมดาสามัญไม่อาจพบได้ ขณะที่ถึงอุทยัพพยญาณย่อมพบความปีติปราโมทย์ ฉะนั้นเป็นอมฤตสำหรับผู้ใดได้เห็นแจ้งอยู่ เรียกสั้นๆ คือ ความสงบทั้งร่างกายและจิตใจอันเกิดขึ้นเพราะวิปัสสนา
 
๕.สุข  ได้แก่ วิปัสสนาสุข คือ สุขที่เกิดขึ้นในวิปัสสนา สุขชนิดนี้เป็นสุขที่ละเอียดประณีตเป็นอย่างยิ่ง ซึมซาบไปตลอดทั่วร่างกายอย่างที่ไม่เคยพบเคยเห็นมาก่อน เป็นสุขท่วมท้นหัวใจ ไม่สามารถที่จะบรรยายให้ถูกต้องได้ เพราะเป็นสุขที่มีรสล้ำลึกแปลกประหลาด เป็นสุขที่ประเสริฐกว่าความสุขธรรมดาที่มนุษย์พบเห็น สรุปว่า บรรดาความสุขทั้งหลายแล้ว อะไรจะมาสุขเท่าวิปัสสนาสุขไม่มี ฉะนั้น ถ้ามนาสิการไม่ดีก็จะทำให้โยคีเข้าใจผิดดังกล่าวมาแล้ว เรียกสั้นๆ คือ สุขอันละเอียดสุขุม มีรสล้ำลึก ซาบซ่าน อันเกิดขึ้นเพราะวิปัสสนา
 
๖. อธิโมกข ได้แก่ ศรัทธา คือเกิดศรัทธาขึ้นมามากมาย เป็นศรัทธาที่มีกำลังมาก เพราะจิตและเจตสิกผ่องใสเป็นอย่างยิ่งด้วยอำนาจศรัทธากล้า พาให้นึกคิดไปใหญ่โต เช่น คิดถึงคนทั้งหลายอยากให้เขาได้เข้ากัมมัฏฐานอย่างตนบ้าง  เป็นต้นคนที่รักใคร่ชอบ บิดา มารดา อุปัชฌาอาจารย์ อันศรัทธาชนิดนี้มีความรุนแรงมาก ขนาดที่ว่าแม้ท่านผู้มีพระคุณเหล่านั้นได้ตายไปแล้ว ตนก็แทบจะไปขนกระดูกท่านเหล่านั้นมาปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐานเหมือนตนบ้างทีเดียว เมื่อนึกใกล้เข้ามาถึงอาจารย์ผู้ให้กัมมัฏฐานแก่ตนในปัจจุบัน ก็เกิดว่าตนได้พบเห็นธรรมะได้รับความสุขอยู่ในขณะนี้ ก็เพราะได้อาจารย์ช่วยแนะนำสั่งสอนตามแนวทางพระพุทธศาสนา ซึ่งแต่ก่อนนี้เคยเชื่อบ้าง ไม่เชื่อบ้าง แต่บัดนี้เชื่อจริงๆ ถ้าทำกุศลใดๆในภายหน้า ก็จะทำเฉพาะกุศลที่เกี่ยวกับวิปัสสนานี้ เพราะได้เห็นคุณค่าของการปฏิบัติ ถ้าโยคีผู้นั้นเป็นบรรพชิตก็เกิดคิดวางแผนการณ์สร้างมโนภาพว่า เมื่อตนสำเร็จออกจากกัมมัฏฐานไป จะต้องไปหาที่ที่เหมาะตั้งสำนักวิปัสสนากัมมัฏฐานขึ้น แล้วตั้งตัวเองเป็นอาจารย์สั่งสอนให้คนทั้งหลายได้รู้จักพระศาสนาที่ถูกต้อง ว่าประโยชน์ที่แท้จริงคือการวิปัสสนานี้เอง คนทั้งหลายยังโง่มากที่ไม่รู้จักปฏิบัติอย่างที่ตนกำลังทำอยู่นี้ เป็นที่น่าสงสาร ฉะนั้น จะต้องช่วยเขาไม่ให้หลงผิด จะได้พ้นทุกข์ เมื่อคิดเพลิดเพลินไปด้วยศรัทธาอันแรงกล้า โยคีนั้นก็เลยลืมมูลกัมมัฏฐานคือ การตั้งสติกำหนด ทำให้กัมมัฏฐานรั่ว คือบกพร่อง  อันที่จริงความศรัทธะที่จะเกิดขึ้นนี้เป็นของดีเพราะเป็นศรัทธาที่เกิดขึ้นในขณะที่จิตบริสุทธิ์ผุดผ่อง ซึ่งคนธรรมดาจะเกิดศรัทธาขนาดนี้ไม่ได้  แต่ที่จะเป็นวิปัสสนูปกิเลสก็เพราะว่า  เมื่อจิตเพลิดเพลินไปด้วยศรัทธา ก็ทำให้ละเลยมูลกัมมัฏฐาน คือการตั้งสติกำหนด ทำให้เสียเวลาในการปฏิบัติวิปัสสนา และเมื่อมนสิการไม่ดี มีตัณหา,มานะ,ทิฏฐิเข้ามาประสมด้วย ก็จะทำให้การบำเพ็ญซัดส่ายยิ่งขึ้น ไม่ก้าวหน้าไปเท่าที่ควร เรียกสั้นๆคือ ศรัทธาอันมีกำลังแก่กล้า ซึ่งเกิดขึ้นเพราะวิปัสสนา
 
๗.ปัคคหะ ได้แก่ วิริยะ เกิดขยันขึ้นอย่างผิดปกติ พยายามในการปฏิบัติวิปัสสนาอย่างไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย แต่ก่อนแม้อาจารย์จะคอยตักเตือนให้พยายามทำความเพียร ก็รู้สึกว่ายาก เหน็ดเหนื่อย อ่อนเพลีย จนเกือบจะตายอยู่แล้ว ซึ่งไม่มีใครอีกแล้วในโลกนี้จะเหมือนกับตน อาจารย์ก็คอยจู้จี้เคี่ยงเข็ญตลอดเวลา แต่บัดนี้ ความคิดเช่นนี้หายไปสิ้น เกิดความขยันขึ้นเป็นพิเศษ จนทำให้ตัวเองแปลกใจว่า เหตุใดตนจึงได้มีวิริยะมาก ไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อยในการปฏิบัติเช่นนี้ และเมื่อมนสิการไม่ดี ก็จะเข้าใจตนเองผิดไปว่า ได้มรรค,ผล,นิพพานแล้ว จึงเป็นวิปัสสนูปกิเลส  เรียกสั้นๆคือ วิริยะ คือความเพียรอย่างแรงกล้า อันเกิดขึ้นเพราะอำนาจวิปัสสนา
 
๘.อุปัฏฐาน ได้แก่ สติ เกิดมีสติดีขึ้นอย่างน่าอัศจรรย์ ทำให้การกำหนดได้หมดทุกสิ่งทุกอย่าง สิ่งที่เคยกำหนดได้ยากหรือต้องขืนใจกำหนด มาบัดนี้กำหนดได้อย่างคล่องแคล่ว จนตัวเองแปลกใจว่า สติช่างดีพร้อมไปเสียทุกอย่าง ทุกขณะทุกอริยบถกำหนดได้ทั้งนั้น เพราะสติตั้งมั่นไม่โยก ไม่คลอน ไม่หวั่นไหว ไม่เผลอ ซึ่งแต่ก่อนมาไม่เคยเป็นอย่างนี้เลย ถ้ามนสิการไม่ดี ก็จะเกิดสงสัยตนผิดไปว่า ทำไมตนมีสติดีขึ้นมาอย่างที่ไม่เคยเป็นมาแต่ก่อน หรืออาจจะพบธรรมวิเศษแล้วก็ได้ เรียกสั้นๆคือ สติอันยอดยิ่ง ว่องไว ซึ่งเกิดขึ้นเพราะอำนาจวิปัสสนา
 
๙.อุเปกขา ได้แก่ วิปัสสนูเปกขา  เกิดความวางเฉยในสังขารอารมณ์ทั้งปวง ไม่ยินดียินร้ายต่อทุกสิ่งเหมือนคนไม่มีกิเลส ไม่สะดุ้งสะเทือนต่ออารมณ์ทุกชนิด เป็นอุเปกขาที่มีกำลังแรงกล้า แม้จะมีอารมณ์ใดมากระทบก็ไม่หวั่นไหว วางเฉยเสียได้ทุกประการ จนตนเองก็แปลกใจในภาวะที่เปลี่ยนแปรไปเช่นนี้เป็นยิ่งนัก ถ้ามนสิการไม่ดี ก็ทำให้เข้าใจผิดคิดว่าตนเป็นพระอรหันต์แล้ว เพราะวางเฉยได้ ไม่ยินดียินร้ายอะไรเลย ความหมดกิเลสได้มรรค,ผล,นิพพานเป็นอย่างนี้เองหนอ นี้เนื่องจากมี ทิฏฐิเข้ามาแทรก และยังคิดต่อไปอีกว่า ตนมีบุญวาสนามาก ปฏิบัติไม่นานเท่าใดก็ได้มรรค,ผลง่ายๆ ไม่มีใครจะเหมือนตน นี้เนื่องจากว่า มานะเข้ามาแทรก และยังคิดต่อไปอีกว่าตนสบายแล้ว ไม่ต้องยินดียินร้ายอะไรทั้งหมดอีกต่อไป ถึงออกจากกัมมัฏฐานแล้ว ก็จะอยู่ในโลกนี้อย่างสงบไม่ต้องรัก ไม่ต้องชัง ไม่ต้องดีใจ เสียใจให้วุ่นวาย เหมือนคนทั้งหลายที่กำลังเป็นกันอยู่ นี้เรียกว่า ตัณหาเข้าแทรก
 
    รวมความว่า อุเปกขานี้แท้จริงเป็นของดี แต่ถ้ามนสิการไม่ดี มีตัณหา,มานะ,ทิฏฐิเข้ามาแทรก ก็จะกลายเป็นวิปัสสนูปกิเลสไปเลย   เรียกสั้นๆคือ มีความวางเฉยในสังขารและอารมณ์ทั้งปวง ซึ่งเกิดขึ้นด้วยอำนาจวิปัสสนา
 
๑๐.นิกันติ ได้แก่ วิปัสสนานิกันติ คือ ความใคร่ ความต้องการ ยินดี ติดใจ ชอบใจในคุณพิเศษทั้ง ๙ ประการ คือ ตั้งแต่ โอภาส จนถึง อุเปกขา ความสำคัญของวิปัสสนูปกิเลส ข้อนี้ จะได้อธิบายในบทหน้า  เรียกสั้นๆคือ ความพอใจ ความต้องการ ความยินดี ความติดใจ ความชอบใจ ในคุณวิเศษทั้ง ๙ ประการและอารมณ์ทั้งปวงที่เกิดขึ้นด้วยอำนาจ วิปัสสนา
 
       วิปัสสนูปกิเลสทั้ง ๑๐ ประการนี้ ย่อมเกิดขึ้นได้แก่โยคีผู้ปฏิบัติทุกคน เมื่อบรรลุถึง อุทยัพพยญาณอย่างอ่อน ฉะนั้น พอถึงระยะนี้ วิปัสสนาจารย์พึงคอยตักเตือนให้สติ อย่าให้โยคีหลงผิดอยู่ในวิปัสสนูปกิเลสเป็นอันขาด ควรดุก็ต้องดุ ควรว่าก็ต้องว่า อย่าได้เกรงใจเลย ต้องมุ่งประโยชน์เบื้องหน้าของโยคีเป็นสำคัญ


       มีข้อที่ควรทราบอีกอย่างหนึ่งคือ วิปัสสนูปกิเลสบางข้อ มีสภาวะคล้ายๆกับ โคตรภูญาณ,มรรคญาณ,ผลญาณ ความคล้ายๆกันเป็นเหตุทำให้เข้าใจผิด จะได้กล่าวถึงในข้างหน้าเมื่อถึงสภาวะจริงๆของญาณนั้นๆ มิใช่แต่โยคีจะเข้าใจผิด แม้แต่อาจารย์เองก็อาจเข้าใจผิดไปด้วย คือ เมื่อโยคีเล่าให้ฟังถึงสภาวะที่เกิดขึ้นกับตน ซึ่งคล้ายสภาวะของ โคตรภูญาณ,มรรคญาณ,ผลญาณเป็นอย่างยิ่ง อาจารย์มิได้พิจรณาให้ดี ไม่รอบคอบ ยินดีว่า ศิษย์ของตนได้บรรลุถึงผลสูงสุดของการปฏิบัติแล้ว จึงตัดสินใจให้โยคีบุคคลนั้นเลิกปฏิบัติ โดยไม่คำนึงถึงว่าระยะที่แล้วลูกศิษย์ของตนได้ผ่านญาณอะไรมาบ้างแล้ว และจะต้องผ่านญาณใดอีกต่อไปอีก ไม่ได้สอบสวนผลลำดับญาณให้ถูกต้อง ด่วนตัดสินง่ายๆเช่นนี้เป็นอันตรายแก่โยคีผู้ปฏิบัติเป็นอย่างยิ่ง เพราะเป็นการดับมรรคดับผลโดยตรงทีเดียว ฉะนั้น  วิปัสสนาจารย์พึงระวังวิปัสสนูปกิเลสนี้ให้มาก เพราะเคยทำให้ทั้งศิษย์ทั้งอาจารย์พากันกอดคอตกลงไปในห้วงเหวแห่งความเข้าใจผิดมามากต่อมากแล้ว รวมความว่า ญาณที่ ๔ คือ อุทยัพพยญาณนี้ มี วิปัสสนูปกิเลสเกิดขึ้นอย่างแปลกประหลาดมหัศจรรย์ โยคีมากคนก็พูดมากอย่างตามอาการต่างๆของวิปัสสนูปกิเลสนั้น แต่ข้อสำคัญต้องให้ได้ลักษณะ คือ รูป,นามเกิดดับเร็วๆก็เป็นอันใช่ อุทยัพพยญาณ อย่างแน่นอน




จากหนังสือ วิปัสสนาทีปนีฏีกา
รจนาโดย หลวงพ่อภัททันตระ อาสภมหาเถระ อัคคหกัมมัฏฐาน ธัมมาจริยะ
 
วิธีแก้การติดในอุปกิเลสและกิเลสทั้งปวง มีแต่การ เจริญสติ เท่านั้น
ที่จะทำให้เข้าใจและเข้าถึง ตลอดจนรู้ในสภาวะต่างๆที่เกิดขึ้น


by walailoo/ Walailoo's Blog
:http://walailoo2010.wordpress.com/category/อุปกิเลส-๑๐/

ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: มิถุนายน 14, 2013, 08:54:47 pm »



ใน หนังสือ, อุปกิเลส ๑๐

ตโต ปรํ ปน ตถา ปริคฺคหิเตสุ สปจฺจเยสุ เตภูมิกสงฺขาเรสุ อตีตาทิเภทภนฺเนสุ ขนฺธาทินยมารพฺภ กลาปวเสน สงฺขิปิตฺวา อนิจฺจํ ขยฏฺเฐนาติ ทุกฺขํ ภยฏฺเฐน อนตฺตา อสารกฏฺเฐนาติ อทฺธานวเสน ขณวเสน วา สมฺมสนญาเณน ลกฺขณตฺตยํ สมฺมสนฺตสฺส เตเสวว ปจฺจยวเสน ขณเวเสน จ อุทยพฺพยญาเณน อุทยพฺพยํ สมนุปฺปสุสนฺตสฺส จ
                     โอภาโส ปีติ ปสฺสทฺธิ อธิโมกฺโข จ ปคฺคโห
                      สุขํ ญาณมุปฏฐาน-  มุเปกฺขา จ นิกนฺติ เจติ.
    โอภาสาทิวิปสฺสนูปกิเลสปริปนฺถปริคฺคหวเสน มคฺคลกฺขณววตฺถานํ มคิคามคฺคญาณทสฺสนวิสุทธิ นาม.
           
มัคคามัคคญาณวิสุทธิ  ได้แก่ การกำหนดลักษณะของมัคคปฏิปทา
ด้วยสามารถกำหนดรู้อันตรายคือ วิปัสสนุปกิเลส ๑๐ มีโอภาสเป็นต้นคือ
 
๑.โอภาส      ได้แก่     แสงสว่าง
๒.ปีติ           ได้แก่     ความอิ่มเอิบ
๓.ปัสสัทธิ     ได้แก่     อาการสงบเงียบ
๔.อธิโมก      ได้แก่    น้อมใจเชื่อ
๕.ปัคคหะ     ได้แก่     ความพยายาม
๖.สุข           ได้แก่    ความสบาย
๗.ญาณ       ได้แก่     ปัญญา
๘.อุปัฏฐาน   ได้แก่     สติ
๙.อุเปกขา    ได้แก่     อาการวางเฉย
๑๐.นิกันติ      ได้แก่    ความใคร่


 
                         วิปัสสนูปกิเลสทั้ง ๑๐ นี้ ย่อมเกิดขึ้นแก่โยคาวจรบุคคลผู้ปรารภนัยวิปัสสนาภูมิมีขันธ์ ๕ เป็นต้น ในสังขารอันเป็นไปในภูมิ ๓  อันแตกต่างด้วยขันธ์ที่เป็นอดีตเป็นต้น พร้อมทั้งปัจจัยอันตนได้กำหนดรู้แล้วตามเป็นจริงต่อจากกังขาวิตรณวิสุทธินั้น แล้วประมวลพิจรณาด้วยสามารถกลาป ( กลาปสัมมสนะคือพิจรณาแต่ละขันธ์โดยไม่แยกกาล ) ด้วยสามารถอัทธานคือกาลไกลก็ได้ ( อัทธานสัมมสนะคือพิจรณาแต่ละขันธ์แยกตามกาลไกลคืออดีตภพ ปัจจุบันภพ  อนาคตภพ ) ด้วยสามารถสันตติ คือความสืบต่อของรูป,นาม ก็ได้ ( สันตติสัมมสนะ คือพิจรณาแต่ละขันธ์ที่ต่อเนื่องกันในภพเดียวกัน เช่นความเย็นตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงที่สุด หรือความทุกข์ใจตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงที่สุด เป็นต้น ) ด้วยสามารถขณะคือ อุปปาทะ ฐีติ ภังคะ ก็ได้ ( ขณสัมมสนะ คือพิจรณาแต่ละขันธ์ด้วยขณะทั้ง ๓ คือขณะกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ) จนเห็นพระไตรลักษณ์คืออนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ดังนี้ ชื่อว่า อนิจจะ เพราะอรรถว่าสิ้นไป ชื่อว่า ทุกขะ  เพราะอรรถว่าน่ากลัว ชื่อว่า อนัตตะ เพราะอรรถว่าไม่มีสาระแก่นสาร ด้วยสัมมสนญาณ แล้วพิจรณาเห็นความเกิดดับของรูป,นามเหล่านั้น ด้วยสามารถปัจจัย ๑ ขณะ ๑ ด้วย อุทยัพพยญาณ

                          การเห็นนิมิตต่างๆ เช่นเห็นรัศมีสว่างเป้นต้น ถ้ายึดถือเอาว่าเป็นของวิเศษ เป็นของดี เป็นวิปัสสนาแท้ นั้นเป็น อมัคคะ คือหลงทางเสียแล้ว แต่ผู้ที่มีความรู้ปริยัติสามารถนึกได้ว่านิมิตเหล่านั้นไม่ใช่หนทางแท้จริง ทางวิปัสสนานี้ได้แก่ความรู้เกิดดับของรูป,นามโดยอุทยัพพยญาณเท่านั้น เมื่อโยคาวจรรู้มัคคะ,อมัคคะ แสดงว่าบรรลุถึง มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ

                         ในปัจจุบัน ผู้ที่เข้ามาปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐานนั้น ได้เห็นนิมิตกันมาก ควรได้พิจรณาว่า มัคคะ หรือ อมัคคะ การเห็นนิมิตต่างๆ เช่น แสงสว่าง รัศมี พระพุทธรูปหรือเทวดาเป็นต้นนั้น หาใช่ทางของวิปัสสนาไม่ เพราะนิมิตเหล่านั้นยังเป็นอารมณ์บัญญัตินั่นเอง โยคาวจรบุคคลได้บำเพ็ญวิปัสสนาภาวนาจนกระทั่งนิมิตเหล่านั้นปรากฏแล้ว ถ้าไปเกิดความยินดีพอใจในนิมิตเหล่านั้นเสีย ชื่อว่าเป็นผู้หลงทางหรืออกนอกทางวิปัสสนาที่ตนเองกำลังทำอยู่ แต่ถ้าโยคาวจรบุคคลสามารถรู้ได้ด้วยตนเองก็ดี หรือได้กัลยาณมิตรเช่นอาจารย์คอยแนะนำให้รู้ว่า นิมิตที่ปรากฏแก่ตนนั้นไม่ใช่หนทางของวิปัสสนา ควรตั้งใจกำหนดให้รู้ความเกิดดับของรูป,นาม ต่อไป จนปรีชารู้แจ้งชัดในวิปัสสนูปกิเลส ๑๐ มีโอภาสเป็นต้น เรียกว่า บรรลุถึงมัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิดังนี้


จากหนังสือ วิปัสสนาทีปฎีกา
รจนาโดย ดร.ภัททันตะ อาสภมหาเถระ อัคคมหกัมมัฏฐาน ธัมมาจริยะ