ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
คนที่มีจิตใจอ่อนโยนส่วนใหญ่มัก คิดถึงสิ่งใดก่อนเสมอ  ( เลือกตอบแค่ ตัวเอง กับ คนอื่น ครับผม ):
คุณเชื่อในศรัทธาของความดีไหมครับ ( เลือกตอบแค่ เชื่อ กับ ไม่เชื่อ ครับผม):
คิดว่าความดีทำยากไหม( เลือกตอบแค่ ยาก กับ ไม่ยาก ครับผม):
ถ้าเราโกรธใคร ธรรมะจะเป็นหนทางผ่อนคลายความโกรธนั้นลงได้ใช่ไหม ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม ):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ใต้ร่มธรรม:
การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ นิยมใช้คำว่า (อนุโมทนา) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ อนุโมทนา:
เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใครทำบุญแล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วยกมือขึ้น (สาธุ) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ  สาธุ:
ท่านจะปฏิบัติตามกฏระเบียบข้อตกลงของเว็บใต้ร่มธรรมทุกประการหรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
วัฒนธรรมไทยเมื่อเห็นผู้ใหญ่ท่านจะทำความเคารพ ด้วยการไหว้ท่านก่อนเสมอใช่หรือไม่:
คุณพ่อคุณแม่เปรียบดั่งพระอรหันต์ในบ้าน พิมพ์คำว่า "คุณพ่อคุณแม่ฉันรักและเคารพท่านดุจพระอรหันต์":
กล่าวคำดังนี้  "ขอโทษนะ":
ระหว่าง (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะผู้อื่น) กับ (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะตัวเอง)  ท่านจะเลือกเป็น:
กล่าวคำดังนี้  "ให้อภัยนะ":
กล่าวคำดังนี้  "ขออโหสิกรรม":
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
ในโลกออนไลน์หรือโลกแห่งจิต ไม่มีใครทำอะไรเราได้ นอกเสียไปจาก (คนพาล) หรือ (ใจของเราเอง):
ธรรมะคือ ธรรมชาติ พิมพ์คำว่า (ธรรมะชาติ) ครับ:
พิมพ์คำว่า (แสงธรรมนำทางธรรมะนำใจ) ครับ:
รู้สึกระอายใจไหมที่เราทำร้ายคนอื่นด้วยวาจาหรือสำนวนที่ไม่สุภาพ โดยที่คนคนนั้นเค้าเคยเป็นผู้มีพระคุณต่อเรามา (ไม่ละอายใจ)หรือ(ละอายใจ):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: sithiphong
« เมื่อ: มิถุนายน 16, 2013, 02:07:03 pm »

กรมพระนครสวรรค์วรพินิต กับข่าวลือว่าทรงเป็นเจ้านายที่ร่ำรวย
-http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1371292024&grpid=01&catid=&subcatid=-



ศิลปวัฒนธรรม  :  ศันสนีย์ วีระศิลป์ชัย

 

 

"---เพราะผู้ที่เกลียดชังได้พากันเสแสร้งส่งข่าวลือว่าฉันมีเงินมากมายเกินความจริงไปตั้งหลายร้อยเท่า จนผู้ที่ไม่รู้ความจริงหรือไม่มีวิจารณญาณหลงเชื่อกันไปได้---"

 

เป็นข้อความที่สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต ทรงปรารภถึงข่าวลือที่ว่าทรงเป็นเจ้านายที่ร่ำรวย ซึ่งคณะราษฎรถือเป็นข้ออ้างข้อหนึ่งที่ว่าเจ้าเอาเปรียบสามัญชนจนร่ำรวย เพื่อเป็นสาเหตุหนึ่งของการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. ๒๔๗๕

 

ความร่ำรวยของเจ้านายเป็นเรื่องที่คนภายนอกให้ความสนใจใคร่รู้ เพราะแตกต่างอย่างชัดเจนกับคนธรรมดาทั่วไปซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ของบ้านเมือง นับแต่มีวังที่ประทับใหญ่โตสวยงาม มีเครื่องอำนวยความสะดวกที่ทันสมัยราคาแพง มีผู้คนคอยรับใช้ ไม่ต้องทำงานบ้าน แต่งตัวด้วยเสื้อผ้าอาภรณ์สวยงาม เครื่องประดับมีค่า อาหารการกินอุดมสมบูรณ์ แต่คนไทยสมัยโบราณมีความเชื่อว่า ความแตกต่างกันของมนุษย์เกิดจากบุญทำกรรมแต่ง ผู้ที่ทำบุญมาดีในอดีตชาติก็จะเกิดมามีบุญวาสนาสุขสบายในชาตินี้

 

แต่จากหลักฐานที่ปรากฏในประวัติศาสตร์ทุกยุคทุกสมัย ผู้ที่จะเป็นใหญ่ถึงขั้นเป็นเจ้าแผ่นดินได้ จะต้องมีคุณสมบัติพิเศษแตกต่างจากคนทั่วไปหลายประการ เช่น ความกล้าหาญ สติปัญญาเฉลียวฉลาด มีภาวะการเป็นผู้นำสูง และความเสียสละเห็นแก่ประโยชน์สุขของส่วนรวมมากกว่าส่วนตัว คุณสมบัติเหล่านี้เองที่ทำให้บุคคลนั้นสามารถที่จะนำผู้คนฟันฝ่าอุปสรรคและอันตรายอันเกิดจากศัตรูและภัยต่างๆ จนได้รับความยกย่องนับถือเหนือผู้อื่น พัฒนาจากความเป็นผู้นำมาเป็นเจ้าแผ่นดินในที่สุด แต่ในประวัติศาสตร์ทุกยุคทุกสมัยก็ยังบอกไว้ว่าลูกหลานของเจ้าแผ่นดินในสมัยหนึ่งอาจไม่มีคุณสมบัติดังเช่นบรรพบุรุษ ลูกหลานนั้นก็ไม่อาจรักษาความเป็นเจ้าแผ่นดินได้ ต้องเสียแผ่นดินให้แก่ผู้ที่มีคุณสมบัติเหนือกว่า

 

 

ในปัจจุบันภาวะความเป็นเจ้าเปลี่ยนแปลงไป เจ้าส่วนใหญ่อยู่ในภาวะตกต่ำโดยเฉพาะเจ้ารุ่นลูกรุ่นหลาน ภาวะการเป็นเจ้าตกต่ำส่วนหนึ่งมาจากฐานะทางการเงินซึ่งเป็นเครื่องช่วยค้ำจุนบารมี การที่ฐานะทางการเงินของเจ้าตกต่ำมีหลายสาเหตุ แต่สาเหตุสำคัญประการหนึ่งคือการยึดถือธรรมเนียมประเพณีของราชตระกูลอย่างเคร่งครัด ว่าเกิดเป็นเจ้านายต้องทำราชการช่วยบ้านเมือง รายได้หลักคือการรับเงินพระราชทานซึ่งมีทั้งเงินเดือนและเงินปี และมีกรอบประเพณีเรื่องเสื่อมเสียพระเกียรติยศบังคับไว้ ทำให้เจ้านายส่วนใหญ่มีหน้าที่ปฏิบัติราชการเพื่อความเจริญรุ่งเรืองและมั่นคงของบ้านเมือง และด้วยเหตุที่มีกรอบการเสื่อมเสียพระเกียรติยศ เจ้านายจึงต้องปฏิบัติพระองค์อย่างสะอาดบริสุทธิ์โดยเฉพาะเรื่องการโกงกิน เจ้านายถือเป็นเรื่องสกปรกหยาบช้า คงดำเนินชีวิตตามหลักขัตติยมานะซึ่งสืบมาจากบรรพบุรุษ เช่น แต่ละวังจะรับเลี้ยงคนไว้เป็นจำนวนมาก ประทานความช่วยเหลือผู้อยู่ในพระอุปถัมภ์และผู้น้อยซึ่งถือเป็นการเพิ่มพูนพระบารมีและพระเกียรติยศทางหนึ่ง แต่การรักษาพระเกียรติยศและการเพิ่มพูนพระบารมีนั้นจะต้องมีทั้งทรัพย์และชาติตระกูล จะขาดสิ่งหนึ่งสิ่งใดไม่ได้ ดังที่หม่อมเจ้าอากาศดำเกิงทรงกล่าวไว้ว่า

 

 "---สมาชิกของสมาคมชั้นสูงจักต้องมีทั้งทรัพย์และมีทั้งเชื้อตระกูลสูง

 

 จะขาดสิ่งหนึ่งสิ่งใดในสองสิ่งนี้ไม่ได้---"

 

 

แต่เพราะทรงระวังเรื่องการเสื่อมเสียพระเกียรติยศ จึงไม่ทรงสามารถประกอบอาชีพอื่นเพื่อหารายได้ด้วยพระองค์เอง ต้องมีผู้ทำแทน การหารายได้ส่วนใหญ่นิยมใช้ทรัพย์ที่ได้รับพระราชทานมาแต่เดิมมาหาผลประโยชน์เพิ่มเติม เช่น ให้ที่ดินเช่าทำนา ออกเงินให้กู้เก็บดอกเบี้ย บางพระองค์ลงทุนสร้างโรงสี ตึกแถวให้เช่า ผู้ที่หาผลประโยชน์ด้วยวิธีดังกล่าวส่วนใหญ่เป็นพระราชวงศ์ฝ่ายใน เจ้านายฝ่ายหน้าส่วนใหญ่ไม่ใคร่มีเวลา เพราะจะต้องทรงมุ่งมั่นกับการปฏิบัติราชการ ซึ่งราชการทั้งหมดเป็นไปตามพระบรมราโชบาย พระราชประสงค์ และพระราชอัธยาศัย ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เจ้านายแต่ละพระองค์มิอาจทรงกำหนดได้เองตามพระทัย

 

 

ในส่วนเจ้านายเองก็มีพระสำนึกตลอดเวลาว่าการปฏิบัติราชการของพระองค์เป็นหน้าที่ ผลที่ทรงได้รับตอบแทนจากพระปรีชาสามารถคือการได้เฉลิมพระอิสริยยศตามลำดับ ซึ่งเป็นเครื่องบำรุงฐานะทั้งทางสังคม เศรษฐกิจ และการเมือง เจ้านายพระองค์ใดได้ทรงเลื่อนกรมหรือได้เฉลิมพระยศ แม้จะได้รับพระราชทานเงินทั้งรายเดือนและรายปีเพิ่มขึ้น แต่รายจ่ายอันเนื่องมาจากการต้องรักษาพระเกียรติยศย่อมจะต้องเพิ่มขึ้นเป็นเงาตามตัว ทำให้เจ้านายฝ่ายหน้าบางพระองค์มีพระดำริลงทุนในธุรกิจด้วยพระองค์เอง เพื่อหารายได้เพิ่มเติม แต่ส่วนใหญ่มักประสบกับความล้มเหลว อันเนื่องมาแต่ทรงขาดทั้งความรู้และประสบการณ์ ไม่เข้าใจวิธีการลงทุน ไม่มีความชำนาญในกิจการที่ทำ ไว้ใจให้ผู้อื่นดูแลหรือทำแทน ทำให้เกิดการรั่วไหล ในส่วนการออกเงินให้กู้หรือให้เช่า หากได้คนไม่ดีเป็นผู้ทำแทนพระองค์ ก็มักไม่ได้ผลเต็มเม็ดเต็มหน่วย

 

 

กรมพระนครสวรรค์ฯ เป็นเจ้านายอีกพระองค์หนึ่งที่มีพระบารมีมากล้น เพราะมีพระปรีชาสามารถเป็นที่ไว้วางพระราชหฤทัยในพระเจ้าแผ่นดินทั้ง ๓ รัชสมัย คือ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงรับราชการสนองพระเดชพระคุณในหน่วยงานสำคัญหลายหน่วยงาน ทำให้ทรงรอบรู้สามารถแก้ไขปัญหาต่างๆ ได้เป็นผลสำเร็จ จนเป็นที่นับถือในพระปรีชาสามารถ เลื่อมใสศรัทธาในพระจริยวัตร ยิ่งในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว กรมพระนครสวรรค์ฯ ทรงเป็นเสมือนเสาหลักของการบริหารบ้านเมือง ทรงได้รับความไว้วางพระทัยให้บริหารงานหน่วยงานสำคัญๆ เช่น กระทรวงกลาโหม กระทรวงมหาดไทย

 

 

และยังทรงเป็นประธานสภาอภิรัฐมนตรี เป็นผู้แทนพระองค์ในการสั่งราชการงานแผ่นดิน เป็นผู้สำเร็จราชการรักษาพระนคร ครั้งเสด็จพระราชดำเนินเพื่อรักษาพระเนตร ณ ประเทศสหรัฐอเมริกา และยังมีงานด้านพลเรือนที่ต้องทรงรับผิดชอบ เช่น ทรงเป็นอุปนายกสภากาชาด งานในหน้าที่ทั้งทางทหารพลเรือนมากมาย จนทรงไม่มีเวลาแม้แต่จะทรงคิดทำงานส่วนพระองค์ หรือแม้แต่จะทรงเอาพระทัยใส่ในพระพลานามัย ดังที่หม่อมเจ้าหญิงพูนพิศมัยทรงเล่าไว้ว่า

 

“---ในตอนหลังนี้เกือบไม่มีเวลาจะได้ทรงพักผ่อนเลย เพราะนอกจากทรงเป็นเสนาบดีมหาดไทย ซึ่งต้องมีงานหนักประจำอยู่เสมอแล้ว ยังทรงละทิ้งทางสภานายกของกาชาดสยามไม่ได้ ทั้งต้องประทับเป็นประธานในที่ประชุมแทบทุกชนิด---การเจ็บการตายของใครๆ ก็ต้องทรงดูแลเอื้อเฟื้อ---”

 

 

และในตำแหน่งประธานสภาอภิรัฐมนตรีนี้เองที่ทำให้ต้องทรงเข้าไปเกี่ยวข้องกับการจัดทำงบประมาณ ซึ่งจ่ายขาดดุลมาแต่รัชกาลก่อน เป็นเหตุให้ทรงถูกเพ่งเล็งว่าทรงร่ำรวยมีเงินมากมาย ดังที่หม่อมเจ้าหญิงประสงค์สมพระชายาทรงบันทึกไว้ว่า

 

“---ตั้งแต่เข้าไปเป็นกรรมการการคลัง ก็เลยถูกลือว่ามั่งมี มีเงินตั้ง ๑๐๐ ล้าน ต่อมาก็เพิ่มขึ้นเป็น ๒๐๐ ล้าน ไม่ทราบว่าเอาเงินมาจากไหนจึงมีมากมายถึงเพียงนี้---”

 

 

ทั้งนี้เพราะหม่อมเจ้าหญิงประสงค์สมทรงทราบถึงรายรับรายจ่ายภายในวังเป็นอย่างดี ภายในวังซึ่งประกอบด้วยพระตำหนักใหญ่ พระตำหนักสมเด็จที่ประทับสมเด็จพระปิตุจฉาเจ้าสุขุมาลมารศรี พระอัครราชเทวี และผู้คนที่อยู่ในวังอีกเกือบ ๕๐๐ คน ก็ทำให้รายจ่ายภายในวังแต่ละเดือนละปีเป็นจำนวนมากกว่าเงินเดือนและเงินปี ดังที่นายนราภิบาล (ศิลป เทศะแพทย์) เลขานุการของพระองค์เล่าไว้ว่า

 

 “---เงินเดือนท่านเดือนละ ๔,๐๐๐ บาท เลี้ยงคนทั้งวังเกือบ ๕๐๐ คน แขกไปใครมาท่านก็ทรงเลี้ยง ท่านไม่เคยเบิกเงินหลวงสักที ท่านจะรวยได้อย่างไร---”

 

 

รายรับและรายจ่ายในวังแต่ละวังมีลักษณะคล้ายคลึงกัน แต่ผู้คนภายนอกไม่อาจที่จะรู้ถึงความเป็นไปที่แท้จริงของเจ้านาย จึงเชื่อแต่ข่าวลือดังที่ทรงปรารภว่า

 

“---ข่าวลือว่าฉันมีเงินมากมายเกินความจริงไปตั้งหลายร้อยเท่า จนผู้ที่ไม่รู้ความจริงหรือไม่มีวิจารณญาณหลงเชื่อกันไปได้---”