ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
คนที่มีจิตใจอ่อนโยนส่วนใหญ่มัก คิดถึงสิ่งใดก่อนเสมอ  ( เลือกตอบแค่ ตัวเอง กับ คนอื่น ครับผม ):
กัน-ละ-ยา-นะ-มิด เขียนเป็นภาษาไทยที่ถูกต้องว่าอย่างไรครับ:
คุณเชื่อในศรัทธาของความดีไหมครับ ( เลือกตอบแค่ เชื่อ กับ ไม่เชื่อ ครับผม):
คิดว่าความดีทำยากไหม( เลือกตอบแค่ ยาก กับ ไม่ยาก ครับผม):
ชีวิตบางครั้งก็เหมือนเหรียญสองด้านใช่หรือไม่ครับบางครั้งก็หัวบางครั้งก็ก้อย( เลือกตอบแค่ ใช่ กับไม่ใช่ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า แสงธรรมนำใจ:
เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใครทำบุญแล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วยกมือขึ้น (สาธุ) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ  สาธุ:
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆในโลกออนไลน์ใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
คุณพ่อคุณแม่เปรียบดั่งพระอรหันต์ในบ้าน พิมพ์คำว่า "คุณพ่อคุณแม่ฉันรักและเคารพท่านดุจพระอรหันต์":
กล่าวคำดังนี้  "ขอโทษนะ":
ระหว่าง (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะผู้อื่น) กับ (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะตัวเอง)  ท่านจะเลือกเป็น:
กล่าวคำดังนี้  "ขออโหสิกรรม":
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
ในโลกออนไลน์หรือโลกแห่งจิต ไม่มีใครทำอะไรเราได้ นอกเสียไปจาก (คนพาล) หรือ (ใจของเราเอง):
ธรรมะคือ ธรรมชาติ พิมพ์คำว่า (ธรรมะชาติ) ครับ:
รู้สึกระอายใจไหมที่เราทำร้ายคนอื่นด้วยวาจาหรือสำนวนที่ไม่สุภาพ โดยที่คนคนนั้นเค้าเคยเป็นผู้มีพระคุณต่อเรามา (ไม่ละอายใจ)หรือ(ละอายใจ):
สำนวนไทยที่ว่า แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน  พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ลางเนื้อชอบลางยา):
ขนทรายเข้าวัดคือ พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ทำบุญทำกุศลโดยวิธีนำหรือหาประโยชน์เพื่อส่วนรวมมิได้ทำเพื่อตนเอง):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: มิถุนายน 16, 2013, 06:50:24 pm »



                     

ทางการแพทย์รับรอง การสวดมนต์ บำบัด/เยียวยา/รักษาโรคได้จริง
การสวดมนต์กับการเยียวยารักษาโรค
รศ. จุฑาทิพย์ อุมะวิชนี ภาควิชาปรัชญาและศาสนา คณะศิลปะศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า การสวดมนต์เป็นเครื่องช่วยเหนี่ยวนำทำให้เกิดสมาธิ โดยผู้สวดต้องจดจ่ออยู่กับเสียงสวด เมื่อใจไม่ฟุ้งไปที่อื่นจึงเกิดสมาธิได้ง่าย เมื่อร่างกายเข้าสู่สมาธิจะหลั่งสารที่ช่วยกระตุ้นให้ระบบต่างๆทำงานเป็นปกติ ร่างกายและจิตใจมีการผ่อนคลายทำให้ภูมิต้านทานดีขึ้น อาการป่วยก็จะดีขึ้นเป็นลำดับ ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยในต่างประเทศที่ รศ. ดร. สมพร กันทรดุษฎี-เตรียมชัยศรี ได้สรุปว่า การสวดมนต์ช่วยบำบัดอาการเจ็บป่วยและช่วยเยียวยารักษาโรค เช่น โรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง เบาหวาน มะเร็ง ซึมเศร้า ไมเกรน ออทิสติก ย้ำคิดย้ำทำ โรคอ้วน นอนไม่หลับ พาร์กินสัน เป็นต้น

การสวดมนต์บำบัดทำได้หลายแบบ ได้แก่
1. การสวดมนต์ด้วยตัวเอง เป็นวิธีการที่ดีที่สุด อาจสวดมนต์ตั้งแต่ตื่นนอนเช้า และเวลาก่อนเข้านอน ไม่ควรสวดมนต์หลังกินอาหารทันที การสวดมนต์อาจสวดบทสั้นๆ 3-4 พยางค์ โดยใช้เวลาประมาณ 10-15 นาทีขึ้นไป จะทำให้ร่างกายหลั่งสารซีโรโทนิน แต่หากสวดมนต์ด้วยบทยาวๆ จะได้ความผ่อนคลายและเกิดความศรัทธา ขณะสวดมนต์ให้หลับตาสวดให้เกิดเสียงดังให้ตัวเองได้ยิน

2. การฟังผู้อื่นสวดมนต์ การฟังเสียงพระสวดมนต์ หรือเสียงผู้นำสวดในศาสนาต่างๆ หากผู้สวดมีสมาธิ เสียงสวดนั้นจะนุ่ม ทุ้ม ทำให้เกิดคลื่นที่ช่วยเยียวยาผู้ฟังได้ แต่หากผู้สวดไม่มีสมาธิ ไม่มีความเมตตา จะไม่ช่วยเยียวยาอาการป่วย

3. การสวดมนต์ให้ผู้อื่น คลื่นสวดมนต์ เป็นคลื่นบวก เกิดจากจิตใจที่ดีงาม ปรารถนาดีต่อผู้ป่วย และเมื่อเราคิดจะส่งสัญญาณนี้ออกไปสู่ที่ไกลๆ มันจะเดินทางไปในรูปของคลื่นไฟฟ้า ซึ่งมนุษย์เรามีเซลล์สมองที่สามารถส่งสัญญาณคลื่นไฟฟ้าได้

พระพุทธศาสนา มีบทสวดมากมายหลายบท ให้เลือกใช้ตามความชอบ ยกตัวอย่าง เช่น อิติปิโส เท่ากับอายุ หรือ นะโมตัสสะ หรือ นะโมพุทธายะ หรือ พุทธังสรณังคัจฉามิ ธัมมังสรณังคัจฉามิ สังฆังสรณังคัจฉามิ เป็นต้น เลือกท่อนใดท่อนหนึ่งแล้วสวดวนไปวนมา ซ้ำๆ ช้าๆ ทำความรู้สึกที่สบายในขณะสวด หรือโพชฌงค์ 7 ที่หลายคนนิยมสวดให้ตัวเองหรือคนไข้หายป่วย ข้อที่น่าสังเกตคือ บทสวดโพชฌงค์ 7 จะมีความแตกต่างจากบทสวดอื่นๆ คือ คลื่นเสียงของบทสวดจะมีแค่เสียงสระ มีแค่สองจังหวะ คลื่นเสียงจากบทสวดจึงทำให้เกิดคลื่นที่เยียวยาได้ดีที่สุด

จะเลือกสวดมนต์บทไหน ผู้สวดสามารถประเมินได้ด้วยตนเอง เมื่อสวดแล้วทำให้ผ่อนคลาย ร่างกายเบาโล่งโปร่งสบาย มีความสุขได้นาน อาการเจ็บป่วยดีขื้น การสวดมนต์ต้องสวดเป็นประจำอย่างน้อยเช้า – เย็น สวดมนต์ให้ตนเองแล้วแผ่เมตตา ส่งความปรารถนาดี ความรักอย่างไม่มีประมาณแล้วท่านจะพบความสุขสบายได้อย่างง่ายๆ อาการป่วยจะบรรเทาและดีขึ้น

ด้วยความปรารถนาดีจาก .... กลุ่มงานสุขศึกษา โรงพยาบาลลำปาง
>>> F/B อมตะธรรม