ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
คนที่มีจิตใจอ่อนโยนส่วนใหญ่มัก คิดถึงสิ่งใดก่อนเสมอ  ( เลือกตอบแค่ ตัวเอง กับ คนอื่น ครับผม ):
คุณเชื่อในศรัทธาของความดีไหมครับ ( เลือกตอบแค่ เชื่อ กับ ไม่เชื่อ ครับผม):
คิดว่าความดีทำยากไหม( เลือกตอบแค่ ยาก กับ ไม่ยาก ครับผม):
คุณเชื่อว่าทุกศาสนาสอนให้ทุกคนเป็นคนดีใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆแนวธรรมะในจิตใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า แสงธรรมนำใจ:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ใต้ร่มธรรม:
เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใครทำบุญแล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วยกมือขึ้น (สาธุ) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ  สาธุ:
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆในโลกออนไลน์ใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
ท่านจะปฏิบัติตามกฏระเบียบข้อตกลงของเว็บใต้ร่มธรรมทุกประการหรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
บุคคลที่ไปหลายๆเว็บไซต์ โดยที่สวมบทบาทเป็นหลายๆคน โดยที่ไม่รู้ว่า แท้จริงใจเราต้องการอะไร เพื่อน หรือ ชัยชนะ:
ระหว่าง (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะผู้อื่น) กับ (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะตัวเอง)  ท่านจะเลือกเป็น:
กล่าวคำดังนี้  "ให้อภัยนะ":
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
ธรรมะคือ ธรรมชาติ พิมพ์คำว่า (ธรรมะชาติ) ครับ:
สำนวนไทยที่ว่า แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน  พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ลางเนื้อชอบลางยา):
ขนทรายเข้าวัดคือ พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ทำบุญทำกุศลโดยวิธีนำหรือหาประโยชน์เพื่อส่วนรวมมิได้ทำเพื่อตนเอง):
ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ผู้ที่ทำตนให้เล็กที่สุด ผู้ที่เล็กที่สุดก็จะกลายเป็นผู้ที่ใหญ่ที่สุด ผู้ที่มีเกียรติคือผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น ฉะนั้นสมาชิกใต้ร่มธรรมควรให้เกียรติกันและกัน พิมพ์คำว่า (ฉันจะให้เกียรติสมาชิกทุกๆท่านในใต้ร่มธรรมเสมอด้วยวาจาสุภาพอ่อนน้อม):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: แก้วจ๋าหน้าร้อน
« เมื่อ: สิงหาคม 01, 2010, 11:14:22 pm »

 :13: อนุโมทนาครับผม
ข้อความโดย: มดเอ๊กซ
« เมื่อ: สิงหาคม 01, 2010, 08:33:47 am »







ผ่านพ้นไปแล้วกับการภาวนา ตามแนวทางเซนของหมู่บ้านพลัม หัวข้อ ร่วมกันคือหนทาง พร้อมๆ กับความคืบหน้าในการสร้างสถานปฏิบัติธรรม

 เจริญ ตรงวรานนท์ ฝ่ายระดมทุนเพื่อก่อสร้าง หมู่บ้านพลัม ประเทศไทย บอกว่า คนที่เข้ามาต้องเข้าใจแนวทางการปฏิบัติก่อน ไม่มีประโยชน์ถ้าคนจะบริจาคเงินอย่างเดียว แล้วไม่รู้เรื่องธรรมะ

 แม้สถานที่ปฏิบัติภาวนาจะเป็นเรื่องสำคัญ แต่หนทางในการปฏิบัติธรรม เพื่อไปสู่ความเบิกบานในชีวิตก็คือ หัวใจของหมู่บ้านพลัม ดังนั้นสถานปฏิบัติธรรมจึงมีการออกแบบอย่างเรียบง่ายและมีแนวทางในการรักษาสิ่งแวดล้อม (Green Project) โดยใช้พลังงานและทรัพยากรอย่างประหยัดและยั่งยืน เช่น การใช้ ระบบไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิพย์ ระบบชลประทานใช้น้ำ 4 รอบ หอประชุมบ้านดิน เพื่อลดเบียดเบียนโลก และแสดงความเคารพต่อพื้นแผ่นดินแม่ พร้อมทั้งปลูกต้นไม้ล้อมรอบ โดยมีต้นไม้หลักคือต้นสาละ ต้นสะเดา ต้นไทร และต้นโพธิ์เงิน โพธิ์ทองซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของพุทธศาสนา ตรงทางเข้าสองทางอย่างละ 2 ต้น

 โครงการก่อสร้างหมู่บ้านพลัมประเทศไทยมีทุนดำเนินการโดยประมาณ 40-50 ล้านบาท หากเปรียบเทียบกับการก่อสร้างแบบปกติแล้ว ราคาก่อสร้างค่อนข้างสูง ทว่ามีคุณค่าในระยะยาว

 เรื่องนี้ วิจิตร ชินาลัย ฝ่ายออกแบบสถาปัตยกรรม บอกว่า ก่อนหน้านี้นักบวชหมู่บ้านพลัมได้ไปดูที่ดินที่เชียงใหม่ และลงมติกับกลุ่มสังฆะว่า เป็นพื้นที่อับ กระทั่งต้นปีที่ผ่านมามีกลุ่มสังฆะแนะนำที่ดินแถว อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา  จำนวน 10 ไร่ และเห็นว่าเหมาะสม

 "การออกแบบและสร้างหมู่บ้านพลัม ข้อมูลต้องมาจากนักบวช ที่แน่ๆ ต้องมีห้องพักสำหรับนักบวช 4 ท่าน ห้องจะมีลักษณะเรียบง่าย ผมเองก็คุ้นชินกับงานออกแบบโบสถ์ วิหาร เพราะผมมีความสนใจเรื่องศาสนา และปฏิบัติธรรมด้วย ผมเคยพาครอบครัวไปร่วมภาวนาตั้งแต่ปี 2548 ประกอบกับเคยศึกษาด้านพุทธศาสนาสายมหายาน ทั้งแนวทางท่านติช นัท ฮันห์และพุทธสายวัชรยาน "

 ส่วนการก่อสร้างต้องเป็นไปตามมติแลกเปลี่ยนกับกลุ่มสังฆะ วิจิตร ย้ำว่า อยากให้เป็นตัวอย่างของสถานที่ปฏิบัติธรรมการคืนสู่ธรรมชาติอย่างเรียบง่าย 

 "ระบบน้ำต้องใช้อย่างประหยัด จะมีระบบรีเคิลสี่ครั้ง หลังจากดื่มแล้ว นำมารีไซเคิลที่บ่อพัก จากนั้นนำน้ำกลับมาบำบัดอีกหลายครั้ง เพื่อใช้ทำอาหาร อาบ ใช้ในห้องน้ำ และนำมารดน้ำต้นไม้ ทุกจุดต้องมีท่อพิเศษและบ่อพัก"

 แม้กระทั่งการใช้พลังงานสะอาดจากแสงอาทิตย์ วิจิตรขยายความว่า หมู่บ้านพลัมในเมืองไทยจะใช้ไฟฟ้าจากท้องถิ่นน้อยที่สุด ในแง่การออกแบบ ก็มีหลายคนบอกว่า น่าจะเป็นบ้านดิน และในส่วนนี้ก็คิดถึงเวลาฝนตกและอากาศที่ร้อนชื้น แต่ก็มีส่วนของบ้านดินด้วย หลักๆ คือ ห้องปฏิบัติธรรมต้องรับคนปฏิบัติได้จำนวนมาก

 "ในส่วนของการบำบัดน้ำเสีย ก็จะมีการใช้จุลินทรีย์ ซึ่งต้นทุนต่ำ เราก็หาองค์กรที่ทำเรื่องนี้ร่วมโครงการ ปกติแล้วนักบวชหมู่บ้านพลัมที่ฝรั่งเศสจะปลูกผักผลไม้กินเอง ผลไม้ที่เหลือจากการกิน นักบวชก็นำมาทำแยม เพราะที่นี่ทานมังสวิรัติ ดังนั้นหมู่บ้านพลัมในเมืองไทยก็จะปลูกผักกินเองด้วย"

 ส่วนกุฏิท่านติช นัท ฮันห์ ผู้ออกแบบหมู่บ้านพลัม บอกว่า ไม่มีอะไรพิเศษ เพราะท่านเรียบง่าย ตอนที่ท่านมาเมืองไทย ท่านก็พักตึกเดียวกับนักบวช ตอนนั้นท่านป่วยจากสภาวะอากาศ และอยู่เหมือนนักบวชทั่วไป

  "การปฏิบัติของนักบวชที่นี่ เป็นส่วนหนึ่งในวิถีชีวิต อย่างหลวงปู่ชาและท่านพุทธทาส ก็เป็นนักบวชที่เรียบง่ายคล้ายๆ พุทธศาสนาสายเซน หรือแม้กระทั่งหลวงปู่ดุลย์ ท่านก็มีวิธีการเทศน์เรียบง่าย สั้นๆ และสามารถนำไปปฏิบัติได้จริง"

 สถานปฏิบัติธรรมของหมู่บ้านพลัมจึงต้องแวดล้อมไปด้วยต้นไม้เขียวขจี เรื่องนี้ วิจิตร บอกว่า ได้เพาะต้นสาละไว้ เป็นต้นที่นำมาจากศรีลังกา เพราะต้นใหญ่ ดอกโต และมีหน่อนำมาเพาะได้

 "ผมวางแปลงการปลูกต้นสาละตามแนวทางเดินจงกรมประมาณห้าร้อยต้น คนมาปฏิบัติธรรมก็จะได้เดินใต้ต้นสาละ ต้นนี้จะออกดอกที่โคนมีกลิ่นหอม ทำให้คนเดินวิถีแห่งสติรู้สึกสดชื่น นอกจากนี้ยังมีต้นโมกซ้อนปลูกริมรั้ว และมีต้นไม้อีกหลายชนิด ต้นบุษนาค จันทร์กะพ้อ การปลูกต้นไม้ต้องพิถีพิถัน มีสวนไม้ยืนต้นด้วย อย่างประตูทางเข้าจะเป็นต้นโพธิ์ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของพุทธศาสนา"

 วิจิตร ย้ำว่า การสร้างสถานปฏิบัติธรรมต้องมีการแลกเปลี่ยนกับกลุ่มสังฆะอยู่เรื่อยๆ  เจ้าอาวาสหมู่บ้านพลัมที่เป็นสถาปนิก เมืองซานดิเอโก ก็อยากแลกเปลี่ยนการออกแบบในเมืองไทย แรกๆ คิดไว้ว่าจะมีทะเลสาบและปลูกบัวกลางน้ำ แต่พอได้แลกเปลี่ยนกัน นักบวชเกรงว่า ทุกอย่างดูสวยงาม แต่เมื่อคนปฏิบัติธรรมกลับไปแล้ว จะเป็นภาระของนักบวช จึงเปลี่ยนรูปแบบบางอย่างเพราะนักบวชอยากมีเวลาปฏิบัติมากกว่างานจัดการ

 "อยากให้สถานปฏิบัติธรรมแห่งนี้เป็นสถานที่ดูแลเรื่องสิ่งแวดล้อมทั้งระบบ และให้คนอยู่ร่วมกับธรรมชาติอย่างกลมกลืน"

 ....................

 หมายเหตุ : ผู้ใดสนใจอยากมีส่วนร่วม ในการสร้างสรรค์สถานปฏิบัติธรรม หมู่บ้านพลัมเมืองไทย เข้าไปดูรายละเอียดได้ที่เวบ www.thaiplumvillage.org