ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
คนที่มีจิตใจอ่อนโยนส่วนใหญ่มัก คิดถึงสิ่งใดก่อนเสมอ  ( เลือกตอบแค่ ตัวเอง กับ คนอื่น ครับผม ):
คุณเชื่อในศรัทธาของความดีไหมครับ ( เลือกตอบแค่ เชื่อ กับ ไม่เชื่อ ครับผม):
คิดว่าความดีทำยากไหม( เลือกตอบแค่ ยาก กับ ไม่ยาก ครับผม):
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆแนวธรรมะในจิตใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ นิยมใช้คำว่า (อนุโมทนา) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ อนุโมทนา:
เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใครทำบุญแล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วยกมือขึ้น (สาธุ) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ  สาธุ:
วัฒนธรรมไทยเมื่อเห็นผู้ใหญ่ท่านจะทำความเคารพ ด้วยการไหว้ท่านก่อนเสมอใช่หรือไม่:
ใต้ร่มธรรม เป็น แค่เว็บไซต์และจินตนาการทางจิต การทำดี สำคัญที่ใจเรา เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ พิมพ์คำว่า "เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ":
คุณพ่อคุณแม่เปรียบดั่งพระอรหันต์ในบ้าน พิมพ์คำว่า "คุณพ่อคุณแม่ฉันรักและเคารพท่านดุจพระอรหันต์":
เมื่อให้ท่านเลือก ระหว่าง (หนังสือเก่าๆเล่มหนึ่งที่เรารัก) กับ (มิตรแท้ที่รักเรา) คุณจะะเลือก:
บุคคลที่ไปหลายๆเว็บไซต์ โดยที่สวมบทบาทเป็นหลายๆคน โดยที่ไม่รู้ว่า แท้จริงใจเราต้องการอะไร เพื่อน หรือ ชัยชนะ:
กล่าวคำดังนี้  "ขอโทษนะ":
ระหว่าง (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะผู้อื่น) กับ (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะตัวเอง)  ท่านจะเลือกเป็น:
กล่าวคำดังนี้  "ให้อภัยนะ":
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
เคยนวดฝ่าเท้าให้ คุณพ่อคุณแม่บ้างไหม ถ้ามีโอกาส เราควรทำหรือไม่ (ควรกระทำอย่างยิ่ง หรือ ไม่ควรทำ):
พิมพ์คำว่า (แสงธรรมนำทางธรรมะนำใจ) ครับ:
ขนทรายเข้าวัดคือ พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ทำบุญทำกุศลโดยวิธีนำหรือหาประโยชน์เพื่อส่วนรวมมิได้ทำเพื่อตนเอง):
ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ผู้ที่ทำตนให้เล็กที่สุด ผู้ที่เล็กที่สุดก็จะกลายเป็นผู้ที่ใหญ่ที่สุด ผู้ที่มีเกียรติคือผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น ฉะนั้นสมาชิกใต้ร่มธรรมควรให้เกียรติกันและกัน พิมพ์คำว่า (ฉันจะให้เกียรติสมาชิกทุกๆท่านในใต้ร่มธรรมเสมอด้วยวาจาสุภาพอ่อนน้อม):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: มิถุนายน 21, 2013, 02:13:46 pm »





ปรมัตถธรรม คือ สภาพธรรมที่มีจริง เป็นอภิธรรม (อภิธรรม คือ ธรรมที่ยิ่งใหญ่ เพราะเป็นอนัตตา ไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชาของผู้ใด) เป็นสภาพธรรมที่เป็นไปตามเหตุปัจจัย แม้พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะไม่ประสูติและตรัสรู้ สภาพธรรมทั้งหลายก็ย่อมเป็นไปตามเหตุปัจจัยอยู่แล้ว พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นพระบรมศาสดา เพราะพระองค์ทรงตรัสรู้ธรรมทั้งปวงด้วยพระองค์เองว่า ธรรมทั้งปวงไม่ใช่ตัวตน ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล และธรรมทั้งปวงไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชาของผู้ใดทั้งสิ้น ปรมัตถธรรมหรืออภิธรรมนั้น มิใช่ธรรมที่เหลือวิสัยที่จะเข้าใจได้ เพราะปรมัตถธรรมเป็นธรรมที่มีจริง ฉะนั้น ความเห็นถูก ความเข้าใจถูก จึงเป็นการรู้ความจริงของปรมัตถธรรม ตามลักษณะของปรมัตถธรรมนั้นๆ




ปรมัตถธรรม มี 2 ประเภท คือ รูปธรรม และ นามธรรม (หรือ รูป และ นาม หรือ รูปธาตุ และ นามธาตุ)
1 รูปธรรม เป็นสภาพธรรมที่ไม่รู้อารมณ์
2 นามธรรม เป็นสภาพธรรมที่รู้อารมณ์
(อารมณ์ คือ สิ่งที่ปรากฎ และรู้ได้ เป็นได้ทั้ง รูปธรรม และนามธรรม
เมื่อจิตเกิดขึ้นรู้สิ่งใด สิ่งที่จิตรู้นั้น ภาษาบาลีเรียกว่า อารมฺมณ หรือ อาลมฺพน)



ปรมัตถธรรม มี 4 ประเภท คือ จิด เจตสิก รูป และนิพพาน
จิต เป็นสภาพธรรมที่เป็นใหญ่เป็นประธานในการรู้สิ่งที่ปรากฎ เช่น เห็น ได้ยิน เป็นต้น
จิต (วิญญาณ) เป็นสภาพรู้ เป็นนามธรรม
มีลักษณะไตรลักษณ์
(อนิจจัง - ไม่เที่ยง
ทุกขัง - ทนอยู่ไม่ได้ เกิดขึ้นแล้วต้องดับไป
อนัตตา - บังคับบัญชาไม่ได้ ไม่ใช่สัตว์ บุคคล ตัวตน)

เจตสิก เป็นสภาพธรรมอีกประเภทหนึ่งที่เกิดร่วมกับจิต รู้สิ่งเดียวกับจิต ดับพร้อมกับจิต และเกิดที่เดียวกับจิต เจตสิกแต่ละเจตสิกมีลักษณะและกิจต่างกันตามประเภทของเจตสิกนั้นๆ เจตสิกเป็นสภาพรู้อื่นๆ ที่ไม่ใช่จิต (ได้แก่ เวทนา - ความรู้สึกสุข ทุกข์หรือเฉยๆ ที่เกิดทางกายหรือใจ สัญญา - ความจำได้ รู้ชื่อ รู้จัก สังขาร - ความนึกคิดปรุงแต่งอื่นๆ เช่น รัก โกรธ เมตตา ปัญญา เป็นต้น) เป็นนามธรรม มีลักษณะไตรลักษณ์ (อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา)

รูป รูปเป็นสภาพไม่รู้ เช่น สี เสียง กลิ่น รส เป็นต้น เป็นรูปธรรม มีลักษณะไตรลักษณ์ (อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา)
นิพพาน เป็นธรรมที่ดับกิเลส ดับทุกข์ นิพพานไม่มีปัจจัยปรุงแต่งให้เกิดขึ้น นิพพานจึงไม่เกิดดับ นิพพานเป็นขันธวิมุตติ คือพ้นจากขันธ์ นิพพานเป็นสภาพรู้ เป็นนามธรรม เป็นอนัตตา
แยกประเภท (บางทีเรียกว่า ดวง) ได้ดังนี้

จิต มี 89 หรือ 121 ประเภท โดยพิเศษ
เจตสิก มี 52 ประเภท
รูป มี 28 ประเภท
นิพพาน โดยจัดเป็นรูป 28 นับเป็นรูปธรรม
จัดจิต 89 หรือ 121 โดยพิเศษ เจตสิก 52 นิพพาน 1 เป็นนามธรรม



สังขารธรรม คือ ธรรมที่เกิดขึ้น มีปัจจัยปรุงแต่ง ได้แก่ ธรรมอื่นๆที่ไม่ใช่นิพพาน
วิสังขารธรรม คือ ธรรมที่ไม่เกิดขึ้น ไม่มีปัจจัยปรุงแต่ง ได้แก่ นิพพาน
(ปัจจัย คือ ธรรมซึ่งอุปการะอุดหนุนให้สภาพธรรมอื่นเกิดขึ้นหรือดำรงอยู่)
สังขตธรรม คือ ธรรมที่เกิดดับ ได้แก่ ธรรมอื่นๆที่ไม่ใช่นิพพาน
อสังขตธรรม คือ ธรรมที่ไม่เกิดดับ ได้แก่ นิพพาน

จิต จำแนกโดยการเกิด คือ โดยชาติ มี 4 ชาติ คือ กุศลจิต อกุศลจิต วิบากจิต กิริยาจิต
กุศลจิตเป็นจิตที่ดี ซึ่งเป็นเหตุให้เกิดผล คือ กุศลวิบาก
อกุศลจิตเป็นสภาพธรรมที่เป็นโทษ เป็นสภาพธรรมที่เป็นเหตุให้เกิดผลที่เป็นทุกข์ ไม่น่าพอใจ คือ อกุศลวิบาก
ส่วนกิริยาจิต ซึ่งไม่เป็นเหตุที่จะให้เกิดวิบาก จึงไม่ใช่กุศลจิต ไม่ใช่อกุศลจิต และไม่ใช่วิบากจิต
สำหรับวิบากจิต เป็นสภาพธรรมที่เป็นผลจากกุศลจิต หรืออกุศลจิต และปรากฎในชีวิตประจำวัน
ของสัตว์ทั้งหลายที่มีขันธ์ห้า เมื่อจิตรู้อารมณ์ที่ปรากฏทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ถ้าพอใจ ก็เป็น
กุศลวิบาก ถ้าไม่พอใจ ก็เป็นอกุศลวิบาก


จิต จำแนกโดยภูมิ มี 4 ภูมิ คือ กามาวจรจิต รูปาวจรจิต อรูปาวจรจิต โลกุตตรจิต
ในภูมิที่เป็นกามาวจรจิต จิตมีทั้ง 4 ชาติ รูปาวจรจิตและอรูปาวจรจิต จิตมี 3 ชาติ คือยกเว้นอกุศลจิต
และโลกุตตรจิต จิตมี 2 ชาติ คือโลกุตตรกุศล และโลกุตตรวิบาก

ปรมัตถธรรม 3 เป็นขันธ์ 5
จิตปรมัตถ์ 89 หรือ 121 ประเภท ทุกประเภท เป็น วิญญาณขันธ์
เจตสิกปรมัตถ์ 52 ประเภท
- เวทนาเจตสิก 1 เป็น เวทนาขันธ์
- สัญญาเจตสิก 1 เป็น สัญญาขันธ์
- เจตสิก (ที่เหลือ) 50 เป็น สังขารขันธ์
รูปปรมัตถ์ 28 ประเภท ทุกประเภท เป็น รูปขันธ์


:https://www.facebook.com/pages/พระพุทธเจ้า/166387296709841