ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
คนที่มีจิตใจอ่อนโยนส่วนใหญ่มัก คิดถึงสิ่งใดก่อนเสมอ  ( เลือกตอบแค่ ตัวเอง กับ คนอื่น ครับผม ):
กัน-ละ-ยา-นะ-มิด เขียนเป็นภาษาไทยที่ถูกต้องว่าอย่างไรครับ:
คุณเชื่อในศรัทธาของความดีไหมครับ ( เลือกตอบแค่ เชื่อ กับ ไม่เชื่อ ครับผม):
คิดว่าความดีทำยากไหม( เลือกตอบแค่ ยาก กับ ไม่ยาก ครับผม):
ถ้าเราโกรธใคร ธรรมะจะเป็นหนทางผ่อนคลายความโกรธนั้นลงได้ใช่ไหม ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม ):
คุณเชื่อว่าทุกศาสนาสอนให้ทุกคนเป็นคนดีใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆแนวธรรมะในจิตใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ นิยมใช้คำว่า (อนุโมทนา) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ อนุโมทนา:
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆในโลกออนไลน์ใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
ท่านจะปฏิบัติตามกฏระเบียบข้อตกลงของเว็บใต้ร่มธรรมทุกประการหรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
เมื่อให้ท่านเลือก ระหว่าง (หนังสือเก่าๆเล่มหนึ่งที่เรารัก) กับ (มิตรแท้ที่รักเรา) คุณจะะเลือก:
บุคคลที่ไปหลายๆเว็บไซต์ โดยที่สวมบทบาทเป็นหลายๆคน โดยที่ไม่รู้ว่า แท้จริงใจเราต้องการอะไร เพื่อน หรือ ชัยชนะ:
กล่าวคำดังนี้  "ขอโทษนะ":
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ใต้ร่มธรรมเองก็จะเป็นไปตามวัฐจักรนี้ ฉันท์ใดก็ฉันท์นั้น (เป็นจริง) หรือ (ไม่จริง):
รู้สึกระอายใจไหมที่เราทำร้ายคนอื่นด้วยวาจาหรือสำนวนที่ไม่สุภาพ โดยที่คนคนนั้นเค้าเคยเป็นผู้มีพระคุณต่อเรามา (ไม่ละอายใจ)หรือ(ละอายใจ):
สำนวนไทยที่ว่า แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน  พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ลางเนื้อชอบลางยา):
ขนทรายเข้าวัดคือ พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ทำบุญทำกุศลโดยวิธีนำหรือหาประโยชน์เพื่อส่วนรวมมิได้ทำเพื่อตนเอง):
ไม่มีอะไรสายสำหรับการเริ่มต้น พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (It is never too late to mend):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: มิถุนายน 29, 2013, 01:04:55 pm »



http://youtu.be/X_G2bNQjc3M TheMTKART Published on Aug 1, 2012

บางคนจะสงสัยว่า บวชทำไมอยู่ที่บ้าน? มันก็พอจะตอบได้ว่า
เราทำอย่างเดียวกัน ในวัตถุประสงค์ที่มุ่งหมายของคำว่า บวช
แปลตามตัวหนังสือ ก็ว่า เว้นหมดจากที่ควรเว้น
ก็คือ เว้นจากการปฏิบัติหรือการเป็นอยู่ชนิดที่เ­ป็นทุกข์,
สิ่งใดเป็นไปเพื่อความทุกข์ เราจะเว้นเสียโดยเด็ดขาด; ไม่ทำในใจว่า
อยู่ที่บ้านหรืออยู่ที่วัด แต่ว่าโดยแท้จริงก็อยู่ที่บ้าน
แต่ไม่ต้องทำในใจว่า อยู่ที่บ้านหรืออยู่ที่วัด,
ทำในใจแต่การประพฤติปฏิบัติ ให้ตรงตามความหมายนั้นเท่านั้น คือว่า
เว้นหมดจากสิ่งที่ควรเว้น ในทุกๆระดับ.

ข้อความโดย: แก้วจ๋าหน้าร้อน
« เมื่อ: สิงหาคม 20, 2010, 12:55:11 am »

 :13: ขอบคุณครับพี่แป๋ม รักษาสุขภาพนะครับ

ธรรมะอวยพรความดีคุ้มครองครับผม
ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: สิงหาคม 19, 2010, 10:26:25 pm »

อนุโมทนา สาธุค่ะ พี่แป๋ม


บัวมีหนังสือเล่มนี้ที่บ้านเหมือนกันค่ะ
อ่านแล้วได้แนวทางปฏิบัติให้เกิดผลกับตัว


ป.ล. ขอบคุณพี่แป๋มมากๆค่ะ ขยันพิมพ์มากๆ
อย่าหักโหมมากนะคะ ดูแลสุขภาพด้วยค่ะ
เป็นห่วงอย่างยิ่ง ^_^



ไม่ได้พิมพ์ค่ะแค่ก๊อปมาตามลื้งค์ที่อ้างอิงไว้ ดีใจที่น้องบัวมี
และได้อ่านแล้ว ติดขัดก็นำขึ้นมาอ่านทบทวนได้..

อนุโมทนาสาธุเช่นกันค่ะ น้องบัว.. น้องต้อง... :13:
ข้อความโดย: สายลมที่หวังดี
« เมื่อ: สิงหาคม 19, 2010, 10:05:20 pm »

อนุโมทนา สาธุค่ะ พี่แป๋ม :13:


ข้อความโดย: ดอกโศก
« เมื่อ: สิงหาคม 19, 2010, 07:56:53 pm »

อนุโมทนา สาธุค่ะ พี่แป๋ม


บัวมีหนังสือเล่มนี้ที่บ้านเหมือนกันค่ะ
อ่านแล้วได้แนวทางปฏิบัติให้เกิดผลกับตัว


ป.ล. ขอบคุณพี่แป๋มมากๆค่ะ ขยันพิมพ์มากๆ
อย่าหักโหมมากนะคะ ดูแลสุขภาพด้วยค่ะ
เป็นห่วงอย่างยิ่ง ^_^
ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: สิงหาคม 19, 2010, 06:01:05 pm »



ไม่ได้หมายความว่า ให้สึกไปอยู่ที่บ้านกันเสียให้หมด แต่หมายความว่า แม้อยู่ที่บ้านก็อย่าน้อยใจ อย่าเสียใจ, แม้อยู่ที่บ้านก็สามารถที่จะทำได้ดีที่สุด ที่บ้านนั้นเอง เพราะคนที่อยู่บ้านมันยังมีมากกว่าคนที่อยู่ที่วัด คนเหล่านั้นไม่ควรจะเสียประโยชน์อะไร ควรจะได้ประโยชน์ทุกอย่างทุกประการ เท่าที่พุทธบริษัทในพระพุทธศาสนาจะพึงได้

ขอให้ผู้ที่อยู่บ้าน หรือยังอยู่ที่บ้านนั้น จัดแจงปรับปรุงให้ชีวิตการเป็นอยู่ของตนนั้น อนุโลมเข้ากันกับการบวช โดยสมาทานสิกขาบท คือ ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา, ธรรม ๕ ประการนี้ แทรกอยู่ในการปฏิบัติธรรม ตั้งแต่ต้นจนถึงขั้นสุดท้าย ถ้าปฏิบัติกรรมฐานอยู่อย่างเคร่งครัดในป่า ในวัดในดงก็ตาม เขาก็ระวังให้ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา ในการปฏิบัตินั้นเป็นไปอย่างเต็มที่ แล้วผลก็แน่นอน สำเร็จตามความปรารถนา

การบรรยายในวันนี้ก็สมควรแก่เวลา แม้จะว่ามันเป็นเรื่องที่แปลกออกไป ก็ควรจะได้พิจารณาดู จะได้ใช้เวลาที่บ้าน ให้เป็นประโยชน์มากที่สุด แม้จะต้องยังอยู่ที่บ้านก็ไม่เสียเปรียบเสียหาย ไม่เสียเปรียบแก่ผู้ที่จะทิ้งบ้านออกไปได้โดยน่าอัศจรรย์ พูดง่ายๆ ว่า ถ้าทำได้นะ ถ้าทำได้บวชอยู่ที่บ้าน น่าอัศจรรย์กว่าบวชอยู่ที่วัด.

ขอยุติการบรรยายนี้ ด้วยความสมควรแก่เวลา เป็นโอกาสให้พระคุณเจ้าทั้งหลาย สวดบทพระธรรม ในรูปคณสาธยายส่งเสริมกำลังใจของท่านทั้งหลาย ให้เข็มแข็งในการประพฤติปฏิบัติธรรมะสืบต่อไปในบัดนี้



คัดจาก หนังสือ บวชทำไม โดย ท่านพุทธทาสภิกขุ
จัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์ สุขภาพใจ ธรรมบรรยายประจำวันเสาร์ ภาคมาฆบูชา ครั้งที่ ๑๒





Pics by : Google
ที่มา : http://www.buddhadasa.com/shortbook/homesika.html
Credit by : palungjit.com
ข้อความโดย: aun63
« เมื่อ: สิงหาคม 19, 2010, 05:37:09 pm »

 :45: :13:สาธุ สาธุ สาธุ คับพี่แป๋ม
ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: สิงหาคม 19, 2010, 05:16:20 pm »



บวชอยู่ที่บ้านทำได้จริงก็มีผลดีเท่าที่ควรได้.

นี่จะบวชอยู่ที่บ้าน แล้วจะเป็นพระอรหันต์อยู่ที่บ้าน; พอเป็นพระอรหันต์แล้ว มันก็เลิกหมด ไม่ต้องบวชต้องอะไรดอก เมื่อเป็นพระอรหันต์แล้วมันเลิกบวช เลิกความหมายของคำว่า บวช, บวช หรือประพฤติพรหมจรรย์ ไม่ต้องมีแล้ว. แต่เดี๋ยวนี้ ยังไม่เป็นพระอรหันต์ ก็ขอให้เป็นผู้บวชด้วยจิตใจทั้งหมดทั้งสิ้นอยู่ที่บ้าน; โดยเฉพาะผู้หญิงไม่ต้องสนใจว่าผู้หญิงบวชไม่ได้. แต่เราบวชอยู่ที่บ้านได้อย่างนี้ แล้วเหมือนกัน หรืออย่างเดียวกัน หรือเท่ากัน แม้ไม่มีโอกาสไปบวชกับเขาบ้าง เขาบวชกันเกร่อหมด บวช ๙ วัน ไม่รู้ว่าจะได้ผลอย่างไร.

แต่อาตมาขอยืนยันว่าบวชอย่างที่ว่านี้เถิด, มี ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา อยู่ที่บ้าน. บวชอยู่ที่บ้าน บริบูรณ์อยู่ด้วยธรรมะ ๕ ประการ ซึ่งทบทวนอีกทีหนึ่งก็ว่า:

มีศรัทธา เชื่อมั่นในสิ่งที่ตนถือเอาเป็นที่พึ่ง คือการปฏิบัติหรือคำสอนนั้น แล้วก็ เชื่อมั่นว่าตัวเองทำได้ เราทำได้ ไม่เหลือวิสัย เราทำได้ แล้วก็ปล่อยให้ทำไปด้วยศรัทธา

พร้อมกันนั้นก็ มีวิริยะ คือความกล้าหาญ ความพากเพียร ความบากบั่น สนุกสนานในการทำ พอใจในการทำ เป็นสุขเสียเมื่อกำลังทำ ไม่ต้องรอต่อผลงานได้มา กำลังทำอยู่มันก็พอใจและเป็นสุข อิ่มอยู่ด้วยความสุข ได้ความสุขโดยไม่ต้องเสียเงิน

ทีนี้ก็มีสติ เฝ้าระวังรักษาป้องกัน ไม่ให้เกิดความผิดพลาดขึ้น ในความคิดความนึกหรือในการกระทำ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อมีผัสสะทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกายและทางใจเอง

มีสมาธิ คือจิตแน่วแน่ต่อพระนิพพานเป็นอารมณ์อยู่ตลอดเวลา ตลอดเวลาทุกลมหายใจเข้าออก, มีจุดมุ่งมั่นต่อพระนิพพาน เรียกว่า มีเอกัคคตาจิตมุ่งพระนิพพานอยู่ตลอดเวลา แล้วก็ทำทุกอย่างที่รักษาจิตชนิดนั้นไว้ ก็คือแบบสมาธิวิธีต่างๆ มันจะต่างกันอย่างไร มันก็อยู่ที่มีพระนิพพานเป็นอารมณ์ทั้งนั้น คือมีความหลุดพ้นจากความทุกข์เป็นอารมณ์ด้วยกันทั้งนั้น

แล้วในที่สุด ก็มีชีวิตอยู่ด้วยปัญญา คือ ความรู้อย่างถูกต้องชัดเจน ในสิ่งที่ต้องกระทำ หรือควรกระทำ อย่าให้ความอยาก เช่นกิเลสตัณหา เพื่อตัวกู-ของกู เข้ามาแทรกแซง นั้นมันจะทำให้เสียหมด นี่เรียกว่า ทำงานทุกชนิดด้วยจิตว่าง แหละ

"ทำงานทุกชนิดด้วยจิตว่าง ยกผลงานให้ความว่างทุกอย่างสิ้น
 กินอาหารของความว่างอย่างพระกิน ตายเสร็จสิ้นแล้วในตัวแต่หัวที"


ตั้งแต่ต้นเรื่องจนจบเรื่อง ไม่มีตัวกู ไม่มีของกู มันไม่มีความทุกข์ ไม่มีปัญหาอะไร, มีจิตที่บริสุทธิ์ อยู่ด้วยปัญญา และ ความสุขสงบ นี่คือ บวชอยู่ที่บ้าน.

ใครเห็นด้วยก็ลองดู บวชอยู่ที่บ้าน ที่ชะเง้อหาบวชที่วัด บวชในป่านั้น บางทีจะเป็นความโง่ ลำบากมากกว่าคนที่บวชอยู่ที่บ้านก็ได้ ระวังให้ดี. ถ้ามีความตั้งใจจริง ระมัดระวังจริง บวชอยู่ที่บ้านจะได้ผลมากกว่าบวชอยู่ที่วัดหรือในป่า ก็ยังเป็นไปได้ เพราะว่า การบวชอยู่ที่วัดหรือในป่า มันยังเหลวไหลอยู่ทั่วๆ ไป มันยังไม่สำเร็จประโยชน์เต็มตามความหมายที่ควรจะได้เลย.

เอาละ, เป็นอันว่า วันนี้เราพูดกันด้วยเรื่องที่ค่อนข้างจะแปลก โดยใช้ชื่อว่า บวชอยู่ที่บ้าน : เว้นจากสิ่งที่ควรเว้นโดยประการทั้งปวง อยู่ที่บ้าน. แล้วก็ประพฤติหน้าที่ที่ควรประพฤติปฏิบัติอยู่อย่างดีที่สุด อย่างเต็มกำลังเต็มสติปัญญาสามารถอย่างดีที่สุด ในหน้าที่ของตนๆ แล้วก็เป็นสุขอยู่กับการทำหน้าที่ ไม่มีกิเลสตัณหา ที่จะหวังผลอย่างนั้นอย่างนี้ มาสนองกิเลส เรื่องก็มีเท่านี้ ว่าบวชอยู่ที่บ้าน
ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: สิงหาคม 19, 2010, 04:45:36 pm »

เดี๋ยวนี้เราจะบวชอยู่ที่บ้าน เราจะบวชอยู่ที่บ้านขอให้มีการกระทำงานด้วยปัญญา, มีชีวิตอยู่ด้วยปัญญา ให้ได้ผลดีที่สุดของการที่เกิดมาเป็นมนุษย์ เป็นมนุษย์เกิดมาแล้ว จะต้องได้อะไรดีที่สุด ก็ให้มันได้อย่างนั้นแหละ แล้วมันก็จะได้ด้วยการกระทำด้วยปัญญา อย่าทำด้วยกิเลสตัณหา หวังว่าจะได้อย่างนั้น หวังว่าจะได้อย่างนี้แก่ตัวกู แก่ของกู นั้นไม่ต้องไปหวังดอก

เมื่อทำถูกต้องตามกฏของธรรมชาติแล้ว มันก็ต้องออกผลมาเอง, ไปหวังให้มันฟุ้งซ่าน; หรือจะเปรียบด้วยตัวอย่างง่ายๆ อีกทีหนึ่งว่า ไปซื้อลอตเตอรี่มาแล้ว อย่ามาหวังให้มันรบกวนจิตใจเป็นโรคประสาท, ซื้อแล้วก็แล้วไป ถึงเวลามันออกก็ไปตรวจดู มันถูกหรือไม่ถูก แต่บางคนเขาไม่ชอบอย่างนั้น เขาชอบซื้อเอามาทำให้มันบ้า ให้มันหวัง ให้มันนอนหวัง นั่งหวัง นอนหวัง แล้วในที่สุด มันจะเป็นโรคประสาท ได้จริงเหมือนกันแหละ

เราจงทำงานหรือมีชีวิตอยู่ด้วยปัญญา อย่าประมาทปัญญา พอกพูนปัญญา คือความรู้สึกคิดนึกที่ถูกต้องอยู่ตลอดเวลา เมื่อจะทำงานก็มีปัญญาในงานที่จะทำ เมื่อทำงานอยู๋ ก็มีปัญญาในงานที่กำลังทำ เมื่อทำงานเสร็จได้ผลงาน ก็มีปัญญาอยู่ในการได้ผลงาน อย่าให้ได้ผลงานด้วยกิเลส ตัณหา แต่ได้ด้วยสติปัญญา อ๋อ มันอย่างนี้เองนี่ ทำอย่างนี้มันก็ได้อย่างนี้เอง ไม่ต้องไปหลงไหลมัวเมา ให้มันสูญเสียสติสัมปชัญญะ หรือจะเก็บผลงาน ไว้กินไว้ใช้รักษาไว้ ก็ด้วยสติปัญญา เก็บไว้ด้วยสติปัญญา อย่าให้มันทรมานใจ เมื่อจะเอาผลงานมากินมาใช้ ก็ทำด้วยสติปัญญา อย่าให้มันผิดพลาด เมื่อจะแบ่งปันให้แก่ผู้อื่นบ้าง ทำบุญทำทาน ก็ทำด้วยสติปัญญา; แปลว่าเป็นฆราวาสที่มีชีวิตอยู่ด้วยปัญญา ทั้งก่อนแต่ทำงานกำลังทำงาน ได้ผลงาน เก็บผลงาน ใช้ผลงาน กินผลงาน แบ่งปันผลงาน อะไรก็ทำด้วยปัญญา ไม่มีกระหืดกระหอบด้วยกิเลสตัณหา
ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: สิงหาคม 19, 2010, 03:46:18 pm »


ทำงานด้วยความรู้อยู่ว่า ควรจะทำอย่างไร ฟังให้ดีๆ ว่า ถ้าทำงาน ทำงานอยู่ที่ออฟฟิศ หรือที่ไหนก็ตาม จงทำด้วยสติปัญญาที่รู้ว่า ควรทำอย่างไร แล้วระวังอย่าให้ความคิดประเภทตัวกูของกู, ทำเพื่อกู กูจะได้ กูจะอะไร อย่าให้เกิดขึ้นมา ความคิดความรู้สึกประเภทตัวกูของกูอย่าได้เกิดขึ้นมา อย่าให้ความอยากจะได้ผลงานเร็วๆ เกิดขึ้นมา อย่าให้ความหวังจะได้ผลงานเร็วๆ เกิดขึ้นมา. นั้นเป็นของผิดทั้งนั้น อันตรายทั้งนั้น มีแต่ความรู้ที่ถูกต้องว่า ทำอย่างไร ทำอย่างไร ที่ทำถูกต้องนั้นทำอย่างไร แล้วก็สนใจทำแต่อย่างนั้น นี้แหละเรียกว่า ทำงานอยู่ด้วยปัญญาอย่างยิ่ง ไม่เกิดความผิดพลาด ไม่เกิดความหวัง ไม่เกิดกิเลสตัณหา ซึ่งมันเป็นเรื่องที่ทำให้เกิดความทุกข์

ฉะนั้นเรามี ความรู้ที่ถูกต้องเรื่องอิทัปปัจจยตา ว่ามันเป็นไปตามเหตุตามปัจจัยของมัน และว่า ตถตา มันจะต้องเป็นอย่างนั้นมันเป็นอย่างอื่นไม่ได้. มีความรู้เรื่องอิทัปปัจจยตา ตถตา เต็มที่แล้วก็ทำงานอยู่ ส่วนความหวังความอยากว่าจะได้ผล เอาผลมากิน มาใช้กันให้สนุกสนานเอร็ดอร่อยนั้น อย่าต้องมีผล ถ้ามีมันเป็นความคิดหรือความรู้สึกประเภทตัวกู-ของกู มันจะต้องเป็นทุกข์

ข้อนี้ก็ ในพระบาลีให้ตัวอย่างไว้อย่างดีที่สุด ที่อาตมาก็เอามาเล่าบ่อยๆ ว่า แม่ไก่ฟักไข่ให้ดีก็แล้วกัน ไม่ต้องคิดว่าลูกไก่จงออกมา, นี่แม่ไก่น่ะฟักไข่ให้ถูกต้องตามวิธีของธรรมชาติ; จะเขี่ย จะกก จะกลับ จะทำให้อุ่นให้เย็นอะไรก็แล้วแต่ ให้มันถูกต้องตามวิธีของการฟักไข่, แล้วลูกไก่ก็จะออกมาเอง โดยที่แม่ไก่ไม่ต้องหวังว่า ลูกไก่จงออกมา ลูกไก่จงออกมา, ถ้าแม่ไก่ตัวไหนมันหวังว่าลูกไก่จงออกมา บ่นว่า ลูกไก่จงออกมา มันเป็นแม่ไก่บ้า มันใช้ไม่ได้. คนนี้ก็เหมือนกันแหละ จงทำงานให้ถูกต้องด้วยสติปัญญา เกี่ยวกับการกระทำนั้น โดยไม่ต้องมีความคิดหวังเป็นตัวกูของกู ว่าออกมา จงออกมา จงได้มา จงได้กำไร จงอย่างนั้น จงอย่างนี้ ซึ่งเป็นเรื่องของตัวกู ของกูอย่างนั้น มันทำให้เป็นทุกข์เปล่าๆ แล้วมันก็ไม่ได้ด้วย แล้วมันจะทำให้งานเสียก็ได้

เดี๋ยวนี้ เราสอนกันผิดๆ อยู่บางอย่าง ที่ว่าให้ใช้ความหวังมากเกินไป; ที่จริง ถ้าความหวังมากเกินไป แทรกแซงเข้ามาในขณะทำงานแล้ว มันฟุ้งซ่าน ทำไม่ได้ดี ทำไม่ได้ถูกต้องอย่างดี มันต้องให้เหลือไว้ มีแต่สติปัญญา ว่าจะทำอย่างไรเท่านั้น ให้มีมากที่สุด ให้ทำอย่างดี ส่วนที่จะหวังผลอย่างนั้นอย่างนี้ อย่าให้มันเกิดขึ้นมาในความคิด มันมาทำให้ฟุ้งซ่าน ให้มีสมาธิแน่วแน่อยู่แต่ว่า ทำอย่างไร เรื่องนี้ทำอย่างไร เรื่องนี้ทำอย่างไร นั่นแหละเรียกว่า มีชีวิตอยู่ด้วยปัญญา มีจิตว่างจากความคิดความนึกรู้สึกว่าตัวตนหรือของตน ว่างจากความรู้สึกคิดนึกว่า ตัวกู-ของกู แล้วก็เป็นจิตว่างแหละ จะคิดอย่างไรก็ได้, จะคิดเรื่องจะทำให้ดีให้มันอย่างไรก็ได้ แต่อย่าให้มันแลบเลยไป ถึงว่า เพื่อตัวกู หรือของกู, กูจะเอา กูจะได้ พอความคิดเกิดขึ้นอย่างนั้น มันจะมืด มันจะกลุ้มมันจะร้อน มันจะเป็นทุกข์ นี่เรียกว่า เคล็ด หรือ ศิลปะ ในการที่จะทำงานให้ดีที่สุด โดยเฉพาะสำหรับพุทธบริษัท