ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
คนที่มีจิตใจอ่อนโยนส่วนใหญ่มัก คิดถึงสิ่งใดก่อนเสมอ  ( เลือกตอบแค่ ตัวเอง กับ คนอื่น ครับผม ):
กัน-ละ-ยา-นะ-มิด เขียนเป็นภาษาไทยที่ถูกต้องว่าอย่างไรครับ:
คิดว่าความดีทำยากไหม( เลือกตอบแค่ ยาก กับ ไม่ยาก ครับผม):
ชีวิตบางครั้งก็เหมือนเหรียญสองด้านใช่หรือไม่ครับบางครั้งก็หัวบางครั้งก็ก้อย( เลือกตอบแค่ ใช่ กับไม่ใช่ครับผม):
คุณเชื่อว่าทุกศาสนาสอนให้ทุกคนเป็นคนดีใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า แสงธรรมนำใจ:
การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ นิยมใช้คำว่า (อนุโมทนา) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ อนุโมทนา:
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆในโลกออนไลน์ใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
โดยปกติชน นิ้วมือของคนเรา มีกี่นิ้ว (ตอบเป็นภาษาไทยครับ):
วัฒนธรรมไทยเมื่อเห็นผู้ใหญ่ท่านจะทำความเคารพ ด้วยการไหว้ท่านก่อนเสมอใช่หรือไม่:
ใต้ร่มธรรม เป็น แค่เว็บไซต์และจินตนาการทางจิต การทำดี สำคัญที่ใจเรา เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ พิมพ์คำว่า "เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ":
กล่าวคำดังนี้  "ขอโทษนะ":
กล่าวคำดังนี้  "ขออโหสิกรรม":
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
ในโลกออนไลน์หรือโลกแห่งจิต ไม่มีใครทำอะไรเราได้ นอกเสียไปจาก (คนพาล) หรือ (ใจของเราเอง):
พิมพ์คำว่า (แสงธรรมนำทางธรรมะนำใจ) ครับ:
รู้สึกระอายใจไหมที่เราทำร้ายคนอื่นด้วยวาจาหรือสำนวนที่ไม่สุภาพ โดยที่คนคนนั้นเค้าเคยเป็นผู้มีพระคุณต่อเรามา (ไม่ละอายใจ)หรือ(ละอายใจ):
สำนวนไทยที่ว่า แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน  พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ลางเนื้อชอบลางยา):
ขนทรายเข้าวัดคือ พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ทำบุญทำกุศลโดยวิธีนำหรือหาประโยชน์เพื่อส่วนรวมมิได้ทำเพื่อตนเอง):
ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ผู้ที่ทำตนให้เล็กที่สุด ผู้ที่เล็กที่สุดก็จะกลายเป็นผู้ที่ใหญ่ที่สุด ผู้ที่มีเกียรติคือผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น ฉะนั้นสมาชิกใต้ร่มธรรมควรให้เกียรติกันและกัน พิมพ์คำว่า (ฉันจะให้เกียรติสมาชิกทุกๆท่านในใต้ร่มธรรมเสมอด้วยวาจาสุภาพอ่อนน้อม):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: sithiphong
« เมื่อ: มิถุนายน 30, 2013, 09:49:18 am »

    วันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2556 ปีที่ 23 ฉบับที่ 8249 ข่าวสดรายวัน
-http://www.khaosod.co.th/view_news.php?newsid=TUROaWRXUXdNek13TURZMU5nPT0=&sectionid=TURNd053PT0=&day=TWpBeE15MHdOaTB6TUE9PQ==-

เมตตา

ธรรมะวันหยุด
พระเทพคุณาภรณ์ (โสภณ โสภณจิตฺโต ป.ธ.9) เจ้าอาวาสวัดเทวราชกุญชรวรวิหาร www.watdevaraj.com


เมตตา หมายถึง ความรู้สึกปรารถนาดี หวังดีต่อผู้อื่น สัตว์อื่น เป็นความรู้สึกที่ปราศจากความเห็นแก่ตัว ความลำเอียง ความเกลียดชัง คิดทำร้าย หรือคิดทำลาย แต่เป็นความรู้สึกที่มุ่งไมตรี มุ่งความสุขความเจริญแก่ทุกคนสม่ำเสมอกัน มิใช่มุ่งสิ่งที่ตนชอบหรือที่เขาชอบเป็นสำคัญ



อีกนัยหนึ่ง เมตตา คือ ความรักใคร่ที่เว้นจากราคะ ความกำหนัด หากแต่เป็นความรักความปรารถนาดีที่อยากให้เกิดความสุข ความเจริญแก่ผู้อื่น สัตว์อื่น ความปรารถนาดีอยากให้เขามีความสุข ความมีจิตอันแผ่ไมตรีคิดทำประโยชน์แก่มนุษย์และสัตว์ทั่วหน้า มีลักษณะคิดนำสุขไปให้เขาส่วนเดียว มีคุณสมบัติกำจัดพยาบาท คือความคิดปองร้ายได้



เมตตา แสดงทางกายด้วยกิริยางดงาม ใบหน้าสายตาแช่มชื่น แสดงออกทางวาจาด้วยถ้อยคำไพเราะ น่ารัก น่าสนทนา น่าฟัง แสดงถึงดวงจิตที่เอิบอิ่มเต็มไปด้วยความปรารถนาดี เมตตาธรรมที่มีอยู่ในจิตใจ ทำให้เยือกเย็นสงบ มีความสุข หากจิตใจขาดเมตตาธรรมจะมีแต่ความเดือดร้อน ทำให้เกิดความคิดโกรธแค้นขัดเคือง ความคิดเบียดเบียนอิจฉาริษยา เป็นที่สะสมบ่มความทุกข์อยู่ในใจ



เมตตา เป็นธรรมะข้อแรกในพรหมวิหารธรรม คือ เป็นคุณธรรมของบิดามารดาหรือผู้ใหญ่ซึ่งเป็นหัวหน้า เป็นคุณธรรมประจำใจอันประเสริฐ เป็นธรรมเครื่องอยู่ของพรหม



เมตตา ป็นธรรมชาติที่มีอยู่ในใจของเราทุกคน นอกจากตนเองจะมีเมตตาอยู่แล้วยังต้องการได้รับเมตตาจากผู้อื่นอีก คือปรารถนาดีต่อผู้อื่นแล้ว ต้องให้ผู้อื่นมีความปรารถนาดีต่อตนเองบ้าง ผู้มีเมตตาจึงควรแผ่เมตตาไปยังผู้อื่น สัตว์อื่นอยู่เสมอๆ โดยการมองคนในแง่ดี เหมือนมารดาบิดาเอ็นดูบุตร ธิดาของตน ดังคำโบราณว่าเอาใจเขามาใส่ใจเรา หรืออกเขาอกเรา



เมื่อนึกอยู่เช่นนี้เมตตาจะมีมากขึ้น ความสุขความสงบก็เกิดขึ้น จะระงับความเดือดร้อนความโกรธเคืองได้



เมตตา คือ การเจริญกัมมัฏฐานด้วยการสำรวมจิต แผ่ความปรารถนาดีไปยังสรรพสัตว์ให้เป็นสุขทั่วหน้า หลักการแผ่เมตตาจิตนั้นในเบื้องต้น พึงนึกเปรียบเทียบตนกับผู้อื่นก่อนว่าเรารักสุขเกลียดทุกข์ฉันใด คนอื่นก็รักสุขเกลียดทุกข์ฉันนั้นเหมือนกัน แล้วจึงแผ่เมตตาจิตไปยังสรรพสัตว์โดย 2 ลักษณะ คือ



1.แผ่ไปโดยเจาะจงบุคคล เป็นเมตตาชั้นต่ำ มีผลจำกัด แต่มีกำลังแรงกล้า



2.แผ่ไปโดยไม่เจาะจงบุคคล เป็นเมตตาชั้นสูง มีผลกว้างขวาง แต่มีกำลังอ่อน



ส่วนใหญ่นิยมแผ่เมตตาโดยไม่เจาะจง บทแผ่เมตตาโดยไม่เจาะจงว่า ขอสัตว์ทั้งหลายทั้งปวง จงเป็นผู้ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียน ไม่มีทุกข์ มีแต่ความสุข รักษาตนเถิด



การเจริญเมตตานี้เป็นคุณธรรมที่ทำลายความรู้สึกพยาบาทโดยตรง เมื่อเจริญเมตตาได้แล้วจิตจะผ่องแผ้วจากกิเลสที่เรียกว่าโทสะ ผลหรืออานิสงส์ที่ได้รับจากการเจริญเมตตาอยู่เสมอ คือ หลับเป็นสุข ตื่นเป็นสุข ไม่ฝันร้าย เป็นที่รักของมนุษย์ อมนุษย์ และเทวดาทั้งหลาย ไม่ประสบอุปัทวันตราย สีหน้าผ่องใส จิตสงบเป็นสมาธิได้เร็ว ไม่ตายอย่างไร้สติ ตายไปแล้วเมื่อยังไม่บรรลุธรรมชั้นสูงย่อมบังเกิดในสุคติ คือพรหมโลกตามสมควรแก่กำลังแห่งเมตตาจิตที่ตนเจริญอยู่เป็นประจำนั้น