ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
คนที่มีจิตใจอ่อนโยนส่วนใหญ่มัก คิดถึงสิ่งใดก่อนเสมอ  ( เลือกตอบแค่ ตัวเอง กับ คนอื่น ครับผม ):
คิดว่าความดีทำยากไหม( เลือกตอบแค่ ยาก กับ ไม่ยาก ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ความดีนำทาง:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ใต้ร่มธรรม:
การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ นิยมใช้คำว่า (อนุโมทนา) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ อนุโมทนา:
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆในโลกออนไลน์ใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
โดยปกติชน นิ้วมือของคนเรา มีกี่นิ้ว (ตอบเป็นภาษาไทยครับ):
วัฒนธรรมไทยเมื่อเห็นผู้ใหญ่ท่านจะทำความเคารพ ด้วยการไหว้ท่านก่อนเสมอใช่หรือไม่:
เมื่อให้ท่านเลือก ระหว่าง (หนังสือเก่าๆเล่มหนึ่งที่เรารัก) กับ (มิตรแท้ที่รักเรา) คุณจะะเลือก:
บุคคลที่ไปหลายๆเว็บไซต์ โดยที่สวมบทบาทเป็นหลายๆคน โดยที่ไม่รู้ว่า แท้จริงใจเราต้องการอะไร เพื่อน หรือ ชัยชนะ:
กล่าวคำดังนี้  "ขออโหสิกรรม":
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
ในโลกออนไลน์หรือโลกแห่งจิต ไม่มีใครทำอะไรเราได้ นอกเสียไปจาก (คนพาล) หรือ (ใจของเราเอง):
เคยนวดฝ่าเท้าให้ คุณพ่อคุณแม่บ้างไหม ถ้ามีโอกาส เราควรทำหรือไม่ (ควรกระทำอย่างยิ่ง หรือ ไม่ควรทำ):
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ใต้ร่มธรรมเองก็จะเป็นไปตามวัฐจักรนี้ ฉันท์ใดก็ฉันท์นั้น (เป็นจริง) หรือ (ไม่จริง):
พิมพ์คำว่า (แสงธรรมนำทางธรรมะนำใจ) ครับ:
สำนวนไทยที่ว่า แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน  พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ลางเนื้อชอบลางยา):
ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ผู้ที่ทำตนให้เล็กที่สุด ผู้ที่เล็กที่สุดก็จะกลายเป็นผู้ที่ใหญ่ที่สุด ผู้ที่มีเกียรติคือผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น ฉะนั้นสมาชิกใต้ร่มธรรมควรให้เกียรติกันและกัน พิมพ์คำว่า (ฉันจะให้เกียรติสมาชิกทุกๆท่านในใต้ร่มธรรมเสมอด้วยวาจาสุภาพอ่อนน้อม):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: กรกฎาคม 11, 2013, 07:50:55 pm »





กระต่ายดำ กระต่ายขาว ตอนที่ ๑
“มีคนจำนวนไม่น้อย ที่ไม่รู้ว่าพุทธศาสนามีนิกายนั้นนิกายนี้ด้วย
เพราะรู้กันแต่ในวงแคบๆ ว่า
พุทธศาสนาก็ต้องมีพระ มีวัด มีโบสถ์ มีศาลา อะไรเทือกนี้เท่านั้น
ส่วนจะมีพวกหมู่แตกแขนงออกไปอย่างไรนั้นไม่รู้
อันที่จริงแล้วพุทธศาสนามีหลายนิกาย
ซึ่งก็เหมือนกับศาสนาใหญ่ๆ ทั้งหลายในโลกนั้นแหละ

ที่มีการแตกกอแยกหน่อเป็นนิกายต่างๆ เพราะศาสนาสำคัญๆ ในโลกนี้
ไม่มีการหยุดนิ่ง จะเผยแพร่คำสอนเข้าไปในหมู่ชนต่างๆ
เมื่อไปอยู่ในต่างถิ่น ต่างภาษา ต่างวัฒนธรรม
ก็ย่อมจะมีการเปลี่ยนแปลงกันไปบ้างเป็นธรรมดา
(หลักคำสอนเปลี่ยนไม่ได้ แต่มีพิธีกรรม วิธีการปฏิบัติ ข้อปลีกย่อย
ย่อมจะต้องมีการดัดแปลงแต่งประยุกต์ให้เข้ากับถิ่นฐานนั้นๆ อย่างแน่นอน)
 
จนทุกวันนี้พุทธศาสนาเกิดนิกายต่างๆ มากมาย
ว่าโดยนิกายใหญ่ๆ พุทธศาสนามี ๒ นิกายคือ นิกายเถรวาท หรือทักษิณนิกาย
(แต่ถูกฝ่ายมหายานเรียกว่า หินยาน) และนิกายมหายาน หรืออุดรนิกาย
นิกายใหญ่ ๒ นิกายนั้น ต่างก็มีนิกายแยกย่อยต่อไปอีก
โดยเฉพาะนิกายมหายาน มีนิกายแยกย่อยออกไปอีกมาก
นอกจากนี้ยังมีนิกายอีกนิกายหนึ่งที่มีชื่อเสียงมาก
แม้พวกฝรั่งมังค่าก็นิยมศึกษาปฏิบัติกันคือ นิกายเซน
เป็นนิกายที่เริ่มแพร่หลายในประเทศญี่ปุ่น และจีนก่อน

แล้วจึงได้มีการเผยแพร่ในประเทศอื่นๆ
นิกายเซนนี้ บางท่านก็ว่าเป็นส่วนหนึ่งของนิกายมหายาน
บางท่านก็ว่าเป็นนิกายของพุทธศาสนานิกายหนึ่ง
ที่แยกต่างหากจากสองนิกายใหญ่นั้น
ผู้เขียนเห็นด้วยกับมติของท่านพุทธทาสภิกขุ พุทธปรัชญาเมธีผู้ยิ่งใหญ่
ที่ท่านมีความเห็นว่า นิกายเซนเป็นนิกายหนึ่งของพุทธศาสนา
มิใช่เป็นพวกมหายาน ดังที่ท่านกล่าวไว้ว่า
“พุทธศาสนาอย่างเซ็นนี้ ยังเป็นที่เข้าใจผิดกันอยู่มากในหมู่ชนชาวไทย
พอพูดถึงคำว่าเซน บางท่านก็ร้องว่า
เป็นเรื่องของเจ๊กปาหี่ที่เล่นกลชนิดหนึ่งหรือไม่ ?
 
ถูกแล้ว ถ้าจะเกณฑ์ให้เป็นเรื่องชนิดเจ๊กปาหี่ก็ได้เหมือนกัน
แต่เป็นเรื่อง “ปาหี่ทางวิญญาณ”
คือ ทำให้คนเข้าถึงธรรมได้อย่างประหลาดเกินคาดฝัน
แล้วก็ยังมีคนพวกหนึ่งว่า เซนคือมหายานที่บูชาอมิตาภะ โพธิสัตว์และดารานั่นเอง
และโดยเนื้อแท้แล้ว ไม่ควรนับเอานิกายเซนว่าเป็นพวกมหายาน
โดยเหตุที่ว่าวิธีของเซนนั้นไม่ได้เป็นของที่ทำให้ง่ายขึ้นสำหรับคนทั่วไป ทุกคน
เหมือนการนั่งบูชาอมิตาภะและโพธิสัตว์ตามแบบของมหายานนั้นเลย
หากจะเกณฑ์หรือบังคับให้พวกเซนมีอมิตาภะกับเขาบ้างไซร้

มันก็ต้องได้แก่ “จิตเดิมแท้” ตามแบบของเว่ยหลาง
หรือ “ความว่าง” ตามแบบของฮวงโปนั่นเอง
แล้วจะมานั่งบูชาหรืออ้อนวอนกันได้อย่างไร
และเป็นมหายานหรือยานใหญ่ที่สามารถขนคนโง่ทั้งโลกไปได้อย่างไรกัน
นอกจากนี้ ยังมีผู้เข้าใจผิดกล่าวหานิกายเซนอย่างนั้นอย่างนี้
โดยว่าเอาเองตามชอบใจอีกหลายอย่าง ซึ่งไม่อาจนำมากล่าวในที่นี้ให้หมดสิ้นได้
และไม่จำเป็นที่จะต้องนำมากล่าวด้วย...”




กระต่ายดำ กระต่ายขาว ตอนที่ ๒
“...สำหรับประเทศไทยของเรานั้น เรามีพระพุทธศาสนานิกายเถรวาทเป็นหลัก
โดยมีนิกายแยกย่อยออกไปอีกสองนิกาย คือ มหานิกาย และธรรมยุต (ธรรมยุติกนิกาย)
แต่เดิมพุทธศาสนาในไทยเราไม่มีนิกาย
เราเรียกตนเองว่า พระสงฆ์ไทยหรือสยามวงศ์ สมณวงศ์
ต่อเมื่อพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๔ คือพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ได้ทรงผนวชอยู่ จึงได้ตั้งนิกายขึ้นมา เรียกว่า นิกายธรรมยุต หรือธรรมยุติกนิกาย

พระภิกษุที่ร่วมอยู่ในนิกายนี้ เรียกว่า พระฝ่ายธรรมยุต
ทำให้เกิดนิกายใหม่อีกนิกายหนึ่ง ซึ่งเรียกว่า มหานิกาย
แปลว่า พวกมากเพราะมีจำนวนมากกว่า
ฝ่ายธรรมยุตนั้นมีจำนวนน้อยกว่า
แม้ว่าจะเกิดเป็นสองนิกาย แต่พระสงฆ์ทั้งสองฝ่าย
ก็ยังยึดถือพระธรรมวินัยอย่างเดียวกัน ทั้งๆ ที่ไม่มีอะไรแตกต่างกัน
แต่ก็ไม่สามารถจะหลอมรวมเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันได้ ไฉนจึงเป็นเช่นนั้น ?

ปรากฏการณ์ที่น่าสังเกตก็คือ
พระฝ่ายมหานิกายมักจะได้รับการชักชวนให้เข้าเป็นพวกหมู่ธรรมยุต
ต่อมาท่านรูปนั้นมักจะปรากฏว่ามีชื่อเสียง
แล้วก็จะช่วยกันเสริมส่งจนโด่งดังไปทั่วราชอาณาจักร
สมเด็จฯ โต เมื่อยังเป็นพระมหาโต
ก็เป็นพระดีอีกรูปหนึ่งที่ได้รับการชักชวนให้เข้านิกายธรรมยุต
ซึ่งตอนนั้น พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ ผนวชอยู่เป็นเจ้าอาวาสวัดสมอราย
ได้นิมนต์พระมหาโตไปสนทนาด้วย นัยว่าจะชวนเข้าหมู่ เมื่อรับสั่งถามว่า

“มีบุรุษสองคนเป็นเพื่อนเดินทางมาด้วยกัน คนทั้งสองเดินมาพบไหมเข้า
จึงทิ้งปอที่แบกมาเสีย เอาไหมไป อีกคนหนึ่งไม่เอา คงแบกปอไป
ท่านจะเห็นว่าคนแบกปอหรือคนแบกไหมดี ?”
มหาโตตอบเฉไปอีกทางหนึ่งว่า
“ยังมีกระต่ายสองตัว ขาวตัวหนึ่ง ดำตัวหนึ่ง เป็นเพื่อนร่วมหากินกันมาช้านาน”

วันหนึ่งกระต่ายสองตัวเที่ยวและเล็มหญ้ากิน
แต่กระต่ายขาวเห็นหญ้าอ่อนๆ ฝั่งฟากโน้นมีชุม
จึงว่ายน้ำข้ามฟากไปหากินฝั่งข้างโน้น
กระต่ายดำไม่ยอมไปทนกินอยู่ฝั่งเดียว
แต่นั้นมา กระต่ายขาวก็ข้ามน้ำไปหาหญ้ากินฝั่งข้างโน้นอยู่เรื่อย
วันหนึ่ง ขณะที่กระต่ายขาวกำลังว่ายน้ำข้ามฟาก
บังเกิดลมพัดจัด มีคลื่นปั่นป่วน กระแสน้ำเชี่ยวกราก
พัดเอากระต่ายขาวไป จะเข้าฝั่งไหนก็ไม่ได้ เลยจมน้ำตายในที่สุด
ส่วนกระต่ายดำก็ยังเที่ยวหากินอยู่ได้ไม่ตาย
ฝ่าธุลีพระบาทลองทำนายว่ากระต่ายตัวไหนจะดี”
ต่อมาเรื่องนี้ก็ไม่มีการพูดถึงกันอีก



ปริศนาธรรมสมเด็จฯ โต เรียบเรียงโดย ไพโรจน์ อยู่มณเฑียร
>>> F/B คติธรรมนำชีวิต