ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
กัน-ละ-ยา-นะ-มิด เขียนเป็นภาษาไทยที่ถูกต้องว่าอย่างไรครับ:
คิดว่าความดีทำยากไหม( เลือกตอบแค่ ยาก กับ ไม่ยาก ครับผม):
ถ้าเราโกรธใคร ธรรมะจะเป็นหนทางผ่อนคลายความโกรธนั้นลงได้ใช่ไหม ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม ):
คุณเชื่อว่าทุกศาสนาสอนให้ทุกคนเป็นคนดีใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า แสงธรรมนำใจ:
การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ นิยมใช้คำว่า (อนุโมทนา) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ อนุโมทนา:
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆในโลกออนไลน์ใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
ท่านจะปฏิบัติตามกฏระเบียบข้อตกลงของเว็บใต้ร่มธรรมทุกประการหรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
โดยปกติชน นิ้วมือของคนเรา มีกี่นิ้ว (ตอบเป็นภาษาไทยครับ):
ใต้ร่มธรรม เป็น แค่เว็บไซต์และจินตนาการทางจิต การทำดี สำคัญที่ใจเรา เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ พิมพ์คำว่า "เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ":
คุณพ่อคุณแม่เปรียบดั่งพระอรหันต์ในบ้าน พิมพ์คำว่า "คุณพ่อคุณแม่ฉันรักและเคารพท่านดุจพระอรหันต์":
เมื่อให้ท่านเลือก ระหว่าง (หนังสือเก่าๆเล่มหนึ่งที่เรารัก) กับ (มิตรแท้ที่รักเรา) คุณจะะเลือก:
ระหว่าง (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะผู้อื่น) กับ (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะตัวเอง)  ท่านจะเลือกเป็น:
กล่าวคำดังนี้  "ให้อภัยนะ":
กล่าวคำดังนี้  "ขออโหสิกรรม":
ในโลกออนไลน์หรือโลกแห่งจิต ไม่มีใครทำอะไรเราได้ นอกเสียไปจาก (คนพาล) หรือ (ใจของเราเอง):
เคยนวดฝ่าเท้าให้ คุณพ่อคุณแม่บ้างไหม ถ้ามีโอกาส เราควรทำหรือไม่ (ควรกระทำอย่างยิ่ง หรือ ไม่ควรทำ):
พิมพ์คำว่า (แสงธรรมนำทางธรรมะนำใจ) ครับ:
รู้สึกระอายใจไหมที่เราทำร้ายคนอื่นด้วยวาจาหรือสำนวนที่ไม่สุภาพ โดยที่คนคนนั้นเค้าเคยเป็นผู้มีพระคุณต่อเรามา (ไม่ละอายใจ)หรือ(ละอายใจ):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: sithiphong
« เมื่อ: สิงหาคม 12, 2013, 09:26:34 am »

ความสามารถในการแสดงออกเป็นสิ่งที่พัฒนาได้...
-http://www.ejobeasy.com/kmdetail.php?n=130806115124-

   การแสดงออกเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง เพราะการแสดงออกที่เหมาะสมจะทำให้ได้รับความรัก-ชอบ เชื่อถือศรัทธาอยากคบหาและเกิดสัมพันธะภาพอันดีต่อกัน เป็นประโยชน์กับชีวิตและงาน แต่ถ้าหากการแสดงออกที่ไม่เหมาะสมหรือการไม่กล้าแสดงออก ย่อมนำผลในทางลบมาสู่บุคคคลนั้นๆ เช่นความไม่พอใจ ไม่เป็นมิตร ไม่เชื่อถือศรัทธา ฯลฯ อย่างเช่นการแสดงออกที่ก้าวร้าวย่อมเป็นที่รังเกียจของผู้ที่เกี่ยวข้องเป็นต้น
 
การแสดงออกนั้นกล่าวกันว่าเป็นทักษะของมนุษยสัมพันธ์ ซึ่งสามารถสะท้อนวิธีคิดที่ปกติของคุณ และมันเป็นสิ่งถ่ายทอดความรู้สึกที่อยู่ลึกที่สุดของคุณ และแน่นอนว่ามันยังถ่ายทอดความสัมพันธ์ของตัวคุณเองกับผู้อื่นด้วย
 
ความสามารถในการแสดงออก หมายถึงการที่เราควรสื่อสารอย่างชัดเจน เปิดเผยและไม่ปกป้องตัวเอง ดังนั้น หากเราพัฒนาความสามารถในการแสดงออกได้อย่างเหมาะสมย่อมเป็นประโยชน์กับชีวิต
ความสามารถในการแสดงออกมีวิธีพัฒนาอย่างไรเรื่องนี้เป็นเรื่องที่เราต้องคิดและปฏิบัติด้วยตนเองและเมื่อปฏิบัติจนเคยชิน ก็จะกลายเป็นนิสัยที่มีความสามารถในการแสดงออกได้อย่างเหมาะสมในทุกสถานการณ์ โดยมีวิธีคิดและปฏิบัติ 8 ประการดังนี้
 
1.จงสร้างความมั่นใจในตัวเองขึ้นมา
เพราะคนจำนวนไม่น้อยที่ไม่กล้าแสดงออก เพราะกลัวผิดพลาด กลัวผู้อื่นติเตียน ฯลฯ จึงไม่แสดงออกดังนั้น หากคุณมีความมั่นใจในตัวเอง ว่าคุณทำได้คนอื่นๆเขาก็ยังทำได้ แล้วทำไมคุณจึงขลาดที่จะทำ ความมั่นใจก็เป็นเหมือนนิสัย ซึ่งต้องใช้เวลาในการก่อตัว และเมื่อปฏิบัติอย่างต่อเนื่องย่อมจะเกิดเป็นนิสัย ความมั่นใจทำให้คนเรากล้าคิดกล้าทำและกล้าแสดงออก
 
2.จงคาดหมายว่าจะมีความกังวลใจเกิดขึ้น
เป็นเรื่องที่ยอมรับกันได้ว่าในการสื่อสารของมนุษย์นั้น ทุกคนในบางครั้งจะมีความรู้สึกกังวลใจเมื่อพวกเขาพูดในสิ่งที่ตนคิดหรือรู้สึก เกรงว่าผู้ฟังจะไม่พอใจ-ไม่ชอบ จึงเกิดความกังวลใจ
ในเรื่องนี้จึงขอให้คุณคิดว่าเป็นเรื่องปกติธรรมดาใครๆก็เจอปัญหาแบบนี้กันทั้งนั้น จงตัดความกังวลใจออกไปเสีย คุณจะได้มีความสบายใจ มีความมั่นใจ ในการสื่อสาร เหตุที่กังวลก็เพราะคุณไม่ห่วงหรือสนใจความรู้สึกของผู้อื่นนั่นเอง
 
3.จงเชื่อในตัวคุณเอง
ถ้าหากคุณมีความรู้สึกไม่เชื่อในตัวเองละก็ คุณจะต้องเปลี่ยนความคิดนี้โดยเร็ว แม้เราไม่เชื่อในตัวเองแล้วใครเล่าจะเชื่อมั่นในตัวเรา ขอให้ลองพิจารณาข้อความต่อไปนี้ แล้วคุณจะควบคุมตัวเองให้เชื่อในตัวเอง นั่นก็คือ
หากคุณคิดว่าคุณแพ้ คุณก็จะเป็นเช่นนั้น
หากคุณคิดว่าคุณไม่แพ้ คุณก็จะไม่แพ้
หากคุณอยากจะชนะ แต่กลับคิดว่าคุณไม่สามารถทำได้
ค่อนข้างแน่นอนว่าคุณไม่สามารถชนะได้จริงๆ
ดังนั้น คุณจะได้เป็นอย่างที่คุณคิดและคุณทำเสมอ
 
4.จงดูและฟังสิ่งที่คนอื่นสื่อสารกับคุณ
การดู หมายถึงความเข้าใจภาษากายเมื่อผู้อื่นสื่อสารกับคุณ เพราะบางครั้งภาษากายของพวกเขาจะให้ข้อมูล ที่ถูกต้องแก่คุณมากกว่าสิ่งที่เขาพูดออกมาด้วยซ้ำไป
คุณจึงต้องระมัดระวังภาษากายเมื่อคุณสื่อสารกับผู้อื่นด้วยเช่นกัน
 
5.จงพิจารณาสถานการณ์
หมายถึงการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ คุณจะมีความตั้งใจแน่วแน่ และให้เวลากับตัวเอง เพื่อคิดและพิจารณาสถานการณ์ที่จะต้องจัดการ การทำเช่นนี้ จะทำให้คุณมั่นใจขึ้น และทำให้ความสามารถในการสื่อสารของคุณแข็งแกร่งยิ่งขึ้นด้วย
ทุกคนมีสิทธิ์พิจารณาก่อนพูด/ก่อนตอบ แต่จง คิดไว้ว่า อะไรเน้นผลลัพธ์สุดท้ายที่คุณต้องการบรรลุผลสำเร็จ เพราะมันจะทำให้การพูด-การตอบของคุณมุ่งไปสู่เป้าหมายดังกล่าว
อย่างที่ในวงการขายมีคำพูดว่า
“คุณเถียงชนะได้ แต่ทำให้คุณขายไม่ได้”
 
6.จงวางแผนการตอบสนองของคุณ
คือการตัดสินใจว่า คุณจะทำเมื่อไรและอย่างไรในการเตรียมสภาพจิตใจนั้น จงคิดใช้คำพูดที่เป็นของตัวเองและยอมรับว่าในบางกรณี คนบางคนที่เกี่ยวข้องด้วย อาจผิดหวังหรือโกรธเคืองได้ แต่คุณก็ได้ทำสิ่งที่ดีที่สุดที่ที่น่าทำ
จงอย่างหวังแค่ผลลัพธ์ที่เป็นเลิศ แต่จงเตรียมใจสำหรับสถานการณ์ที่เลวร้ายที่สุดซึ่งอาจเกิดขึ้นได้ ดังนั้นหากคุณมีแผนฉุกเฉินไว้รองรับและเตรียมใจไว้เผื่อ ภายในจิตใจของคุณก็จะไม่หวั่นไหว คงมีแต่ความคิดในทางสร้างสรรค์
 
7.จงสร้างจุดยื่นให้กับตัวคุณเอง
ถ้าคุณตื่นเต้นหรือรู้สึกกังวลใจเป็นอย่างมาก ให้สูดลมหายใจเข้าลึกๆสักสองสามครั้ง การทำแบบนี้จะทำให้ระบบประสาทสงบลง เป็นการสร้างออกซิเจนให้กับกระแสเลือด
จงผ่อนคลายและมองผลลัพธ์ทางบวกในจิตใจของคุณ จงสร้างความชัดเจนในสิ่งที่คุณกำลังพูดทั้งหมด
 
8.จงคิดในแง่ดี
จงคิดในแง่ดี จงมีความสุข ร่าเริงและยิ้มแย้ม จงพูดแต่สิ่งที่ดี การกล่าวคำสรรเสริญทั่วๆไปจงยกย่อง และจงทำอย่างกระตือรือร้น เพราะคนอื่นจะรู้สึกปลอดภัยเมื่ออยู่กับคุณ เพราะพวกเขารู้ว่าจริงๆแล้วคุณรู้สึกอย่างไร
ทั้งหมดนี้จะทำให้คุณพัฒนาความสามารถในการแสดงออกได้สำเร็จ
 
 
ที่มา : คอลัมน์ เตรียมพร้อม..ซ้อมดี..มีชัย โดย รศ.นงลักษณ์ สุทธิวัฒนพันธ์
-www.facebook.com/ejobeasy-

ผู้เขียน : รศ.นงลักษณ์ สุทธิวัฒนพันธ์
คอลัมน์ :