ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
คุณเชื่อในศรัทธาของความดีไหมครับ ( เลือกตอบแค่ เชื่อ กับ ไม่เชื่อ ครับผม):
คิดว่าความดีทำยากไหม( เลือกตอบแค่ ยาก กับ ไม่ยาก ครับผม):
ถ้าเราโกรธใคร ธรรมะจะเป็นหนทางผ่อนคลายความโกรธนั้นลงได้ใช่ไหม ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม ):
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆแนวธรรมะในจิตใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า แสงธรรมนำใจ:
การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ นิยมใช้คำว่า (อนุโมทนา) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ อนุโมทนา:
ท่านจะปฏิบัติตามกฏระเบียบข้อตกลงของเว็บใต้ร่มธรรมทุกประการหรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
โดยปกติชน นิ้วมือของคนเรา มีกี่นิ้ว (ตอบเป็นภาษาไทยครับ):
ใต้ร่มธรรม เป็น แค่เว็บไซต์และจินตนาการทางจิต การทำดี สำคัญที่ใจเรา เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ พิมพ์คำว่า "เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ":
คุณพ่อคุณแม่เปรียบดั่งพระอรหันต์ในบ้าน พิมพ์คำว่า "คุณพ่อคุณแม่ฉันรักและเคารพท่านดุจพระอรหันต์":
ระหว่าง (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะผู้อื่น) กับ (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะตัวเอง)  ท่านจะเลือกเป็น:
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
ในโลกออนไลน์หรือโลกแห่งจิต ไม่มีใครทำอะไรเราได้ นอกเสียไปจาก (คนพาล) หรือ (ใจของเราเอง):
ธรรมะคือ ธรรมชาติ พิมพ์คำว่า (ธรรมะชาติ) ครับ:
รู้สึกระอายใจไหมที่เราทำร้ายคนอื่นด้วยวาจาหรือสำนวนที่ไม่สุภาพ โดยที่คนคนนั้นเค้าเคยเป็นผู้มีพระคุณต่อเรามา (ไม่ละอายใจ)หรือ(ละอายใจ):
สำนวนไทยที่ว่า แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน  พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ลางเนื้อชอบลางยา):
ขนทรายเข้าวัดคือ พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ทำบุญทำกุศลโดยวิธีนำหรือหาประโยชน์เพื่อส่วนรวมมิได้ทำเพื่อตนเอง):
ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ผู้ที่ทำตนให้เล็กที่สุด ผู้ที่เล็กที่สุดก็จะกลายเป็นผู้ที่ใหญ่ที่สุด ผู้ที่มีเกียรติคือผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น ฉะนั้นสมาชิกใต้ร่มธรรมควรให้เกียรติกันและกัน พิมพ์คำว่า (ฉันจะให้เกียรติสมาชิกทุกๆท่านในใต้ร่มธรรมเสมอด้วยวาจาสุภาพอ่อนน้อม):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: สิงหาคม 19, 2013, 05:53:07 pm »




 
หนทางที่ไม่ต้องเกิด
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้ใน โรหิตัสสสูตร ว่า
คมเนน น ปตฺตพฺโพ โลกสฺสนฺโต กุทาจนํ น จ
อปฺปตฺวา โลกนฺตํ ทุกฺขา
อตฺถิ ปโมจนํ ตสฺมา หเว โลกวิทู สุเมโธ
โลกนฺตคู วุสิตพฺรหฺมจริโย โลกสฺส

อนฺตํ สมิตาวิ ญตฺวา นาสึสติ โลกมิมํ ปรญฺจ


แต่ไหนแต่ไรมา ยังไม่มีใครบรรลุถึงที่สุดโลก
ด้วยการเดินทาง
และเพราะยังบรรลุถึงที่สุดโลกไม่ได้
จึงไม่พ้นไปจากทุกข์
เหตุนั้นแล คนมีปัญญาดี รู้แจ้งโลก
ถึงที่สุดโลกแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว
รู้ที่สุดโลกแล้ว
เป็นผู้สงบแล้ว จึงไม่หวังโลกนี้และโลกอื่น”

G+ Tik Jng
สนทนาธรรมตามกาล

ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: สิงหาคม 19, 2013, 05:49:02 pm »




พระสูตรความย่อ
โรหิตัสสสูตรที่ ๑
ว่าด้วย โรหิตัสสเทพบุตรทูลถามปัญหา
ที่มา: พระไตรปีฎกภาษาไทย ฉบับหลวง พ.ศ. ๒๕๒๕
เล่ม ๒๑ ข้อ ๔๕ หน้า ๔๗ - ๔๘
,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,
สาระสังเขป
สถานที่:   พระวิหารเชตวัน พระนครสาวัตถี
ผู้สอน:   พระพุทธเจ้า
ผู้รับคำสอน:   โรหิตัสสเทวบุตร
หัวข้อธรรม:   ที่สุดแห่งโลก - ที่สุดแห่งทุกข์ ?
โลก - ในกายใจ
,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,
 ดูพระสูตร [๑] สมัยหนึ่ง พระพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี
     ครั้งนั้น โรหิตัสสเทวบุตร เข้าไปเฝ้าพระองค์ถึงที่ประทับ และได้ทูลถามว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ที่ใดซึ่งสัตว์ไม่เกิด ไม่แก่ ไม่ตาย พระองค์สามารถเสด็จไปยังที่นั้น เพื่อจะทรงทราบ ทรงเห็น หรือทรงถึงซึ่งที่สุดแห่งโลกได้หรือไม่
     พระพุทธเจ้าตรัสตอบว่า ดูกรอาวุโส ที่ซึ่งสัตว์ไม่เกิด ไม่แก่ ไม่ตาย นั้น เราย่อมไม่กล่าวว่า เป็นที่สุดแห่งโลกที่ควรรู้ ควรเห็น ควรถึงด้วยการไป
     โร. อัศจรรย์ พระเจ้าข้า พระองค์ตรัสชอบแล้ว ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ในอดีต ข้าพระองค์เป็นฤาษีชื่อโรหิตัสสะ มีฤทธิ์ เหาะไปในอากาศได้ด้วยความเร็วดุจลูกศรที่ยิงไปโดยนายขมังธนูผู้เชี่ยวชาญ ย่างเท้าแต่ละก้าวไกลข้ามมหาสมุทร ข้าพระองค์ปรารถนาที่จะไปให้ถึงที่สุดแห่งโลก ด้วยความเร็วและก้าวไกลถึงปานนั้น โดยไม่กิน ไม่นอน ไม่พักผ่อนเลย ตลอดอายุร้อยปี แม้กระนั้นข้าพระองค์ก็ตายเสียก่อนที่จะไปถึงที่สุดแห่งโลก
ที่มา: โรหิตัสสสูตรที่ ๑ ๒๑[๔๕]๔๗-๔๘ ไปที่สาระสังเขป

 ดูพระสูตร [๒] พ. ดูกรอาวุโส ที่ซึ่งสัตว์ไม่เกิด ไม่แก่ ไม่ตายนั้น ไม่ใช่ที่สุดแห่งโลกที่ควรรู้ ควรเห็น ควรถึงด้วยการไป และการไปไม่ถึงที่สุดแห่งโลก ก็ไม่ใช่ การกระทำที่สุดแห่งทุกข์ [นั่นคือ การบรรลุที่สุดแห่งทุกข์ ไม่ใช่การไปถึงที่สุดแห่งโลก และไม่ใช่การไปไม่ถึงที่สุดแห่งโลก]
      เราย่อมบัญญัติโลก เหตุเกิดแห่งโลก ความดับแห่งโลก และปฏิปทา เครื่องให้ถึงความดับแห่งโลก ในอัตภาพอันมีประมาณวาหนึ่ง มีสัญญาและมีใจนี้ เท่านั้น

ในกาลใหน ๆ ที่สุดแห่งโลก อันใคร ๆ ไม่พึงถึงด้วยการไป และการเปลื้องตนให้พ้นจากทุกข์ ย่อมไม่มีเพราะไม่ถึงที่สุดแห่งโลก เพราะฉะนั้นแล ท่านผู้รู้แจ้งโลก มีเมธาดี ถึงที่สุดแห่งโลก มีพรหมจรรย์อยู่จบแล้ว เป็นผู้มีบาปอันสงบ รู้ที่สุดแห่งโลกแล้ว ย่อมไม่หวังโลกนี้และโลกหน้า

ที่มา: โรหิตัสสสูตรที่ ๑ ๒๑[๔๕]๔๘
http://www.navy.mi.th/misc/budham/suts/rohts.htm
********************************

ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: สิงหาคม 19, 2013, 05:44:19 pm »





ที่สุดแห่งโลก คืออะไร ??     
ในพระไตรปิฏกมีจารึกเอาไว้ว่า สมัยก่อนพุทธกาล มีมาณพหนุ่มคนหนึ่ง ชื่อ“โรหิตัสสะ” อยากจะรู้ความเป็นจริงของโลก ว่าที่สุดของโลกหรือที่สุดของจักรวาลอยู่ที่ไหน เมื่อเรียนจบศิลปวิทยาทั้ง ๑๘ สาขาแล้ว ก็พยายามศึกษาค้นคว้าด้วยตัวเอง โดยออกบวชเป็นฤาษี ตั้งใจฝึกสมาธิอย่างจริงจัง จนสามารถทำฌานสมาบัติให้เกิดได้ เป็นฤาษีที่มีฤทธิ์มีเดช สามารถเหาะเหินเดินอากาศไปได้ตามความปรารถนา เวลาจะไปแสวงหาอาหารและผลไม้ ท่านก็จะเหาะไปยังป่าหิมพานต์ หรือไม่ก็เหาะข้ามไปยังอุตตรกุรุทวีป แล้วก็กลับมาบำเพ็ญภาวนาต่อในมนุษย์โลก

ท่านฝึกทำสมาธิจนใช้งานได้แคล่วคล่อง นึกอยากไปไหนก็ไปได้ทันที เมื่อมีฤทธานุภาพมากแล้ว จึงตั้งใจว่าจะเดินทางไปให้สุดโลก ได้เข้าฌานสมาบัติ แล้วเหาะไปเรื่อยๆ โดยไม่หยุดพักในระหว่างทาง มีปีติสุขอยู่ในฌานเป็นภักษาหาร ไม่เหนื่อยไม่เมื่อยไม่ต้องเสียเวลานอนหลับพักผ่อน ท่านใช้เวลาเดินทางอยู่อย่างนั้น เป็นเวลานานถึง๑๐๐ ปี จากจักรวาลหนึ่งไปยังอีกจักรวาลหนึ่ง ถึงแสนโกฏิจักรวาล อนันตจักรวาล ก็ยังไปไม่สุด

ลูกธนูที่นายขมังธนูยิงออกจากแล่ง ว่ามีความเร็วปานใด ท่านยังมีความเร็วยิ่งกว่านั้นเป็นแสนเป็นล้านเท่า แต่ถึงกระนั้น ก็ไม่สามารถไปให้สุดจักรวาลได้ ต้องหมดอายุขัยลงในระหว่างทางนั่นเอง เมื่อสิ้นชีวิตแล้วก็ได้ไปบังเกิดในโลกสวรรค์ เป็นเทพบุตร ผู้มีรัศมีกายสว่างไสว

เมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จอุบัติขึ้นในโลก โรหิตตัสสเทพบุตรได้ออกจากวิมาน มาถวายบังคมพระพุทธองค์ ซึ่งกำลังประทับอยู่ที่เชตวันมหาวิหาร ได้กราบทูลถามปัญหาที่ค้างคาใจมานานว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ มีสถานที่ใด ที่ไม่มีการเกิด การแก่ การเจ็บ และการตายบ้างไหมหนอ ข้าพระองค์ได้เดินทางตลอดชีวิตเมื่อเป็นมหาฤาษี แต่ต้องตายเสียในระหว่างทาง ยังไม่สามารถเดินทางให้พ้นจากโลก พ้นจากภพได้เลย แล้วจะมีมนุษย์ที่สามารถไปให้ถึงที่สุดโลก ได้หรือเปล่า พระเจ้าข้า

พระพุทธองค์ตรัสว่า “ท่าน เทพบุตร ที่สุดโลกนั้น บุคคลไม่อาจไปได้ด้วย การเดินทางไกล ถ้าหากตถาคตยังไม่บรรลุถึงที่สุดของโลกแล้ว ก็จะไม่กล่าวถึงการกระทำที่สุดทุกข์ ก็แต่บัดนี้ ตถาคตบัญญัติโลก เหตุให้เกิดโลก การดับของโลก และทางที่ให้ถึงความดับโลก ว่ามีอยู่ในเรือนกายยาววา หนาคืบ กว้างศอก ที่มีใจครองนี้

ที่สุดแห่งโลก เป็นที่สุดแห่งทุกข์หรือ ?
พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงพระนามว่า “โลกวิทู” แปลว่า “ผู้รู้แจ้งโลก”
คำว่า โลก ในที่นี้ มีความหมายเป็น ๒ นัย คือ

นัยที่ ๑ “โลก” หมายถึงชีวิตร่างกายของเรา ดังที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ตรัสว่า
... อาวุโส ในร่างกายซึ่งมีประมาณวาหนึ่ง มีพร้อมทั้งสัญญา พร้อมทั้งใจนี้แล เราบัญญัติโลกไว้ บัญญัติเหตุเกิดโลกไว้ บัญญัติความดับโลกไว้ และบัญญัติทางอันจะให้ถึงความดับโลกไว้

พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงรู้แจ้งแทงตลอดถึงสภาพอันแท้จริงของชีวิตคนเราว่า ต้องมีความแก่เฒ่า เจ็บไข้ได้ป่วย ต้องกระทบกับความเย็น ร้อน หิว กระหาย ประสบกับสิ่งที่ชอบใจบ้าง ไม่ชอบใจบ้าง ทรงบัญญัติเรื่องนี้ว่า “ทุกขอริยสัจ

ทรงรู้แจ้งแทงตลอดถึงเหตุแห่งการเกิดของชีวิต ซึ่งทรงบัญญัติว่า “ทุกขสมุทัยอริยสัจ”
ทรงรู้แจ้งแทงตลอดถึงการหยุดเวียนว่ายตายเกิดในวัฏฏสงสาร ซึ่งทรงบัญญัติว่า “ทุกขนิโรธอริยสัจ”
ทรงรู้แจ้งแทงตลอดถึงวิธีปฏิบัติ เพื่อหยุดการเวียนว่ายตายเกิด ซึ่งทรงบัญญัติว่า “ทุกขนิโรธคามินีอริยสัจ” หรือ “มรรคอริยสัจ”

พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงเรียก “นิโรธ” ว่า “ที่สุดแห่งโลก” ณ ที่สุดแห่งโลกนั้น ไม่ต้องเกิด   ไม่ต้องแก่ ไม่ต้องตาย บุคคลที่ยังไม่ถึงที่สุดแห่งโลก ย่อมไม่สามารถทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ ที่สุดแห่งโลกนั้นไม่สามารถไปถึงได้ด้วยยวดยานใดๆ ทั้งยังไม่ปรากฏว่า มีบุคคลอื่นใดจะพึงทราบ พึงเห็น พึงถึงที่สุดของโลกเลย แต่พระองค์นั้นทรงทราบชัดด้วยญาณทัสสนะอันเกิดจากการปฏิบัติธรรม และทรงถึงที่สุดแห่งโลกแล้ว ทรงอยู่จบพรหมจรรย์แล้ว๒  ทรงสงบด้วยประการทั้งปวง มิได้ทรงหวังโลกนี้และโลกหน้าอีกเลย เพราะเหตุนี้ พระองค์จึงทรงพระนามว่า “โลกวิทู” คือ “ทรงรู้แจ้งโลก

นัยที่ ๒ “โลก” หมายถึงโลก ๓ ซึ่งประกอบด้วย
๑) สังขารโลก หมายถึง ขันธ์ ๕ ได้แก่ รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ
๒) สัตวโลก หมายถึง สัตว์ผู้ไปเกิดมาเกิดโดยอาศัยขันธ์ ๕
๓) โอกาสโลก หมายถึง โลกภายนอก คือ แผ่นดิน มหาสมุทร จักรวาลทั้งปวง ซึ่งสัตว์ทั้งหลายที่อาศัยขันธ์ ๕ ก็อาศัยอยู่ในโอกาสโลกนี้อีกชั้นหนึ่ง

ที่ว่าพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเป็นผู้รู้แจ้งโลก จึงหมายถึงการที่พระองค์ทรงรู้ถึงจริต อัธยาศัย อินทรีย์ กรรม ทิฎฐิ ธรรมอันทำให้เกิดแห่งสัตว์ทั้งหลายอย่างกระจ่างแจ้ง ทรงรู้ถึงลักษณะของขันธ์ ๕ อันเป็นไปตามกฎแห่งไตรลักษณ์ และแม้โครงสร้าง องค์ประกอบแห่งจักรวาล โลกภายนอกที่ล้อมรอบตัวเราอยู่ พระองค์ก็ทรงรู้อย่างสิ้นเชิง

จากคุณ   : Inquirer  Bloggang
เขียนเมื่อ   : 29 ก.ย. 52 19:25:51
:http://www.bloggang.com/viewblog.php?id=inquirer&group=11
********************************

ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: สิงหาคม 19, 2013, 05:40:32 pm »





พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๑  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๓
อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต
โรหิตัสสสูตรที่ ๑

            [๔๕] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน
อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ครั้งนั้นแล
โรหิตัสสเทวบุตร เมื่อปฐมยามล่วงไปแล้ว มีรัศมีงามยิ่งนัก ยังพระวิหาร
เชตวันทั้งสิ้นให้สว่างไสว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาท
แล้วยืน ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์
ผู้เจริญ สัตว์ย่อมไม่เกิด ย่อมไม่แก่ ย่อมไม่ตาย ย่อมไม่จุติ ย่อมไม่อุบัติ
ในโอกาสใดหนอแล พระองค์อาจหรือหนอเพื่อจะทรงทราบ เพื่อจะทรงเห็น
หรือเพื่อจะทรงถึงซึ่งที่สุดแห่งโลกด้วยการเสด็จไปในโอกาสนั้น พระผู้มีพระภาค
ตรัสตอบว่า ดูกรอาวุโส สัตว์ย่อมไม่เกิด ย่อมไม่แก่ ย่อมไม่ตาย ย่อมไม่จุติ
ย่อมไม่อุบัติ ในโอกาสใดแล เราย่อมไม่กล่าวโอกาสนั้นว่าเป็นที่สุดแห่งโลก
ที่ควรรู้ ควรเห็น ควรถึงด้วยการไป ฯ

            โร. อัศจรรย์ พระเจ้าข้า สิ่งไม่เคยมีได้มีขึ้น พระเจ้าข้า เท่าที่พระผู้มี
พระภาคตรัสพระดำรัสนี้ว่า ดูกรอาวุโส สัตว์ย่อมไม่เกิด ย่อมไม่แก่ ย่อมไม่ตาย
ย่อมไม่จุติ ย่อมไม่อุบัติ ในโอกาสใดแล เราย่อมไม่กล่าวโอกาสนั้น ว่าเป็น
ที่สุดแห่งโลก ที่ควรรู้ ควรเห็น ควรถึง ด้วยการไป เป็นอันตรัสดีแล้ว
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เรื่องเคยมีมาแล้ว ข้าพระองค์เป็นฤาษีชื่อโรหิตัสสะ
เป็นบุตรนายบ้าน มีฤทธิ์ไปในอากาศได้ ความเร็วของข้าพระองค์นั้นเปรียบได้กับ
นายขมังธนู ผู้มีธนูอันมั่นเหมาะ ศึกษาดีแล้ว เชี่ยวชาญ เคยแสดงให้
ปรากฏแล้ว พึงยิงลูกศรอันเบาให้ผ่านเงาตาลด้านขวางไปได้โดยไม่สู้ยาก ฉะนั้น
การยกย่างเท้าแต่ละก้าวของข้าพระองค์ เปรียบด้วยสมุทรด้านตะวันตกไกล
จากสมุทรด้านตะวันออก ฉะนั้น ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ความปรารถนาเห็น
ปานนี้ว่า เราจักถึงที่สุดแห่งโลกด้วยการไป เกิดขึ้นแล้วแก่ข้าพระองค์นั้น
ผู้ประกอบด้วยกำลังเร็วเห็นปานนั้น และด้วยการยกย่างเท้าเห็นปานนั้น ข้าพระองค์
นั้นแล เว้นจากการกิน การดื่ม การเคี้ยว การลิ้ม เว้นจากการถ่าย
อุจจาระ ปัสสาวะ เว้นจากการหลับและการบรรเทาความเหน็ดเหนื่อย เป็นผู้มี
ชีวิตอยู่ตลอดร้อยปีในคราวที่มนุษย์มีอายุร้อยปี ไปตลอดร้อยปี ไม่ทันถึงที่สุด
แห่งโลก ได้ทำกาละเสียในระหว่างทีเดียว น่าอัศจรรย์ พระเจ้าข้า สิ่งไม่เคยมี
ได้มีขึ้นพระเจ้าข้า เท่าที่พระผู้มีพระภาคตรัสพระดำรัสนี้ว่า ดูกรอาวุโส
สัตว์ย่อมไม่เกิด ย่อมไม่แก่ ย่อมไม่ตาย ย่อมไม่จุติ ย่อมไม่อุบัติ ในโอกาส
ใด เราไม่กล่าวโอกาสนั้น ว่าเป็นที่สุดแห่งโลก ที่ควรรู้ ควรเห็น ควรถึง
ด้วยการไป เป็นอันตรัสดีแล้ว

            พ. ดูกรอาวุโส สัตว์ย่อมไม่เกิด ย่อมไม่แก่ ย่อมไม่ตาย ย่อม
ไม่จุติ ย่อมไม่อุบัติ ในโอกาสใด เราไม่กล่าวโอกาสนั้น ว่าเป็นที่สุด
แห่งโลก ที่ควรรู้ ควรเห็น ควรถึง ด้วยการไป และเราย่อมไม่กล่าวการกระทำ
ที่สุดแห่งทุกข์ เพราะไปไม่ถึงที่สุดแห่งโลก แต่เราย่อมบัญญัติโลก เหตุเกิด
แห่งโลก ความดับแห่งโลก และปฏิปทาเครื่องให้ถึงความดับแห่งโลก ในอัตภาพ
อันมีประมาณวาหนึ่ง มีสัญญาและมีใจนี้เท่านั้น ฯ

                         ในกาลไหนๆ ที่สุดแห่งโลก อันใครๆ ไม่พึงถึงด้วยการไป
                         และการเปลื้องตนให้พ้นจากทุกข์ ย่อมไม่มีเพราะไม่ถึงที่สุด
                         แห่งโลก เพราะฉะนั้นแล ท่านผู้รู้แจ้งโลก มีเมธาดี
                         ถึงที่สุดแห่งโลก มีพรหมจรรย์อยู่จบแล้ว เป็นผู้มีบาป
                         อันสงบ รู้ที่สุดแห่งโลกแล้ว ย่อมไม่หวังโลกนี้และ
                         โลกหน้า ฯ
จบสูตรที่ ๕

            เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๑  บรรทัดที่ ๑๒๘๒ - ๑๓๒๖.  หน้าที่  ๕๕ - ๕๗.
:http://www.84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=21&A=1282&Z=1326&pagebreak=0
**************************************