ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
คนที่มีจิตใจอ่อนโยนส่วนใหญ่มัก คิดถึงสิ่งใดก่อนเสมอ  ( เลือกตอบแค่ ตัวเอง กับ คนอื่น ครับผม ):
กัน-ละ-ยา-นะ-มิด เขียนเป็นภาษาไทยที่ถูกต้องว่าอย่างไรครับ:
คุณเชื่อในศรัทธาของความดีไหมครับ ( เลือกตอบแค่ เชื่อ กับ ไม่เชื่อ ครับผม):
คิดว่าความดีทำยากไหม( เลือกตอบแค่ ยาก กับ ไม่ยาก ครับผม):
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆแนวธรรมะในจิตใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า แสงธรรมนำใจ:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ความดีนำทาง:
การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ นิยมใช้คำว่า (อนุโมทนา) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ อนุโมทนา:
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆในโลกออนไลน์ใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
วัฒนธรรมไทยเมื่อเห็นผู้ใหญ่ท่านจะทำความเคารพ ด้วยการไหว้ท่านก่อนเสมอใช่หรือไม่:
คุณพ่อคุณแม่เปรียบดั่งพระอรหันต์ในบ้าน พิมพ์คำว่า "คุณพ่อคุณแม่ฉันรักและเคารพท่านดุจพระอรหันต์":
บุคคลที่ไปหลายๆเว็บไซต์ โดยที่สวมบทบาทเป็นหลายๆคน โดยที่ไม่รู้ว่า แท้จริงใจเราต้องการอะไร เพื่อน หรือ ชัยชนะ:
ระหว่าง (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะผู้อื่น) กับ (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะตัวเอง)  ท่านจะเลือกเป็น:
กล่าวคำดังนี้  "ให้อภัยนะ":
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
เคยนวดฝ่าเท้าให้ คุณพ่อคุณแม่บ้างไหม ถ้ามีโอกาส เราควรทำหรือไม่ (ควรกระทำอย่างยิ่ง หรือ ไม่ควรทำ):
พิมพ์คำว่า (แสงธรรมนำทางธรรมะนำใจ) ครับ:
ขนทรายเข้าวัดคือ พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ทำบุญทำกุศลโดยวิธีนำหรือหาประโยชน์เพื่อส่วนรวมมิได้ทำเพื่อตนเอง):
ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ผู้ที่ทำตนให้เล็กที่สุด ผู้ที่เล็กที่สุดก็จะกลายเป็นผู้ที่ใหญ่ที่สุด ผู้ที่มีเกียรติคือผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น ฉะนั้นสมาชิกใต้ร่มธรรมควรให้เกียรติกันและกัน พิมพ์คำว่า (ฉันจะให้เกียรติสมาชิกทุกๆท่านในใต้ร่มธรรมเสมอด้วยวาจาสุภาพอ่อนน้อม):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: สิงหาคม 29, 2013, 01:08:07 pm »




ลักษณะการตัดสินพระธรรมวินัย 8 ประการ

เนื้อแท้ หมายถึงเนื้อที่เกิดขึ้นในร่างกายมาแต่เดิมรวมเป็นองคาพยพของชีวิตคนและสัตว์ เนื้องอก หมายถึงเนื้อร้ายที่แฝงเกิดขึ้นมาภายหลัง ทำให้เกิดอันตรายต่อร่างกายและชีวิต ทางการแพทย์ ต้องทำลาย หรือตัดทิ้ง ชีวิตจึงจะปลอดภัย

คำสอนต่าง ๆ ในพระพุทธศาสนา ก็เช่นเดียวกัน เนื้อแท้คือคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทั้งที่เป็นส่วนพุทธพจน์ (พระพุทธเจ้าตรัสเอง) และพุทธมติ (บุคคลอื่นเช่นสาวก สาวิกา พูด แต่ก็อยู่ในหลักการของพระพุทธเจ้าไม่ออกนอกลู่นอกทาง)

เนื้องอก คือคำสอนที่เกิดขึ้นใหม่ นอกพุทธพจน์ และพุทธมติ ซึ่งเรียกอีกอย่างว่า สัทธรรมปฏิรูป ..เป็นการอธิบายธรรมที่ออกนอกกรอบคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ซึ่งปัจจุบันนี้เกิดขึ้นมากมาย แล้วนำไปยื่นใส่พระพุทธโอษฐ์ คนที่ไม่รู้ความจริง คิดว่านี่คือคำสั่งสอนพระพุทธเจ้า ย่อมหลงยึดถือ ปฏิบัติตาม เป็นอันตรายต่อพระพุทธศาสนาอย่างแท้จริง

พระพุทธเจ้าจึงให้ตรัส วิธีตัดสินอันไหนเป็นพระธรรมวินัยจริงหรือปลอม
ในหลักธรรมที่เรียกว่า "ลักษณะการตัดสินพระธรมวินัย 8 ประการ และ ปหาปเทส 4

ลักษณะตัดสินธรรมวินัย 8 ประการ
ธรรมเหล่าใดเป็นไปเพื่อความกำหนัดย้อมใจ 1.
เป็นไปเพื่อความประกอบทุกข์ 1.
เป็นไปเพื่อความสะสมกองกิเลส 1.
เป็นไปเพื่อความอยากใหญ่ 1.
เป็นไปเพื่อความไม่สันโดษยินดีด้วยของมีอยู่
คือมีนี่แล้วอยากได้นั่น 1.
เป็นไปเพื่อความคลุกคลีด้วยหมู่คณะ. 1.
เป็นไปเพื่อความเกียจคร้าน 1.
เป็นไปเพื่อความเลี้ยงยาก 1.

ธรรมเหล่านี้พึงรู้ว่า ไม่ใช่ธรรม ไม่ใช่วินัย ไม่ใช่คำสั่งสอน
ของพระศาสดา.
ธรรมเหล่าใดเป็นไปเพื่อความคลายกำหนัด 1.
เป็นไปเพื่อความปราศจากทุกข์ 1.
เป็นไปเพื่อความไม่สะสมกองกิเลส 1.
เป็นไปเพื่อความอยากอันน้อย 1.
เป็นไปเพื่อความสันโดษยินดีด้วยของมีอยู่ 1.
เป็นไปเพื่อความสงัดจากหมู่ 1.
เป็นไปเพื่อความเพียร 1.
เป็นไปเพื่อความเลี้ยงง่าย 1.
ธรรมเหล่านี้พึงรู้ว่า เป็นธรรม เป็นวินัย เป็นคำสั่งสอนของ
พระศาสดา. องฺ. อฏฺก. 23/288



มหาปเทส 4
ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุทั้งหลายเกิดความรังเกียจในพระบัญญัติ บางสิ่งบางอย่างว่า สิ่งใดหนอ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุญาตไว้ สิ่งใดไม่ได้ทรงอนุญาต จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระมีพระภาคเจ้า. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสประทานสำหรับอ้าง 4 ข้อ ดังต่อไปนี้.

1. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดที่เราไม่ได้ห้ามไว้ว่า สิ่งนี้ไม่ควร หากสิ่งนั้นเข้ากับสิ่งที่ไม่ควร ขัดกับสิ่งที่ควร สิ่งนั้นไม่ควรแก่เธอทั้งหลาย.

2. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดที่เราไม่ได้ห้ามไว้ว่า สิ่งนี้ไม่ควรหากสิ่งนั้นเข้ากับสิ่งที่ควร ขัดกับสิ่งที่ไม่ควร สิ่งนั้นควรแก่เธอทั้งหลาย.

3. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดที่เราไม่ได้อนุญาตไว้ว่า สิ่งนี้ควรหากสิ่งนั้นเข้ากับสิ่งที่ไม่ควร ขัดกับสิ่งที่ควร สิ่งนั้นไม่ควรแก่เธอทั้งหลาย.

4. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดที่เราไม่ได้อนุญาตไว้ว่า สิ่งนี้ควรหากสิ่งนั้นเข้ากับสิ่งที่ควร ขัดกับสิ่งที่ไม่ควร สิ่งนั้นควรแก่เธอทั้งหลาย.

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม 5 ภาค 2 - หน้าที่ 190


>>> F/B อุบาสก ผู้หนึ่ง