ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
กัน-ละ-ยา-นะ-มิด เขียนเป็นภาษาไทยที่ถูกต้องว่าอย่างไรครับ:
ชีวิตบางครั้งก็เหมือนเหรียญสองด้านใช่หรือไม่ครับบางครั้งก็หัวบางครั้งก็ก้อย( เลือกตอบแค่ ใช่ กับไม่ใช่ครับผม):
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆแนวธรรมะในจิตใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า แสงธรรมนำใจ:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ความดีนำทาง:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ใต้ร่มธรรม:
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆในโลกออนไลน์ใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
วัฒนธรรมไทยเมื่อเห็นผู้ใหญ่ท่านจะทำความเคารพ ด้วยการไหว้ท่านก่อนเสมอใช่หรือไม่:
ใต้ร่มธรรม เป็น แค่เว็บไซต์และจินตนาการทางจิต การทำดี สำคัญที่ใจเรา เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ พิมพ์คำว่า "เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ":
คุณพ่อคุณแม่เปรียบดั่งพระอรหันต์ในบ้าน พิมพ์คำว่า "คุณพ่อคุณแม่ฉันรักและเคารพท่านดุจพระอรหันต์":
กล่าวคำดังนี้  "ให้อภัยนะ":
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ใต้ร่มธรรมเองก็จะเป็นไปตามวัฐจักรนี้ ฉันท์ใดก็ฉันท์นั้น (เป็นจริง) หรือ (ไม่จริง):
พิมพ์คำว่า (แสงธรรมนำทางธรรมะนำใจ) ครับ:
รู้สึกระอายใจไหมที่เราทำร้ายคนอื่นด้วยวาจาหรือสำนวนที่ไม่สุภาพ โดยที่คนคนนั้นเค้าเคยเป็นผู้มีพระคุณต่อเรามา (ไม่ละอายใจ)หรือ(ละอายใจ):
ขนทรายเข้าวัดคือ พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ทำบุญทำกุศลโดยวิธีนำหรือหาประโยชน์เพื่อส่วนรวมมิได้ทำเพื่อตนเอง):
ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ผู้ที่ทำตนให้เล็กที่สุด ผู้ที่เล็กที่สุดก็จะกลายเป็นผู้ที่ใหญ่ที่สุด ผู้ที่มีเกียรติคือผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น ฉะนั้นสมาชิกใต้ร่มธรรมควรให้เกียรติกันและกัน พิมพ์คำว่า (ฉันจะให้เกียรติสมาชิกทุกๆท่านในใต้ร่มธรรมเสมอด้วยวาจาสุภาพอ่อนน้อม):
ไม่มีอะไรสายสำหรับการเริ่มต้น พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (It is never too late to mend):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: sithiphong
« เมื่อ: กันยายน 01, 2013, 08:37:12 am »

ปัจจุบันนี้ ผมนำเรื่องนี้มาพิจารณา  ซึ่งเห็นได้ว่า ทำให้ใจเรา ลดความร้อนลง

ถ้าใครด่าเรา ไม่ว่าจะด่าอย่างไร  อย่าไปสนใจ

ผมอยากจะบอกว่า "ใครจะด่าเรา ก็ช่างเขา ช่างมัน  เพียงให้รู้ไว้ว่า ครอบครัวและวงศ์ตระกูลของเขา  อบรมสั่งสอนต่อๆกันมาแบบนี้  ความเป็นผู้ดีหรือคนดี ไม่ได้อยู่ที่ฐานะและการเงิน แต่อยู่ที่การกระทำของตัวเอง"
ข้อความโดย: sithiphong
« เมื่อ: พฤษภาคม 06, 2013, 09:02:08 am »

::....สำนวนกับการใช้ภาษาไทย.....::
-http://www.thaigoodview.com/node/76797-

 โดยเหตุที่ภาษาเป็นเครื่องมือสื่อสาร จึงได้ทำหน้าที่บันทึกเรื่องราวของวัฒนธรรมแขนงต่าง ๆและถ่ายทอดจากคนรุ่นหนึ่งไปสู่คนอีกรุ่นหนึ่ง ทั้งด้วยการบอกเล่า และจดบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรภาษาจึงมีบทบาทในการอนุรักษ์วัฒนธรรมมิให้สูญหายไปตามกาลเวลา


ภาพสะท้อนของสังคมในแต่ละยุคสมัย มโนทัศน์ของคนกลุ่มต่าง ๆ ได้บันทึกไว้ด้วยภาษาดังนั้นการศึกษาภาษาและเรื่องราวจากวรรณกรรมต่าง ๆ จึงช่วยให้เข้าใจวิถีชีวิตและความรู้สึกนึกคิดของคนในสังคม


นอกจากคำศัพท์ที่มีความแตกต่างจะสะท้อนให้เห็นลักษณะของวัฒนธรรมทางภาษาแล้วสำนวนภาษิตก็นับว่ามีส่วนสำคัญอย่างมากในการสะท้อนความคิด และแบบแผนทางวัฒนธรรมของคนในชาติ สำนวนบางสำนวน ชี้ให้เห็นความสำคัญของการใช้ภาษาอย่างชัดเจน เช่น


สำเนียงส่อภาษา กิริยาส่อสกุล
ความหมายของสำนวนนี้ หมายถึง การแสดงออกทั้งการพูดและกิริยามารยาทย่อมชี้ให้เห็นที่มา หรือพื้นฐานการอบรมของคน คนที่เกิดในตระกูลดี ได้รับการอบรมมาดี ย่อมมีกิริยาวาจาดี ส่วนคนชั้นต่ำ ไม่ได้รับการอบรม มักพูดจาหยาบคาย ไม่มีกิริยามารยาท


พูดดีเป็นศรีแก่ตัว พูดชั่วอัปราชัย
สำนวนนี้ แสดงให้เห็นความสำคัญของการพูด ถ้าพูดดีก็นำสิ่งดีมาให้ ถ้าพูดไม่ดีก็จะได้สิ่งที่ไม่ดีตอบแทน ซึ่งสอดคล้องกับวัฒนธรรมทางภาษา ซึ่งเน้นให้รู้จักพูดจาให้เหมาะกับกาลเทศะ


ถึงแม้ว่าภาษาจะมีการเปลี่ยนแปลงไปตามธรรมชาติของวัฒนธรรม แต่ก็ควรเป็นการเปลี่ยนแปลงที่แสดงให้เห็นความเจริญงอกงาม ไม่ใช่เปลี่ยนไปทางเสื่อม หรือวิบัติเนื่องจากไม่เข้าใจและไม่เห็นคุณค่าที่แท้จริงของภาษา เจตนาใช้ภาษาให้ผิดเพี้ยนไปเพราะนึกว่าเป็นของโก้เก๋ หรือไม่ใส่ใจจะศึกษาว่าที่ถูกนั้นควรเป็นอย่างไร

แหล่งอ้างอิง:
เอกสารประกอบการเรียนรู้วิชา ท๔๓๑๐๒ ภาษากับวัฒนธรรม


.