ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: กันยายน 01, 2013, 01:13:47 pm »การสาธยายธรรมไร้อารมณ์หมายถึง
การสาธยายธรรมของดอกไม้ ต้นไม้ ก้อนหิน ภูเขา แม่น้ำ เป็นต้น ต้นหญ้าต้นไม้พูดจาไม่ได้
ดังนั้นจึงต้องใช้ดวงตาไปฟังพวกมันพูด
ฟังดูแล้วพิกลพิลึกเข้าใจยาก อันที่จริงก็ใช่ว่า แต่ละคนจะสามารถฟังการสาธยายธรรมได้
และคิดว่าคนส่วนใหญ่ก็เคยฟังการสาธยายธรรมมาแล้ว เพียงแต่ไม่รู้จักตัวเท่านั้น
เราลองใช้วิธีง่าย ๆ ธรรมดาดู ให้เรายกกะบะต้นไม้ใบหญ้ามาสักกะบะหนึ่งวางใกล้ ๆ
แล้วจ้องมองดูสักห้านาที หากสามารถทะลุทะลวงภูมิอันจำกัดของ“อัตตา” ได้
ก็จะสามารถเข้าสู่ชีวิตของใบไม้ใบหนึ่ง บนใบเล็ก ๆใบหนึ่ง
เธอก็สามารถรู้สึกถึงชีพจรที่เคลื่อนไหวของชีวิตธรรมชาติทั้งมวล
ที่สำคัญยิ่งไปกว่านั้น ขณะที่เธอจดจ่ออยู่ที่กะบะต้นไม้นั้น จิตใจเธอถูกดึงกลับสู่ธรรมญาณ
ดร.ซูซูกิ ศาสตราจารย์ด้านเซ็นศึกษาของญี่ปุ่น
ได้ยกย่องบทกวีของกล้วยป่าชาวญี่ปุ่นในศริสศตวรรษที่ 17
บทกวีนี้เหมาะที่จะอธิบายความหมายของ “สาธยายธรรมไร้อารมณ์”
ซึ่งแปลได้ดังนี้
“เมื่อฉันดูละเอียด อ้อ! ดอกไม้ป่าต้นหนึ่ง บานอยู่บนผนังรั้ว”
ในสมัยราชวงศ์ถัง ก็มีกวีบทหนึ่งของเถาหยุนหมิงที่มีสภาวะอารมณ์ทำนองเดี๋ยวกัน
“เด็ดเบญจมาศใต้รั้วด้านทิศตะวันออก สบายอารมณ์พบบรรพตทิศใต้”
เมื่อธรรมชาติยิ่งใหญ่หรือส่วนเล็ก ๆ ของธรรมชาติกระทบสายใจของเธอให้เคลื่อนไหว
ทำให้เธอได้รับความรู้สึกที่ต่างไปจากโลกมนุษย์ที่เต็มไปด้วยความร้อนรน
ของความใคร่อยาก โลภแต่แสวงหาและมีอุปทาน
มันเป็นกวีเจชนิดหนึ่ง หรือเป็นการเข้าถึงแก่นศาสนาชนิดหนึ่ง
เป็นความปีติที่ค้างอยู่ในใจชนิดหนึ่ง เป็นความเต็มอิ่มของจิตวิญญาณ
เหล่านี้คือการสาธยายธรรมไร้อารมณ์
หากจะพูดอย่างสำนวนปัจจุบันคือเกิดความรู้สึกสัมผัสถึงกระแสไฟฟ้าธรรมชาติอันยิ่งใหญ่ชนิดหนึ่ง
เมื่อต้นเดือนพฤษภาคมปี 40 ข้าพเจ้ามีโอกาสได้ท่องเที่ยวบนภูเขาเหลือง (หวงซาน) มณฑลอันฮุย
เช้าวันที่ 11 พ.ค หน้าโรงแรมเป่ยไห่ ขณะนั้นบนหวงซานถูกปกคลุมด้วยหมอกหนาท้องฟ้ามืดครึม
เราไม่สามารถเห็นอะไรได้ไกลเกินกว่าสิบเมตร
แต่คณะของเราก็เริ่มออกเดินทางไปตามทางเดินที่กว้างประมาณเมตร มีทั้งทางเรียบและเอียงลาด
บางแห่งมีขั้นบรรใดทุกคนมีไม้เท้าประจำตัว เมื่อเดินทางมาได้ราว 30 นาที
ฝนก็เริ่มโปรยลงมาพวกเราหยุดบ้างเดินบ้างโดยมีเสื้อพลาสติกคุมตัวและร่มกาง
บางครั้งก็มีลมกรรโชกจนต้องหยุด ร่มถูกลมกระแทกให้หงายไปข้างหลังจนชำรุด
พอฝนซาลงก็เดินทางต่อไป เวลาผ่านไปราว 1 ชั่วโมง ฝนเริ่มหยุดแล้ว
สิ่งที่ไม่คาดฝันจนทุกคนตกตะลึง ท้องฟ้าที่มืดครึมฉับพลันก็สว่างขึ้นมา
ม่านฟ้าค่อยๆเปิดออกเหมือนม่านละคร สิ่งที่ทุกคนมองอย่างไม่กระพ่ริบ
ก็คือทัศนียภาพข้างหน้ามันสวยงามเกินกว่านักจิตกรจะสร้างขึ้นได้ก็ปรากฏขึ้น
ทุก ๆ คน ต่างเปล่งเสียงปีติยินดีขึ้นพร้อมๆ กัน โดยไม่ได้นัดหมายกันมาก่อน
ภาพที่เห็นมันเป็นภาพธรรมชาติที่มีชีวิตชีวา
เราเห็นลมพัดพาให้หมู่เมฆเคลื่อนไหวไปตามแรงลม กลุ่มเมฆจะคลอเคลียไต่ไปตามไหล่เขา
ทำให้ขุนเขาที่เด่นตระหง่าน ก้อนหินที่แข็งทื่อดูอ่อนไหวนุ่นนวลลงอย่างเหลือเชื่อ
ภาพที่เห็นจึงเป็นภาพที่เคลื่อนไหวมีชีวิต ความรู้สึกของผู้คนขณะนั้น
ได้ถูกปลุกให้ตื่นจิตวิญญาณของคนขณะนั้นถูกกระทบใช่ไหม
ทุกคนได้ลืมความเหน็ดเหนื่อยและความเปียกชื้นจากฝนหมดสิ้น
เพราะธรรมชาติได้ตราตึงทุกคนไว้ทำให้ทุกคนเปล่งเสียงแห่งความปีติใช่ไหม
ถ้าหากใช่ นั่นก็คือทุกคนก็ได้เคยฟังการสาธยายธรรมไร้อารมณ์มาแล้ว
ในหนังสือ “บทวิเคราะห์ฌานกับจิตศาสตร์” ของ ดร.ซูซูกิ
ได้พรรณาถึงความรู้สึกรู้แบบเดียวกันนี้ว่า
“ขุนเขาหิมาลัยสามารถเชิดชูความเด่นตระหง่านอันเกรงขามใต้เกลียวคลื่นแห่งมหาสมุทรแปชิฟิก
สามารถดึงดูดความรู้สึก ผู้คน ไม่จำกัดได้
” แต่คนๆ หนึ่งที่ใจของเขาได้ขับร้องกวีใจก็ดี
หรือเกิดมหัศจรรย์ได้ก็ดีหรือการเบ่งบานของแก่นศาสนาก็ดี
เหล่านี้ล้วนเหมือนกวีกล้วยป่าชาวญี่ปุ่นมีความรู้สึกพ้นจากความใคร่อยากอย่างแท้จริงชนิดหนึ่ง
บนใบไม้ใบหญ้าใบหนึ่ง พ้นจากอารมณ์รู้สึกหยาบกร้านของมนุษยชาติ
สิ่งเหล่านี้ได้ปลดปล่อยมนุษย์ขึ้นสู่ภพภูมิที่สูงขึ้น
ความรุ่งเรืองสุนทรของภพภูมิดังกล่าว ก็เหมือนกับแดนวิสุทธิภูมิ (The pure land)
เหล่านี้คือสิ่งที่คนทั่วไปได้เคยฟังการสาธยายธรรมไร้อารมณ์
และการฟังการสาธยายธรรมไร้อารมณ์ของธรรมาจารย์เซ็นก็เริ่มต้นจากจิตนี้
แต่ได้ฝึกฝนบำเพ็ญสูงขึ้นไปยิ่งกว่าธรรมดา
ดังที่ท่านราชครูฮุ้ยตงธรรมาจารย์เอี้ยงซาน หวินเอวียนที่ได้พูดถึง
การสาธยายธรรมไร้อารมฌ์ว่าเป็นการใช้ดวงตาฟัง
แต่ความหมายไม่ใช้เพียงใช้ตาฟังเท่านั้น
แต่ความสำคัญของขณะฟังการสาธยายธรรมกลับอยู่ที่การรวบรวมจิตใจกลับมาสู่ธรรมญาณชั่วขณะ
ที่สิ่งหนึ่งหรือภาพหนึ่งของธรรมชาติได้กระทบจิตวิญญาณนั้น
ใจของเธอขณะนั้นก็ได้หลุดพ้นจากความใคร่อยากจากอาสวะ
กลับมาสู่ธรรมญาณเพราะฉะนั้น การสาธยายธรรมไร้อารมณ์
เป็นวิธีที่อาศัยธรรมชาติช่วยฟื้นฟูการบำเพ็ญพุทธจิตของเรา
ด้วยเหตุนี้ในพระสูตรอมิตตาภะ กล่าวว่า
“น้ำ นก ต้นไม้ ท่องสวดพุทธธรรมทั้งหมดทั้งสิ้น
นั้นมิใช่ น้ำ นก ต้นไม้ จะเป่ล่งเสียงพูดธรรมะ
หากแต่พวก น้ำ นก ต้นไม้ สามารถกระทบสายใจของเธอต่างหาก
ให้ใจของเธอหลุดพ้นจากอายตนะภายในและภายนอก
จึงเป็นการกล่าวพุทธธรรม อันที่จริงตัวขณะที่เธอเอาตาจดจ่ออยู่ที่ต้นหญ้าใบไม้นั้น
ใจของเธอก็ถูกดึงกลับมาที่ธรรมญาณเสียแล้ว
http://thai.mindcyber.com/modules.php?name=Sections&op=viewarticle&artid=170&page=27
http://www.navagaprom.com/