ข้อความโดย: sithiphong
« เมื่อ: กันยายน 07, 2013, 09:47:16 am »การเก็บค่าจอดรถในคอนโด - กฎหมายรอบรั้ว
วันเสาร์ที่ 7 กันยายน 2556 เวลา 00:00 น.
-http://www.dailynews.co.th/article/950/231168-
ปัญหาเรื่องที่จอดรถในคอนโดมิเนียมนั้นจะพบเห็นอยู่เสมอ ๆ โดยเฉพาะกับคอนโดที่มีราคาถูก หรือ ในคอนโดขนาดเล็กที่ไม่สูงมากนัก แต่หากเป็นคอนโดขนาดใหญ่ปกติที่จอดรถถ้ามีการระบุไว้ในหนังสือกรรมสิทธิ์ห้องชุด (อช.2) คล้าย ๆ โฉนดที่เรารู้จักกันแต่ใช้เรียกกับอาคารชุดเท่านั้น โดยหากมีกำหนดไว้ เจ้าของห้องชุดนั้น ๆ ก็จะเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่จอดด้วย แต่ถ้าไม่มี ผู้มีสิทธิจอดก็มีฐานะเป็นเพียงผู้มีสิทธิครอบครองในที่จอดรถเท่านั้นเอง
สิทธิในการครอบครองที่จอดรถนั้นจะได้มาจากการที่เจ้าของโครงการเสนอให้ผู้ซื้อเลือกก่อนว่าจะรวมที่จอดรถหรือไม่ ถ้ารวมก็ระบุไว้ในสัญญาจะซื้อจะขายห้องชุด หรือจะพูดว่าใครมาก่อนเลือกก่อน แต่อย่างไรก็ดี ขอแจ้งให้ทราบก่อนเลยว่าหากพื้นที่จอดรถที่ไม่ได้ระบุไว้ในหนังสือแสดงกรรมสิทธิ์ห้องชุด (อช.2) จะเป็นพื้นที่ส่วนกลาง นิติบุคคลอาคารชุด จะใช้มติในที่ประชุมใหญ่ตามกฎหมาย เรียกคืนแล้วจัดระเบียบใหม่เมื่อไรก็ได้ (ถ้าเสียงส่วนใหญ่มีมติ)
คอนโดบางแห่งจะมีพื้นที่จอดรถ 2 แบบ คือแบบจอดตามสิทธิครอบครอง มีการระบุไว้ชัดเจนว่าห้องนี้ จอดช่องไหน ส่วนห้องที่มีรถเกินช่องจอด ก็จะมีช่องจอดรถส่วนกลางของนิติบุคคลอาคารชุดไว้บริการ คอนโดแบบนี้ถือว่ามีการวางแผนเรื่องที่จอดรถไว้ดี มีการสร้างคอนโดในบริเวณที่มีเนื้อที่ดินค่อนข้างมาก ซึ่งส่วนใหญ่จะอยู่ชานเมือง จะมีอาคารจอดรถแยกออกต่างหากจากอาคารชุดพักอาศัย จึงไม่มีปัญหาเรื่องที่จอดรถ
ส่วนใหญ่คอนโดในเมืองนั้นจะมีช่องจอดรถที่ค่อนข้างน้อย จึงมีการกำหนดให้มีการจัดเก็บค่าเช่าที่จอดรถไว้ ในข้อบังคับของคอนโดนั้น ๆ แต่ถ้าเป็นข้อบังคับของอาคารชุด การแก้ไขเรื่องการจัดเก็บเงินค่าเช่าก็เป็นเรื่องยาก คือต้องใช้มติที่ประชุมใหญ่เสียงไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่ง (50%) ของคะแนนเสียงเจ้าของร่วมทั้งหมด (ในนัดแรก หรือไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 ในการเรียกประชุมนัดที่ 2 ตามมาตรา 48 (4) ของกฎหมายอาคารชุดที่กำหนดไว้ให้ การแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อบังคับเกี่ยวกับการใช้ หรือการจัดการทรัพย์ส่วนกลางนั้น ต้องได้รับมติจากที่ประชุมใหญ่ ด้วยคะแนนเสียงดังกล่าว
แต่ถ้าการจัดเก็บค่าที่จอดรถนั้น เป็นแค่มติคณะกรรมการฯ ก็สามารถขอแก้ไขมติโดยใช้เสียงข้างมากของที่ประชุมกรรมการฯ ได้เลย ทั้งนี้ในโครงการเก่าที่จดทะเบียนนิติบุคคลมานานหลายปี บางทีเจ้าของโครงการ หรือกรรมการก็อาจจะกำหนดขึ้นมาเอง โดยไม่ถูกต้องตามกฎหมายก็ได้ ต้องตรวจสอบดูก่อนว่า การจัดเก็บค่าเช่า ที่จอดรถนั้นมีที่มาอย่างไรเป็นไปตามระเบียบข้อบังคับหรือไม่ ถ้าใช่ข้อบังคับที่ว่านี้มันมาอย่างถูกต้องหรือไม่ ซึ่งสามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงได้ครับ.
ดินสอพอง
วันเสาร์ที่ 7 กันยายน 2556 เวลา 00:00 น.
-http://www.dailynews.co.th/article/950/231168-
ปัญหาเรื่องที่จอดรถในคอนโดมิเนียมนั้นจะพบเห็นอยู่เสมอ ๆ โดยเฉพาะกับคอนโดที่มีราคาถูก หรือ ในคอนโดขนาดเล็กที่ไม่สูงมากนัก แต่หากเป็นคอนโดขนาดใหญ่ปกติที่จอดรถถ้ามีการระบุไว้ในหนังสือกรรมสิทธิ์ห้องชุด (อช.2) คล้าย ๆ โฉนดที่เรารู้จักกันแต่ใช้เรียกกับอาคารชุดเท่านั้น โดยหากมีกำหนดไว้ เจ้าของห้องชุดนั้น ๆ ก็จะเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่จอดด้วย แต่ถ้าไม่มี ผู้มีสิทธิจอดก็มีฐานะเป็นเพียงผู้มีสิทธิครอบครองในที่จอดรถเท่านั้นเอง
สิทธิในการครอบครองที่จอดรถนั้นจะได้มาจากการที่เจ้าของโครงการเสนอให้ผู้ซื้อเลือกก่อนว่าจะรวมที่จอดรถหรือไม่ ถ้ารวมก็ระบุไว้ในสัญญาจะซื้อจะขายห้องชุด หรือจะพูดว่าใครมาก่อนเลือกก่อน แต่อย่างไรก็ดี ขอแจ้งให้ทราบก่อนเลยว่าหากพื้นที่จอดรถที่ไม่ได้ระบุไว้ในหนังสือแสดงกรรมสิทธิ์ห้องชุด (อช.2) จะเป็นพื้นที่ส่วนกลาง นิติบุคคลอาคารชุด จะใช้มติในที่ประชุมใหญ่ตามกฎหมาย เรียกคืนแล้วจัดระเบียบใหม่เมื่อไรก็ได้ (ถ้าเสียงส่วนใหญ่มีมติ)
คอนโดบางแห่งจะมีพื้นที่จอดรถ 2 แบบ คือแบบจอดตามสิทธิครอบครอง มีการระบุไว้ชัดเจนว่าห้องนี้ จอดช่องไหน ส่วนห้องที่มีรถเกินช่องจอด ก็จะมีช่องจอดรถส่วนกลางของนิติบุคคลอาคารชุดไว้บริการ คอนโดแบบนี้ถือว่ามีการวางแผนเรื่องที่จอดรถไว้ดี มีการสร้างคอนโดในบริเวณที่มีเนื้อที่ดินค่อนข้างมาก ซึ่งส่วนใหญ่จะอยู่ชานเมือง จะมีอาคารจอดรถแยกออกต่างหากจากอาคารชุดพักอาศัย จึงไม่มีปัญหาเรื่องที่จอดรถ
ส่วนใหญ่คอนโดในเมืองนั้นจะมีช่องจอดรถที่ค่อนข้างน้อย จึงมีการกำหนดให้มีการจัดเก็บค่าเช่าที่จอดรถไว้ ในข้อบังคับของคอนโดนั้น ๆ แต่ถ้าเป็นข้อบังคับของอาคารชุด การแก้ไขเรื่องการจัดเก็บเงินค่าเช่าก็เป็นเรื่องยาก คือต้องใช้มติที่ประชุมใหญ่เสียงไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่ง (50%) ของคะแนนเสียงเจ้าของร่วมทั้งหมด (ในนัดแรก หรือไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 ในการเรียกประชุมนัดที่ 2 ตามมาตรา 48 (4) ของกฎหมายอาคารชุดที่กำหนดไว้ให้ การแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อบังคับเกี่ยวกับการใช้ หรือการจัดการทรัพย์ส่วนกลางนั้น ต้องได้รับมติจากที่ประชุมใหญ่ ด้วยคะแนนเสียงดังกล่าว
แต่ถ้าการจัดเก็บค่าที่จอดรถนั้น เป็นแค่มติคณะกรรมการฯ ก็สามารถขอแก้ไขมติโดยใช้เสียงข้างมากของที่ประชุมกรรมการฯ ได้เลย ทั้งนี้ในโครงการเก่าที่จดทะเบียนนิติบุคคลมานานหลายปี บางทีเจ้าของโครงการ หรือกรรมการก็อาจจะกำหนดขึ้นมาเอง โดยไม่ถูกต้องตามกฎหมายก็ได้ ต้องตรวจสอบดูก่อนว่า การจัดเก็บค่าเช่า ที่จอดรถนั้นมีที่มาอย่างไรเป็นไปตามระเบียบข้อบังคับหรือไม่ ถ้าใช่ข้อบังคับที่ว่านี้มันมาอย่างถูกต้องหรือไม่ ซึ่งสามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงได้ครับ.
ดินสอพอง