ข้อความโดย: sithiphong
« เมื่อ: กันยายน 07, 2013, 08:41:24 pm » อาหารแพง คนไทยอาจทานข้าวแกงจานละ 50 บาท เหตุต้นทุนสูง
-http://hilight.kapook.com/view/90822-
สรุปประเด็นข่าวโดยกระปุกดอทคอม
สมาคมภัตตาคารเผยสิ้นปีราคาอาหารแผงลอยอาจปรับสูงขึ้น 30% แตะจานละ 50 บาท พร้อมค้านกระทรวงพาณิชย์ควบคุมราคาอาหาร เพราะต้นทุนสูง เร่งปรับมาตรฐานร้านอาหารทั่วกรุง
เมื่อวันที่ 6 กันยายน 2556 นางฐนิวรรณ กุลมงคล นายกสมาคมภัตตาคารไทย เปิดเผยว่า จากสภาวะเศรษฐกิจที่ส่งผลให้กำลังซื้อของคนไทยถดถอยลงไป ทำให้การเข้ามาใช้บริการในร้านอาหารของคนไทยในช่วงครึ่งปีที่ป่านมาลดลงไปประมาณ 20% ผลสืบเนื่องจากนโยบายรถคันแรกที่ทำให้ผู้บริโภคหลายคนต้องประหยัดค่าใช้จ่ายด้านอื่น ๆ ตามไปด้วย
ขณะเดียวกันต้นทุนของอาหารในตอนนี้มีอัตราที่เพิ่มขึ้น ซึ่งนโยบายค่าแรง 300 บาทของรัฐบาทเป็นตัวหลักที่ทำให้ต้นทุนสูงขึ้น รวมถึงการขึ้นราคาอื่นๆ ที่จะส่งผลกระทบต่อต้นทุนได้เช่นกัน อาทิ ค่าไฟ ค่าน้ำมัน แต่ทั้งนี้ตัววัตถุดิบไม่ใช่ปัจจัยหลักเพียงอย่างเดียวที่ทำให้ต้นทุนสูงและอาหารมีราคาแพง แต่ยังรวมถึงสวัสดิการและค่าการจัดการด้านอื่น ๆ ที่ทำให้ต้นทุนสูงขึ้นด้วยเช่นกัน
จากภาพรวมหลายอย่างที่มีการปรับราคาสูงขึ้น นางฐนิวรณ์รณกล่าว ทำให้ต้นทุนของร้านอาหารสูงตาม จึงไม่เห็นด้วยกับการควบคุมราคาอาหารของกระทรวงพาณิชย์ที่จะให้มีราคาอยู่ที่ 25-30 บาท เนื่องจากไม่สอดคล้องกับต้นทุนที่ต้องจ่าย โดยในช่วงครึ่งปีที่ผ่านมาค่าต้นทุนได้ทำให้ราคาอาหารน่าจะเพิ่มขึ้นถึง 20% ไปแล้ว และคาดการณ์ว่าต้นทุนจะทำให้ราคาปรับสูงขึ้นไปอีก 30% ซึ่งอาจจะส่งผลให้ราคาอาหารในร้านจำพวกแผงลอยหรือร้านอาหารขนาดเล็ก หรือพวกข้าวแกงอาจปรับราคาขึ้น 50 บาทต่อจานก็เป็นไปได้
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก-http://www.thaipost.net/news/070913/78934-
จ๊ากสิ้นปีเจอข้าวแกง50บาท ส.ภัตตาคารชี้ต้นทุนพุ่ง30%ค้านพาณิชย์คุมราคาขาย
-http://www.thaipost.net/news/070913/78934-
คนไทยอ่วม สมาคมภัตตาคารเผยสิ้นปีราคาอาหารแผงลอยอาจปรับสูงขึ้น 30% แตะจานละ 50 บาท ขณะที่พิษเศรษฐกิจทำภาพรวมยอดหายไป 20% ค้านกระทรวงพาณิชย์ควบคุมราคาอาหาร เพราะต้นทุนสูง เร่งปรับมาตรฐานร้านอาหารทั่วกรุง คาด 10 ปีดีขึ้น ผู้บริโภครับราคาแพงได้
นางฐนิวรรณ กุลมงคล นายกสมาคมภัตตาคารไทย เปิดเผยว่า จากสภาวะเศรษฐกิจที่ส่งผลให้กำลังซื้อของคนไทยถดถอยลงไป ทำให้การเข้ามาใช้บริการในร้านอาหารของคนไทยในช่วงครึ่งปีที่ป่านมาลดลงไปประมาณ 20% ผลสืบเนื่องจากนโยบายรถคันแรกที่ทำให้ผู้บริโภคหลายคนต้องประหยัดค่าใช้จ่ายด้านอื่นๆ ตามไปด้วย
ขณะเดียวกันต้นทุนของอาหารในตอนนี้มีอัตราที่เพิ่มขึ้น ซึ่งนโยบายค่าแรง 300 บาทของรัฐบาทเป็นตัวหลักที่ทำให้ต้นทุนสูงขึ้น รวมถึงการขึ้นราคาอื่นๆ ที่จะส่งผลกระทบต่อต้นทุนได้เช่นกัน อาทิ ค่าไฟ ค่าน้ำมัน แต่ทั้งนี้ตัววัตถุดิบไม่ใช่ปัจจัยหลักเพียงอย่างเดียวที่ทำให้ต้นทุนสูงและอาหารมีราคาแพง แต่ยังรวมถึงสวัสดิการและค่าการจัดการด้านอื่นๆ ที่ทำให้ต้นทุนสูงขึ้นด้วยเช่นกัน
"จากภาพรวมหลายอย่างที่มีการปรับราคาสูงขึ้น ทำให้ต้นทุนของร้านอาหารสูงตาม จึงไม่เห็นด้วยกับการควบคุมราคาอาหารของกระทรวงพาณิชย์ที่จะให้มีราคาอยู่ที่ 25-30 บาท เนื่องจากไม่สอดคล้องกับต้นทุนที่ต้องจ่าย โดยในช่วงครึ่งปีที่ผ่านมาค่าต้นทุนได้ทำให้ราคาอาหารน่าจะเพิ่มขึ้นถึง 20% ไปแล้ว และคาดการณ์ว่าต้นทุนจะทำให้ราคาปรับสูงขึ้นไปอีก 30% ซึ่งอาจจะส่งผลให้ราคาอาหารในร้านจำพวกแผงลอยหรือร้านอาหารขนาดเล็กมีราคาสูงถึง 50 บาทต่อจานก็เป็นไปได้ แต่เท่าที่ผ่านมาการปรับราคาให้สูงตามต้นทุนอาจจะไม่ค่อยมีให้เห็นสักเท่าไร แต่จะเป็นการลดปริมาณของอาหารมากกว่า" นางฐนิวรรณกล่าว
ปัจจุบันภาพรวมของตลาดธุรกิจร้านอาหารมีจำนวนไม่น้อยกว่า 400,000 ราย แบ่งเป็นผู้ประกอบการร้านอาหารที่ได้รับมาตรฐานในประเทศไทย 10% แต่ถ้าร้านอาหารที่ได้มาตรฐานระดับสากลจะคิดอยู่ที่ประมาณ 5% และร้านที่เป็นแผงลอยอยู่ที่ประมาณ 300,000 ราย ซึ่งจากจำนวนของแผงลอยที่มีอยู่ปริมาณมากและยังไม่มีมาตรฐาน ทำให้ทางสมาคมกำลังพยายามยกระดับมาตรฐานร้านอาหารของไทยให้มีมาตรฐานกว่าเดิม เพื่อต้อนรับการเปิดประชาคมอาเซียนที่กำลังจะเกิดขึ้น เพราะหากร้านอาการของไทยยังไม่มีการตื่นตัวและปรับตัวของธุรกิจตัวเอง ก็จะทำให้ร้านอาหารที่เป็นแบรนด์ต่างชาติเข้ามากินส่วนแบ่งทางการตลาดไป ซึ่งคาดว่าแนวโน้มการเข้ามาของแบรนด์ต่างชาติจะยังมีอีกมากในช่วงการเปิดประชาคมอาเซียน โดยจะเริ่มยกระดับมาตรฐานในส่วนของกรุงเทพฯ ให้เข้ามาเป็นร้านอาหารที่ได้รับรองมาตรฐานก่อนเป็นหลัก คาดว่าภายใน 10 ปี จะสามารถดันร้านอาหารที่ไม่ได้มาตรฐานทำให้มีมาตรฐานได้ 80% จากผู้ประกอบการร้านอาหารทั้งหมดในประเทศไทย โดยการปรับมาตรฐานของร้านอาหารก็จะทำให้ผู้บริโภคสามารถรับราคาที่แพงขึ้นได้ เพราะอาหารมีคุณภาพที่สูงสมเหตุที่จะขึ้นราคาอีกด้วย.
-http://hilight.kapook.com/view/90822-
สรุปประเด็นข่าวโดยกระปุกดอทคอม
สมาคมภัตตาคารเผยสิ้นปีราคาอาหารแผงลอยอาจปรับสูงขึ้น 30% แตะจานละ 50 บาท พร้อมค้านกระทรวงพาณิชย์ควบคุมราคาอาหาร เพราะต้นทุนสูง เร่งปรับมาตรฐานร้านอาหารทั่วกรุง
เมื่อวันที่ 6 กันยายน 2556 นางฐนิวรรณ กุลมงคล นายกสมาคมภัตตาคารไทย เปิดเผยว่า จากสภาวะเศรษฐกิจที่ส่งผลให้กำลังซื้อของคนไทยถดถอยลงไป ทำให้การเข้ามาใช้บริการในร้านอาหารของคนไทยในช่วงครึ่งปีที่ป่านมาลดลงไปประมาณ 20% ผลสืบเนื่องจากนโยบายรถคันแรกที่ทำให้ผู้บริโภคหลายคนต้องประหยัดค่าใช้จ่ายด้านอื่น ๆ ตามไปด้วย
ขณะเดียวกันต้นทุนของอาหารในตอนนี้มีอัตราที่เพิ่มขึ้น ซึ่งนโยบายค่าแรง 300 บาทของรัฐบาทเป็นตัวหลักที่ทำให้ต้นทุนสูงขึ้น รวมถึงการขึ้นราคาอื่นๆ ที่จะส่งผลกระทบต่อต้นทุนได้เช่นกัน อาทิ ค่าไฟ ค่าน้ำมัน แต่ทั้งนี้ตัววัตถุดิบไม่ใช่ปัจจัยหลักเพียงอย่างเดียวที่ทำให้ต้นทุนสูงและอาหารมีราคาแพง แต่ยังรวมถึงสวัสดิการและค่าการจัดการด้านอื่น ๆ ที่ทำให้ต้นทุนสูงขึ้นด้วยเช่นกัน
จากภาพรวมหลายอย่างที่มีการปรับราคาสูงขึ้น นางฐนิวรณ์รณกล่าว ทำให้ต้นทุนของร้านอาหารสูงตาม จึงไม่เห็นด้วยกับการควบคุมราคาอาหารของกระทรวงพาณิชย์ที่จะให้มีราคาอยู่ที่ 25-30 บาท เนื่องจากไม่สอดคล้องกับต้นทุนที่ต้องจ่าย โดยในช่วงครึ่งปีที่ผ่านมาค่าต้นทุนได้ทำให้ราคาอาหารน่าจะเพิ่มขึ้นถึง 20% ไปแล้ว และคาดการณ์ว่าต้นทุนจะทำให้ราคาปรับสูงขึ้นไปอีก 30% ซึ่งอาจจะส่งผลให้ราคาอาหารในร้านจำพวกแผงลอยหรือร้านอาหารขนาดเล็ก หรือพวกข้าวแกงอาจปรับราคาขึ้น 50 บาทต่อจานก็เป็นไปได้
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก-http://www.thaipost.net/news/070913/78934-
จ๊ากสิ้นปีเจอข้าวแกง50บาท ส.ภัตตาคารชี้ต้นทุนพุ่ง30%ค้านพาณิชย์คุมราคาขาย
-http://www.thaipost.net/news/070913/78934-
คนไทยอ่วม สมาคมภัตตาคารเผยสิ้นปีราคาอาหารแผงลอยอาจปรับสูงขึ้น 30% แตะจานละ 50 บาท ขณะที่พิษเศรษฐกิจทำภาพรวมยอดหายไป 20% ค้านกระทรวงพาณิชย์ควบคุมราคาอาหาร เพราะต้นทุนสูง เร่งปรับมาตรฐานร้านอาหารทั่วกรุง คาด 10 ปีดีขึ้น ผู้บริโภครับราคาแพงได้
นางฐนิวรรณ กุลมงคล นายกสมาคมภัตตาคารไทย เปิดเผยว่า จากสภาวะเศรษฐกิจที่ส่งผลให้กำลังซื้อของคนไทยถดถอยลงไป ทำให้การเข้ามาใช้บริการในร้านอาหารของคนไทยในช่วงครึ่งปีที่ป่านมาลดลงไปประมาณ 20% ผลสืบเนื่องจากนโยบายรถคันแรกที่ทำให้ผู้บริโภคหลายคนต้องประหยัดค่าใช้จ่ายด้านอื่นๆ ตามไปด้วย
ขณะเดียวกันต้นทุนของอาหารในตอนนี้มีอัตราที่เพิ่มขึ้น ซึ่งนโยบายค่าแรง 300 บาทของรัฐบาทเป็นตัวหลักที่ทำให้ต้นทุนสูงขึ้น รวมถึงการขึ้นราคาอื่นๆ ที่จะส่งผลกระทบต่อต้นทุนได้เช่นกัน อาทิ ค่าไฟ ค่าน้ำมัน แต่ทั้งนี้ตัววัตถุดิบไม่ใช่ปัจจัยหลักเพียงอย่างเดียวที่ทำให้ต้นทุนสูงและอาหารมีราคาแพง แต่ยังรวมถึงสวัสดิการและค่าการจัดการด้านอื่นๆ ที่ทำให้ต้นทุนสูงขึ้นด้วยเช่นกัน
"จากภาพรวมหลายอย่างที่มีการปรับราคาสูงขึ้น ทำให้ต้นทุนของร้านอาหารสูงตาม จึงไม่เห็นด้วยกับการควบคุมราคาอาหารของกระทรวงพาณิชย์ที่จะให้มีราคาอยู่ที่ 25-30 บาท เนื่องจากไม่สอดคล้องกับต้นทุนที่ต้องจ่าย โดยในช่วงครึ่งปีที่ผ่านมาค่าต้นทุนได้ทำให้ราคาอาหารน่าจะเพิ่มขึ้นถึง 20% ไปแล้ว และคาดการณ์ว่าต้นทุนจะทำให้ราคาปรับสูงขึ้นไปอีก 30% ซึ่งอาจจะส่งผลให้ราคาอาหารในร้านจำพวกแผงลอยหรือร้านอาหารขนาดเล็กมีราคาสูงถึง 50 บาทต่อจานก็เป็นไปได้ แต่เท่าที่ผ่านมาการปรับราคาให้สูงตามต้นทุนอาจจะไม่ค่อยมีให้เห็นสักเท่าไร แต่จะเป็นการลดปริมาณของอาหารมากกว่า" นางฐนิวรรณกล่าว
ปัจจุบันภาพรวมของตลาดธุรกิจร้านอาหารมีจำนวนไม่น้อยกว่า 400,000 ราย แบ่งเป็นผู้ประกอบการร้านอาหารที่ได้รับมาตรฐานในประเทศไทย 10% แต่ถ้าร้านอาหารที่ได้มาตรฐานระดับสากลจะคิดอยู่ที่ประมาณ 5% และร้านที่เป็นแผงลอยอยู่ที่ประมาณ 300,000 ราย ซึ่งจากจำนวนของแผงลอยที่มีอยู่ปริมาณมากและยังไม่มีมาตรฐาน ทำให้ทางสมาคมกำลังพยายามยกระดับมาตรฐานร้านอาหารของไทยให้มีมาตรฐานกว่าเดิม เพื่อต้อนรับการเปิดประชาคมอาเซียนที่กำลังจะเกิดขึ้น เพราะหากร้านอาการของไทยยังไม่มีการตื่นตัวและปรับตัวของธุรกิจตัวเอง ก็จะทำให้ร้านอาหารที่เป็นแบรนด์ต่างชาติเข้ามากินส่วนแบ่งทางการตลาดไป ซึ่งคาดว่าแนวโน้มการเข้ามาของแบรนด์ต่างชาติจะยังมีอีกมากในช่วงการเปิดประชาคมอาเซียน โดยจะเริ่มยกระดับมาตรฐานในส่วนของกรุงเทพฯ ให้เข้ามาเป็นร้านอาหารที่ได้รับรองมาตรฐานก่อนเป็นหลัก คาดว่าภายใน 10 ปี จะสามารถดันร้านอาหารที่ไม่ได้มาตรฐานทำให้มีมาตรฐานได้ 80% จากผู้ประกอบการร้านอาหารทั้งหมดในประเทศไทย โดยการปรับมาตรฐานของร้านอาหารก็จะทำให้ผู้บริโภคสามารถรับราคาที่แพงขึ้นได้ เพราะอาหารมีคุณภาพที่สูงสมเหตุที่จะขึ้นราคาอีกด้วย.