ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
คิดว่าความดีทำยากไหม( เลือกตอบแค่ ยาก กับ ไม่ยาก ครับผม):
ชีวิตบางครั้งก็เหมือนเหรียญสองด้านใช่หรือไม่ครับบางครั้งก็หัวบางครั้งก็ก้อย( เลือกตอบแค่ ใช่ กับไม่ใช่ครับผม):
คุณเชื่อว่าทุกศาสนาสอนให้ทุกคนเป็นคนดีใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า แสงธรรมนำใจ:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ใต้ร่มธรรม:
เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใครทำบุญแล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วยกมือขึ้น (สาธุ) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ  สาธุ:
โดยปกติชน นิ้วมือของคนเรา มีกี่นิ้ว (ตอบเป็นภาษาไทยครับ):
วัฒนธรรมไทยเมื่อเห็นผู้ใหญ่ท่านจะทำความเคารพ ด้วยการไหว้ท่านก่อนเสมอใช่หรือไม่:
เมื่อให้ท่านเลือก ระหว่าง (หนังสือเก่าๆเล่มหนึ่งที่เรารัก) กับ (มิตรแท้ที่รักเรา) คุณจะะเลือก:
บุคคลที่ไปหลายๆเว็บไซต์ โดยที่สวมบทบาทเป็นหลายๆคน โดยที่ไม่รู้ว่า แท้จริงใจเราต้องการอะไร เพื่อน หรือ ชัยชนะ:
กล่าวคำดังนี้  "ขอโทษนะ":
กล่าวคำดังนี้  "ให้อภัยนะ":
กล่าวคำดังนี้  "ขออโหสิกรรม":
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
ในโลกออนไลน์หรือโลกแห่งจิต ไม่มีใครทำอะไรเราได้ นอกเสียไปจาก (คนพาล) หรือ (ใจของเราเอง):
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ใต้ร่มธรรมเองก็จะเป็นไปตามวัฐจักรนี้ ฉันท์ใดก็ฉันท์นั้น (เป็นจริง) หรือ (ไม่จริง):
ธรรมะคือ ธรรมชาติ พิมพ์คำว่า (ธรรมะชาติ) ครับ:
รู้สึกระอายใจไหมที่เราทำร้ายคนอื่นด้วยวาจาหรือสำนวนที่ไม่สุภาพ โดยที่คนคนนั้นเค้าเคยเป็นผู้มีพระคุณต่อเรามา (ไม่ละอายใจ)หรือ(ละอายใจ):
ขนทรายเข้าวัดคือ พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ทำบุญทำกุศลโดยวิธีนำหรือหาประโยชน์เพื่อส่วนรวมมิได้ทำเพื่อตนเอง):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: กันยายน 15, 2013, 02:38:11 pm »




ประพฤติสุจริตธรรม ย่อมได้สุข
โย อิจฺเฉ ทิพฺพโภคญฺจ   ทิพฺพมายุํ ยสํ สุขํ
ปาปานิ ปริวชฺเชตฺวา   ติวิธํ ธมฺมมาจเร.

ผู้ใดปรารถนาโภคทรัพย์ อายุ ยศ สุข อันเป็นทิพย์ ผู้นั้นพึงงดเว้นบาปทั้งหลาย แล้วประพฤติสุจริตธรรม ๓ อย่าง.
(ราชธีตา) ขุ. ชา. มหา. ๒๕/๓๐๖.

          สมบัติอันเป็นยอดปรารถนาของมนุษย์ เมื่อกล่าวโดยสรุปแล้ว แก่ทรัพย์สินเงินทอง ความเป็นผู้มีอายุยืน ความมีเกียรติยศชื่อเสียงและทุกอย่างก็มารวมอยู่ที่ ความสุข ซึ่งก็เป็นธรรมดาของสัตว์โลก คือมีปกติรักสุขเกลียดทุกข์ จำแนกเป็น ๒ คือ สุขในโลกนี้ ๑ สุขในโลกหน้า ๑

          ความสุขในโลกนี้ หมายถึง สุขเกิดจากการมีทรัพย์ สุขเกิดจากการจ่ายทรัพย์บริโภค สุขเกิดจากการไม่มีหนี้ สุขเกิดจากการประกอบการงานที่ปราศจากโทษ ความสุขเหล่านี้จะเกิดขึ้นได้ เพราะมีความขยันหมั่นเพียรในการปฏิบัติหน้าที่การงาน ประกอบอาชีพสุจริต รู้จักใช้ปัญญาสอดส่องหาวิธีดำเนินงานให้ได้ผลดี รู้จักคุ้มครองเก็บรักษาโภคทรัพย์และผลงานอันตนได้ทำไว้ด้วยความขยันหมั่นเพียรไม่ให้เป็นอันตราย รู้จักเลือกคบแต่คนดีเป็นมิตร และรู้จักกำหนดรายได้และรายจ่ายเลี้ยงชีวิตแต่พอดี ไม่ให้ฝืดเคืองหรือฟุ่มเฟือยเกินไป

          ความสุขในโลกหน้า ซึ่งเรียกว่าทิพยสุข หรือทิพยสมบัติ คือสิ่งที่จะพึงถึงได้รับหรือบังเกิดขึ้นหลังจากตายจากโลกนี้ไปแล้ว ได้แก่ โภคะอันเป็นทิพย์ อายุอันเป็นทิพย์ ยศอันเป็นทิพย์ และความสุขอันเป็นทิพย์สมบัติเหล่านี้ แม้จะยังเป็นความสุขที่ยังเจือด้วยทุกข์ เพราะมีโอกาสเปลี่ยนแปลงไปเมื่อหมดผลบุญก็ตาม แต่ก็ยังถือว่าเป็นสมบัติที่ละเอียด และประณีต และมีอายุการเสวยความสุขยืนยาวกว่าสมบัติในมนุษย์โลกนี้ ดังนั้นจึงเป็นยอดปรารถนาของปุถุชนทุกคน แต่ทิพยสมบัติเหล่านั้นจะเกิดขึ้นได้เพราะงดเว้นจากบาปทั้งหลาย แล้วประพฤติสุจริตธรรม ๓ อย่าง คือ

          ๑. กายสุจริต เว้นจากการฆ่าสัตว์ เว้นจากการลักฉ้อ เว้นจากการประพฤติผิดในกาม
          ๒. วจีสุจริต เว้นจากการพูดเท็จ เว้นจากการพูดส่อเสียด เว้นจากการพูดคำหยาบ เว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ
          ๓. มโนสุจริต ไม่โลภอยากได้ของเขา ไม่พยาบาทปองร้ายเขา เห็นชอบตามคลองธรรม เมื่อปฏิบัติได้อย่างนี้ หลังจากตายจากโลกนี้ไปแล้วก็จะสมปรารถนาในทิพยสมบัติเหล่านั้นอย่างแน่นอน.

จาก หนังสือพุทธศาสนสุภาษิต เล่ม ๒ ฉบับมาตรฐาน (โรงพิมพ์เลี่ยงเชียง)
สำนักปฏิบัติธรรม วัดพิชโสภาราม
:http://www.watpitchvipassana.com/dhamma-reading/พุทธศาสนสุภาษิต.html?