ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
คนที่มีจิตใจอ่อนโยนส่วนใหญ่มัก คิดถึงสิ่งใดก่อนเสมอ  ( เลือกตอบแค่ ตัวเอง กับ คนอื่น ครับผม ):
คุณเชื่อว่าทุกศาสนาสอนให้ทุกคนเป็นคนดีใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆแนวธรรมะในจิตใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า แสงธรรมนำใจ:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ความดีนำทาง:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ใต้ร่มธรรม:
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆในโลกออนไลน์ใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
วัฒนธรรมไทยเมื่อเห็นผู้ใหญ่ท่านจะทำความเคารพ ด้วยการไหว้ท่านก่อนเสมอใช่หรือไม่:
คุณพ่อคุณแม่เปรียบดั่งพระอรหันต์ในบ้าน พิมพ์คำว่า "คุณพ่อคุณแม่ฉันรักและเคารพท่านดุจพระอรหันต์":
เมื่อให้ท่านเลือก ระหว่าง (หนังสือเก่าๆเล่มหนึ่งที่เรารัก) กับ (มิตรแท้ที่รักเรา) คุณจะะเลือก:
บุคคลที่ไปหลายๆเว็บไซต์ โดยที่สวมบทบาทเป็นหลายๆคน โดยที่ไม่รู้ว่า แท้จริงใจเราต้องการอะไร เพื่อน หรือ ชัยชนะ:
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
ธรรมะคือ ธรรมชาติ พิมพ์คำว่า (ธรรมะชาติ) ครับ:
พิมพ์คำว่า (แสงธรรมนำทางธรรมะนำใจ) ครับ:
รู้สึกระอายใจไหมที่เราทำร้ายคนอื่นด้วยวาจาหรือสำนวนที่ไม่สุภาพ โดยที่คนคนนั้นเค้าเคยเป็นผู้มีพระคุณต่อเรามา (ไม่ละอายใจ)หรือ(ละอายใจ):
สำนวนไทยที่ว่า แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน  พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ลางเนื้อชอบลางยา):
ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ผู้ที่ทำตนให้เล็กที่สุด ผู้ที่เล็กที่สุดก็จะกลายเป็นผู้ที่ใหญ่ที่สุด ผู้ที่มีเกียรติคือผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น ฉะนั้นสมาชิกใต้ร่มธรรมควรให้เกียรติกันและกัน พิมพ์คำว่า (ฉันจะให้เกียรติสมาชิกทุกๆท่านในใต้ร่มธรรมเสมอด้วยวาจาสุภาพอ่อนน้อม):
ไม่มีอะไรสายสำหรับการเริ่มต้น พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (It is never too late to mend):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: กันยายน 21, 2013, 07:18:11 pm »

ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: มิถุนายน 20, 2013, 01:26:38 pm »







ปรากฏการณ์ต่างๆ ไม่ได้เป็น..
..ต้นเหตุแห่งทุกข์
ความหลงผิด อยากให้..
ปรากฏการณ์ต่างๆ เป็นดั่งใจ ต่างหาก
ที่เป็น  เหตุ  แห่งทุกข์






พระอาจารย์อํานาจ โอภาโส


ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: มีนาคม 21, 2013, 04:44:27 pm »






ทุกอย่างมีอาหาร มีเหตุปัจจัยหมด

การเสวนากับสัตบุรุษเป็นอาหารการฟังธรรม
ฟังธรรม เป็นอาหารให้กับ ศรัทธา เชื่ออย่างมีเหตุผล
ศรัทธาเป็นอาหารให้กับโยนิโสมนสิการ ทำให้รู้จักแยกแยะในใจ
โยนิโสมนสิการเป็นอาหารให้กับสติสัมปะชัญญะ เกิดสติ ระลึกรู้ตัว
สติสัมปะชัญญะเป็นอาหารให้กับอินทรีย์สังวรงอกงามขึ้นมา
ไม่ประมาท ตากระทบรูป หูกระทบเสียง
อินทรีย์สังวร เป็นอาหารให้กับศีล ไม่ก่อความผิดทางกาย วาจา ใจ
มีศีล ทำให้เกิดสัมมาสมาธิงอกงาม ตั้งมั่น
ศีลทำให้เกิดปัญญาเห็นเห็นความเป็นจริงของสรรพสิ่ง
ทุกอย่างเป็นกระบวนการอาหาร
เราทำปลายทางไม่ได้ เราจึงทำต้นทางให้ดี

: พระอาจารย์อํานาจ โอภาโส
-http://www.facebook.com/goiPapawi



ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: พฤศจิกายน 04, 2011, 09:51:00 am »






"พระพุทธองค์ทรงตรัสว่า..."

...พระพุทธองค์ทรงตรัสว่าธรรมะของพระพุทธศาสนานั้น
สามารถทำให้เกิดขึ้นได้ในปัจจุบัน
หากธรรมะในพระพุทธศาสนานั้นไม่มีคุณค่าแล้ว
การครองชีวิตอันประเสริฐในปัจจุบันก็มีไม่ได้
เหตุเพราะเป็นเหตุปัจจัยเป็นองค์ประกอบของโครงสร้าง
เมื่อเราสร้างเหตุใหม่ เราก็สามารถที่จะรับผลใหม่ในทันที…

... ดังเช่นตัวอย่างในพุทธกาลที่มีมากมายไม่ว่าเรื่องราวขององคุลีมาล
ซึ่งทำร้ายผู้คนมามากมายก็แล้วแต่ แต่เมื่อสร้างเหตุใหม่
ก็สามารถที่จะได้รับผลใหม่ กรรมนั้นคือเจตนาเป็นที่ตั้งของเวทนา
พระพุทธองค์ทรงตรัสว่า เรากล่าวว่า เจตนานั่นแหละคือกรรม...

... พุทธพจน์ดังกล่าวจะเห็นได้ว่าเราสามารถสร้างกรรมใหม่
ได้ด้วยการตั้งเจตนาที่ดี คิดดี ดำริดี เราก็จะเสวยเวทนา
คือ ความรู้สึกหรืออารมณ์ในทางที่ดี
กรรมใหม่ในปัจจุบันขณะจึงมีผลมาก
ปัจจุบันขณะเป็นเวลาอันประเสริฐสุดที่เราสามารถจะทำสิ่งใดก็ได้

โดยเฉพาะอย่างยิ่งการกระทำต่อจิตใจกับตัวเรา
ไม่ว่าเหตุการณ์เบื้องหน้าจะเป็นอย่างไร
แต่หากเราสามารถที่จะกระทำจิตใจเราให้มีความสงบระงับ
ปราณีตด้วยปัญญาแล้ว เราก็จะไม่ทำร้ายจิตใจตัวเอง
ไม่ก่อโทษให้กับจิตใจตนเอง
ด้วยการคิดที่เป็นอกุศลทุกเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นต่อหน้าเรา ...

... เราสามารถใช้โอกาสนั้นในการเรียนรู้
และสร้างกุศลให้เกิดขึ้นในจิตใจได้
อย่างทำให้หัวใจของเราเปรอะเปื้อนไปด้วยเปลวไฟ
หรือกลีบดอกไม้แห่งความลุ่มหลง
เมื่อเราสิ้นความเริงใจก็สิ้นการย้อมติด

เมื่อสิ้นการย้อมติดก็สิ้นการเริงใจ
เพราะเราเพลินไปในราคานุสัยก็ดี ในปฏิฆานุสัยก็ดี
จึงเกิดการย้อมติดขึ้นมาในหัวใจ
ความระเริงไปตามอำนาจแห่งการย้อมติดนั้น
ทำให้เกิดการปรุงแต่งไปในทิศทางที่จิตใจ
ถูกย้อมเอาไว้ขาดอิสรภาพ ขาดความบริสุทธิ์...

(พระครูใบฎีกา อำนาจ โอภาโส,
พุทธธรรมสถานผาซ่อนแก้ว, หนังสือคำตอบของชีวิต ปฏิจจสมุปบาท)




:http://nitipatth.blogspot.com/2010/03/blog-post_26.html
อนุโมทนาสาธุที่มาทั้งหมดมากมายค่ะ

ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: พฤศจิกายน 04, 2011, 09:44:27 am »



เข้าซอยให้ถูก 
โดย พระอาจารย์อำนาจ โอภาโส

เมื่อเราใช้ชีวิตอยู่ในสังคม บ่อยครั้งเราเลือกไม่ได้ว่า
วันนี้จะมีคนดีหรือคนไม่ดีผ่านเข้ามาในชีวิตของเรา
เหมือนกับทุกการงานหรือความฝันใฝ่ของเรา
เราก็เลือกไม่ได้ที่จะราบรื่นหรือมีอุปสรรค

แต่สิ่งหนึ่ง เราสามารถเลือกได้และกำหนดได้ด้วยตนเอง
คือเราเลือกที่จะขุ่นมัว หรือเลือกที่จะรักษาสันติสุขในหัวใจ

มันไม่ได้อยู่ที่ว่าเพราะเขาเป็นคนไม่ดีเราจึงขุ่นมัว
หรือเพราะว่าอุปสรรคจึงทำให้เราหงุดหงิด
แต่มันอยู่ที่ว่าเราวางใจไว้ตรงไหนในหัวใจเรา

ถ้าเราวางใจไว้ตรงการถือตัวว่าเราดีกว่า เราต้องชนะ
การแพ้จะทำให้เรารู้สึกต่ำต้อย
เวลาที่ไม่ได้รับการให้เกียรติ ไม่ได้รับความสำคัญ

แค่กิริยาเมินเฉยของใครบางคน ก็อาจทำให้เราขุ่นมัวได้
นั่นย่อมแปลว่าความทุกข์นั้นไม่เกิดเพราะเขาเป็นผู้กระทำต่อเรา
แต่เพราะความไม่รู้ตามไม่จริง (อวิชชา)
จึงทำให้เราวางใจไว้ผิด ในกรณีอื่นๆ ก็เช่นเดียวกัน

เราจะต้องเป็นผู้สมหวังเสมอไปหรือ
แล้วทำไมเราจึงไม่ยอมรับว่าอุปสรรคเป็นเรื่องธรรมดา
การเป็นคนดีกับการเป็นคนมีอุปสรรคเป็นคนละเรื่องกัน

ดังนั้นเวลาที่เรามีปัญหาขัดข้องในสิ่งที่เราทำ
เราก็ไม่จำเป็นต้องตกนรกด้วยการทำใจให้หงุดหงิด
ขุ่นมัว และอ้างว่าเราเป็นคนดี
เรากำลังทำในสิ่งที่ดี หรือสำคัญ หรือสิ่งที่ยิ่งใหญ่มีประโยชน์
เลยจำเป็นต้องหงุดหงิดกับอุปสรรค นั่นก็เป็นการวางใจไว้ผิดเช่นกัน
เพราะอุปสรรคนั้นอยู่ในกฎแห่งความไม่เที่ยง ไม่แน่นอน
ความไม่ใช่ตัวตน สิ่งนั้นเราบังคับบัญชาไม่ได้

ดังนี้ ถ้าเราหงุดหงิดกับอุปสรรค
แสดงว่าเรากำลังวิปลาส คือเห็นผิด
เห็นว่าความไม่เที่ยงว่าเที่ยง เห็นทุกข์เป็นสุข
เห็นความไม่ใช่ตัวตนเป็นตัวตน
และพยายามจะบังคับให้ทุกอย่างเป็นไปดังใจ

โดยลืมความจริงไปว่าคนอื่น
ก็ล้วนเกิดจากองค์ประกอบที่ผันผวนอยู่ตลอดเวลาตามเหตุปัจจัย
ยิ่งทำงานที่เกี่ยวข้องกับคนมาก
ก็ย่อมต้องพบกับความผันผวนแลแปรปรวนมากเท่านั้น
 
เหมือนเดินอยู่ท่ามกลางกระแสคลื่นที่อยู่โอบล้อมเรา
เราจะกรีดร้อง หรือยิ้มอย่างเท่าทันต่อหัวใจของตัวเอง
รักษาสมดุลย์อันสงบในหัวใจ และก้าวเดินอย่างงามสง่า
เพราะในทุกๆ วินาทีที่คลื่นแห่งความแปรเปลี่ยนโอบกอดเรา
เราเลือกได้ที่จะเอะอะโวยวาย คร่ำครวญ หรือเลือกที่จะมีศานติสุขในหัวใจ
ไม่ผลักใจตัวเองให้ลงนรกด้วยความขุ่นมัว

ในเมื่อความเปลี่ยนแปลง และความไม่แน่นอนนั้น
เป็นกฎอันศักดิ์สิทธิ์ของธรรมชาติ



พายุร้ายที่โหมกระหน่ำ ก็เคลื่อนตัวไปสู่ท้องฟ้าที่ปลอดโปร่ง
รัตติกาลย่อมผลิแย้มดวงตะวันแห่งรุ่งอรุณ

เราจึงเลือกได้ที่จะสงบสันติสุขอย่างผู้มีปัญญา
ไม่หวาดหวั่นกับอุปสรรค
เพราะอุปสรรคทำให้เราตกนรกไม่ได้
ถ้าเราวางใจไว้ถูก ไม่แก้ปัญหาด้วยการทำใจให้เป็นอกุศล
หรือแม้แต่ก่อความอยากที่จะพ้นจากภาวะอันขัดข้อง

เพราะความอยากพ้นจากภาวะ ก็เป็นตัณหาตัวหนึ่ง
ที่ให้ผลเป็นความบีบเค้นต่อจิตใจ
นับเป็นการซ้ำเติมตัวเองโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์
ทุกข์ทางกายที่เราต้องประสบกันทุกคน
เหมือนกับกำปั้นของธรรมชาติ ที่คอยเราด้วยทุกข์เล็กทุกข์น้อย
แต่หากเราขาดสติ เราจะซ้ำเติมตัวเองอีกกำปั้นหนึ่ง ด้วยการวางใจไว้ผิด

อุปสรรคย่อมเกิดขึ้นโดยธรรมดา
แต่เราเลือกที่จะเครียดหรือไม่เครียด
กายเรามีสิทธิ์ที่จะเจ็บป่วยตามธรรมชาติ
แต่เราเลือกได้ที่จะเอากำปั้นเราทุบใจซ้ำ
ด้วยความกังวลหงุดหงิด อยากให้หายดิ้นรน ที่จะพ้นจากภาวะ
หรือวางใจให้เห็นธรรมชาติของกาย เวทนา ว่าไม่ใช่ของเรา
ล้วนเป็นองค์ประกอบของเหตุปัจจัย

แต่การวางใจไว้ถูก ไม่ได้เกิดขึ้นโดยบังเอิญ
แต่เกิดขึ้นอย่างมีปัญญาที่จะเข้าใจ ตามความเป็นจริง
เหตุนั้นเองเราจึงจำเป็นต้อง เข้าใจวงจรปฏิจจสมุปบาท
คือภาวะที่อาศัยกันและกันเกิดขึ้น

เช่น เราเลือกไม่ได้ที่จะให้คำพูดที่ไม่ดีมากระทบหูของเรา
แล้วไหลตกลงไปสู่ในใจ
การรับรู้เกิดขึ้นแล้วตรงนั้น เสี้ยววินาทีแห่งสายฟ้าแลบนั้น
เราเลือกได้ที่จะโกรธหรือไม่โกรธ

โต้ตอบหรือสงบอย่างรู้เท่าทัน ถึงผลที่จะตามมา
ในช่วงวินาทีแห่งสายฟ้าแลบนั้น
เราอาจะเผลอถูกย้อมอารมณ์กลายเป็นปฏิกิริยา
มารู้สึกตัวอีกทีก็สายเสียแล้ว วิธีคือเราต้องวางใจให้ถูกต้องเสียก่อน



คือเข้าซอยถูก ที่ปากซอยปักป้ายไว้ว่า สัมมาทิฏฐิ
คือ เมื่อมีความเป็นที่ถูกต้อง จึงมีดำริที่ถูกต้อง คือ สัมมาสังกัปปะ
คือวางไว้ในใจว่า จะเสียสละ จะเมตตา จะกรุณา
เมื่อวางใจในลักษณะบวก (+) เช่นนี้
แม้จะถูกคลื่นลบ (-) มารบกวน จิตก็ตกลงมายาก

หากวางใจไว้เป็นลบอยู่ก่อนแล้ว
คือหมกมุ่นพัวพันกับสิ่งสนองความอยาก
หรือคิดในแง่ในแง่ร้ายเคียดแค้น ชิงชัง
หรือคิดในแง่ที่จะเอาเปรียบ ข่มเหง
การวางใจไว้ผิดเช่นนี้ ยิ่งกระทบก็ยิ่งทำให้ใจมืด
เหมือนเดินเข้าปากซอยผิดตั้งแต่เริ่มต้น
คือ ยิ่งเดิน ยิ่งมืดทึบ อึดอัด คับตัน

เป็นการดำริที่ทำให้ปัญญาดับ
เป็นการเบียดเบียนทั้งตัวเองและผู้อื่น
เพราะการวางใจไว้ผิดนั้น
ก็เผาลนตัวเองอยู่ทุกขณะอยู่แล้ว ก่อนที่จะเผาไหม้ผู้อื่น
เมื่อการกระทบนั้นไม่เป็นดังใจ
ซึ่งเป็นไปไม่ได้ที่ทุกสิ่งซึ่งไหลโอบล้อม
อยู่รอบกระแสแห่งชีวิตจะถูกใจไปทั้งหมด

ดังนั้น การเข้าซอยถูกตั้งแต่เริ่มต้น ยิ่งเดินยิ่งสว่าง

เมื่อเข้าซอยสัมมาทิฏฐิ เห็นถูกต้อง
ก็ทำให้เกิด สัมมามาสังกัปปะ ดำริคิดถูกต้อง
ทำให้เกิด สัมมาวาจา พูดถูก
สัมมากัมมันตะ คือมีกายในทางไม่เบียดเบียนผู้อื่นด้วยการฆ่าหรือขโมย
สัมมาอาชีวะ เลี้ยงชีวิตชอบ เว้นจากมิจฉาชีพ

สัมมาวายามะ คือความเพียรคอยเร้าจิตให้มุ่งมั่น
ป้องกันอกุศลที่ยังไม่เกิดไม่ให้เกิดขึ้น
ละอกุศลที่เกิดขึ้นแล้ว สร้างกุศลที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น
และรักษากุศลที่มีอยู่ในใจให้เจริญยิ่งขึ้น
สัมมาสติ ระลึกชอบ คือมีสติอยู่กับกาย เวทนา จิต ธรรม
สัมมาสมาธิ คือความตั้งใจไว้ชอบ
ความตั้งมั่นของจิตที่แน่วแน่นุ่มนวลควรแก่การงาน
ทำให้เกิดปัญญาเห็นตามจริง

ดังนั้น การเริ่มต้นเริ่มเข้าซอยถูก
เห็นถูก วางใจให้ถูกจึงยิ่งเดินยิ่งสว่าง

ถึงแม้เราจะเลือกไม่ได้ว่าจะมีอุปสรรคระหว่างหนทางหรือไม่
จะเจอคนดีหรือไม่ดี ไม่มีใครผลักใจเราให้ล้มลงได้
ถ้าเราไม่ผลักใจ เราให้ลงนรกด้วยความขุ่นมัว...เราเลือกได้




: “เข้าซอยให้ถูก” ในคำตอบของชีวิตปฏิจจสมุปบาท, หน้า ๘๕-๘๙)
ที่มา :http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=13688
อนุโมทนาสาธุที่มาทั้งหมดมากมายค่ะ
ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: พฤศจิกายน 04, 2011, 09:31:49 am »



"ไม่เห็นตัวตน
มองทุกหนเห็นแต่กระแสไหลไปในทุกที่
เปลี่ยนแปลงทุกวินาที
อยู่ที่ใครจะผลักดันเหตุปัจจัย

ชีวิตเลยเป็น ธรรม ทั้งแท่ง
ที่ประชุมแห่งเหตุปัจจัยที่ลื่นไหล
ใช้ปัญญาให้เข้าใจ
สร้างปัจจัยทางดีงาม ก็งามพลัน

ชีวิตเลยเป็น ตู้พระธรรม
ค่าล้ำแหล่งในกาย ใจผสาน
เห็นเกลียวปัจจยาการ
ทุกขณะปัจจุบัน พลันเกิดปัญญา"


ที่มา : พระอาจารย์อำนาจ โอภาโส (อำนาจ กลั่นประชา).
คำตอบของชีวิต ปฏิจจสมุปบาท. หน้า ๑๗๖.
นำมาแบ่งปันโดย กุหลาบสีชา
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=12931


               

ดุจวิถีนายช่างร้อยดอกไม้
สรรค์สร้างให้ทุกนาทีมีความหมาย
ด้วยตื่นรู้ปัจจุบันที่ผุดพราย
จึงเห็นธรรมอยู่ในกายและใจตน

มีสติเรียงร้อยคอยถักสาน
เป็นลาวัณย์แห่งความดีมีกุศล
ทุกขณะเบิกบานได้อย่างแยบยล
นี่คือชนในวิถีผู้มีธรรม




ประวัติพระอาจารย์อำนาจ โอภาโส   
 นามเดิม อำนาจ กลั่นประชา
 เกิด 13 สิงหาคม 2497 กรุงเทพฯ
 การศึกษา ศึกษาศิลปะด้วยตัวเอง
 
 ปัจจุบัน จำพรรษาอยู่ที่พุทธธรรมสถานผาซ่อนแก้ว จ.เพชรบูรณ์
 
รางวัลและเกียรติประวัติสำคัญ
 2002 ได้รับเชิญเข้าร่วมประชุมสหประชาชาติ ณ กรุงเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์
เนื่องในงานประชุมผู้นำสตรีทางศาสนาและจิตวิญญาณเพื่อศานติภาพโลก
 
 2001 ผลงานชุดทาโรห์ รูทออฟเอเชีย 78 ภาพ พิมพ์เผยแพร่ออกเป็น 4 ภาษา ได้แก่ อังกฤษ ฝรั่งเศษ เยอรมัน และเชคโกสโลวาเกีย 
 2001 - 2002 อาจารย์พิเศษวิทยาลัยราชสุดา มหาวิทยาลัยมหิดล
 1993 ได้รับรางวัลผลงานดีเด่นจากการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย
 
 1992 ได้รับรางวัลเกียรติยศจากสมาคมธุรกิจแห่งประเทศไทย
 1991 ศิลปินรับเชิญในงานอินเตอร์เนชั่นแนลโพสเลนอาร์ทิสต์ ประเทศออสเตรเลีย 
 1986 1 ปีกับการสร้างผลงานปริศนาธรรมหน้าบรรณ ขนาด 11 เมตรและขนาด 7 เมตร
ณ วัดเขาสารพัดดี จ.ชัยนาท ถวายเป็นพุทธบูชาโดยไม่รับค่าแรง
 
 ผลงานหนังสือและบทกวี 
 2003 เซียมซีพุทธ อนุสาสนีปาฎิหารย์
 2003 คำตอบของชีวิต ปฎิจจสมุปบาท
 2001 สะพานเชื่อมใจ
 
 1996 หนังสือบทกวี The Oneness 
 1996 มาลัยดอกไม้ในดวงตา 
 1995 สวรรค์ติดดิน 


ที่มา : http://www.ruendham.com/book_detail.php?id=50
อนุโมทนาสาธุที่มาทั้งหมดมากมายค่ะ

ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: พฤศจิกายน 04, 2011, 09:20:35 am »




คนที่อยู่ด้วยกันคำพูดนั้นสำคัญมากเลย หลวงพ่อเจอหลายคนโทรมาบอกว่ามีปัญหาเรื่องที่ทำงาน คำถามที่เจอบ่อยคือทำอย่างไรถึงจะอบรมหัวหน้าให้มีธรรมะ หัวหน้าเอาแต่ใจ ขี้บ่น ขี้โมโห ขี้หงุดหงิด ในนี้ไม่รู้จะมีหรือเปล่านะ ฉะนั้น เวลาเราเจอเรื่องแบบนี้ให้เราปรับมุมมองใหม่ อย่าไปคิดว่าเราต้องเอาชนะหรือเขาเป็นศัตรูของเรา ให้คิดว่าเราจะดูแลเขา อย่างน้อยคิดต้นทางให้ถูกก่อน เพราะว่าความทุกข์ของเราไม่ได้เกิดจากเขาทำ บางคนคิดว่าอยู่กับหัวหน้าคนนี้แล้วทำให้เราเกิดทุกข์ เลยย้ายงานไปเรื่อย ย้ายกี่ที่ก็ไม่มีความสุขหรอก เพราะหัวหน้าก็เป็นอย่างนี้ต้องดูแลทุกคน ภาระหนักนะ ต้องรับผิดชอบมาก

บางคนจะย้ายงานจนไม่ทำงานเลยเพราะไม่อยากมีหัวหน้า จริงๆ แล้วเราหนีไม่พ้น เราหนีปรากฏการณ์ไม่พ้น เราหนีคนขี้บ่น คนขี้หงุดหงิด คนปากมากไม่พ้น หนีคนโกงคนที่ถามอะไรไร้สาระไม่พ้น หนีได้อย่างเดียวคือความไม่ชอบในใจเรา ความไม่ชอบทำให้เราทุกข์ ตกลงไม่ใช่คนปากมาก คนขี้บ่นทำให้เราทุกข์ เราไม่ชอบคนปากมาก คนขี้บ่น ทุกข์ของเราไม่ใช่เขาทำนะ เราต้องจัดการตัวเราเอง สรุปเลยว่าเราไปห้ามเขาไม่ได้ ไปห้ามไม่ให้ขี้บ่นหรือหงุดหงิดไม่ได้ เราต้องดูแลใจเรา เมื่อเราเริ่มดูแลใจเราความอัศจรรย์มันจะเกิดขึ้น ปาฏิหาริย์จะเกิดขึ้นแล้วสำหรับโยมที่ได้เจอคนขี้บ่นขี้โมโหให้ลองคิดใหม่ ดูแลตัวเราใจเราก่อนโดยไม่โกรธไม่ตอบโต้ เขาจะเริ่มทึ่ง เขาจะงงว่าเราทำได้ยังไงที่เราไม่ตอบโต้ แต่กลับเป็นฝ่ายดูแลแทน เขาจะเริ่มศรัทธาว่าทำได้ยังไง เมื่อเริ่มศรัทธาแล้วจะเริ่มละอายใจ และไม่กล้าทำสิ่งไม่ดีออกมา
 
          ความละอายใจเป็นสิ่งมีค่ามาก แต่คนเริ่มต้นนี่สำคัญที่สุดคือต้องเริ่มเปลี่ยนตนเองให้เป็นผู้เสียสละ ในที่ทำงานนี้เราลองเปลี่ยนมุมมองใหม่ดู เปลี่ยนเป็นผู้เสียสละแทนแล้วกัน อย่างน้อยเรตติ้งตอนตายกระฉูดแน่นอน บนสวรรค์จดคะแนนไว้เรียบร้อยแล้ว เสียสละครั้งหนึ่งนี่ไม่ใช่ธรรมดานะ เราเคยได้ยินบ่อยๆ ใช่ไหมว่าเวลาคนทำความดีพระอินทร์ที่นั่งจะร้อน เทวดาที่นั่งร้อน โยมว่าจริงหรือเปล่า พิสูจน์ด้วยตัวเองก็ได้นะ สมมติว่าเราไปเห็นเด็กที่เป็นคนดีคนหนึ่ง ที่เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ เรารู้สึกทนไม่ได้แล้วเราต้องหารางวัลให้เขา ก็เหมือนกับที่อาสนะของพระอินทร์ร้อน สมัยเป็นฆราวาสหลวงพ่อเคยเจอหมา มันร้องทั้งคืนเพราะมันหิวและมันไม่มีแม่ ถูกปล่อยทิ้งไว้ เลยขับรถไปซื้อข้าวมาให้มันกิน

ตอนนั้นก็มีหมาวิ่งโซเซเข้ามาจะขอส่วนแบ่งแต่เราไม่ให้มัน ให้แต่ลูกหมาตัวนี้เพราะมันหิวมาทั้งคืน พอลูกหมากินหมด เจ้าหมาผอมโซตัวนั้นเดินเลยไป ลูกหมาก็เดินตามไปจะกินนม หมาตัวเมียนั้นนมก็ไม่มี แต่ก็นอนให้ลูกหมากินนม หลวงพ่อมองแล้วหัวใจแหลกสลาย ที่นั่งเทวดาร้อนอีกแล้ว ขับรถไปซื้อข้าวมาอีกเที่ยวหนึ่ง พอมาถึงไม่เจอ แม่หมาหายไปแล้ว รู้สึกว่าเสร็จแน่ถ้าวันนี้ไม่เจอมัน พยายามไปตามหาเรียกมัน จนไปเจอและรู้สึกค่อยยังชั่วหน่อย ดังนั้น เทวดาที่นั่งร้อนมันมีจริงนะ อย่างที่หลวงพ่อบอกว่าแม้แต่หมาที่ผอมโซมันยังสามารถแบ่งปันได้ ความดีที่เกิดขึ้นมันไม่ใช่สิ่งเล็กน้อยอีกแล้วนะ แค่สิ่งเล็กน้อยก็สร้างความงาม แต่ความงามไม่ใช่สิ่งเล็กน้อย แล้วมันจะกระเทือนไปถึงสรวงสวรรค์ สรวงสวรรค์ในจิตใจของมนุษย์ด้วยกันก่อน ต่อไปถึงสรวงสวรรค์ในสิ่งที่สูงส่งกว่าเราก็ยังมีนะ


บางทีปัญหาเกิดจากการคิดปรุงแต่งของเราเอง
ที่ต้องการให้ทุกอย่างเป็นดั่งใจ ความคิดอย่างนั้นจะแห้งแล้ง
หากเปลี่ยนมุมมองว่า ปัญหาทำให้เราได้พัฒนา
ชีวิตมันจะสุกสกาวสดใส


          ถ้าเรามีความเชื่อแบบนี้ ชีวิตเราจะมีเป้าหมายที่ชัดเจนขึ้น หลวงพ่อบอกไว้แล้วว่าตั้งแต่เด็กๆ มีเป้าหมายว่าจะใช้ชีวิตเพื่อมหาชน ใช้เป็นพู่กันของพุทธองค์ที่จะฝากไว้ให้กับคนรุ่นหลังเมื่อเราตายไปแล้ว คนรุ่นหลังเกิดมายังต้องเรียนรู้ต่อ ฉะนั้น ในงานบางอย่างมันจะเป็นงานในระดับลึกเชิงปัญญาเหมือนกัน ไม่ใช่ว่าเราทำอย่างงมงาย แต่เราทำอย่างลึกซึ้ง ที่เมตตาเกิดจากปัญญา ไม่ใช่เมตตาที่เสแสร้งหรือสร้างขึ้นมา ฉะนั้นการอยู่ด้วยการเอื้อเฟื้อ ด้วยการมีคำพูดที่ดีงามและให้อภัยกัน มอบดอกไม้ที่งดงามในคำพูดให้กัน เรียกว่า เป็นลาวัลย์สำหรับหูแล้วกัน ดีกว่าเป็นเศษแก้วที่ทิ่มแทงกัน ฉะนั้น คำพูดนี่สำคัญนะบางทีทำร้ายจิตใจกันได้ ถ้าอีกคนขี้บ่น อีกคนขี้หงุดหงิดมักจะต้องต่อสู้กันมากเลย ถ้าคนหนึ่งเปลี่ยนเป็นคนเสียสละ เปลี่ยนเป็นคำพูดที่จะไม่ระรานกัน ชีวิตจะมีความสุขมาก เปลี่ยนมุมมองใหม่เป็นผู้เสียสละ หนึ่งคือเป็นผู้เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ สองคือเสียสละ เหมือนอย่างที่หลวงพ่อเล่าว่าเห็นเขาแบกโต๊ะก็ไปช่วยเขาแบกอะไรเล็กๆ  น้อยๆ ก็ไปช่วยเขา

                                   

อย่าไปตั้งเวลาว่าชั่วโมงนี้ชั่วโมงหน้าจะทำอะไร
ชีวิตไม่มีล่วงหน้านะ อะไรที่เกิดในปัจจุบันขณะเราต้องมีตลอดเวลา พร้อมที่จะเสียสละทุกขณะ พยายามต้องลึกซึ้งด้วยไม่ใช่ทื่อๆ คนเมตตาไม่ใช่ทื่อๆ ต้องระวังคำพูดด้วย คนมีเมตตาต้องถนอมน้ำใจกัน ทำให้สามัคคี ให้อภัย และการที่เราเอาตัวเราเข้าไปเป็นผู้กระทำ เขาทำอะไรเราต้องไปมีส่วนร่วมอย่าดูดาย ไม่ว่าจะเรื่องอะไรก็แล้วแต่ เวลาคนไปวัดหลวงพ่อเห็นแล้วรู้เลย บางคนเห็นคนปลูกต้นไม้ก็ไปช่วยเขา บางคนเดินผ่านแค่ชมดอกไม้และผิวปาก ทั้งๆ ที่ไปกลุ่มเดียวกัน ก็มองเห็นความแตกต่าง ถึงบอกว่า การใช้ชีวิตในปัจจุบันขณะต้องใช้ปฏิภาณไหวพริบ บางคนทื่อๆ ไม่ค่อยมีไหวพริบว่า เราจะหาโอกาสที่จะเก็บความงาม หรือเก็บบุญกุศลที่เกิดขึ้นจากการใช้ชีวิตในแต่ละวันของเราได้อย่างไร ต้องหาโอกาสให้เป็น แต่บางคนที่ไม่รู้จักใช้โอกาสปล่อยให้ล่วงเลยไปโดยเปล่าประโยชน์
 
          อีกอย่างหนึ่ง คือการที่เราไม่ถือตัวว่าเราใหญ่กว่า การอ่อนน้อมถ่อมตนลงมาหาผู้น้อยเป็นความงามที่น่าประทับใจ เหมือนอย่างท่านอาจารย์ดุษฎี ที่หลวงพ่อเล่าว่า นำแก้วของฆราวาสไปล้างให้ ท่านได้ความรักไปทั้งหมด ลงทุนน้อยจริงๆ เลย ทำให้ต้องมานั่งบรรยายความงามของท่านไม่สิ้นสุด   

          ฉะนั้นการไม่ถือตัวการอ่อนน้อมลงมา ถ้าทำได้จะนำความรักมาสู่ตัวเราได้ง่ายดาย เป็นการลงทุนน้อย แต่ผลมันยิ่งใหญ่มหาศาล ดังนั้น ก็ขอฝากให้พวกเราใช้ธรรมะในการทำงาน ใช้ธรรมะในการอยู่ด้วยกันเป็นเครื่องเหนี่ยวนำในการอยู่ร่วมกัน ในการที่จะทำให้เกิดความสุขเอื้อเฟื้อกัน เมตตาทั้งกาย วาจา ใจ เอาตัวเราเข้าไปสมาน ไม่ใช่แค่สั่งคนอื่นหรือใช้คนอื่นทำ จงเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของการกระทำ
เอาแรงกายที่เราได้มาฟรีๆ เปลี่ยนเป็นประโยชน์ เปลี่ยนเป็นสวนดอกไม้แห่งความรัก ปลูกในใจคนรอบข้างแล้วให้ไปบานบนสวรรค์ ใครเคยมีความรักไหม เวลาคนมีความรักมันจะมีต้นรักในหัวใจงอกคนละต้น ต้นรักของผู้ชายที่งอกงามใครเป็นคนรดน้ำ ใครเป็นคนปลูก ผู้หญิงใช่ไหม เพราะฉะนั้น เราต้องเป็นคนปลูกต้นรักในหัวใจเขา กติกาง่ายๆ เลย ถ้าเราเอาน้ำร้อนไปรดมันตายแน่นอน น้ำร้อน คือ คำหยาบคาย ความหึงหวงอะไรต่างๆ รดไปนิดเดียวตายเลย บางคนไปวัดหลวงพ่อเป็นสามีภรรยามีปัญหากัน ภรรยาไม่รู้ตัวเลยว่าตัวเองมีปัญหาอะไร ทำไมสามีไม่มีความสุขเลยที่อยู่กับเขา เขาหาสาเหตุไม่เจอ หลวงพ่อมองไปก็พบเลยเพราะว่าเขาชอบใช้น้ำร้อนรด เขาไม่รู้ว่าเขาใช้น้ำร้อนรดอยู่ ทำให้อีกฝ่ายหนึ่งดูต่ำต้อย ทำให้เขาไม่มีความสุข สิ่งนี้สำคัญมาก

                             

          การที่เราเริ่มทำความดีมันกระเทือนไปถึงสรวงสวรรค์ สวรรค์ในจิตใจคนอื่นๆ ด้วย และสิ่งเล็กน้อยก็สร้างความสวยงาม อย่าคิดว่าต้องไปทำโครงการใหญ่ๆ ใครกินกาแฟก็คอยล้างแก้วกาแฟให้ดีล่ะกัน การอยู่ด้วยกันต้องเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ เมตตาทั้งกาย วาจา ใจ เอาตัวเข้าสมานด้วยการทำความดีในหัวใจเขา เราต้องหาทุกโอกาสทุกขณะที่ทำความดี ให้ใช้ชีวิตประดุจนายช่างผู้ร้อยดอกไม้นั่นเอง


          มีคณะผู้ปฏิบัติธรรมมาจากวิทยุชุมชนกรุงเทพฯ ขับรถฝ่าสายฝนขึ้นมาถึงสำนักพุทธธรรมสถานผาซ่อนแก้ว เขาค้อ เดินมาบอกด้วยความตื่นเต้นว่าสถานที่แห่งนี้งามตระการตา เพลิดเพลินใจ
นี่คืออานุภาพของธรรมชาติที่งดงาม สามารถบันดาลให้รู้สึกเบิกบานในจิตใจเป็นเบื้องต้น และจะค่อยๆ อำนวยให้เกิดการซึมซับความสงบสุขในส่วนลึกของจิตใจ ซึ่งเมื่อเกิดภาวะนั้นแล้ว ความอ่อนน้อมถ่อมตน ความรัก ความเอื้อเฟื้อเกื้อกูลจะแผ่ซ่านเข้ามาในหัวใจ จากนั้น ใจที่ประณีตนุ่มนวลนั้น ก็จะสามารถสัมผัสสัจธรรมจากธรรมชาติได้
 
          ธรรมชาติที่ผาซ่อนแก้ว จะแสดงสัจธรรมการเกิดของดอกไม้ การตั้งอยู่ไม่ได้และร่วงหล่นของใบไม้ เมฆที่แปรเปลี่ยนเป็นฝน พระอาทิตย์ที่ให้พลังงานแบบให้เปล่าแก่สรรพชีวิต มีคนงาน มีนก มีมดเป็นล้านๆ ตัวให้เราเห็นทุกข์ ความไม่เที่ยง และตระหนักถึงความไม่ประมาทที่จะใช้ชีวิตทุกหยาดหยดอย่างเกิดประโยชน์ต่อตนเอง และเพื่อนร่วมทุกข์ เพียงแต่รู้จักเรียนรู้จากธรรมชาติ มองไปอย่างซื่อๆ ตรงๆ ใจก็จะสว่างด้วยปัญญา

 
     อำนาจ โอภาโส


ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: พฤศจิกายน 04, 2011, 08:46:50 am »




สมัยก่อนเวลาใครจะมองหลวงพ่อว่า ผู้ชายคนนี้โง่มาก เรากลับไม่รู้สึกอย่างนั้นเรากลับรู้สึกสดชื่นอยู่ภายใน เพราะในขณะที่ดอกไม้มันผลิแย้มบานในแต่ละวินาที มันมีความงามเกิดขึ้นในใจของเราเอง ที่เราเรียกว่าศรัทธา ศรัทธาต่อตนเองนี้สำคัญมากนะ ถ้าศรัทธาต่อตัวเองได้จะอยู่ที่ไหนเราก็มีความสุข
 
          เมื่อก่อนอยู่แถวพุทธมณฑลมีหมาขี้เรื้อนเยอะ เวลาเดินผ่านหมา ก็จะนึกว่าตัวนี้อาจเคยเป็นญาติเรามาก่อนชาติใดชาติหนึ่ง ชาตินี้น่าสงสารมากเกิดมาอาภัพ คือมองด้วยความรักไม่ได้รังเกียจ เขาเรียกว่าอันนี้เป็นแยบคายในหัวใจว่า
เราจะพลิกมุมมองอย่างไรที่จะมองให้เกิดความรัก ความสงสาร ชีวิตมันจะไม่แห้งแล้ง สมกับที่พระพุทธเจ้าสอนว่าให้เราอยู่อย่างนายช่างผู้ร้อยดอกไม้ ร้อยในทุกขณะของชีวิตให้งดงาม เราใช้ชีวิตอย่างคุ้มค่า เราจะเริ่มมีเป้าหมายว่าเราจะใช้ชีวิตอยู่อย่างไรทั้งรูปธรรมและนามธรรม สิ่งที่เราได้มามันฟรีทั้งนั้น เราต้องรู้จักแบ่งปันให้กับผู้อื่นบ้าง ทำให้เกิดประโยชน์ต่อมหาชนในวงกว้าง อย่างเช่น งานของพุทธศาสนา ทำไมหลวงพ่อถึงเปลี่ยนตัวเองจากปัจเจกชน จากศิลปินอิสระที่เคยได้รับเชิญเป็นแขกไปต่างประเทศ เวลาเดินทางไปไหนมาไหนก็ฟรีหมด

แต่กลับมาใช้ชีวิตนักบวชก็เพราะเห็นว่ามันมีประโยชน์ในวงกว้างมากกว่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งคำสอนของพระพุทธเจ้าที่มีค่ามากเลยและมันยากมากที่จะมีคำสอนที่ถูกต้องเกิดขึ้นในโลก พระพุทธเจ้าใช้เวลาประมาณสี่อสงไขยกับแสนกัลป์ในการตรัสรู้ ครูอาจารย์นักปราชญ์บอกว่าหนึ่งอสงไขย เท่ากับการเกิดและดับของจักรวาลหนึ่งครั้ง
กว่าจะสะสมคำสอนต่างๆ นี้มาได้มันยากมาก จะเห็นว่าเรามีคำสอนที่ผิดๆ มากมาย แต่เดิมก่อนที่พระพุทธเจ้าจะตรัสรู้ หลายคนเชื่อว่าชีวิตเกิดมาเพราะว่าพระเจ้าเป็นคนสั่ง บางคนบอกว่าเกิดมาเพื่อใช้กรรมเก่า บางคนบอกว่าเกิดมาไม่มีกรรมหรอกจะทำอะไรก็ได้ ขอให้ใช้ชีวิตสมใจอยากของเราแล้วกัน ถ้าใครจะทำให้ใครเสียหายก็ไม่เป็นไร เพราะไม่มีกรรม กว่าที่พระพุทธเจ้าจะตรัสรู้ความจริงตรงนี้มันยากมากเลย เพราะฉะนั้นการมาเป็นผู้สืบทอดความจริงตรงนี้ให้คนรุ่นหลังเป็นหน้าที่สำคัญอันหนึ่งของชาวพุทธเรา หลวงพ่อจึงสำนึกในบุญคุณของพุทธบริษัททั้งสี่ คืออุบาสก อุบาสิกา ภิกษุ สามเณรที่ได้ช่วยรักษาคำสอนที่ดีงามเหล่านี้จนมาถึงรุ่นพวกเรา

                         

          ปัจจุบันนี้ หลวงพ่อคิดว่าทุกวันนี้เวทีได้กลับมาอยู่ในมือของเราแล้ว เราจะทำอย่างไรเท่าที่กำลังความสามารถเรามี ถึงจะได้ใช้ความสามารถที่เรามี ให้เกิดประโยชน์เต็มที่ ตอนเป็นนักวาดก็อธิษฐานนะว่า ขอใช้ชีวิตเป็นพู่กันและหยดหมึกที่จะเผยแผ่ คำสอนที่ถูกต้องและดีงาม และเราได้ลิ้มรสชาติอมตธรรมนั้นเหมือนเราได้ชิมน้ำทิพย์สักหยดหนึ่งที่มีรสชาติประณีต สุขุมลุ่มลึกและก็มีความจริงมีสัจธรรมมาก เราอยากจะแบ่งปันไปยังคนอื่นๆ เหมือนเราไปเที่ยวที่สวยๆ เราจะคิดถึงคนที่เรารัก คิดถึงพ่อแม่ อยากให้เขามาเห็นบ้าง มันก็แบบเดียวกัน ความรู้สึกหลวงพ่อก็ไม่ต่างกับเวลาได้พบคำสอนนี่มีค่า เรารู้สึกว่ามันมีประโยชน์สูงสุดต่อหัวใจเราต่อชีวิตของเรา ทำให้เราเลือกใช้ชีวิตอย่างนี้ และอยากถ่ายทอดในทุกรูปแบบให้คนอื่นรับรู้ คำสอนที่มีคุณค่านั้นๆ เพื่อเป็นประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตของเขาต่อไป


                       

                        การที่เราเป็นเพื่อนร่วมงานกัน ให้มองว่า
                          ทุกคนปรารถนาความสุขเหมือนกัน
                               มีความทุกข์เหมือนกัน
                        หากกระทบกระทั่งกัน เราควรให้อภัย
                            และเอื้อเฟื้อแบ่งปันกันให้เป็น

          เพราะฉะนั้น ในชีวิตหน้าที่การงานเราก็เหมือนกัน คนทำงานสามารถปฏิบัติธรรมได้ และสามารถใช้ชีวิตการทำงานกับการปฏิบัติธรรมให้มันสอดคล้องเป็นหนึ่งเดียวกันได้ เพราะชีวิตเป็นกระแสสัมพันธ์ที่เป็นหนึ่งเดียวกันได้ เหมือนลมหายใจจากคนหนึ่งไปสู่อีกคนหนึ่ง ลมหายใจที่ไหลเข้าไหลออกมีแต่กระแสหายใจที่เป็นหนึ่งเดียวกัน คนเราชอบไปมองเปลือกที่บอกถึงความแตกต่างกัน แต่จริงๆ ข้างในเหมือนกันนะ จิตใจเหมือนกัน ความรู้สึกที่เหมือนกัน มีใครที่ขาถูกพื้นอยู่บ้าง ระหว่างเท้าถูกพื้น จิตจะเป็นผู้รู้สึก แต่ละคนจะรู้สึกเท่ากันนะ รู้สึกเสมอภาคกัน รู้สึกได้เหมือนกันถ้าไม่เติมคำว่า “เรา” ลงไป เพราะฉะนั้นการทำงานของเรากับธรรมะมันสอดคล้องกัน

                             

เพราะว่าเรามีร่างกายที่เป็นรูปธรรม ธรรมะคือเป็นหนึ่งเดียวกัน เป็นกระแสสัมพันธ์ มีนามธรรมเหมือนกัน เราอยู่กับธรรมะตลอดเวลาเห็นไหม กับการทำงานก็เหมือนกัน เพราะฉะนั้นเราต้องใช้ให้มันสอดคล้องกัน ไม่ใช่ใช้ชีวิตอย่างแห้งแล้ง หรือมีเป้าหมายแค่เรื่องวัตถุอย่างเดียว การมีแค่เป้าหมายที่จะตอบสนองความต้องการของตัวเองนั้นแห้งแล้ง ไม่มีใครที่จะอยู่คนเดียวในโลกได้
ไม่มีใครจะประสบความสำเร็จได้ด้วยตัวเอง มันต้องมีสายสัมพันธ์โดยเฉพาะความรักมันสำคัญมาก เรารักจิตใจที่มันเป็นความบริสุทธิ์เหมือนกัน แต่เปลือกคือความแตกต่าง อย่าไปมองที่เปลือกที่แตกต่าง เปลือกของความแตกต่างเราจะประสานมันด้วยความเข้าใจ ด้วยการให้อภัย ด้วยการเรียนรู้ การทำงานก็เหมือนกัน เราต้องมีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ เรื่องนี้มีความสำคัญมาก
 
          เมื่อทุกคนเข้ามาในสายพานการใช้ชีวิต ทุกคนต้องแบกภาระอย่างหนึ่ง คือแบกภาระความขัดแย้งของธาตุทั้งสี่ในร่างกายอันได้แก่ ดิน น้ำ ลม ไฟ ที่มันไม่สมดุลกัน มีความทุกข์ที่เป็นภาระอยู่แล้วในตัว เวลามองไปที่คนหนุ่มคนสาวให้มองเห็นความป่วยเฒ่า แล้วก็มองเห็นว่าทุกคนมีความทุกข์เหมือนกัน บางคนไปนั่งสมาธิพิจารณาแล้วก็เกิดความสลดสงสาร เกิดความรัก ความรักที่เกิดจากความเมตตา เป็นความปรารถนาที่ทำให้เขาพ้นทุกข์ อยากให้เขามีความสุข
เพราะรู้ว่าจิตมันเหมือนกัน เพียงแต่มันเป็นจิตที่ห่อหุ้มด้วยความไม่รู้ มันบอบช้ำ หรือกำลังหลงทางอยู่ การที่เราเป็นเพื่อนร่วมงานกันก็เหมือนกัน สิ่งนี้จำเป็นมาก ให้มองว่าทุกคนก็ปรารถนาความสุขเหมือนกัน ทุกคนก็มีความทุกข์เหมือนกัน

หากกระทบกระทั่งกันเราควรจะให้อภัยกันก่อน เอื้อเฟื้อกัน แบ่งปันกันให้เป็น อีกสิ่งหนึ่งที่ตามมาคือวาจาหรือคำพูด เพราะวาจาหรือคำพูดมันจะต้องปลิวเป็นละอองเกสรออกไปตลอด และบางทีมันอาจจะเป็นละอองเกสรเพลิงลุกไหม้ เชือดเฉือนกัน เป็นละอองเกสรที่เป็นแก้วทิ่มแทงก็มี
เพราะฉะนั้นคำพูดนี่น่ากลัวมากเลย บางคนอยู่ด้วยกันสองคน คนหนึ่งขี้บ่น อีกคนขี้โมโห เข้าคู่กันแล้วพอดีเลย มันจะต้องทะเลาะกันตลอดเวลา อีกคนจะบ่นเรื่อยเลย อีกคนพอได้ยินเสียงบ่นแล้วจะหงุดหงิด นี่มันอันตรายมาก ถ้าเราไม่เข้าใจตรงนี้จะลำบากมาก ทุกข์มาก ลองปรับดูนะว่า เขาเป็นคนขี้บ่น เราจะเป็นคนดูแลคนขี้บ่น ถ้าเขาขี้โมโห เราจะเป็นคนดูแลคนขี้โมโห อย่าไปคิดว่าเราจะต้องชนะเขา มันจะแพ้ทั้งคู่ สงครามครั้งนี้มันจะย่อยยับมีแต่ความหายนะเกิดขึ้น




เขาไม่ได้ ทำ ให้เราทุกข์
ความไม่ชอบเขา ในใจเรา ต่างหากที่ทำให้เกิดทุกข์

ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: พฤศจิกายน 04, 2011, 08:32:35 am »



          สรุปโดยย่อในเบื้องต้นว่าคนเราต้องมีเป้าหมายชัดเจน ต้องมีความเชื่อที่ถูกต้อง ในทางพระพุทธศาสนาเรียกว่า ศรัทธาคือความเชื่ออย่างมีเหตุผล จึงจะสามารถตั้งเป้าหมายได้ การมีความเชื่ออย่างมีเหตุผล ชีวิตถึงจะมีจุดเริ่มต้น เพราะฉะนั้นการใช้ชีวิตอย่างนี้สำคัญมากเลยต้องใช้ทั้งชีวิตพิสูจน์ ไม่ใช่ใช้แค่บางเรื่องบางช่วง หลายคนชอบแบ่งชีวิตเป็นตอนๆ เป็นช่วงสั้นๆ ว่า อันนี้เป็นการงาน อันนี้เป็นชีวิตส่วนตัว อันนี้เป็นการปฏิบัติธรรม แต่ถ้าสามารถใช้ทั้งสามได้จะดี อย่าไปมักน้อย ให้เราเป็นคนมักมากในความดีในความสุขในปัจจุบันขณะ โดยที่จะไม่ทิ้งทุกหยาดมณีของมัน ทำชีวิตให้มีความสุขทั้งด้านการงาน ทั้งการปฏิบัติธรรม ทำชีวิตให้เป็นการเอื้อเฟื้อ ทำชีวิตให้มีความรักได้ด้วยทุกขณะเลย การแบ่งชีวิตเป็นช่วงๆ ช่วงการทำงาน ช่วงครอบครัว ช่วงเวลาส่วนตัว อย่างนี้ล้มเหลว ต้องทำให้เป็นอย่างเดียวกัน ถ้าใครสามารถเข้าถึงตรงนี้ได้ตลอดเวลาของแต่ละวันมันจะไม่น่าเบื่อ ไม่ต้องไปรอคอยว่าเดี๋ยวจบเทศน์ถึงจะมีความสุข จะได้กลับบ้าน จะได้ไปหาของกิน

แต่ถ้าเราเริ่มเข้าใจสิ่งเหล่านี้ เริ่มหาความน่าสนใจจากสิ่งรอบข้าง อย่ามัวแต่มองว่าจะได้นะโยม ลองคิดในมุมกลับกันก็ได้ว่า ถ้าใครสักคนเข้ามาหาเราด้วยสายตาอย่างนั้น เราจะคิดยังไงกับเขา เราจะมองเขาด้วยสายตาแบบไหน เช่น ในฐานะผู้ชาย ถ้าผู้หญิงเข้าไปคบผู้ชาย เพราะคิดว่าจะต้องได้อะไร เช่น ได้ความดูแลเอาใจใส่ ได้ความรัก ผู้ชายคนนั้นจะรู้สึกเหมือนเขาเป็นวัตถุก้อนหนึ่ง บางทีเรามองข้ามสิ่งนี้ไป แล้วเขาจะรู้สึกเหมือนเป็นภาระที่เขาจะต้องตอบแทนกับสิ่งที่ผู้หญิงนั้นมุ่งหวังมา  แต่ถ้าเราเข้าไปในอีกจุดหนึ่ง คือมาเป็นผู้ดูแล ผู้ให้  ผู้เสียสละ ชีวิตก็ไม่ล้มเหลว มีจุดยืนจากการเป็นผู้ให้  อันนี้หลวงพ่อถือเป็นคติประจำวันมาตั้งแต่เด็กๆ เลย มีความเชื่อฝังใจว่า พลังงานทุกอย่างเราได้มาฟรี เพราะฉะนั้น เราจะไม่เก็บมันไว้กับตัว ต้องเอาไปเผื่อแผ่ให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับคนส่วนใหญ่ เพราะมันไม่มีของเราเลย มีแต่ของฟรี ส่วนปัญหาหรือวิกฤตนี่มันดีเพราะมันทำให้เราได้พัฒนา ถ้าเราคิดอย่างนี้เป็นเราจะใช้ชีวิตอย่างคุ้มค่ามาก และเวลาที่เจอใครเราจะไม่คิดว่า เราจะได้อะไรจากเขา แต่เราจะคิดว่าเราจะแบ่งปันอะไรให้เขาได้มากกว่า
 
          พระพุทธเจ้าทรงสอนให้เราใช้ชีวิตเหมือนนายช่างผู้ร้อยดอกไม้ หลวงพ่อจำฝังใจจึงใช้ชีวิตอย่างนี้มาตลอด คือจำทุกขณะจิตที่ใช้ชีวิตเพราะความงามเหล่านั้นมันจะไม่หวนกลับมาอีก แม้แต่หยาดน้ำตาที่เราเสีย มันก็มีความงามซ่อนอยู่ มีอัญมณีบนหยาดน้ำตาบนแก้มของเรา แล้วไม่ใช่มันจะกลับมาอีกบ่อยนะ มีใครอกหักบ่อยๆ ไหม มันมีคุณค่ามีความงามนะ เรียนรู้มันไว้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนที่เคยอกหัก ใครที่เคยอกหักจะรู้ว่าช่วงนั้นมันจะเป็นช่วงสุกงอม เพราะก่อนหน้านั้นมันยังจะไม่สุก มันจะสุกงอมตรงช่วงการพลัดพรากพอดีเลย เราจะไม่โวยวาย ถ้าเรารู้จักเก็บเกี่ยวทุกขณะให้เป็น แม้แต่การหกล้มหรืออะไรก็ตามมันมีความงามซ่อนอยู่หมดเลย

          ใครเคยรู้บ้างว่าแสงสว่างเปิดเผยความงามจริงหรือเปล่า เช้าๆ แสงสว่างเจิดจ้าเปิดเผยความงามจริงหรือเปล่า ไม่จริงนะ แสงสว่างไม่ได้เปิดเผยทุกอย่าง แต่มันปกปิดความมืดที่งดงามเอาไว้ ใครเชื่อบ้าง ความมืดมีความงดงาม
อย่างน้อยก็มีดวงดาว หิ่งห้อย แมลงที่ออกหากินกลางคืน เพราะฉะนั้น ชีวิตเราก็เหมือนกัน มันมีทั้งรุ่งอรุณและมีทั้งราตรี เราต้องต้อนรับรัตติกาลและใช้ชีวิตให้เป็น อันนี้สำคัญมาก พอช่วงรัตติกาลมาถึงต้องต้อนรับเลย เพราะมันทำให้เราได้เรียนรู้ ในขณะที่ราตรีเข้ามาในชีวิตเราไม่ต้องรู้สึกตกใจกลัว ให้ทำใจว่าไม่นานหรอก อีกสักพักหนึ่งตะวันจะเข้ามาทำลายความมืดให้หมดไป

 


          ทุกอย่างทุกขณะ เวลาที่เรามองย้อนไปในอดีตอย่าไปมองหาแต่ความเศร้าสร้อยหรือความผิดหวัง ให้หาสิ่งดีๆ เราจะมีกำลังใจในการชีวิต เราจะก้าวไปอย่างมั่นคง ในชีวิตการงานเราก็เหมือนกัน ถ้าเราสามารถหาสิ่งดีออกมาได้ มองเพื่อนร่วมงานว่าเป็นสิ่งที่มีค่า รู้ไหมว่าการเกิดมามันมีค่าและยากขนาดไหน พระพุทธเจ้าตรัสว่า เหมือนเต่าตาบอดว่ายอยู่ในมหาสมุทรร้อยปีขึ้นมาหายใจผิวน้ำครั้งหนึ่ง ถ้าเจอห่วงยางเมื่อไหร่จะได้เกิดขึ้นมาเป็นคน หลวงพ่อเลยมีเคล็ดลับอีกอย่างหนึ่งว่าการเกิดเป็นคนมันยากแสนยากจริงๆ และการพบกัน มันยิ่งยากเข้าไปใหญ่ เพราะฉะนั้นเราควรจะต้องต้อนรับการพบกันอย่างคุ้มค่า แล้วทำไมเราจะต้องมาทำสิ่งไม่ดีต่อกัน ทำไมไม่มอบสิ่งที่ดีงามต่อกันและกัน
 
          ชีวิตรอบตัวเรามีสรรพสัตว์มากมาย เฉพาะมดก็มีเป็นล้านๆ ตัวเลยรอบกุฏิ เพราะฉะนั้นถึงบอกว่าการเกิดมาเป็นคนนั้นมันยากจริงๆ แล้วชีวิตมันก็ไม่ได้มีเวลามากอะไรแค่ 80 ปี เดี๋ยวนี้ไม่ถึงแล้วเหลือ 65-66 ปีแล้ว พวกเราก็เข้ามาใกล้แล้วใช่ไหม ดีมากเลยที่ยอมรับความจริง ถ้าคิดอย่างนี้เป็น เราจะใช้เวลาที่เหลืออย่างคุ้มที่สุด คนที่อยู่รอบๆ ตัวเราขณะนี้ไม่มีคำว่าบังเอิญนะที่ได้มาเจอกัน มีแต่เหตุปัจจัยที่มันพอเหมาะพอดี เพราะฉะนั้น ให้เรารู้จักที่จะเปลี่ยนมุมมองบางอย่างที่เศร้าหมอง ปรับให้เป็นความงดงาม คิดง่ายๆ ว่า ถ้าเราตายไปเมื่อวานแล้วให้กลับมาใหม่ เราจะทำอะไรบ้าง อย่างน้อยคนที่เราไม่ชอบหน้า เราจะมองเขาอีกมุมมองหนึ่งได้ เราจะเริ่มมองเห็นความงามของเขา แต่เพราะเราอยู่อย่างประมาท อยู่อย่างชินชาจึงมองคนรอบข้างไม่เป็น ถ้ารู้จักมองให้เป็น ทุกๆ วันก็จะใหม่ตลอดเวลา ตัวเราก็ใหม่ คนรอบข้างเราก็ใหม่ไม่ซ้ำนะ จิตใจก็ไม่ซ้ำทุกขณะ เพราะฉะนั้นการอยู่ร่วมกันสำคัญมาก ควรอยู่ด้วยกันด้วยความเอื้ออาทร มีน้ำใจทุกขณะในทุกเรื่อง



          บางคนอาจจะนึกว่า ชีวิตนักบวชแห้งแล้ง จริงๆ ไม่เป็นอย่างนั้นเลย เมื่อเช้าตอนหลวงพ่อจะมาตอนตี 5 ฝนตกพรำๆ หัวใจก็ไม่ค่อยจะดี ควานหาร่มได้ก็ค่อยๆ ปีนขึ้นบันไดอย่างระมัดระวังเพราะตี 5 ยังมืดอยู่ แต่ซักเดี๋ยวเดียวที่บันไดมีแสงไฟสว่าง ปรากฏว่าเพราะอาจารย์ยงยุทธ์ ท่านถือร่มและไฟฉายมาให้อีกหนึ่งกระบอก ท่านเป็นห่วงเลยเอาร่มและไฟฉายมาให้ เห็นไหมว่าชีวิตพระไม่ได้แห้งแล้งนะ ยังมีความงดงามในการอยู่ร่วมกัน แม้แต่ตอนฉันข้าวด้วยกัน ถ้าหลวงพ่อตักอะไร พระอาจารย์ก็จะไม่ค่อยตัก พอหลวงพ่อลุกแล้วค่อยตัก คือเริ่มรู้แล้วว่าท่านคอยสังเกตเราตลอดเวลา เห็นไหมว่านักบวชไม่ได้แห้งแล้งนะ เอาใจใส่กันทุกขณะ ถ้าโยมสามารถใช้ชีวิตทางโลกด้วยกันอย่างนี้ได้มันจะมีความสุขมาก

 
          เราอย่ามองข้ามสิ่งเล็กๆ น้อยๆ สิ่งเล็กน้อยนี้สร้างความสวยงาม แต่ความงามไม่ใช่สิ่งเล็กน้อย แล้วชีวิตเราจะมีความสุขมากเลย เวลาที่เรารู้จักแบ่งปันหัวใจมันจะแช่มชื่นขึ้นมา ถึงจะดูโง่ในสายตาเขาก็ยอม


ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: พฤศจิกายน 04, 2011, 07:27:23 am »




พวกเราก็เป็นนางฟ้าได้เหมือนกันนะ พวกเราอย่าไปคิดว่าการที่เราจะเป็นนางฟ้าหรือการทำบุญต้องไปทำที่วัดมันไม่ใช่เลยนะ รู้จักอาหมวย ลูกเถ้าแก่คนหนึ่ง ชอบไปเดินจงกรมที่วัด ตอนเช้าวันเสาร์อาทิตย์พ่อแม่ชวนให้กินข้าวด้วยกันก่อน ก็บอกพ่อแม่ว่าไม่ได้ๆ จะรีบไปเดินจงกรมที่วัด และรีบออกจากบ้านแต่เช้ามืดเลย ในขณะขับรถก็ทั้งแซงทั้งปาด ใครจะแซงหน้าก็จะโกรธเพราะจะรีบไป เมื่อถึงวัดแล้วรีบแย่งที่จอดรถเพื่อเดินจงกรม พอนึกภาพออกไหมโยม วันก่อนหลวงพ่อไปบรรยายธรรมก็ถามว่ามีใครเดินจงกรมเป็นบ้าง ขออาสาสมัครมาเดิน เขาก็ลุกออกมาก้าวพรวดๆ ออกมาถึงก็มายืนตรงนี้ ตั้งท่าเตรียม หลวงพ่อบอกไม่ต้องเดินแล้ว เขาก็เดินกลับไปพรวดๆ อย่างหัวเสีย ก่อนจะนั่งหลวงพ่อบอกว่าทำไมไม่เดินจงกรมมา แล้วเวลาเดินกลับ ทำไมไม่เดินจงกลมกลับด้วย การเดินจงกรมคือการเดินอย่างมีสติ คนเราชอบลืมสติ ทำไมเวลาเดินที่บ้าน เดินจากเตียงนอนไม่เดินอย่างมีสติล่ะ มันต้องไปรอเดินจงกรมที่วัด ถึงจะได้บุญหรือ เราเดินที่ไหนก็ได้ใช่ไหม ตื่นเช้ามาเดินไปห้องน้ำ เดินอย่างมีสติคือรู้สึกตัวนั่นเอง
 
          เราต้องร้อยดอกไม้ทุกขณะ ไม่ใช่ว่าต้องไปร้อยที่วัดนะ ตื่นเช้ามาก็ร้อยดอกไม้เลย ต้องร้อยทุกขณะ ตื่นขึ้นมามันงัวเงียรู้สึกว่ามันขี้เกียจไม่อยากจะลุกก็ขยับขึ้นมานั่ง อารมณ์ก็จะเปลี่ยน พออารมณ์เปลี่ยนดอกไม้ดอกใหม่บานขึ้นแล้วนะ มันเปลี่ยนทุกขณะ พอเข้าห้องน้ำแปรงฟันออกจากบ้านเสร็จเจอคนเยอะแยะ เหมือนเปิดซาวด์แทร็คเลย ภาพยนตร์เรื่องใหม่กำลังเล่นแล้ว ตัวเอกกำลังเดินออกจากประตูบ้าน และให้มีความรู้สึกของความใหม่สดขึ้นมาเลย อย่าใช้ชีวิตอย่างจำเจทุกวันให้รู้ตัว ให้ตื่นตัว และเบิกบานใจ
 
          หลวงพ่อเดินบิณฑบาตทุกวันยังไม่เคยรู้สึกเก่าเลย บรรยากาศมันแตกต่างแปรเปลี่ยนไปทุกวัน ไม่เคยเบื่อพระอาทิตย์ขึ้นเพราะมันจะเปลี่ยนฉากไปเรื่อยๆ บางวันมันตามก้อนเมฆเป็นชั้นๆ บางวันเป็นเส้นสีทอง บางวันเป็นหมอกบางๆ ทุกวันมันจะมีความตื่นของฉากใหม่ๆ ในชีวิต ทุกวันมันจะมีความงามไม่ซ้ำกันนี่คือปัจจุบันขณะ
 
          บางคนไม่เข้าใจว่าปัจจุบันขณะคืออะไร มันคือทีละขณะ อย่างหลวงพ่อขยับมือมันเปลี่ยนไปแล้ว มันไม่ซ้ำที่เก่า มันเปลี่ยนไปทีละขณะที่เรามีสตินั่นคือความงามคือความสุข เราสามารถนำมาใช้ได้กับการงานของเรา ที่วัดจะสอนตรงนี้มากเกี่ยวกับการทำงาน สอนให้ทำงานอย่างมีความสุข คนปลูกต้นไม้ขนาดฝนตกยังใส่เสื้อกันฝนไปปลูกต้นไม้กัน นี่มันเป็นความขยันนะโยม มองให้มันเป็นความงาม หลวงพ่อกำลังจะเน้นว่า การทำงานอย่างมีความสุขในปัจจุบันขณะ มันสำคัญมากที่เราจะมองมันให้เหมือนดอกไม้ที่บานใน แต่ละขณะ ซึ่งจะบานไม่ซ้ำกันในแต่ละนาที ก็เหมือนกับการทำงานของเรา เราสามารถที่จะใช้ชีวิตอย่างนี้ให้มีความสุข โดยที่ไม่ต้องไปรอว่าเดี๋ยวเลิกงานจะมีความสุข เดี๋ยวพระหยุดเทศน์จะมีความสุข สมัยก่อนตอนเด็กๆ วันศุกร์ก่อนกลับบ้านเขาจะให้สวดมนต์นะ ก็คิดว่าเมื่อไหร่สวดมนต์จะเสร็จ จะได้มีความสุขเพราะได้กลับบ้าน วันหนึ่งหลวงพ่อไปเจอหนังสือโบราณที่เขาใช้สวดมนต์ตอนเย็น รู้สึกว่าเพราะมากอยากจะกลับไปสวดมนต์ตอนเย็นอีก นั่นเป็นตัวอย่างที่เราสูญเสียความสุขในปัจจุบันขณะไป โดยไปรอว่ากลับบ้านเราจะมีความสุข
 
          ขอให้เรารู้จักอยู่กับความสุขในปัจจุบัน รู้จักต้อนรับคนรอบข้างเราให้เป็น เพราะทุกคนเป็นคนใหม่ในทุกขณะ เขาไม่เคยเป็นคนเดิมเลย อารมณ์ก็ไม่ซ้ำกัน ไม่เคยมีใครเหมือนเดิมเลย คนที่เคยอยู่ในช่วงวิกฤติให้ใช้วิกฤตินั่นให้เป็นโอกาส ปัญหานั้นหลวงพ่อคิดว่าเป็นสิ่งที่มีค่าที่ช่วยพัฒนาตัวเรา ใครที่คิดว่าเจอปัญหานั้นไม่ดี นั่นเป็นความคิดที่ผิด แต่ถ้าใครคิดว่าปัญหานั้นเป็นการพัฒนาตัวเรามันจะมีค่ามหาศาลเลยทีเดียว เพราะเวลาที่เสียอย่างหนึ่ง มันจะได้อีกอย่างหนึ่ง หลวงพ่อเคยถูกรถชนเหมือนจะตายเลย รถพังหัวแตก แต่อีกใจหนึ่งคิดว่ามันจะต้องเกิดโชคดีขึ้นกับเรา เพราะมันมีโชคร้ายมาแล้ว แล้วใช้โอกาสนั้นเป็นการพัฒนา เช่น ตอนประสบอุบัติเหตุได้พัฒนาหลายอย่างดีมาก หนึ่งได้พัฒนาการปล่อยวาง การทิ้งความกังวล การปล่อยจิตใจไม่ให้ไปคิดเรื่องความเจ็บ ทำให้จิตใจเราเข้มแข็ง เราต้องอย่าไปโอดครวญหรืออยากให้มันหายเจ็บ พยายามต่อสู้กับความเจ็บปวดให้เป็น

เพราะฉะนั้นใครที่ประสบอุบัติเหตุหรือพบสิ่งที่ไม่สมหวังหรือสิ่งที่เป็นวิกฤติต้องถือว่ากำลังจะโชคดี คือ ได้พัฒนาตัวเองแน่นอน ยิ่งถ้ามีความทุกข์เกิดขึ้นในใจให้รีบดูเลย แสดงว่าเรากำลังวางใจ วางจุดยืนหรืออะไรสักอย่างผิดไปแน่นอน มันถึงได้เกิดความทุกข์ในใจขึ้นมาอย่างนี้ แต่ถ้าไม่เกิดความทุกข์ เราจะไม่รู้เลยว่าเราวางจิตวางใจผิดจุดไปหรือเปล่า หลายคนคิดว่าชีวิตนี้ทำอะไรจะต้องได้เปรียบคนอื่น ไปไหนก็จะต้องได้ พบกับใครจะต้องได้ มาเพื่อจะมาขุดทองหรือว่าต้องได้อะไร สักอย่างกลับไป โยมลองนึกภาพดูถ้าเจอคนที่เข้ามาหาเราที่ไม่รู้จักกันเลย โยมเห็นแววตา เห็นสิ่งที่เขาทำว่าจะต้องได้อะไรสักอย่าง อย่างนี้มันน่ากลัวไหม แล้วเขาจะไม่รู้ตัวเลยจนกว่าเขาจะเริ่มเจ็บตัว เมื่อเขาเกิดความทุกข์เขาถึงจะเริ่มรู้ว่าเขาไปผิดทางแล้ว เขาตั้งศูนย์กลางไว้ผิดทำให้เขาได้รับความทุกข์ ไม่ได้รับความรักจากคนอื่น ไม่ได้ความไว้วางใจ ความเชื่อถือจากคนอื่น ไม่ได้รับอะไรที่มนุษย์ควรจะได้จากกันและกัน

 



การแบ่งชีวิตเป็นช่วงสั้นๆ มีช่วงทำงาน
ช่วงครอบครัว ช่วงส่วนตัว ช่วงปฏิบัติธรรม
เราอาจพลาดทำความดี และพบสุขในปัจจุบันขณะไปได้
อย่าทิ้งทุกหยาดมณีของมัน ทำชีวิตให้มีความสุข
ทั้งการงานและการปฏิบัติธรรม
ทำชีวิตให้เป็นการเอื้อเฟื้อ มีความรักทุกขณะ
หากเข้าถึงได้ตลอดเวลา แต่ละวันมันจะไม่น่าเบื่อเลย