ข้อความโดย: lek
« เมื่อ: ตุลาคม 10, 2013, 04:27:03 pm »61. อย่าเชื่อง่ายจนเกินไป อย่าคิดว่าใครพูดอย่างไรก็จะเป็นจริงตามนั้น อย่าเชื่ออย่างนั้น
ยกตัวอย่างเช่น ถ้ามีอาจารย์สอนธรรมะว่าต้องปฏิบัติอย่างนี้ๆจึงจะถูกธรรมของฉันเท่านั้นที่ถูกต้อง
ธรรมะของคนอื่นไม่ถูกต้อง หรือพูดว่าจิตกับใจต่างกัน ใจนั้นอยู่บนจิต ส่วนจิตนั้นซ่อนอยู่ใต้ใจฯลฯ
อย่างนี้ก็อย่าเพิ่งเชื่อ เพราะนั่นมันเป็นเพียงความคิดเห็นของเขาแนวหนึ่งเท่านั้น จะเอามาเป็น
มาตราฐานว่าเป็นสิ่งที่ถูกต้องสมบูรณ์แล้วไม่ได้
62. แต่การฝึกทำจิตให้ปล่อยวาง จนจิตมันวางได้จริง มันไม่ยึดติดอยู่ในอารมณ์ทุกรูปแบบได้จริง นั่นแหละ
จึงจะเป็นธรรมะที่ถูกต้องแท้จริง เพราะความทุกข์จะหมดไปจากจิตใจของท่านได้จริงๆจากการปฏิับัติอย่างนั้น
63. จงจำไว้ว่า สมาธินั้น ท่านทำเพื่อให้จิตหยุดคิดปรุงแต่ง แล้วกำลังความมั่นคงและความสงบของจิตก็จะเกิดขึ้น
64. การทำสมาธินั้น เพียงแต่สำรวมจิตเข้าสู่อารมณ์อันเดียวด้วยการนับหรือกำหนดอะไรสักอย่างหนึ่งอยู่อย่างต่อเนื่อง
และเงียบเชียบเท่านี้ก็ถูกต้องแล้ว สมาธินั้นจะถูกต้องและจะำทำให้เกิดปัญญาได้จริง
65. การฝึกจิตให้สงบ และฝึกคิดให้เกิดความรู้เท่าทันสิ่้งทั้งหลายตามความเป็นจริง นี้คือการปฏิบัติธรรม ตามแนวทาง
ของพระพุทธศาสนาเพื่อความหมดทุกข์ในที่สุด
66. จงเข้าใจว่าการปฏิบัติธรรมเป็นเรื่องของการฝึกจิตให้สงบฉลาดให้รู้จักหยุดคิดปรุงแต่งเป็นบางครั้ง และให้รู้จักทำจิต
ให้ปล่อยวางอยู่ตลอดเวลา ความทุกข์ก็จะสลายไปทีละเล็กละน้อยตามกาลเวลาของมัน และจากประสบการณ์ของท่าน
67. จงทำจิตให้ปล่อยวางอยู่เสมอ แล้วปัญหายุ่งยากก็จะละลายไป อย่าตะหนี่ อย่าเห็นแก่ได้ อย่าเห็นแก่ตัว และจงให้
ทานอยู่เสมอ
68. อย่าท้อถอยในการฝึกจิตให้สงบและฉลาด
69. มีเวลาเมื่อไหร่ จงทำจิตให้สงบเมื่อนั้น และเมื่อสงบแล้วก็จงถอนจิตออกมาพิจารณาสิ่งแวดล้อมทุกอย่างและอย่าถือมั่นไว้ในใจ
70. จงยอมให้คนอื่นได้เปรียบท่าน โดยไม่ต้องโต้เถียงกับเขา แล้วท่านจะเป็นผู้ชนะอย่างถาวร หมายความว่า ท่านจะชนะ
ความทุกข์ในใจได้อย่างถาวร แม้ว่าจะมีคนมากลั่นแกล้งท่านหรือตั้งตัวเป็นศัตรูกับท่านอยู่เสมอก็ตาม
71. จงเชื่อว่า เมื่อท่านทำดีแล้ว ถูกต้องแล้ว มันก็จะดีแล้ว ถูกต้องแล้ว คนอื่นจะรู้ความจริงหรือไม่ เขาจะยอมรับและสรรเสริญ
ท่านหรือไม่นั่นไม่ใช่เรื่องของท่าน แต่เรื่องของท่านคือ ท่านต้องทำดีให้ดีที่สุด และทำให้ทุกสิ่งถูกต้องที่สุด โดยไม่หวัง
ผลตอบแทน เมื่อนั้นท่านก็จะเป็นมนุษย์ผู้มีความประเสริฐสุดอยู่ในตัวท่านเอง
72. จงพยายามเข้าหาครูบาอาจารญ์ผู้มีปัญญา ที่จะสอนท่านให้รู้แจ้งธรรมะได้อยู่เสมอ การเข้าใกล้สมณะที่เป็นเช่นนั้น
จะช่วยท่านได้สติปัญญา และรู้จักแนวทางในการดำเนินชีวิตของท่านอย่างถูกต้องเสมอ
73. อย่าลืมหลักปฏิับัติที่ว่า หยุดคิดให้จิตสงบ แล้วจากนั้น จึงคิดอย่างสงบ เพื่อทำจิตให้ปล่อยวางอยู่เสมอ
74. อย่าถือมั่นว่า ชีวิตคือร่างกายและจิตใจของท่าน แท้จริงแล้วเป็นของไม่เที่ยงแท้แน่นอน ถ้าใครถือเช่นนั้น เขาก็จะเป็นทุกข์
เพราะชีวิตที่ไม่เคยแน่นอนของเขา
75. จงหมั่นเสียสละทรัพย์สินเงินทองให้แก่ผู้อื่นอยู่เสมอ การกระทำอย่างนี้ จะช่วยให้จิตของท่านสะอาดและมีความพร้อม
ที่จะบรรลุถึงความหลุดพ้นได้ในที่สุด
76. จงเตือนตัวเองอยู่เสมอว่า ตายแล้วท่านจะไม่ได้อะไรไป ดังนั้น จงฝึกจิตให้สงบและปล่อยวางอยู่เสมอ อย่าเห็นแก่ตัว
อย่าตระหนี่ฯลฯ แล้วท่านก็จะบรรลุถึงความหลุดพ้นได้ตามที่ปรารถนา
77. จิตที่สะอาด ปราศจากความอยาก และความถือมั่นในตัวเอง นั่นแหละคือจิตที่หลุดพ้นจากความทุกข์แล้วอย่างสิ้นเชิง
จงพยายามฝึกจิตให้เป็นเช่นนั้น
78. การปฏิบัติธรรมที่แท้จริง ไม่ใช่เรื่องลึกลับมหัศจรรย์ที่ทำไปเพื่อการติดต่อพบปะกับดวงวิญญาณต่างๆ ไม่ใช่อย่างนั้น
แต่การปฏิับัติธรรมที่แท้เป็นเรื่องของการฝึกจิตให้สงบและฉลาดให้จิตมั่นคงและปล่อยวาง ความทุกข์จะหมดไปด้วย
การปฏิบัติเท่านั้น
79. อย่ายึดถือทุกสิ่ง และจงปล่อยวางทุกสิ่ง แล้วความทุกข์กลัดกลุ้มก็จะหมดไปทุกสิ่ง ในขณะที่ท่านจะสามารถทำการงาน
และแสวงหาอะไรๆที่ถูกต้องได้ทุกสิ่ง
80. ความทุกข์จะไม่หมดไป เพราะท่านได้อะไรๆสมใจอยาก แต่การได้อะไรสมใจอยากนั้นแหละที่จะทำให้ท่านเป็นทุกข์ในสักวัน
คือวันที่สิ่งนั้นมันหายไปจากท่าน
81. แต่ความทุกข์จะหมดไปเพราะท่านมีจิตที่สงบและฉลาด รู้จักหยุดและปล่อยวาง รู้จักสร้างสรรค์และเสียสละอย่างนี้เรื่อยไป
82. ในขณะที่ทำสมาธิ ถ้ามันมีความคิดมากมายประดังเข้ามา ก็จงดูมัน และรอมันสักครู่หนึ่ง ความคิดมากมายนั้นก็จะสลายไป
83. จงรู้ว่า สมาธินั้น จะต้องมีอยู่เสมอ แม้ท่านจะทำภารกิจการงานใดๆอยู่ก็ตาม
84. สมาธิเปรียบเหมือนลมหายใจที่มีอยู่ตลอดเวลา แต่ท่านลืมดูมันเท่านั้นเอง ถ้ารู้อย่างนี้ สมาธิก็จะกลายเป็นสิ่งที่ฝึกได้ไม่ยาก
85. เพียงแต่ท่านสำรวมจิตเข้ามา เลิกสนใจสิ่งภายนอกเสียเท่านั้น สมาธิก็จะปรากฎขึ้นมาในจิตทันที
86. จงรู้ไว้ว่า สมาธิอย่างเดียวยังไม่สามารถทำให้จิตของท่านหมดทุกข์ได้ แต่สมาธินั้นจะต้องมีปัญญาประกอบด้วย
ท่านจึงเอาชนะปัญหาทางใจของท่านได้
87. ศีล สมาธิ ปัญญา เท่านั้น คือทางออกไปจากความทุกข์ทั้งปวง ทางอื่นหรือลัทธิความเชื่ออย่างอื่น ไม่สามารถจะทำให้
ท่านหลุดพ้นออกไปจากความทุกข์ได้
88. การอ้อนวอนหรือบนบานสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เพื่อให้ได้อะไรๆตามที่ท่านปรารถนานั้น มันก็ขึ้นอยู่กับกฎแห่งความไม่เที่ยงเหมือนกัน
บางทีก็ได้ บางทีก็ไม่ได้ และที่ท่านได้อะไรมาก็เพราะมันมีเหตุที่จะทำให้ท่านได้สิ่งนั้นอยู่แล้วจึงได้มา ไม่ใช่มันได้มา
เพราะสิ่งอื่นมาช่วยให้ท่านได้มา ไม่ใช่อย่างนั้นเลย
89. อย่างไรก็ตาม แม้ท่านจะได้อะไรๆมาตามที่ปรารถนาแต่สิ่งนั้นก็จะไม่อยู่กับท่านอย่างถาวรตลอดไป สักวันหนึ่ง มันก็จะต้อง
สูญเสียไปจากท่านอยู่ดี ดังนั้น ผู้มีปัญญาจึงไม่ควรปรารถนาหรืออ้อนวอนเพื่อที่จะได้จะเป็นอะไรเลย
90. เพียงแต่ว่า ท่านทำให้ดีที่สุด ต้องการจะได้อะไรก็จงใช้สติคิดดูว่าทำอย่างไร จึงจะได้สิ่งนั้นมาด้วยความบริสุทธิ์และถูกต้อง
แล้วก็ทดลองทำไปตามนั้น ถ้ามีเหตุปัจจัยที่จะได้ มันก็จะได้ของมันเอง แต่ถ้าไม่ได้ก็ให้มันแล้วไป อย่าเป็นทุกข์ไปกับมัน
91. ถ้าทำอย่างนี้ ท่านก็จะมีสิทธิ์ที่จะได้อะไรๆเหมือนเดิม และที่ดีไปกว่านั้นคือ ถึงแม้ท่านจะไม่ได้สิ่งนั้นๆท่านก็จะไม่เป็นทุกข์
หรือเมื่อได้มาแล้วและมันเกิดสูญเสียไปท่านก็จะไม่เป็นทุกข์อีกเช่นเดียวกัน ประโยชน์ของการปฏิบัติธรรม เพื่อการรู้เท่าทัน
สิ่งทั้งปวงนั้น มันดีอยู่อย่างนั้นคือมันจะทำให้ท่านไม่เป็นทุกข์ในทุกๆกรณี
92. ดังนั้น จงฝึกจิตให้สงบด้วยสมาธิ เพื่อจะเรียกปัญญาคือความฉลาดของจิตให้เกิดขึ้นมา เพื่อจะเอาไปใช้แก้ปัญหาด้วยการทำ
จิตให้ปล่อยวางอยู่เสมอ และในที่สุดความหลุดพ้นจากความทุกข์ทั้งปวงก็จะเกิดขึ้นอย่างถูกต้องได้ไม่ยาก
93. เวลาพบกับอารมณ์ที่ไม่น่าพอใจ มันชวนให้ท่านโกรธ หรือเดือดร้อนใจขึ้นมา จงอย่าเพิ่งพูดอะไรออกไป หรือจงอย่าเพิ่ง
ทำอะไรลงไป แต่จงคิดให้ได้ก่อนว่า นี่คือสิ่งที่ทุกคนในโลกนี้ไม่ปรารถนาจะพบเห็น แต่ทุกคนก็ต้องพบกับมัน สิ่งนี้คือ
สิ่งที่ท่านจะเอาชนะมัน ด้วยการสลัดมันให้หลุดออกจากใจก่อน ถ้าท่านสลัดมันออกไปจากใจได้ ท่านก็จะเป็นอิสระและ
ไม่เป็นทุกข์ เมื่อท่านไม่เป็นทุกข์เพราะมันก็หมายความว่าท่านชนะมัน
94. เมื่อคิดได้ดังนั้น จนจิตมองเห็นสภาวะที่ได้สะอาดในตัวมันเองแล้ว จงหวนกลับไปคิดว่า แล้วเราจะแก้ปัญหานี้ได้อย่างไร
ไม่กี่นาทีท่านก็จะรู้วิธีที่จะแก้ปัญหานั้นอย่างถูกต้องที่สุดและฉลาดเฉียบแหลมที่สุด โดยที่ท่านจะไม่เป็นทุกข์กับเรื่องนั้นเลย
95. เวลาที่พบกับความพลัดพรากสูญเสีย ก็จงหยุดจิตไว้อย่างที่ได้กล่าวมาแล้ว และจงยอมรับว่า นี่คือ สภาวะธรรมดาที่มีอยู่ในโลก
มันเป็นของที่มีอยู่ในโลกนี้มานานแล้ว ท่านจะไปตื่นเต้นหรือเสียอกเสียใจกับมันทำไม? มันจะเป็นอย่างไรก็ให้มันเป็น ไม่ต้อง
ตื่นเต้น และจงคิดให้ได้ว่า ในที่สุดแล้วท่านจะต้องพลัดพรากและสูญเสียแม้กระทั่งชีวิตของท่านเอง วิธีคิดอย่างนี้ จะทำให้
ท่านไม่เป็นทุกข์เลย
96. เวลาประสบกับเรื่องที่ไม่ดี จงอย่าคิดว่า ทำไมถึงต้องเป็นเรา? ทำไมเรื่องอย่างนี้จึงต้องเกิดขึ้นกับเรา? จงอย่าคิดอย่างนั้น
เป็นอันขาด เพราะยิ่งคิดเท่าไหร่ ท่านก็ยิ่งจะเป็นทุกข์เท่านั้น ความคิดอย่างนั้นไม่ใช่วิธีแก้ปัญหา
97. จงคิดอย่างนี้เสมอว่า ไม่เรื่องดีก็เรื่องเลวเท่านั้นแหละที่เกิดขึ้นกับเรา ไม่ต้องตื่นเต้นกับมัน จงยอมรับมัน กล้าเผชิญหน้ากับมัน
และทำจิตให้อยู่เหนือมัน ด้วยการไม่ยึดมั่นถือมั่น และไม่อยากจะให้มันเป็นไปตามใจของท่าน แล้วท่านก็จะไม่เป็นทุกข์
98. จงเฝ้าดูสังเกตความรู้สึกของตัวเองอยู่เสมอ ถ้าจะไม่สบายใจ จงหยุดคิดเรื่องนั้นทันที ถ้าสบายใจแล้วก็จงเตือนตัวเองว่า
อย่าประมาทระวังสิ่งที่มันจะทำให้เราไม่สบายใจจะเกิดขึ้นกับเรา ให้ท่านพร้อมรับมันอย่างนี้ ด้วยจิตที่เปิดกว้างอยู่เสมอ
99. จงรู้ความจริงว่า ทั้งความพอใจและความไม่พอใจ ก็ล้วนแล้วแต่เป็นสิ่งที่ท่านจะต้องปลดเปลื้องมันออกไปจากใจของท่าน
จิตของท่านจึงจะเป็นอิสระเสรีได้ในที่สุด
100. ถ้าจะเกิดความสงสัยอะไรขึ้นสักอย่างหนึ่ง ก็จงตอบตัวเองว่า อย่าเพิ่งสงสัยมันเลย จงทำจิตให้สงบและเพ่งให้เห็น
ความสะอาดบริสุทธิ์ภายในจิตของตัวเองอย่างชัดเจน และสรุปว่า ไม่มีอะไรที่จะดีไปกว่าการเข้าถึงสภาวะแห่งความ
สงบและเป็นอิสระเสรี ภายในจิตของท่านได้
101. ความรู้ชัดในการรักษาจิตให้สงบและสะอาดอยู่เสมอ นี่แหละคือสติปัญญาความรู้แจ้งธรรมตามความเป็นจริง ความทุกข์
จะเกิดขึ้นในใจของท่านไม่ได้เลย
102. เมื่อถึงเวลาพักผ่อน จงเข้าสู่สมาธิตามสมควรแก่เวลาที่จะเอื้ออำนวย กำหนดจิตให้ตั้งมั่นอยู่กับลมหายใจ
นับ1-2ครั้งแล้วครั้งเล่า ไม่ต้องสนใจสิ่งอื่น ไม่ต้องปรารถนาจะเห็นหรือจะได้จะเป็นอะไรจากการทำสมาธิ
103. เมื่อจิตสงบเย็นแล้ว จึงเพ่งพิจารณาชีวิตสิ่งแวดล้อม และปัญหาที่ตัวเองกำลังประสบอยู่ แล้วสรุปว่า สิ่งทั้งหลาย
เหล่านั้นไม่ควรยึดมั่นถือมั่นเลย
104. จงทำกับปัญหาทุกอย่างให้ดีที่สุด ใช้ปัีญญาแก้ไขมัน ไม่ต้องวิตกกังวลกับมัน ถึงเวลาแล้วจงเข้าสู่สมาธิ ได้เวลา
แล้วจงออกมาสู้กับปัญหาอย่างนี้เรื่อยไป
105. จงปฏิบัติเช่นนี้ทุกวัน แล้วจิตของท่านจะบรรลุถึงความสะอาดบริสุทธิ์ได้อย่างสมบูรณ์ วันหนึ่งซึ่งไม่นาน
ยกตัวอย่างเช่น ถ้ามีอาจารย์สอนธรรมะว่าต้องปฏิบัติอย่างนี้ๆจึงจะถูกธรรมของฉันเท่านั้นที่ถูกต้อง
ธรรมะของคนอื่นไม่ถูกต้อง หรือพูดว่าจิตกับใจต่างกัน ใจนั้นอยู่บนจิต ส่วนจิตนั้นซ่อนอยู่ใต้ใจฯลฯ
อย่างนี้ก็อย่าเพิ่งเชื่อ เพราะนั่นมันเป็นเพียงความคิดเห็นของเขาแนวหนึ่งเท่านั้น จะเอามาเป็น
มาตราฐานว่าเป็นสิ่งที่ถูกต้องสมบูรณ์แล้วไม่ได้
62. แต่การฝึกทำจิตให้ปล่อยวาง จนจิตมันวางได้จริง มันไม่ยึดติดอยู่ในอารมณ์ทุกรูปแบบได้จริง นั่นแหละ
จึงจะเป็นธรรมะที่ถูกต้องแท้จริง เพราะความทุกข์จะหมดไปจากจิตใจของท่านได้จริงๆจากการปฏิับัติอย่างนั้น
63. จงจำไว้ว่า สมาธินั้น ท่านทำเพื่อให้จิตหยุดคิดปรุงแต่ง แล้วกำลังความมั่นคงและความสงบของจิตก็จะเกิดขึ้น
64. การทำสมาธินั้น เพียงแต่สำรวมจิตเข้าสู่อารมณ์อันเดียวด้วยการนับหรือกำหนดอะไรสักอย่างหนึ่งอยู่อย่างต่อเนื่อง
และเงียบเชียบเท่านี้ก็ถูกต้องแล้ว สมาธินั้นจะถูกต้องและจะำทำให้เกิดปัญญาได้จริง
65. การฝึกจิตให้สงบ และฝึกคิดให้เกิดความรู้เท่าทันสิ่้งทั้งหลายตามความเป็นจริง นี้คือการปฏิบัติธรรม ตามแนวทาง
ของพระพุทธศาสนาเพื่อความหมดทุกข์ในที่สุด
66. จงเข้าใจว่าการปฏิบัติธรรมเป็นเรื่องของการฝึกจิตให้สงบฉลาดให้รู้จักหยุดคิดปรุงแต่งเป็นบางครั้ง และให้รู้จักทำจิต
ให้ปล่อยวางอยู่ตลอดเวลา ความทุกข์ก็จะสลายไปทีละเล็กละน้อยตามกาลเวลาของมัน และจากประสบการณ์ของท่าน
67. จงทำจิตให้ปล่อยวางอยู่เสมอ แล้วปัญหายุ่งยากก็จะละลายไป อย่าตะหนี่ อย่าเห็นแก่ได้ อย่าเห็นแก่ตัว และจงให้
ทานอยู่เสมอ
68. อย่าท้อถอยในการฝึกจิตให้สงบและฉลาด
69. มีเวลาเมื่อไหร่ จงทำจิตให้สงบเมื่อนั้น และเมื่อสงบแล้วก็จงถอนจิตออกมาพิจารณาสิ่งแวดล้อมทุกอย่างและอย่าถือมั่นไว้ในใจ
70. จงยอมให้คนอื่นได้เปรียบท่าน โดยไม่ต้องโต้เถียงกับเขา แล้วท่านจะเป็นผู้ชนะอย่างถาวร หมายความว่า ท่านจะชนะ
ความทุกข์ในใจได้อย่างถาวร แม้ว่าจะมีคนมากลั่นแกล้งท่านหรือตั้งตัวเป็นศัตรูกับท่านอยู่เสมอก็ตาม
71. จงเชื่อว่า เมื่อท่านทำดีแล้ว ถูกต้องแล้ว มันก็จะดีแล้ว ถูกต้องแล้ว คนอื่นจะรู้ความจริงหรือไม่ เขาจะยอมรับและสรรเสริญ
ท่านหรือไม่นั่นไม่ใช่เรื่องของท่าน แต่เรื่องของท่านคือ ท่านต้องทำดีให้ดีที่สุด และทำให้ทุกสิ่งถูกต้องที่สุด โดยไม่หวัง
ผลตอบแทน เมื่อนั้นท่านก็จะเป็นมนุษย์ผู้มีความประเสริฐสุดอยู่ในตัวท่านเอง
72. จงพยายามเข้าหาครูบาอาจารญ์ผู้มีปัญญา ที่จะสอนท่านให้รู้แจ้งธรรมะได้อยู่เสมอ การเข้าใกล้สมณะที่เป็นเช่นนั้น
จะช่วยท่านได้สติปัญญา และรู้จักแนวทางในการดำเนินชีวิตของท่านอย่างถูกต้องเสมอ
73. อย่าลืมหลักปฏิับัติที่ว่า หยุดคิดให้จิตสงบ แล้วจากนั้น จึงคิดอย่างสงบ เพื่อทำจิตให้ปล่อยวางอยู่เสมอ
74. อย่าถือมั่นว่า ชีวิตคือร่างกายและจิตใจของท่าน แท้จริงแล้วเป็นของไม่เที่ยงแท้แน่นอน ถ้าใครถือเช่นนั้น เขาก็จะเป็นทุกข์
เพราะชีวิตที่ไม่เคยแน่นอนของเขา
75. จงหมั่นเสียสละทรัพย์สินเงินทองให้แก่ผู้อื่นอยู่เสมอ การกระทำอย่างนี้ จะช่วยให้จิตของท่านสะอาดและมีความพร้อม
ที่จะบรรลุถึงความหลุดพ้นได้ในที่สุด
76. จงเตือนตัวเองอยู่เสมอว่า ตายแล้วท่านจะไม่ได้อะไรไป ดังนั้น จงฝึกจิตให้สงบและปล่อยวางอยู่เสมอ อย่าเห็นแก่ตัว
อย่าตระหนี่ฯลฯ แล้วท่านก็จะบรรลุถึงความหลุดพ้นได้ตามที่ปรารถนา
77. จิตที่สะอาด ปราศจากความอยาก และความถือมั่นในตัวเอง นั่นแหละคือจิตที่หลุดพ้นจากความทุกข์แล้วอย่างสิ้นเชิง
จงพยายามฝึกจิตให้เป็นเช่นนั้น
78. การปฏิบัติธรรมที่แท้จริง ไม่ใช่เรื่องลึกลับมหัศจรรย์ที่ทำไปเพื่อการติดต่อพบปะกับดวงวิญญาณต่างๆ ไม่ใช่อย่างนั้น
แต่การปฏิับัติธรรมที่แท้เป็นเรื่องของการฝึกจิตให้สงบและฉลาดให้จิตมั่นคงและปล่อยวาง ความทุกข์จะหมดไปด้วย
การปฏิบัติเท่านั้น
79. อย่ายึดถือทุกสิ่ง และจงปล่อยวางทุกสิ่ง แล้วความทุกข์กลัดกลุ้มก็จะหมดไปทุกสิ่ง ในขณะที่ท่านจะสามารถทำการงาน
และแสวงหาอะไรๆที่ถูกต้องได้ทุกสิ่ง
80. ความทุกข์จะไม่หมดไป เพราะท่านได้อะไรๆสมใจอยาก แต่การได้อะไรสมใจอยากนั้นแหละที่จะทำให้ท่านเป็นทุกข์ในสักวัน
คือวันที่สิ่งนั้นมันหายไปจากท่าน
81. แต่ความทุกข์จะหมดไปเพราะท่านมีจิตที่สงบและฉลาด รู้จักหยุดและปล่อยวาง รู้จักสร้างสรรค์และเสียสละอย่างนี้เรื่อยไป
82. ในขณะที่ทำสมาธิ ถ้ามันมีความคิดมากมายประดังเข้ามา ก็จงดูมัน และรอมันสักครู่หนึ่ง ความคิดมากมายนั้นก็จะสลายไป
83. จงรู้ว่า สมาธินั้น จะต้องมีอยู่เสมอ แม้ท่านจะทำภารกิจการงานใดๆอยู่ก็ตาม
84. สมาธิเปรียบเหมือนลมหายใจที่มีอยู่ตลอดเวลา แต่ท่านลืมดูมันเท่านั้นเอง ถ้ารู้อย่างนี้ สมาธิก็จะกลายเป็นสิ่งที่ฝึกได้ไม่ยาก
85. เพียงแต่ท่านสำรวมจิตเข้ามา เลิกสนใจสิ่งภายนอกเสียเท่านั้น สมาธิก็จะปรากฎขึ้นมาในจิตทันที
86. จงรู้ไว้ว่า สมาธิอย่างเดียวยังไม่สามารถทำให้จิตของท่านหมดทุกข์ได้ แต่สมาธินั้นจะต้องมีปัญญาประกอบด้วย
ท่านจึงเอาชนะปัญหาทางใจของท่านได้
87. ศีล สมาธิ ปัญญา เท่านั้น คือทางออกไปจากความทุกข์ทั้งปวง ทางอื่นหรือลัทธิความเชื่ออย่างอื่น ไม่สามารถจะทำให้
ท่านหลุดพ้นออกไปจากความทุกข์ได้
88. การอ้อนวอนหรือบนบานสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เพื่อให้ได้อะไรๆตามที่ท่านปรารถนานั้น มันก็ขึ้นอยู่กับกฎแห่งความไม่เที่ยงเหมือนกัน
บางทีก็ได้ บางทีก็ไม่ได้ และที่ท่านได้อะไรมาก็เพราะมันมีเหตุที่จะทำให้ท่านได้สิ่งนั้นอยู่แล้วจึงได้มา ไม่ใช่มันได้มา
เพราะสิ่งอื่นมาช่วยให้ท่านได้มา ไม่ใช่อย่างนั้นเลย
89. อย่างไรก็ตาม แม้ท่านจะได้อะไรๆมาตามที่ปรารถนาแต่สิ่งนั้นก็จะไม่อยู่กับท่านอย่างถาวรตลอดไป สักวันหนึ่ง มันก็จะต้อง
สูญเสียไปจากท่านอยู่ดี ดังนั้น ผู้มีปัญญาจึงไม่ควรปรารถนาหรืออ้อนวอนเพื่อที่จะได้จะเป็นอะไรเลย
90. เพียงแต่ว่า ท่านทำให้ดีที่สุด ต้องการจะได้อะไรก็จงใช้สติคิดดูว่าทำอย่างไร จึงจะได้สิ่งนั้นมาด้วยความบริสุทธิ์และถูกต้อง
แล้วก็ทดลองทำไปตามนั้น ถ้ามีเหตุปัจจัยที่จะได้ มันก็จะได้ของมันเอง แต่ถ้าไม่ได้ก็ให้มันแล้วไป อย่าเป็นทุกข์ไปกับมัน
91. ถ้าทำอย่างนี้ ท่านก็จะมีสิทธิ์ที่จะได้อะไรๆเหมือนเดิม และที่ดีไปกว่านั้นคือ ถึงแม้ท่านจะไม่ได้สิ่งนั้นๆท่านก็จะไม่เป็นทุกข์
หรือเมื่อได้มาแล้วและมันเกิดสูญเสียไปท่านก็จะไม่เป็นทุกข์อีกเช่นเดียวกัน ประโยชน์ของการปฏิบัติธรรม เพื่อการรู้เท่าทัน
สิ่งทั้งปวงนั้น มันดีอยู่อย่างนั้นคือมันจะทำให้ท่านไม่เป็นทุกข์ในทุกๆกรณี
92. ดังนั้น จงฝึกจิตให้สงบด้วยสมาธิ เพื่อจะเรียกปัญญาคือความฉลาดของจิตให้เกิดขึ้นมา เพื่อจะเอาไปใช้แก้ปัญหาด้วยการทำ
จิตให้ปล่อยวางอยู่เสมอ และในที่สุดความหลุดพ้นจากความทุกข์ทั้งปวงก็จะเกิดขึ้นอย่างถูกต้องได้ไม่ยาก
93. เวลาพบกับอารมณ์ที่ไม่น่าพอใจ มันชวนให้ท่านโกรธ หรือเดือดร้อนใจขึ้นมา จงอย่าเพิ่งพูดอะไรออกไป หรือจงอย่าเพิ่ง
ทำอะไรลงไป แต่จงคิดให้ได้ก่อนว่า นี่คือสิ่งที่ทุกคนในโลกนี้ไม่ปรารถนาจะพบเห็น แต่ทุกคนก็ต้องพบกับมัน สิ่งนี้คือ
สิ่งที่ท่านจะเอาชนะมัน ด้วยการสลัดมันให้หลุดออกจากใจก่อน ถ้าท่านสลัดมันออกไปจากใจได้ ท่านก็จะเป็นอิสระและ
ไม่เป็นทุกข์ เมื่อท่านไม่เป็นทุกข์เพราะมันก็หมายความว่าท่านชนะมัน
94. เมื่อคิดได้ดังนั้น จนจิตมองเห็นสภาวะที่ได้สะอาดในตัวมันเองแล้ว จงหวนกลับไปคิดว่า แล้วเราจะแก้ปัญหานี้ได้อย่างไร
ไม่กี่นาทีท่านก็จะรู้วิธีที่จะแก้ปัญหานั้นอย่างถูกต้องที่สุดและฉลาดเฉียบแหลมที่สุด โดยที่ท่านจะไม่เป็นทุกข์กับเรื่องนั้นเลย
95. เวลาที่พบกับความพลัดพรากสูญเสีย ก็จงหยุดจิตไว้อย่างที่ได้กล่าวมาแล้ว และจงยอมรับว่า นี่คือ สภาวะธรรมดาที่มีอยู่ในโลก
มันเป็นของที่มีอยู่ในโลกนี้มานานแล้ว ท่านจะไปตื่นเต้นหรือเสียอกเสียใจกับมันทำไม? มันจะเป็นอย่างไรก็ให้มันเป็น ไม่ต้อง
ตื่นเต้น และจงคิดให้ได้ว่า ในที่สุดแล้วท่านจะต้องพลัดพรากและสูญเสียแม้กระทั่งชีวิตของท่านเอง วิธีคิดอย่างนี้ จะทำให้
ท่านไม่เป็นทุกข์เลย
96. เวลาประสบกับเรื่องที่ไม่ดี จงอย่าคิดว่า ทำไมถึงต้องเป็นเรา? ทำไมเรื่องอย่างนี้จึงต้องเกิดขึ้นกับเรา? จงอย่าคิดอย่างนั้น
เป็นอันขาด เพราะยิ่งคิดเท่าไหร่ ท่านก็ยิ่งจะเป็นทุกข์เท่านั้น ความคิดอย่างนั้นไม่ใช่วิธีแก้ปัญหา
97. จงคิดอย่างนี้เสมอว่า ไม่เรื่องดีก็เรื่องเลวเท่านั้นแหละที่เกิดขึ้นกับเรา ไม่ต้องตื่นเต้นกับมัน จงยอมรับมัน กล้าเผชิญหน้ากับมัน
และทำจิตให้อยู่เหนือมัน ด้วยการไม่ยึดมั่นถือมั่น และไม่อยากจะให้มันเป็นไปตามใจของท่าน แล้วท่านก็จะไม่เป็นทุกข์
98. จงเฝ้าดูสังเกตความรู้สึกของตัวเองอยู่เสมอ ถ้าจะไม่สบายใจ จงหยุดคิดเรื่องนั้นทันที ถ้าสบายใจแล้วก็จงเตือนตัวเองว่า
อย่าประมาทระวังสิ่งที่มันจะทำให้เราไม่สบายใจจะเกิดขึ้นกับเรา ให้ท่านพร้อมรับมันอย่างนี้ ด้วยจิตที่เปิดกว้างอยู่เสมอ
99. จงรู้ความจริงว่า ทั้งความพอใจและความไม่พอใจ ก็ล้วนแล้วแต่เป็นสิ่งที่ท่านจะต้องปลดเปลื้องมันออกไปจากใจของท่าน
จิตของท่านจึงจะเป็นอิสระเสรีได้ในที่สุด
100. ถ้าจะเกิดความสงสัยอะไรขึ้นสักอย่างหนึ่ง ก็จงตอบตัวเองว่า อย่าเพิ่งสงสัยมันเลย จงทำจิตให้สงบและเพ่งให้เห็น
ความสะอาดบริสุทธิ์ภายในจิตของตัวเองอย่างชัดเจน และสรุปว่า ไม่มีอะไรที่จะดีไปกว่าการเข้าถึงสภาวะแห่งความ
สงบและเป็นอิสระเสรี ภายในจิตของท่านได้
101. ความรู้ชัดในการรักษาจิตให้สงบและสะอาดอยู่เสมอ นี่แหละคือสติปัญญาความรู้แจ้งธรรมตามความเป็นจริง ความทุกข์
จะเกิดขึ้นในใจของท่านไม่ได้เลย
102. เมื่อถึงเวลาพักผ่อน จงเข้าสู่สมาธิตามสมควรแก่เวลาที่จะเอื้ออำนวย กำหนดจิตให้ตั้งมั่นอยู่กับลมหายใจ
นับ1-2ครั้งแล้วครั้งเล่า ไม่ต้องสนใจสิ่งอื่น ไม่ต้องปรารถนาจะเห็นหรือจะได้จะเป็นอะไรจากการทำสมาธิ
103. เมื่อจิตสงบเย็นแล้ว จึงเพ่งพิจารณาชีวิตสิ่งแวดล้อม และปัญหาที่ตัวเองกำลังประสบอยู่ แล้วสรุปว่า สิ่งทั้งหลาย
เหล่านั้นไม่ควรยึดมั่นถือมั่นเลย
104. จงทำกับปัญหาทุกอย่างให้ดีที่สุด ใช้ปัีญญาแก้ไขมัน ไม่ต้องวิตกกังวลกับมัน ถึงเวลาแล้วจงเข้าสู่สมาธิ ได้เวลา
แล้วจงออกมาสู้กับปัญหาอย่างนี้เรื่อยไป
105. จงปฏิบัติเช่นนี้ทุกวัน แล้วจิตของท่านจะบรรลุถึงความสะอาดบริสุทธิ์ได้อย่างสมบูรณ์ วันหนึ่งซึ่งไม่นาน