ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
คุณเชื่อในศรัทธาของความดีไหมครับ ( เลือกตอบแค่ เชื่อ กับ ไม่เชื่อ ครับผม):
คุณเชื่อว่าทุกศาสนาสอนให้ทุกคนเป็นคนดีใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆแนวธรรมะในจิตใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า แสงธรรมนำใจ:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ความดีนำทาง:
การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ นิยมใช้คำว่า (อนุโมทนา) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ อนุโมทนา:
ใต้ร่มธรรม เป็น แค่เว็บไซต์และจินตนาการทางจิต การทำดี สำคัญที่ใจเรา เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ พิมพ์คำว่า "เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ":
คุณพ่อคุณแม่เปรียบดั่งพระอรหันต์ในบ้าน พิมพ์คำว่า "คุณพ่อคุณแม่ฉันรักและเคารพท่านดุจพระอรหันต์":
เมื่อให้ท่านเลือก ระหว่าง (หนังสือเก่าๆเล่มหนึ่งที่เรารัก) กับ (มิตรแท้ที่รักเรา) คุณจะะเลือก:
บุคคลที่ไปหลายๆเว็บไซต์ โดยที่สวมบทบาทเป็นหลายๆคน โดยที่ไม่รู้ว่า แท้จริงใจเราต้องการอะไร เพื่อน หรือ ชัยชนะ:
กล่าวคำดังนี้  "ขอโทษนะ":
ระหว่าง (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะผู้อื่น) กับ (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะตัวเอง)  ท่านจะเลือกเป็น:
กล่าวคำดังนี้  "ขออโหสิกรรม":
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
ในโลกออนไลน์หรือโลกแห่งจิต ไม่มีใครทำอะไรเราได้ นอกเสียไปจาก (คนพาล) หรือ (ใจของเราเอง):
เคยนวดฝ่าเท้าให้ คุณพ่อคุณแม่บ้างไหม ถ้ามีโอกาส เราควรทำหรือไม่ (ควรกระทำอย่างยิ่ง หรือ ไม่ควรทำ):
ธรรมะคือ ธรรมชาติ พิมพ์คำว่า (ธรรมะชาติ) ครับ:
สำนวนไทยที่ว่า แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน  พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ลางเนื้อชอบลางยา):
ขนทรายเข้าวัดคือ พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ทำบุญทำกุศลโดยวิธีนำหรือหาประโยชน์เพื่อส่วนรวมมิได้ทำเพื่อตนเอง):
ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ผู้ที่ทำตนให้เล็กที่สุด ผู้ที่เล็กที่สุดก็จะกลายเป็นผู้ที่ใหญ่ที่สุด ผู้ที่มีเกียรติคือผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น ฉะนั้นสมาชิกใต้ร่มธรรมควรให้เกียรติกันและกัน พิมพ์คำว่า (ฉันจะให้เกียรติสมาชิกทุกๆท่านในใต้ร่มธรรมเสมอด้วยวาจาสุภาพอ่อนน้อม):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: sithiphong
« เมื่อ: ตุลาคม 14, 2013, 09:14:11 pm »

พี่ไม่ค่อยลงในเฟส

แต่ลงในไลน์  โดยเฉพาะไลน์กลุ่มที่ทำงาน เวลาที่เราไปทำงาน คล้ายๆกับบอกเจ้านายไปในตัวว่า เราไปทำงาน และเอาหน้าไปในตัวครับ
ข้อความโดย: แก้วจ๋าหน้าร้อน
« เมื่อ: ตุลาคม 14, 2013, 09:15:53 am »

 :45: ขอบคุณครับพี่หนุ่ม
 :06: ผมเห็นหลายๆคนชอบอัพเดตสถานะของตัวเองบ่อยๆที่เฟสบุ๊คหรืออินสตาแกรม
ผมว่าอันตรายมากๆเหมือนกันนะครับ คนอื่นรู้ว่าเราทำอะไรที่ไหนหมดเลย..

 :27: แม่ผมยังติดเฟสเลยครับ
ผมเลยบอกว่าต้องระวังด้วย จะไปไหนไม่ต้องลงเฟสบอกคนอื่นล่วงหน้า

ข้อความโดย: sithiphong
« เมื่อ: ตุลาคม 06, 2013, 10:56:03 am »

ไม่มีโลกส่วนตัว ในโลกไซเบอร์ ภัยออนไลน์ที่นักท่องเน็ตควรระวัง
-http://www.khaosod.co.th/view_newsonline.php?newsid=TVRNNE1EazJNamd6TWc9PQ==&subcatid=-


เมื่ออินเทอร์เน็ตกลายเป็น 1 ในชีวิตประจำวันที่ขาดไม่ได้ และนำพาหลายอย่างเข้ามาในชีวิต


คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ร่วมกับเครือข่ายพลเมืองเน็ต เปิดเวทีเสวนาประจำปีว่าด้วยเรื่องเทคโนโลยี และสิทธิพลเมือง ในหัวข้อ "หน้าต่างมีหู ประตูมีช่อง : ความเป็นส่วนตัวออนไลน์และการสอดส่องการสื่อสาร (Online Privacy and Communications Surveillance)" เพื่อกระตุ้นเตือนให้เห็นความสำคัญของการรักษาความปลอดภัยในการใช้อิน เทอร์เน็ต


"ทศพล ทรรศนุกุลพันธ์" อาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวว่า ทุกวันนี้ "กูเกิล" เสิร์ชเอ็นจิ้นยอดฮิต มีสถานะไม่ต่างจาก "สปาย-สายลับ" ที่เข้ามาเก็บข้อมูลผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทั้งหลาย ต่างกันแค่ว่า "สปาย" ในยุคนี้ใช้ความสะดวก ความต้องการจะใช้เทคโนโลยีใหม่ ๆ ทำให้ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทั้งหลายยินยอมที่จะให้เข้ามาล้วงข้อมูลของตนเองที่เป็นส่วนหนึ่งของปริมาณข้อมูลมหาศาลที่ไหลเวียนบนโลกออนไลน์ด้วยการกดคลิกยอมรับเงื่อนไขการใช้งานไปเรื่อย ๆ โดยไม่เคยอ่านข้อตกลงใดๆ ดังนั้นการใช้งานบนโลกออนไลน์ ไม่ว่าอย่างไรก็ไม่มีความเป็นส่วนตัว และนี่คือสิ่งที่ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตต้องยอมรับ

ด้าน "จอมพล พิทักษ์สันตโยธิน" อาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กล่าวว่า ปัจจุบันข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้อินเทอร์เน็ต ไม่ว่าจะเป็นชื่อ, ที่อยู่, อายุ หรือวันเกิด ต่างไหลเวียนอยู่ในโลกออนไลน์ตลอดเวลา ทำให้เริ่มได้เห็นการนำข้อมูลส่วนตัวที่ผู้ใช้ทิ้งร่องรอยไว้ตามอีเมล์ เว็บบอร์ด แชตรูม และบนโซเชียลเน็ตเวิร์กมาตามรังควานเจ้าของข้อมูล ซึ่งมักทำเป็นขบวนการ โดยการใช้เครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์เพื่อคุกคาม ทำให้เหยื่อหวาดกลัว หรือเสียชื่อเสียง อาทิ การสร้างเฟซบุ๊กปลอมเผยแพร่รูปที่ทำให้เหยื่อเสียหาย หรือแม้แต่ต้องการล่อลวงทางเพศ

โดยจากสถิติที่ผ่านมาพบว่า ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตมักตกเป็นเหยื่อจากการรังควานของแฟนเก่า 8.77% เพื่อนร่วมงาน 1.75% ญาติ 15.79% แต่ที่พบมากที่สุดถึง 42.11% คือ บุคคลแปลกหน้าที่เจ้าตัวไม่ทราบว่าเป็นใคร เนื่องจากอินเทอร์เน็ตมีคุณสมบัติที่สำคัญคือปิดบังผู้ใช้งานได้ เมื่อมีเหตุการณ์ใด ๆ เกิดขึ้น จึงมีหลายกรณีที่ไม่สามารถระบุตัวผู้กระทำได้ ดังนั้นผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตโดยเฉพาะโซเชียลเน็ตเวิร์ก ควรตั้งค่าเป็นส่วนตัวในการใช้งานไว้ที่ระดับสูง เพื่อให้ยากต่อการเข้าดูข้อมูล ขณะที่การโพสต์รูปภาพต่าง ๆ ควรใช้ภาพที่มีความละเอียดในระดับต่ำ เพื่อให้ยากต่อการนำรูปดังกล่าวไปใช้งานอย่างอื่นได้

ขณะที่ "ภานุชาติ บุณยเกียรติ" อาจารย์สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กล่าวเสริมว่า เดี๋ยวนี้มีการใช้กลยุทธ์ทางการตลาดมาใช้บนเฟซบุ๊กแล้วนำข้อมูลส่วนตัวที่ผู้ใช้กรอกไว้มาใช้ประโยชน์ในเชิงโฆษณาและการตลาด เช่น การสร้างความน่าเชื่อถือในแบรนด์จากการบอกต่อผ่านเครือข่ายโซเชียลเน็ตเวิร์ก เป็นต้น

"ในสังคมออนไลน์จะมีลักษณะพิเศษ คือจะเชื่อมโยงกลุ่มกว่า 4-5 กลุ่ม ไม่ว่าจะเป็นเพื่อนตั้งแต่สมัยอนุบาลจนถึงที่ทำงาน โดยผู้ใช้แต่ละคนจะกลายเป็นจุดเชื่อมต่อของสมาชิกแต่ละกลุ่มที่ทำให้สังคมรู้จักกันทั้งเครือข่าย ทำให้มีการส่งสารถึงผู้คนหลากหลายคนได้ผ่านคนที่พวกเขาเชื่อถือ ดังนั้นความปลอดภัยของข้อมูลส่วนบุคคลจะอยู่ไหนในเมื่อทั้งหมดลิงก์หากันหมด"

"ทวีพร คุ้มเมธา" นักวิจัยระบุว่า จากการศึกษาถึงการคุกคามบนโลกออนไลน์ในประเทศไทยและพม่า พบว่าส่วนใหญ่มาจากความขัดแย้งทางการเมือง เช่น ประเด็นสถาบันกษัตริย์ การเมืองเหลืองแดง ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อให้สังคมอยู่ในความหวาดกลัว ไม่กล้าแสดงความคิดเห็นหรือตั้งคำถาม เพราะเมื่อใดที่มีการแสดงความคิดเห็นที่แตกต่าง ก็มีการนำข้อมูลส่วนตัว เช่น ชื่อ, ที่อยู่ อายุ เพศ สถานที่ทำงาน และญาติที่เกี่ยวข้องออกมาเปิดเผย อาทิ เฟซบุ๊ก social sanction หรือยุทธการลงทัณฑ์ทางสังคมที่มีความเชื่อว่า กลไกยุติธรรมไม่ได้ปราบปรามคนชั่วโดยแท้จริง ปัจจุบันมีผู้ตกเป็นเหยื่อแล้วกว่า 50 คน

"ผลกระทบที่เหยื่อได้รับคือ การถูกรุมโทร.ด่า ส่งจดหมายข่มขู่ โดนกล่าวหาว่าเป็นขบวนการล้มเจ้า และให้ออกจากงาน ร้ายแรงที่สุด คือการโดนดำเนินคดีในฐานความผิด มาตรา 112 หมิ่นพระบรมเดชานุภาพ จากข้อมูลที่ได้มองว่า เหยื่อที่โดนกระทำโดยส่วนใหญ่ คือนักประชาธิปไตย และพบด้วยว่า ข้อมูลส่วนบุคคลที่นำมาเผยแพร่ บางครั้งหลุดมาจากหน่วยงานรัฐ ซึ่งหน่วยงานเหล่านี้ไม่ควรเปิดเผยข้อมูลแบบสาธารณะ"

ด้าน "นคร เสรีรักษ์" ที่ปรึกษานโยบาย เครือข่ายพลเมืองเน็ต กล่าวว่า ต้องการเสนอให้มีการออกมาตรการหรือข้อปฏิบัติ เพราะปัจจุบันประชาชนส่วนใหญ่ โดนหน่วยงานรัฐ สื่อและผู้ประกอบการด้านไอที นำข้อมูลไปทำแผนการตลาด ซึ่งทุกวันนี้มีแต่ พ.ร.บ.ข้อมูลข่าวสารของราชการเท่านั้น ที่ปกป้องข้อมูลส่วนตัวของประชาชนที่อยู่ในมือของหน่วยงานรัฐ ทั้งยังไม่มีมาตรการป้องกันไม่ให้เอกชนเผยแพร่ข้อมูลส่วนบุคคล ต้องรอให้มีกฎหมายคุ้มครองสิทธิส่วนบุคคลก่อน ซึ่งยังไม่มีวี่แววว่าจะนำออกมาบังคับใช้

"ไพบูลย์ อมรภิญโญเกียรติ" สำนักกฎหมายพีแอนด์พี กล่าวว่า เทคโนโลยีทุกวันนี้พัฒนาไปอย่างรวดเร็ว แต่กฎหมายไทยยังไม่พร้อมรับมือ แถมยังมีเพื่อจัดการกลุ่มแนวคิดต่างทางการเมือง เช่น เสื้อเหลืองเสื้อแดง หรือใช้เพื่อตอบโต้และกลั่นแกล้งระหว่างผู้ที่ไม่ถูกกัน ซึ่งการยกร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ฉบับใหม่ไม่ได้แก้ปัญหา เพราะนำแนวคิดเก่ามาใช้ยกร่าง จึงไม่สามารถแก้ปัญหาในสถานการณ์ที่เปลี่ยนไปแล้ว

ฟาก "วรรณวิทย์ อาขุบุตร" รองผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) สพธอ. กล่าวว่า ปัญหาการบังคับใช้กฎหมายในด้านนี้คือไม่มีตัวกลางหรือคนกำกับดูแลที่จะขับเคลื่อนเรื่องนี้โดยเฉพาะ ที่สำคัญคือประชาชนที่ต่อให้มีกฎหมายครอบคลุม แต่ถ้าผู้ใช้ไม่รับรู้หรือตระหนักเรื่องเหล่านี้ จะมีหรือไม่มีกฎหมายก็ไร้ความหมาย


ติดตามข่าวสาร ผ่านแฟนเพจเฟซบุ๊ค ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
www.facebook.com/prachachat
ทวิตเตอร์ @prachachat