ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: ตุลาคม 24, 2013, 12:57:52 pm »ต่อค่ะ
ไบเบิ้ลฉบับที่ผมอ้างถึงข้างต้นนั้นแปลอย่างพยายามรักษาต้นฉบับเอาไว้ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ การรักษาต้นฉบับแบ่งออกเป็นสองส่วน คือ หนึ่งรักษารูปแบบ สองรักษาสาระ ต้นฉบับเดิมเขาวางรูปแบบอย่าง แบ่งวรรคตอนแบบไหน การแปลก็ควรรักษารูปแบบนั้นไว้ ตรงไหนเป็นร้อยแก้ว ก็แปลเป็นร้อยแก้ว ตรงไหนเป็นร้อยกรองก็แปลเป็นร้อยกรอง ในส่วนของร้อยกรองนั้นเอง การจัดวางโครงสร้างของ กวีนิพนธ์ก็ควรทำให้ใกล้เคียงของเดิมมากที่สุด การรักษาสาระคือการแปลอย่างพยายามให้ได้ใจความตามฉบับเดิมมากที่สุด ในขณะเดียวกันก็ต้องแปลให้ไพเราะ อ่านง่าย การแปลแบบเก็บศัพท์มาหมดและแปลอย่างคำต่อคำนั้นในทัศนะของผมไม่ใช่การแปลอย่างรักษาสาระ การทำเช่นนั้นกลับทำให้สาระขาดหายไป สาระของหนังสือต้องส่งถึงผู้อ่านอย่างชวนให้รับ การแปลแบบเคร่งพยัญชนะทำให้อ่านไม่รู้เรื่อง เมื่ออ่านไม่รูเรื่องเสียแล้ว คนอ่านจะได้รับสาระอย่างไรละครับ สรุปความคือแปลดีหมายถึงแปลให้อ่านรู้เรื่อง เก็บความต้นฉบับได้ครบ และรักษารูปแบบของเดิมให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ คุณลักษณะที่กล่าวมานี้เป็นเรื่องยากที่จะบรรลุ ไบเบิ้ลฉบับที่ผมอ้างถึงนั้นเขาทำกันมายาวนานหลายรุ่นคน งานที่ยากสำหรับคนคนเดียวสามารถเป็นไปได้ถ้าทำร่วมกันหลายคน
พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวงของเรานั้นเตรียมการอย่างเป็นงานใหญ่ระดับชาติรัฐบาลและคณะสงฆ์ร่วมมือกันอย่างเต็มที่ ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัยและมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย แม้จะย่อลงมา เพราะเป็นงานภายในหน่วยงานคือมหาวิทยาลัยสงฆ์สองแห่งนี้เท่านั้น แต่ก็ถือเป็นงานใหญ่เช่นกัน งานใหญ่ๆ อย่างนี้ต้องการคนและการบริหารงานอย่างดี พระไตรปิฎกภาษาไทยฉบับหลวงนั้นมีคนนอกวัดติว่าอ่านยาก แม้จะเป็นภาษาไทยแต่คนไทยที่ไม่ได้เรียนรู้ภาษาบาลีก็อ่านเข้าใจยาก บางตอนนั้นพูดได้เลยว่าอ่านไม่รู้เรื่อง การที่พระไตรปิฎกฉบับหลวงอ่านยากนั้นผมเข้าใจครับ และผมก็ไม่โทษคณะท่านผู้แปลและจัดทำ การแปลหนังสือก็เหมือนกิจกรรมอื่นๆ ของมนุษย์คือต้องกระทำอย่างมีเป้าหมาย การแปลพระไตรปิฎกภาษาไทยในระยะแรกๆ นั้น เรามีจุดหมายสำคัญคือเพื่อเป็นอุปกรณ์แก่ปริยัติธรรมและปฏิบัติธรรม ไม่ใช่แปลเพื่อให้ชาวบ้านทั่วๆ ไปอ่านเพื่อซึมซับเอาความงามทางภาษา เมื่อจุดประสงค์ชัดเจนและเจาะจงเช่นนั้น การแปลก็ย่อมจะอนุวัตรตามเป้าหมายที่วางไว้
จะอย่างไรก็ตาม หลังจากที่พระไตรปิฎกฉบับหลวงเผยแพร่ออกมาแล้ว สังคมเราก็เริ่มก้าวเข้าสูยุคใหม่ที่ชาวบ้านทั่วไปหันมาสนใจพุทธศาสนามากขึ้น เวลานี้ตลาดหนังสือทางศาสนาเป็นตลาดใหญ่ที่มีเงินหมุนเวียนจำนวนมหาศาล คนนอกวัดต้องการหนังสืออีกแบบหนึ่งที่ต่างไปจากคนในวัด ดังนั้นพระไตรปิฎกภาษาไทยที่จะเอื้อประโยชน์ต่อคนนอกวัดจึงต้องมีลักษณะแตกต่างไปจากฉบับที่คนในวัดอ่านแล้ว ได้ประโยชน์อย่างเช่นฉบับหลวงเป็นต้น เมื่อแรกที่ทางมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยริเริ่มโครงการแปลพระไตรปิฎกนั้น ผมทราบมาว่าสิ่งหนึ่งที่เราพยายามคิดกันก็คือ จะให้ฉบับใหม่ของเรานี้เอื้อประโยชน์แก่คนนอกวัดให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้
เพื่อการนี้เราจึงตั้งคณะทำงานแบ่งงานออกเป็นสองชุด คือ ชุดหนึ่งแปล อีกชุดหนึ่งตรวจสำนวนแปล ผู้แปลเราคัดเลือกเอาท่านที่ทรงคุณวุฒิ รู้ภาษาบาลีอย่างดีเยี่ยม และเข้าใจสาระทางธรรมของข้อความที่จะแปล เมื่อแปลก็ให้ท่านคำนึงแต่ในส่วนงานของท่าน ไม่ต้องห่วงเรื่องภาษา เพราะจะมีคณะทำงานอีกชุดหนึ่งดูแลเรื่องนี้ เมื่อแปลเสร็จก็ส่งให้คณะทำงานอีกชุดตรวจสำนวน การตรวจสำนวนนี่แหละครับที่จะช่วยให้ฉบับใหม่ของเราอ่านรู้เรื่อง อ่านไพเราะ และอ่านแล้วได้ความงามอย่างไทยๆ เพราะเป็นฉบับแปลภาษาไทย
มหาวิทยาลัยดี ๆ ในต่างประเทศอย่างเช่นออกซฟอร์ดหรือเคมบริดจ์นั้น ก่อตั้งโดยศาสนจักร เมื่อเป็นมหาวิทยาลัยทางศาสนา ก็เป็นธรรมดาที่มหาวิทยาลัยเหล่านี้จะมีคัมภีร์ทางศาสนาของตน เมื่อกล่าวถึงเคมบริดจ์ ทุกคนจะนึกถึงไบเบิ้ลฉบับ King James ส่วนทางด้านออกซฟอร์ดนั้นก็มีไบเบิ้ลของตัวเองชนิดที่มีมาตรฐานไม่แพ้กัน ผมมีไบเบิ้ลของสองมหาวิทยาลัยนี้ทำให้ทราบว่ามหาวิทยาลัยดี ๆ ของต่างประเทศนั้นเขาเอาใจใส่คัมภีร์ทางศาสนาอย่างไร บ้านเรามหาวิทยาลัยไม่ได้มีกำเนิดมาจากศาสนา ยกเว้นมหาวิทยาลัยสงฆ์ เมื่อมหาวิทยาลัยทางโลกในบ้านเราไม่มีรากฐานทางด้านศาสนา ก็หวังไม่ได้ที่จะให้มหาวิทยาลัยเหล่านี้แสดงบทบาทในด้านนี้ มหาวิทยาลัยมหิดลนั้นดูจะเป็นแห่งแรกที่สนใจทางด้านนี้
ดังมีการจัดทำพระไตรปิฎกฉบับคอมพิวเตอร์ ซึ่งคณะผู้จัดทำก็พูดอยู่เสมอว่าเป็นงานที่ต้องพัฒนาต่อไปไม่สิ้นสุด ทางด้านจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แม้จะมีการจัดตั้งศูนย์พุทธศาสน์ศึกษาขึ้นมาราวหกเจ็ดปีแล้ว แต่ศูนย์นี้ก็เน้นการศึกษาพุทธศาสนาอย่างเป็นวิชาการสมัยใหม่ ไม่ได้เน้นศึกษาแบบที่ฝรั่งเรียกว่า textual study อย่างที่มีในออกซฟอร์ด เคมบริดจ์ หรือฮาร์วาร์ด
เวลานี้ดูเหมือนจะเกิดความตื่นตัวที่จะศึกษาศาสนาในมหาวิทยาลัยอย่างที่เป็นอยู่ในประเทศตะวันตก ดังมีการเรียนการสอนหลักสูตรทางด้านศาสนาและพุทธศาสนากันถึงระดับปริญญาโท ปริญญาเอกในบ้านเรา ผมมีข้อสังเกตว่า ครูบาอาจารย์รุ่นแรก ๆ ที่สอนวิชาทางด้านศาสนาในมหาวิทยาลัยนั้นมีอยู่สองประเภท ประเภทแรกคือผู้เคยบวชเรียน ประเภทที่สองคือผู้ไม่เคยบวชเรียน แต่เรียนวิชาศาสนามาจากต่างประเทศ ผู้เคยบวชเรียนนั้นเนื่องจากเคยอ่านและแปลคัมภีร์มามาก จึงมีความเหมาะสมที่จะสอนศาสนาแบบ textual study ที่ผมกล่าวถึงข้างต้น ส่วนท่านที่เรียนมาจากเมืองนอก มักเรียนศาสนาในเชิงสังคมศาสตร์ ก็เหมาะที่จะสอนทางด้านนั้น อาจารย์กอมบริชซึ่งสอนพุทธศาสนาแบบเน้นหนักคัมภีร์ กล่าวในที่สัมมนาที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยที่ผมเอ่ยถึงข้างต้นว่า เวลานี้หลักสูตรทางด้านพุทธศาสนาที่ออกซฟอร์ดของท่านนั้นยากที่จะผลิตปริญญาเอกที่เชี่ยวชาญคัมภีร์ได้จริง ๆ เพราะรัฐบาลขีดเส้นตายให้เรียนและจบกันไว ๆ แต่เดิมนั้นผู้ต้องการเรียนพุทธศาสนาแบบเชี่ยวชาญคัมภีร์ต้องไปออกซฟอร์ดหรือเคมบริดจ์ ถ้าใครไปอเมริกาก็เป็นอันรู้กันว่าไปเรียนพุทธศาสนาอย่างเป็นสังคมศาสตร์ เวลานี้ดูเหมือนจะไม่มีความแตกต่างระหว่างอเมริกากับอังกฤษ ถ้าเรื่องนี้เป็นจริงและดำเนินต่อไปในอนาคต ผมเชื่อว่าคนที่จะสอนพุทธศาสนาอย่างเชี่ยวชาญคัมภีร์ได้จริง ๆ ในมหาวิทยาลัยจะต้องเป็นพวกมหาเปรียญเราเท่านั้นแหละครับ
การเรียนพุทธศาสนาในมหาวิทยาลัยอาจทำได้หลายอย่าง แต่หนึ่งอย่างที่สำคัญและต้องมีอยู่ต่อไปคือเรียนเชิงคัมภีร์ มหาวิทยาลัยทางโลกที่เปิดสอนพุทธศาสนานั้นดูเหมือนจะยอมรับว่าการศึกษาเชิงคัมภีร์นี้ไม่มีใครทำได้ดีเท่ากับมหาวิทยาลัยสงฆ์ จุดนี้เป็นจุดแข็งที่ผมคิดว่ามหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยของเราจะต้องตระหนัก จะอย่างไรก็ตาม มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยของเราอาจจะยังไม่เข้าใจบทบาทอันนี้ของตนหรืออย่างไรไม่ทราบ หลักสูตรปริญญาโทของเราจึงไม่จับเรื่องที่เรามีศักยภาพอย่างเต็มที่ หลักสูตรพุทธศาสตร มหาบัณฑิต สาขาพระพุทธศาสนาของเรานั้นเหมือนที่เรียนกันในมหาวิทยาลัยทางโลก คือเรียนกันอย่างเป็นสังคมศาสตร์มากกว่าที่จะเป็น textual study
ผมมีเรื่องอยากกราบเรียนว่า ผมพอจะคุ้นเคยกับสถาบันการศึกษาของศาสนาคริสต์บางแห่งอยู่บ้าง เพราะผมสอนที่วิทยาลัยแสงธรรม ที่เป็นสถาบันผลิตบัณฑิตทางด้านคริสต์ศาสนาของฝ่ายคาทอลิกมายาวนานตั้งแต่ปี ๒๕๒๘ สถาบันอุดมศึกษาของคริสต์ศาสนาทั้งในและต่างประเทศเท่าที่ผมทราบนั้น ยังยึดการเรียนศาสนาแบบ textual study อยู่อย่างเหนียวแน่น มหาวิทยาลัยพายัพของฝ่ายโปรเตสแตนต์ที่เชียงใหม่ก็ดี วิทยาลัยอิสลามศึกษาของฝ่ายอิสลามที่ปัตตานีก็ดี ล้วนแล้วแต่สอนศาสนาของตนอย่างเน้นการเรียนคัมภีร์ทั้งสิ้น
มีแต่มหาวิทยาลัยสงฆ์ของเราเท่านั้นแหละครับที่เรียนศาสนาอย่างเป็นสังคมศาสตร์ เพราะตอนจัดทำหลักสูตรเราเอาหลักสูตรของอเมริกาเป็นแบบฉบับ ในขณะที่สถาบันของคริสต์ศาสนาและศาสนาอิสลามเขียนหลักสูตรเองตามที่เห็นว่าตนเองต้องการอะไร (ข้อมูลเหล่านี้ผมทราบเพราะเป็นกรรมการพิจารณาอนุมัติหลักสูตรทางด้านศาสนาและปรัชญาในสถาบันอุดมศึกษาเอกชนของทบวงมหาวิทยาลัยครับ)
การเรียนศาสนาอย่างเป็นสังคมศาสตร์นั้นผู้รับผิดชอบมักเป็นคณะหรือภาควิชาทางด้านสังคมศาสตร์ในมหาวิทยาลัยนั้น ๆ จุดประสงค์ของการศึกษาก็ชัดครับว่าเพื่อเข้าใจศาสนาในฐานะที่เป็นสถาบันทางสังคมอันหนึ่งเหมือนสถาบันอื่น ๆ การเรียนในแนวนี้ได้มีจุดประสงค์จะให้ผู้เรียนเกิดความเชี่ยวชาญในเนื้อหาของศาสนา การที่มหาวิทยาลัยทางโลกอย่างมหิดล ธรรมศาสตร์ หรือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เรียนศาสนาแบบนี้ก็พอเข้าใจได้ครับว่าเพื่ออะไร แต่ถ้าสถาบันของทางสงฆ์เองเรียนแบบนี้ผมเองก็ยังมองเห็นเหตุผลไม่ชัดว่าเพื่ออะไร อาจจะเพื่อผลิตนักสังคมศาสตร์ที่เน้นการวิจัยทางด้านศาสนา แต่สิ่งที่เราต้องการมากกว่านั้นคือผู้เชี่ยวชาญเนื้อหาของศาสนาไม่ใช่หรือครับ
กล่าวมาทั้งหมดนี้ผมต้องการโยงมาที่เรื่องพระไตรปิฎกของเราครับ เมื่อผมได้พระไตรปิฎกมาแล้ว ผมมานั่งอ่าน แล้วผมก็คิดอะไรหลายอย่างมากมายไปหมด สิ่งแรกที่ผมคิดคือ เวลานี้อาจพูดได้ว่าพระไตรปิฎกฉบับแปลภาษาไทยของมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยนี้น่าจะเป็นฉบับที่ดีที่สุดเท่าที่มีอยู่เวลานี้ ผมเคยพูดในที่สัมมนาของเราครั้งหนึ่งว่าภายใน ๕๐ ปีนี้ไม่น่าจะมีพระไตรปิฎกภาษาไทยฉบับใดทำได้ดีเท่าของเรา ผมยังยืนยันความเห็นนั้นอยู่ แน่นอนว่าของใหม่ย่อมต้องดีกว่าของเก่า และเราเองก็ต้องขอบคุณคณะผู้จัดทำฉบับก่อน ๆ คือฉบับหลวงและฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัยที่งานอันมีมาก่อนเหล่านี้ย่อมเป็นแหล่งอ้างอิงให้เราได้เรียนรู้ ไม่มีอะไรเกิดใหม่จากความว่างเปล่า... นี่คือวาทะของไอน์สไตน์
การเกิดขึ้นของพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยนี้ ผมมองในฐานะพัฒนาการที่สืบเนื่องต่อมาจากกระบวนการอันมีมาก่อนหน้านี้ อันได้แก่การแปลพระไตรปิฎกเป็นภาษาไทยในสังคมเราซึ่งมีมายาวนานอย่างน้อยก็ตั้งแต่สมัยสุโขทัยมาแล้ว (ดังปรากฏในไตรภูมิพระร่วงเป็นต้น) ความเหน็ดเหนื่อยที่เราลงไปเพื่อแลกมาเป็นผลงานอันสำคัญต่อประวัติศาสตร์การศึกษาคัมภีร์พุทธศาสนาในบ้านเราครั้งนี้ ผมเชื่อว่าเป็นสิ่งที่ทุกท่านซึ่งร่วมอยู่ในกระบวนการนี้จะภาคภูมิใจไปอีกนาน ผมเองแม้จะมีชื่อเป็นหนึ่งในคณะทำงาน แต่ก็ไม่ได้ทำอะไรเลยเพราะเงื่อนไขทางด้านเวลาไม่เอื้ออำนวยทั้งที่อยากจะทำ ผมคิดว่ากรรมการบางท่านก็คงเหมือนผมคือมีชื่อแต่ไม่มีเวลามาช่วยทำ การที่หนังสือเราสำเร็จออกมาอย่างดีเลิศ ประณีต งดงาม ทั้งทางด้านสาระและการจัดพิมพ์นี้ แสดงให้เห็นว่ามหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยของเรายิ่งใหญ่กว่าคนเล็ก ๆ อย่างพวกผมมากนัก ไม่มีคนเล็ก ๆ เหล่านี้ งานเราก็เดินไปได้อย่างสบาย ๆ
เรื่องต่อมาที่ผมรู้สึกก็คือ การทำงานครั้งนี้เราทำอย่างเป็นระบบมาก พระไตรปิฎกแต่ละเล่มมีบทนำที่ให้รายละเอียดเกี่ยวกับเนื้อหาและเรื่องอื่น ๆ ที่สมควรกล่าวถึงเกี่ยวกับคัมภีร์เล่มนั้น ๆ บทนำเหล่านี้มีขนาดยาว ละเอียด และเรียบเรียงอย่างดีเยี่ยม ผมเองได้รับความรู้มากมายจากบทนำเหล่านี้ ผมอ่านภาษาพม่าและสิงหลไม่ออก จึงไม่รู้ว่าพระไตรปิฎกฉบับภาษาเหล่านี้จะมีบทนำดี ๆ อย่างนี้หรือไม่ ที่ผมอ่านออกคือฉบับภาษาอังกฤษของสมาคมบาลีปกรณ์ ฉบับภาษาอังกฤษมีบทนำเหมือนกันครับ แต่ทำได้ไม่ดีเท่าของเรา
เรื่องสุดท้ายที่ผมอยากกราบเรียนคือ เมื่อผมนั่งมองพระไตรปิฎกภาษาไทยฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยของเราที่ตั้งเรียงกันอยู่ในตู้นี้ ผมมองทะลุไปเห็นภาพของบุคคลจำนวนมาก
ทั้งที่เป็นพระสงฆ์และฆราวาสที่ช่วยกันทำงานเพื่อพระศาสนาอย่างไม่หวังผลตอบแทน ท่านเหล่านี้ล้วนแล้วแต่เป็นคนเก่ง เป็นผู้รู้ เป็นบัณฑิต บางส่วนอาจทำงานในมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย บางส่วนอาจอยู่ภายนอกมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ผมเคยคิดมานานแล้วครับว่ามหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยของเราน่าจะมีความหมายมากกว่าตัวสถาบันอันได้แก่ตึกเรียน คณาจารย์ และนิสิต แต่มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยน่าจะหมายถึงจิตวิญญาณของการทำงานเพื่อพระศาสนา เพื่อความรู้ เพื่อสังคม และเพื่อประชาชน มหาวิทยาลัยทางโลกนั้นพยายามทำตัวให้เป็นส่วนหนึ่งของชุมชน ดังธรรมศาสตร์เป็นหนึ่งเดียวกับท่าพระจันทร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นส่วนหนึ่งของสามย่าน คณะสงฆ์เรามีการศึกษาสองสายที่เสมือนแยกกันอยู่คือปริยัติธรรมเดิมกับมหาวิทยาลัยสงฆ์
ในอนาคตนั้นผมเชื่อว่าสถาบันหลักที่จะเป็นแหล่งสำคัญในการจัดแปลคัมภีร์ทางศาสนา จะได้แก่มหาวิทยาลัยสงฆ์ เพราะมีความพร้อมและมีพันธะโดยตรงในฐานะมหาวิทยาลัย แต่มหาวิทยาลัยสงฆ์ก็ต้องตระหนักด้วยว่างานนี้หากไม่ได้ความร่วมมือจากท่านนักปราชญ์นอกมหาวิทยาลัยแล้วยากที่จะสำเร็จ
ทำอย่างไรปราชญ์สองฝ่ายนี้จะได้ทำงานด้วยกันมากกว่านี้ ไม่เพียงแต่งานแปลคัมภีร์เท่านั้น ผมอยากให้ท่านที่อยู่นอกเหล่านี้ได้มาสอน มาวิจัย มาให้แง่คิดเป็นครั้งคราวก็ได้ แก่นิสิตของเรา ผมมองเห็นทางครับ เมื่อใดก็ตามที่มหาวิทยาลัยมหาจุฬาฯ มีหลักสูตรระดับสูงที่เน้นด้าน textual study เมื่อนั้นแหละครับที่เราจะสามารถเรียนเชิญท่านเหล่านั้นมาช่วยงานพระศาสนาได้ ผมเชื่อว่าหลายท่านยินดีมา บางท่านอาจเป็นพระผู้ใหญ่ เป็นพระผู้บริหาร เป็นถึงกรรมการมหาเถรสมาคมเสียด้วยซ้ำ ผมเคยร่วมสอบวิทยานิพนธ์กับพระผู้ใหญ่บางท่านเช่นท่านเจ้าคุณพระพรหมโมลี และท่านเจ้าคุณพระธรรมกิตติวงศ์ รู้ว่าท่านเก่งเพียงใด
ถ้าท่านเหล่านี้ให้เกียรติมาเป็นที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ให้มหาวิทยาลัยมหาจุฬาฯ หรือมาบรรยายในเรื่องที่ท่านถนัดในระดับปริญญาโทและเอก อะไรจะเกิดขึ้น ทุกท่านก็คงนึกเห็นภาพนะครับ ผลตามมาอีกอย่างหนึ่งที่ผมมองเห็นคือผลด้านการบริหาร เมื่อใดก็ตามที่มหาวิทยาลัยสงฆ์สามารถกลมกลืนเป็นหนึ่งเดียวกับผู้บริหารคณะสงฆ์ เมื่อนั้นผลดีจะเกิดแก่พระศาสนา พระสงฆ์ชั้นผู้ใหญ่บ้านเรานั้นไม่เหมือนนักการเมืองนะครับ ท่านเหล่านี้เคยเป็นนักศึกษาที่เรียนรู้มาก ขยันขันแข็งในทางวิชาการมาทั้งสิ้น เมื่อมาจับงานบริหารแล้ว ผมเชื่อว่าวิญญาณของความเป็นนักการศึกษาของท่านยังสมบูรณ์ ในทางโลกเราหวังให้รัฐมนตรีมาสอนหนังสือไม่ได้ แต่ในทางธรรมเราหวังได้ครับ
:http://www.mcu.ac.th/mcutrai/menu2/Article/article_19.htm
ไบเบิ้ลฉบับที่ผมอ้างถึงข้างต้นนั้นแปลอย่างพยายามรักษาต้นฉบับเอาไว้ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ การรักษาต้นฉบับแบ่งออกเป็นสองส่วน คือ หนึ่งรักษารูปแบบ สองรักษาสาระ ต้นฉบับเดิมเขาวางรูปแบบอย่าง แบ่งวรรคตอนแบบไหน การแปลก็ควรรักษารูปแบบนั้นไว้ ตรงไหนเป็นร้อยแก้ว ก็แปลเป็นร้อยแก้ว ตรงไหนเป็นร้อยกรองก็แปลเป็นร้อยกรอง ในส่วนของร้อยกรองนั้นเอง การจัดวางโครงสร้างของ กวีนิพนธ์ก็ควรทำให้ใกล้เคียงของเดิมมากที่สุด การรักษาสาระคือการแปลอย่างพยายามให้ได้ใจความตามฉบับเดิมมากที่สุด ในขณะเดียวกันก็ต้องแปลให้ไพเราะ อ่านง่าย การแปลแบบเก็บศัพท์มาหมดและแปลอย่างคำต่อคำนั้นในทัศนะของผมไม่ใช่การแปลอย่างรักษาสาระ การทำเช่นนั้นกลับทำให้สาระขาดหายไป สาระของหนังสือต้องส่งถึงผู้อ่านอย่างชวนให้รับ การแปลแบบเคร่งพยัญชนะทำให้อ่านไม่รู้เรื่อง เมื่ออ่านไม่รูเรื่องเสียแล้ว คนอ่านจะได้รับสาระอย่างไรละครับ สรุปความคือแปลดีหมายถึงแปลให้อ่านรู้เรื่อง เก็บความต้นฉบับได้ครบ และรักษารูปแบบของเดิมให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ คุณลักษณะที่กล่าวมานี้เป็นเรื่องยากที่จะบรรลุ ไบเบิ้ลฉบับที่ผมอ้างถึงนั้นเขาทำกันมายาวนานหลายรุ่นคน งานที่ยากสำหรับคนคนเดียวสามารถเป็นไปได้ถ้าทำร่วมกันหลายคน
พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวงของเรานั้นเตรียมการอย่างเป็นงานใหญ่ระดับชาติรัฐบาลและคณะสงฆ์ร่วมมือกันอย่างเต็มที่ ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัยและมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย แม้จะย่อลงมา เพราะเป็นงานภายในหน่วยงานคือมหาวิทยาลัยสงฆ์สองแห่งนี้เท่านั้น แต่ก็ถือเป็นงานใหญ่เช่นกัน งานใหญ่ๆ อย่างนี้ต้องการคนและการบริหารงานอย่างดี พระไตรปิฎกภาษาไทยฉบับหลวงนั้นมีคนนอกวัดติว่าอ่านยาก แม้จะเป็นภาษาไทยแต่คนไทยที่ไม่ได้เรียนรู้ภาษาบาลีก็อ่านเข้าใจยาก บางตอนนั้นพูดได้เลยว่าอ่านไม่รู้เรื่อง การที่พระไตรปิฎกฉบับหลวงอ่านยากนั้นผมเข้าใจครับ และผมก็ไม่โทษคณะท่านผู้แปลและจัดทำ การแปลหนังสือก็เหมือนกิจกรรมอื่นๆ ของมนุษย์คือต้องกระทำอย่างมีเป้าหมาย การแปลพระไตรปิฎกภาษาไทยในระยะแรกๆ นั้น เรามีจุดหมายสำคัญคือเพื่อเป็นอุปกรณ์แก่ปริยัติธรรมและปฏิบัติธรรม ไม่ใช่แปลเพื่อให้ชาวบ้านทั่วๆ ไปอ่านเพื่อซึมซับเอาความงามทางภาษา เมื่อจุดประสงค์ชัดเจนและเจาะจงเช่นนั้น การแปลก็ย่อมจะอนุวัตรตามเป้าหมายที่วางไว้
จะอย่างไรก็ตาม หลังจากที่พระไตรปิฎกฉบับหลวงเผยแพร่ออกมาแล้ว สังคมเราก็เริ่มก้าวเข้าสูยุคใหม่ที่ชาวบ้านทั่วไปหันมาสนใจพุทธศาสนามากขึ้น เวลานี้ตลาดหนังสือทางศาสนาเป็นตลาดใหญ่ที่มีเงินหมุนเวียนจำนวนมหาศาล คนนอกวัดต้องการหนังสืออีกแบบหนึ่งที่ต่างไปจากคนในวัด ดังนั้นพระไตรปิฎกภาษาไทยที่จะเอื้อประโยชน์ต่อคนนอกวัดจึงต้องมีลักษณะแตกต่างไปจากฉบับที่คนในวัดอ่านแล้ว ได้ประโยชน์อย่างเช่นฉบับหลวงเป็นต้น เมื่อแรกที่ทางมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยริเริ่มโครงการแปลพระไตรปิฎกนั้น ผมทราบมาว่าสิ่งหนึ่งที่เราพยายามคิดกันก็คือ จะให้ฉบับใหม่ของเรานี้เอื้อประโยชน์แก่คนนอกวัดให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้
เพื่อการนี้เราจึงตั้งคณะทำงานแบ่งงานออกเป็นสองชุด คือ ชุดหนึ่งแปล อีกชุดหนึ่งตรวจสำนวนแปล ผู้แปลเราคัดเลือกเอาท่านที่ทรงคุณวุฒิ รู้ภาษาบาลีอย่างดีเยี่ยม และเข้าใจสาระทางธรรมของข้อความที่จะแปล เมื่อแปลก็ให้ท่านคำนึงแต่ในส่วนงานของท่าน ไม่ต้องห่วงเรื่องภาษา เพราะจะมีคณะทำงานอีกชุดหนึ่งดูแลเรื่องนี้ เมื่อแปลเสร็จก็ส่งให้คณะทำงานอีกชุดตรวจสำนวน การตรวจสำนวนนี่แหละครับที่จะช่วยให้ฉบับใหม่ของเราอ่านรู้เรื่อง อ่านไพเราะ และอ่านแล้วได้ความงามอย่างไทยๆ เพราะเป็นฉบับแปลภาษาไทย
มหาวิทยาลัยดี ๆ ในต่างประเทศอย่างเช่นออกซฟอร์ดหรือเคมบริดจ์นั้น ก่อตั้งโดยศาสนจักร เมื่อเป็นมหาวิทยาลัยทางศาสนา ก็เป็นธรรมดาที่มหาวิทยาลัยเหล่านี้จะมีคัมภีร์ทางศาสนาของตน เมื่อกล่าวถึงเคมบริดจ์ ทุกคนจะนึกถึงไบเบิ้ลฉบับ King James ส่วนทางด้านออกซฟอร์ดนั้นก็มีไบเบิ้ลของตัวเองชนิดที่มีมาตรฐานไม่แพ้กัน ผมมีไบเบิ้ลของสองมหาวิทยาลัยนี้ทำให้ทราบว่ามหาวิทยาลัยดี ๆ ของต่างประเทศนั้นเขาเอาใจใส่คัมภีร์ทางศาสนาอย่างไร บ้านเรามหาวิทยาลัยไม่ได้มีกำเนิดมาจากศาสนา ยกเว้นมหาวิทยาลัยสงฆ์ เมื่อมหาวิทยาลัยทางโลกในบ้านเราไม่มีรากฐานทางด้านศาสนา ก็หวังไม่ได้ที่จะให้มหาวิทยาลัยเหล่านี้แสดงบทบาทในด้านนี้ มหาวิทยาลัยมหิดลนั้นดูจะเป็นแห่งแรกที่สนใจทางด้านนี้
ดังมีการจัดทำพระไตรปิฎกฉบับคอมพิวเตอร์ ซึ่งคณะผู้จัดทำก็พูดอยู่เสมอว่าเป็นงานที่ต้องพัฒนาต่อไปไม่สิ้นสุด ทางด้านจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แม้จะมีการจัดตั้งศูนย์พุทธศาสน์ศึกษาขึ้นมาราวหกเจ็ดปีแล้ว แต่ศูนย์นี้ก็เน้นการศึกษาพุทธศาสนาอย่างเป็นวิชาการสมัยใหม่ ไม่ได้เน้นศึกษาแบบที่ฝรั่งเรียกว่า textual study อย่างที่มีในออกซฟอร์ด เคมบริดจ์ หรือฮาร์วาร์ด
เวลานี้ดูเหมือนจะเกิดความตื่นตัวที่จะศึกษาศาสนาในมหาวิทยาลัยอย่างที่เป็นอยู่ในประเทศตะวันตก ดังมีการเรียนการสอนหลักสูตรทางด้านศาสนาและพุทธศาสนากันถึงระดับปริญญาโท ปริญญาเอกในบ้านเรา ผมมีข้อสังเกตว่า ครูบาอาจารย์รุ่นแรก ๆ ที่สอนวิชาทางด้านศาสนาในมหาวิทยาลัยนั้นมีอยู่สองประเภท ประเภทแรกคือผู้เคยบวชเรียน ประเภทที่สองคือผู้ไม่เคยบวชเรียน แต่เรียนวิชาศาสนามาจากต่างประเทศ ผู้เคยบวชเรียนนั้นเนื่องจากเคยอ่านและแปลคัมภีร์มามาก จึงมีความเหมาะสมที่จะสอนศาสนาแบบ textual study ที่ผมกล่าวถึงข้างต้น ส่วนท่านที่เรียนมาจากเมืองนอก มักเรียนศาสนาในเชิงสังคมศาสตร์ ก็เหมาะที่จะสอนทางด้านนั้น อาจารย์กอมบริชซึ่งสอนพุทธศาสนาแบบเน้นหนักคัมภีร์ กล่าวในที่สัมมนาที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยที่ผมเอ่ยถึงข้างต้นว่า เวลานี้หลักสูตรทางด้านพุทธศาสนาที่ออกซฟอร์ดของท่านนั้นยากที่จะผลิตปริญญาเอกที่เชี่ยวชาญคัมภีร์ได้จริง ๆ เพราะรัฐบาลขีดเส้นตายให้เรียนและจบกันไว ๆ แต่เดิมนั้นผู้ต้องการเรียนพุทธศาสนาแบบเชี่ยวชาญคัมภีร์ต้องไปออกซฟอร์ดหรือเคมบริดจ์ ถ้าใครไปอเมริกาก็เป็นอันรู้กันว่าไปเรียนพุทธศาสนาอย่างเป็นสังคมศาสตร์ เวลานี้ดูเหมือนจะไม่มีความแตกต่างระหว่างอเมริกากับอังกฤษ ถ้าเรื่องนี้เป็นจริงและดำเนินต่อไปในอนาคต ผมเชื่อว่าคนที่จะสอนพุทธศาสนาอย่างเชี่ยวชาญคัมภีร์ได้จริง ๆ ในมหาวิทยาลัยจะต้องเป็นพวกมหาเปรียญเราเท่านั้นแหละครับ
การเรียนพุทธศาสนาในมหาวิทยาลัยอาจทำได้หลายอย่าง แต่หนึ่งอย่างที่สำคัญและต้องมีอยู่ต่อไปคือเรียนเชิงคัมภีร์ มหาวิทยาลัยทางโลกที่เปิดสอนพุทธศาสนานั้นดูเหมือนจะยอมรับว่าการศึกษาเชิงคัมภีร์นี้ไม่มีใครทำได้ดีเท่ากับมหาวิทยาลัยสงฆ์ จุดนี้เป็นจุดแข็งที่ผมคิดว่ามหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยของเราจะต้องตระหนัก จะอย่างไรก็ตาม มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยของเราอาจจะยังไม่เข้าใจบทบาทอันนี้ของตนหรืออย่างไรไม่ทราบ หลักสูตรปริญญาโทของเราจึงไม่จับเรื่องที่เรามีศักยภาพอย่างเต็มที่ หลักสูตรพุทธศาสตร มหาบัณฑิต สาขาพระพุทธศาสนาของเรานั้นเหมือนที่เรียนกันในมหาวิทยาลัยทางโลก คือเรียนกันอย่างเป็นสังคมศาสตร์มากกว่าที่จะเป็น textual study
ผมมีเรื่องอยากกราบเรียนว่า ผมพอจะคุ้นเคยกับสถาบันการศึกษาของศาสนาคริสต์บางแห่งอยู่บ้าง เพราะผมสอนที่วิทยาลัยแสงธรรม ที่เป็นสถาบันผลิตบัณฑิตทางด้านคริสต์ศาสนาของฝ่ายคาทอลิกมายาวนานตั้งแต่ปี ๒๕๒๘ สถาบันอุดมศึกษาของคริสต์ศาสนาทั้งในและต่างประเทศเท่าที่ผมทราบนั้น ยังยึดการเรียนศาสนาแบบ textual study อยู่อย่างเหนียวแน่น มหาวิทยาลัยพายัพของฝ่ายโปรเตสแตนต์ที่เชียงใหม่ก็ดี วิทยาลัยอิสลามศึกษาของฝ่ายอิสลามที่ปัตตานีก็ดี ล้วนแล้วแต่สอนศาสนาของตนอย่างเน้นการเรียนคัมภีร์ทั้งสิ้น
มีแต่มหาวิทยาลัยสงฆ์ของเราเท่านั้นแหละครับที่เรียนศาสนาอย่างเป็นสังคมศาสตร์ เพราะตอนจัดทำหลักสูตรเราเอาหลักสูตรของอเมริกาเป็นแบบฉบับ ในขณะที่สถาบันของคริสต์ศาสนาและศาสนาอิสลามเขียนหลักสูตรเองตามที่เห็นว่าตนเองต้องการอะไร (ข้อมูลเหล่านี้ผมทราบเพราะเป็นกรรมการพิจารณาอนุมัติหลักสูตรทางด้านศาสนาและปรัชญาในสถาบันอุดมศึกษาเอกชนของทบวงมหาวิทยาลัยครับ)
การเรียนศาสนาอย่างเป็นสังคมศาสตร์นั้นผู้รับผิดชอบมักเป็นคณะหรือภาควิชาทางด้านสังคมศาสตร์ในมหาวิทยาลัยนั้น ๆ จุดประสงค์ของการศึกษาก็ชัดครับว่าเพื่อเข้าใจศาสนาในฐานะที่เป็นสถาบันทางสังคมอันหนึ่งเหมือนสถาบันอื่น ๆ การเรียนในแนวนี้ได้มีจุดประสงค์จะให้ผู้เรียนเกิดความเชี่ยวชาญในเนื้อหาของศาสนา การที่มหาวิทยาลัยทางโลกอย่างมหิดล ธรรมศาสตร์ หรือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เรียนศาสนาแบบนี้ก็พอเข้าใจได้ครับว่าเพื่ออะไร แต่ถ้าสถาบันของทางสงฆ์เองเรียนแบบนี้ผมเองก็ยังมองเห็นเหตุผลไม่ชัดว่าเพื่ออะไร อาจจะเพื่อผลิตนักสังคมศาสตร์ที่เน้นการวิจัยทางด้านศาสนา แต่สิ่งที่เราต้องการมากกว่านั้นคือผู้เชี่ยวชาญเนื้อหาของศาสนาไม่ใช่หรือครับ
กล่าวมาทั้งหมดนี้ผมต้องการโยงมาที่เรื่องพระไตรปิฎกของเราครับ เมื่อผมได้พระไตรปิฎกมาแล้ว ผมมานั่งอ่าน แล้วผมก็คิดอะไรหลายอย่างมากมายไปหมด สิ่งแรกที่ผมคิดคือ เวลานี้อาจพูดได้ว่าพระไตรปิฎกฉบับแปลภาษาไทยของมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยนี้น่าจะเป็นฉบับที่ดีที่สุดเท่าที่มีอยู่เวลานี้ ผมเคยพูดในที่สัมมนาของเราครั้งหนึ่งว่าภายใน ๕๐ ปีนี้ไม่น่าจะมีพระไตรปิฎกภาษาไทยฉบับใดทำได้ดีเท่าของเรา ผมยังยืนยันความเห็นนั้นอยู่ แน่นอนว่าของใหม่ย่อมต้องดีกว่าของเก่า และเราเองก็ต้องขอบคุณคณะผู้จัดทำฉบับก่อน ๆ คือฉบับหลวงและฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัยที่งานอันมีมาก่อนเหล่านี้ย่อมเป็นแหล่งอ้างอิงให้เราได้เรียนรู้ ไม่มีอะไรเกิดใหม่จากความว่างเปล่า... นี่คือวาทะของไอน์สไตน์
การเกิดขึ้นของพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยนี้ ผมมองในฐานะพัฒนาการที่สืบเนื่องต่อมาจากกระบวนการอันมีมาก่อนหน้านี้ อันได้แก่การแปลพระไตรปิฎกเป็นภาษาไทยในสังคมเราซึ่งมีมายาวนานอย่างน้อยก็ตั้งแต่สมัยสุโขทัยมาแล้ว (ดังปรากฏในไตรภูมิพระร่วงเป็นต้น) ความเหน็ดเหนื่อยที่เราลงไปเพื่อแลกมาเป็นผลงานอันสำคัญต่อประวัติศาสตร์การศึกษาคัมภีร์พุทธศาสนาในบ้านเราครั้งนี้ ผมเชื่อว่าเป็นสิ่งที่ทุกท่านซึ่งร่วมอยู่ในกระบวนการนี้จะภาคภูมิใจไปอีกนาน ผมเองแม้จะมีชื่อเป็นหนึ่งในคณะทำงาน แต่ก็ไม่ได้ทำอะไรเลยเพราะเงื่อนไขทางด้านเวลาไม่เอื้ออำนวยทั้งที่อยากจะทำ ผมคิดว่ากรรมการบางท่านก็คงเหมือนผมคือมีชื่อแต่ไม่มีเวลามาช่วยทำ การที่หนังสือเราสำเร็จออกมาอย่างดีเลิศ ประณีต งดงาม ทั้งทางด้านสาระและการจัดพิมพ์นี้ แสดงให้เห็นว่ามหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยของเรายิ่งใหญ่กว่าคนเล็ก ๆ อย่างพวกผมมากนัก ไม่มีคนเล็ก ๆ เหล่านี้ งานเราก็เดินไปได้อย่างสบาย ๆ
เรื่องต่อมาที่ผมรู้สึกก็คือ การทำงานครั้งนี้เราทำอย่างเป็นระบบมาก พระไตรปิฎกแต่ละเล่มมีบทนำที่ให้รายละเอียดเกี่ยวกับเนื้อหาและเรื่องอื่น ๆ ที่สมควรกล่าวถึงเกี่ยวกับคัมภีร์เล่มนั้น ๆ บทนำเหล่านี้มีขนาดยาว ละเอียด และเรียบเรียงอย่างดีเยี่ยม ผมเองได้รับความรู้มากมายจากบทนำเหล่านี้ ผมอ่านภาษาพม่าและสิงหลไม่ออก จึงไม่รู้ว่าพระไตรปิฎกฉบับภาษาเหล่านี้จะมีบทนำดี ๆ อย่างนี้หรือไม่ ที่ผมอ่านออกคือฉบับภาษาอังกฤษของสมาคมบาลีปกรณ์ ฉบับภาษาอังกฤษมีบทนำเหมือนกันครับ แต่ทำได้ไม่ดีเท่าของเรา
เรื่องสุดท้ายที่ผมอยากกราบเรียนคือ เมื่อผมนั่งมองพระไตรปิฎกภาษาไทยฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยของเราที่ตั้งเรียงกันอยู่ในตู้นี้ ผมมองทะลุไปเห็นภาพของบุคคลจำนวนมาก
ทั้งที่เป็นพระสงฆ์และฆราวาสที่ช่วยกันทำงานเพื่อพระศาสนาอย่างไม่หวังผลตอบแทน ท่านเหล่านี้ล้วนแล้วแต่เป็นคนเก่ง เป็นผู้รู้ เป็นบัณฑิต บางส่วนอาจทำงานในมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย บางส่วนอาจอยู่ภายนอกมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ผมเคยคิดมานานแล้วครับว่ามหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยของเราน่าจะมีความหมายมากกว่าตัวสถาบันอันได้แก่ตึกเรียน คณาจารย์ และนิสิต แต่มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยน่าจะหมายถึงจิตวิญญาณของการทำงานเพื่อพระศาสนา เพื่อความรู้ เพื่อสังคม และเพื่อประชาชน มหาวิทยาลัยทางโลกนั้นพยายามทำตัวให้เป็นส่วนหนึ่งของชุมชน ดังธรรมศาสตร์เป็นหนึ่งเดียวกับท่าพระจันทร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นส่วนหนึ่งของสามย่าน คณะสงฆ์เรามีการศึกษาสองสายที่เสมือนแยกกันอยู่คือปริยัติธรรมเดิมกับมหาวิทยาลัยสงฆ์
ในอนาคตนั้นผมเชื่อว่าสถาบันหลักที่จะเป็นแหล่งสำคัญในการจัดแปลคัมภีร์ทางศาสนา จะได้แก่มหาวิทยาลัยสงฆ์ เพราะมีความพร้อมและมีพันธะโดยตรงในฐานะมหาวิทยาลัย แต่มหาวิทยาลัยสงฆ์ก็ต้องตระหนักด้วยว่างานนี้หากไม่ได้ความร่วมมือจากท่านนักปราชญ์นอกมหาวิทยาลัยแล้วยากที่จะสำเร็จ
ทำอย่างไรปราชญ์สองฝ่ายนี้จะได้ทำงานด้วยกันมากกว่านี้ ไม่เพียงแต่งานแปลคัมภีร์เท่านั้น ผมอยากให้ท่านที่อยู่นอกเหล่านี้ได้มาสอน มาวิจัย มาให้แง่คิดเป็นครั้งคราวก็ได้ แก่นิสิตของเรา ผมมองเห็นทางครับ เมื่อใดก็ตามที่มหาวิทยาลัยมหาจุฬาฯ มีหลักสูตรระดับสูงที่เน้นด้าน textual study เมื่อนั้นแหละครับที่เราจะสามารถเรียนเชิญท่านเหล่านั้นมาช่วยงานพระศาสนาได้ ผมเชื่อว่าหลายท่านยินดีมา บางท่านอาจเป็นพระผู้ใหญ่ เป็นพระผู้บริหาร เป็นถึงกรรมการมหาเถรสมาคมเสียด้วยซ้ำ ผมเคยร่วมสอบวิทยานิพนธ์กับพระผู้ใหญ่บางท่านเช่นท่านเจ้าคุณพระพรหมโมลี และท่านเจ้าคุณพระธรรมกิตติวงศ์ รู้ว่าท่านเก่งเพียงใด
ถ้าท่านเหล่านี้ให้เกียรติมาเป็นที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ให้มหาวิทยาลัยมหาจุฬาฯ หรือมาบรรยายในเรื่องที่ท่านถนัดในระดับปริญญาโทและเอก อะไรจะเกิดขึ้น ทุกท่านก็คงนึกเห็นภาพนะครับ ผลตามมาอีกอย่างหนึ่งที่ผมมองเห็นคือผลด้านการบริหาร เมื่อใดก็ตามที่มหาวิทยาลัยสงฆ์สามารถกลมกลืนเป็นหนึ่งเดียวกับผู้บริหารคณะสงฆ์ เมื่อนั้นผลดีจะเกิดแก่พระศาสนา พระสงฆ์ชั้นผู้ใหญ่บ้านเรานั้นไม่เหมือนนักการเมืองนะครับ ท่านเหล่านี้เคยเป็นนักศึกษาที่เรียนรู้มาก ขยันขันแข็งในทางวิชาการมาทั้งสิ้น เมื่อมาจับงานบริหารแล้ว ผมเชื่อว่าวิญญาณของความเป็นนักการศึกษาของท่านยังสมบูรณ์ ในทางโลกเราหวังให้รัฐมนตรีมาสอนหนังสือไม่ได้ แต่ในทางธรรมเราหวังได้ครับ
:http://www.mcu.ac.th/mcutrai/menu2/Article/article_19.htm