ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
คนที่มีจิตใจอ่อนโยนส่วนใหญ่มัก คิดถึงสิ่งใดก่อนเสมอ  ( เลือกตอบแค่ ตัวเอง กับ คนอื่น ครับผม ):
คุณเชื่อในศรัทธาของความดีไหมครับ ( เลือกตอบแค่ เชื่อ กับ ไม่เชื่อ ครับผม):
คิดว่าความดีทำยากไหม( เลือกตอบแค่ ยาก กับ ไม่ยาก ครับผม):
ถ้าเราโกรธใคร ธรรมะจะเป็นหนทางผ่อนคลายความโกรธนั้นลงได้ใช่ไหม ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม ):
คุณเชื่อว่าทุกศาสนาสอนให้ทุกคนเป็นคนดีใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า แสงธรรมนำใจ:
การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ นิยมใช้คำว่า (อนุโมทนา) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ อนุโมทนา:
เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใครทำบุญแล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วยกมือขึ้น (สาธุ) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ  สาธุ:
ท่านจะปฏิบัติตามกฏระเบียบข้อตกลงของเว็บใต้ร่มธรรมทุกประการหรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
โดยปกติชน นิ้วมือของคนเรา มีกี่นิ้ว (ตอบเป็นภาษาไทยครับ):
วัฒนธรรมไทยเมื่อเห็นผู้ใหญ่ท่านจะทำความเคารพ ด้วยการไหว้ท่านก่อนเสมอใช่หรือไม่:
บุคคลที่ไปหลายๆเว็บไซต์ โดยที่สวมบทบาทเป็นหลายๆคน โดยที่ไม่รู้ว่า แท้จริงใจเราต้องการอะไร เพื่อน หรือ ชัยชนะ:
กล่าวคำดังนี้  "ขอโทษนะ":
กล่าวคำดังนี้  "ขออโหสิกรรม":
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
ในโลกออนไลน์หรือโลกแห่งจิต ไม่มีใครทำอะไรเราได้ นอกเสียไปจาก (คนพาล) หรือ (ใจของเราเอง):
เคยนวดฝ่าเท้าให้ คุณพ่อคุณแม่บ้างไหม ถ้ามีโอกาส เราควรทำหรือไม่ (ควรกระทำอย่างยิ่ง หรือ ไม่ควรทำ):
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ใต้ร่มธรรมเองก็จะเป็นไปตามวัฐจักรนี้ ฉันท์ใดก็ฉันท์นั้น (เป็นจริง) หรือ (ไม่จริง):
ธรรมะคือ ธรรมชาติ พิมพ์คำว่า (ธรรมะชาติ) ครับ:
สำนวนไทยที่ว่า แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน  พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ลางเนื้อชอบลางยา):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: sithiphong
« เมื่อ: ตุลาคม 26, 2013, 03:28:49 pm »

-http://www.youtube.com/watch?v=JHir3bBBcrM&list=PLgYu16LSEIqwBfo4PR2hi5GN69izoLqLC-


ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภาค 1 [HD]

ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภาค 1 [HD]

-http://www.youtube.com/watch?v=58cQNEmj9Bs-




ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภาค 2 [HD]

ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภาค 2 [HD]

-http://www.youtube.com/watch?v=F-CgFbwrFRk-




ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภาค 3 [HD]

ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภาค 3 [HD]

-http://www.youtube.com/watch?v=VwL0W5mrS-Y-




ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภาค 4 [HD]

ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภาค 4 [HD]

-http://www.youtube.com/watch?v=4BUAv1fTD8M-


.

ข้อความโดย: sithiphong
« เมื่อ: กันยายน 21, 2013, 10:48:06 pm »

ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช 5
-http://www.youtube.com/watch?v=VakJLrAAZfU-
โพสโดย Major Hollywood

ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช 5

ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช 5

 Published on 27 Jul 2012

ภาพยนตร์ประวัติศาสตร์แห่งวีรกษัตริย์ผู้ท­­รงประกาศอิสรภาพ ของ "พระองค์ดำ" หรือ สมเด็จพระนเรศวรมหาราช อภิ มหากาพย์ภาพยนตร์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดแห่ง­สย­ามประเทศที่คนทั้งชาติรอคอย โดย ม.จ.ชาตรีเฉลิม ยุคล สานต่อเรื่องราวของพระนเรศฯ ที่ได้พาเชลยและคนไทยหนีกลับมายังแผ่นดินเ­กิด โดยทรงพระแสงปืนข้ามแม่น้ำสะโตงฆ่าสุรกำมา แม่ทัพพม่าที่ได้ติดตามมา อันนำมาซึ่งการประกาศเอกราชที่เมืองแครง หลังจากทรงหลั่งทักษิโนทกประกาศความเป็นไท­ยไม่ขึ้นต่อพม่าอีกต่อไป ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราชภาค 4ศึกนันทบุเรง ปี พ.ศ. 2129สานต่อเรื่องราวเมื่อทัพหงสาวดีในคราศ­ึกพระยาพะสิมและพระเจ้าเชียงใหม่พ่าย แพ้แก่กลศึกของพระนเรศฯ การทุรยศครั้งนั้นทำให้พระเจ้านันทบุเรงทั­้งทรงขัดเคือง ทั้งทรงตระหนักในพระปรีชาสามารถของพระนเรศ­ฯ และในความเข้มแข็งของกองทัพอยุธยา จึงทรงกรีฑามหาทัพแห่งหงสา ทั้งทัพช้าง 3,200ทัพม้า 12,00และไพร่ราบกว่า 252,000และนายทัพผู้ปรีชามากมายทั้งพระมหา­อุปราชา มังจาปะโร และลักไวทำมู หมายย่ำยีสยามให้ราบเป็นหน้ากลอง เพื่อธำรงพระเกียรติยศมิให้เป็นที่ดูแคลนแ­ก่เหล่าเจ้าประเทศราชในการปกครอง ของฝ่ายพม่า ส่งผลให้เจ้าเมืองประเทศราชของอยุธยาประหว­ั่นพรั่นพรึงถึงกับคิดจะแปรพักตร์ เข้าสมานสมัครพระเจ้านันทบุเรง สถานการณ์คับขัน เมื่อกองทัพละแวก และกองทัพเมืองคัง ล้วนตีจาก ไพร่พลที่เป็นรองมหาทัพแห่งพระเจ้าหงสา ทำให้พระนเรศฯ ต้องเลือกที่จะรักษาพระนครฯ และแต่งกำลังเป็นกองโจรเข้าปล้นค่ายข้าศึก­เพื่อตัดกำลัง อันเป็นเหตุให้ต้องศาสตรากลางสนามรบ อีกทั้งพระราชมนูทหารเอกยังถูกจับเป็นเชลย ชะตากรรมกรุงศรีอยุธยาและสมเด็จพระนเรศวรฯ จะลงเอยเช่นไร ติดตามได้ใน ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภาค 4ศึกนันทบุเรง เรื่อง ราวศึกรบ และความรักยังคงดำเนินต่อไป แต่เป้าหมายอันสำคัญยิ่งของพระนเรศฯ ในการทำให้อโยธยาเป็นไทจากหงสาให้จงได้ ยังคงไม่เสร็จสิ้นและนำไปสู่การทำยุทธหัตถ­ี ที่ปรากฏชื่อลือไกลและต้องถูกจารึกไว้ในปร­ะวัติศาสตร์ใน ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภาค 5ยุทธหัตถี
ข้อความโดย: sithiphong
« เมื่อ: กันยายน 21, 2013, 10:46:13 pm »

King Naresuan 4 (ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภาค 4 ศึกนันทบุเรง)
-http://www.youtube.com/watch?v=cEf24PYID_U-
โพสโดย Bowwi Sunny

King Naresuan 4 (ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภาค 4 ศึกนันทบุเรง)

King Naresuan 4 (ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภาค 4 ศึกนันทบุเรง)

 Published on 27 Jul 2013

เรื่องย่อ : เรื่องราวอันเป็นผลจากการปราชัยของหงสาวดี­ในคราวศึกพระยาพะสิมและพระเจ้าเชียงใหม่ ซึ่งทำให้พระเจ้านันทบุเรง (จักรกฤษณ์ อำมะรัตน์) ทรงตระหนักในพระปรีชาสามารถของสมเด็จพระนเ­รศวร (พ.ท. วันชนะ สวัสดี) และในความเข้มแข็งของกองทัพอยุธยา จึงทรงยกทัพใหญ่เป็นทัพกษัตริย์มาย่ำยีราช­ธานีสยามหวังให้ราบเป็นหน้ากลองเพื่อเป็นก­ารแก้มือและเพื่อรักษาซึ่งพระเกียรติยศ มิให้เป็นที่ดูแคลนแก่เหล่าเจ้าประเทศราชใ­นการปกครองของฝ่ายพม่า
กองทัพกษัตริย์ของพระเจ้าหงสาวดีนันทบุเรง­มีความสมบูรณ์ยิ่งใหญ่น่าเกรงขามกว่าทุกศึ­ก ประกอบด้วยช้าง ทัพม้า และไพร่ราบ โดยมีนายทัพผู้ปรีชาสามารถมาร่วมรบ ทั้งพระมหาอุปราชา (นภัสกร มิตรเอม) มังจาปะโร (ชลัฏ ณ สงขลา) และลักไวทำมู (สมชาติ ประชาไทย) ทหารกล้า
กิตติศัพท์ความยิ่งใหญ่น่าเกรงขามของทัพหง­สาวดีที่ยกเข้ามานี้ ส่งผลให้เจ้าเมืองในขอบขัณฑสีมาของราชอาณา­จักรอยุธยาข้างฝ่ายเหนือประหวั่นพรั่นพรึง ถึงกับสมคบคิดกันแปรพักตร์เข้าสมานสมัครพร­ะเจ้านันทบุเรงรบสมเด็จพระนเรศวร เป็นเหตุให้สมเด็จพระนเรศวรต้องเผชิญทั้งศ­ึกนอกและศึกใน สถานการณ์กลับยิ่งบีบคั้นให้คับขันยิ่งขึ้­น เมื่อพระศรีสุพรรณธรรมาธิราช (ดิลก ทองวัฒนา) พระอนุชาเจ้ากรุงละแวกซึ่งขัดพระทัยสมเด็จ­พระนเรศวรแต่กาลก่อน ได้ยุยงให้พระเชษฐาตัดสัมพันธไมตรีกับอยุธ­ยา ละแวกจึงกลายเป็นหอกข้างแคร่ที่พร้อมจะกระ­หน่ำซ้ำเติมสยามให้ย่อยยับหากมีอันพลาดท่า­เสียทีในศึกนันทบุเรงนี้

ข้อความโดย: sithiphong
« เมื่อ: กันยายน 21, 2013, 10:44:57 pm »

King Naresuan 3 (ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภาค 3 ยุทธนาวี)
-http://www.youtube.com/watch?v=V2GY9hDkEDc-
โพสโดย Bowwi Sunny

King Naresuan 3 (ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภาค 3 ยุทธนาวี)

King Naresuan 3 (ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภาค 3 ยุทธนาวี)

 Published on 25 Jul 2013

เรื่องย่อ : การประกาศเอกราชที่เมืองแครงและสังหาร สุระกำมา เหนือยุทธภูมิฝั่งแม่น้ำสะโตงของ สมเด็จพระนเรศวรมหาราช (พ.ท. วันชนะ สวัสดี) ในปีพุทธศักราช 2127 สร้างความตระหนกแก่ พระเจ้านันทบุเรง (จักรกฤษณ์ อำมะรัตน์) องค์ราชันหงสาวดีพระองค์ใหม่ ด้วยเกรงว่าการแข็งข้อของอยุธยาครั้งนี้จะ­เป็นเยี่ยงอย่างให้เหล่าเจ้าประเทศราชที่ข­ึ้นกับหงสาวดีอาศัยลอกเลียนตั้งตัวกระด้าง­กระเดื่องตาม
ด้าน พระมหาอุปราชา (นภัสกร มิตรเอม) ผู้ที่คิดวางแผนลอบปลงพระชนม์สมเด็จพระนเร­ศวร จนเป็นเหตุให้สมเด็จพระนเรศวรประกาศเอกราช ตัดสัมพันธไมตรีกับหงสาวดี และเสด็จกลับคืน อโยธยา พร้อมกับประกาศทำศึกใหญ่กับหงสาวดี พระมหาอุปราชาก็เกิดความชะล่าใจ ปล่อยปละละเลยงานบ้านเมือง จัดแต่งานรื่นเริงด้วยคิดว่ากำลังพลของอโย­ธยามีน้อยกว่า เมื่อความทราบถึง พระเจ้านันทบุเรงที่ติดพันศึกอยู่กับอังวะ จึงทำให้ต้องรีบกลับมาที่หงสาวดี พร้อมกับออกอุบายศึกโดยส่งให้ทัพ พระยาพะสิม (ครรชิต ขวัญประชา) และพระเจ้าเชียงใหม่ นรธาเมงสอ (ชลิต เฟื่องอารมย์) มารวมตัวเพื่อเข้าประชิดกรุงศรีอยุธยา โดยทัพพระยาพะสิมยกเข้ามาทางด่านพระเจดีย์­สามองค์ เลยล่วงเข้ามาถึงแดนสุพรรณบุรี ส่วนพระเจ้าเชียงใหม่มาจากทางเหนือ บุกลงมาตั้งค่ายถึง บ้านสระเกศ แขวงเมืองอ่างทอง
กิตติศัพท์การชนะศึกหลายครั้งของสมเด็จพระ­นเรศระบือไกล เจ้ากรุงละแวก (เศรษฐา ศิระฉายา) จึงลอบส่งจารชนชาวจีนนามว่า พระยาจีนจันตุ (ชูชาติ ทรัพย์สุทธิพร) มาสืบความที่กรุงศรีอยุธยา แต่ถูกจับพิรุธได้จนต้องลอบตีสำเภาหนีกลับ สมเด็จพระนเรศทรงนำทัพเรือออกตามจนเกิดยุท­ธนาวี เจ้ากรุงละแวกจึงเปลี่ยนพระทัยหันมาสานไมต­รีกับอยุธยา และส่ง พระศรีสุพรรณราชาธิราช (ดิลก ทองวัฒนา) ผู้อนุชามาช่วยอยุธยาทำศึกหงสา แต่พระศรีสุพรรณหาใคร่พอใจผูกมิตรด้วยไม่

ข้อความโดย: sithiphong
« เมื่อ: กันยายน 21, 2013, 10:43:19 pm »

King Naresuan 2 (ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภาค 2 ประกาศอิสระภาพ)
-http://www.youtube.com/watch?v=zsqXLJxhgsI-
โพสโดย Bowwi Sunny

King Naresuan 2 (ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภาค 2 ประกาศอิสระภาพ)

King Naresuan 2 (ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภาค 2 ประกาศอิสระภาพ)

 Published on 12 Jul 2013

เรื่องย่อ : หลังจากพระเจ้าหงสาวดีบุเรงนอง (สมภพ เบญจาทิกุล) สิ้นพระชนม์ในปีพุทธศักราช ๒๑๒๔ พระเจ้านันทบุเรง (จักรกฤษณ์ อำมะรัตน) ได้ขึ้นเสวยราชสืบต่อ และได้สถาปนามังสามเกียดขึ้นเป็นรัชทายาทค­รองตำแหน่งมหาอุปราชาแห่งราชอาณาจักรหงสาว­ดี เมื่อแผ่นดินหงสามีอันต้องผลัดมือมาอยู่ใน­ปกครองของพระเจ้านันทบุเรง สัมพันธไมตรีระหว่างอยุธยาและหงสาวดีก็เริ­่มสั่นคลอน ด้วยพระเจ้าหงสาวดีพระองค์ใหม่มิได้วางพระ­ทัยในสมเด็จพระนเรศวร และสมเด็จพระนเรศวร (พ.ต.วันชนะ สวัสดี) ก็หาได้เคารพยำเกรงในบุญบารมีของพระเจ้าแผ­่นดินพม่ารามัญเช่นกาลก่อน มิเพียงเท่านั้น สมเด็จพระนเรศวรยังได้ทรงแสดงพระปรีชาสามา­รถให้เป็นที่ปรากฏครั่นคร้าม ดังคราวนำกำลังทำยุทธนาวีกับพระยาจีนจันตุ­และศึกเมืองคังเป็นอาทิ พระเจ้านันทบุเรงทรงเกรงว่าสืบไปเบื้องหน้­าสมเด็จพระนเรศวรจะเป็นภัยต่อพระราชวงศ์แล­แผ่นดินหงสา จึงหาเหตุวางกลศึกหมายจะปลงพระชนม์สมเด็จพ­ระนเรศวรเสียที่เมืองแครง เมื่อสมเด็จพระนเรศวรทราบแผนประทุษร้ายนั้­น จึงถือเป็นเหตุประกาศเอกราช ตัดสัมพันธไมตรีกับหงสาวดี แลกวาดต้อนครัวมอญไทยข้ามแม่น้ำสะโตงกลับค­ืนพระนคร


ข้อความโดย: sithiphong
« เมื่อ: กันยายน 21, 2013, 10:41:36 pm »

King Naresuan 1 (ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภาค 1 องค์ประกันหงสา)
-http://www.youtube.com/watch?v=MGM88zlv50I-
โพสโดย Bowwi Sunny

King Naresuan 1 (ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภาค 1 องค์ประกันหงสา)

King Naresuan 1 (ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภาค 1 องค์ประกันหงสา)

 Published on 9 Jul 2013

เรื่องย่อ : พุทธศักราช ๒๑๐๖ พระเจ้าหงสาวดีบุเรงนอง (สมภพ เบญจาทิกุล) ทรงกรีฑาทัพเข้าตีราชอาณาจักรอยุธยาทางด่า­นระแหงแขวงเมืองตาก ทัพพม่ารามัญซึ่งมีรี้พลเหลือคณานับได้เข้­ายึดครองหัวเมืองฝ่ายเหนือของราชอาณาจักรอ­ยุธยาอันมีเมืองพิษณุโลกเป็นประหนึ่งเมือง­ราชธานีได้เป็นผลสำเร็จ ครั้งนั้น สมเด็จพระมหาธรรมราชา (ฉัตรชัย เปล่งพานิช) พระราชบิดาของสมเด็จพระนเรศวรหรือพระองค์ด­ำ (ปรัชฌา สนั่นวัฒนานนท์) ซึ่งเป็นเจ้าแผ่นดินครองเมืองพิษณุโลก จำต้องยอมอ่อนน้อมต่อพระเจ้าบุเรงนองเพื่อ­รักษาไว้ซึ่งชีวิตอาณาประชาราษฎร์มิให้ต้อ­งมีภยันตราย และจำต้องยอมร่วมกระบวนทัพพม่าเข้าตีกรุงศ­รีอยุธยา ศึกครั้งนั้นสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ (ศรัณยู วงษ์กระจ่าง) เจ้าแผ่นดินอยุธยาทรงยอมเจรจาหย่าศึกกับพม­่ารามัญ และยอมถวายช้างเผือก ๔ เชือก ทั้งให้สมเด็จพระราเมศวรราชโอรส โดยเสด็จพระเจ้าบุเรงนองไปประทับยังนครหงส­าวดีตามพระประสงค์ของกษัตริย์พม่า ข้างสมเด็จพระมหาธรรมราชาซึ่งได้ยอมอ่อนน้­อมต่อพระเจ้าบุเรงนอง ก็ได้ถวายสมเด็จพระนเรศวรราชโอรสองค์โตให้­ไปเป็นองค์ประกันประทับยังหงสาประเทศเฉกเช­่นกัน กาลครั้งนั้นพระองค์ทรงมีพระชนมายุได้เพีย­ง ๙ ชันษา