ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
คนที่มีจิตใจอ่อนโยนส่วนใหญ่มัก คิดถึงสิ่งใดก่อนเสมอ  ( เลือกตอบแค่ ตัวเอง กับ คนอื่น ครับผม ):
คิดว่าความดีทำยากไหม( เลือกตอบแค่ ยาก กับ ไม่ยาก ครับผม):
ถ้าเราโกรธใคร ธรรมะจะเป็นหนทางผ่อนคลายความโกรธนั้นลงได้ใช่ไหม ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม ):
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆแนวธรรมะในจิตใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ความดีนำทาง:
การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ นิยมใช้คำว่า (อนุโมทนา) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ อนุโมทนา:
เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใครทำบุญแล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วยกมือขึ้น (สาธุ) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ  สาธุ:
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆในโลกออนไลน์ใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
ท่านจะปฏิบัติตามกฏระเบียบข้อตกลงของเว็บใต้ร่มธรรมทุกประการหรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
คุณพ่อคุณแม่เปรียบดั่งพระอรหันต์ในบ้าน พิมพ์คำว่า "คุณพ่อคุณแม่ฉันรักและเคารพท่านดุจพระอรหันต์":
เมื่อให้ท่านเลือก ระหว่าง (หนังสือเก่าๆเล่มหนึ่งที่เรารัก) กับ (มิตรแท้ที่รักเรา) คุณจะะเลือก:
ระหว่าง (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะผู้อื่น) กับ (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะตัวเอง)  ท่านจะเลือกเป็น:
กล่าวคำดังนี้  "ให้อภัยนะ":
กล่าวคำดังนี้  "ขออโหสิกรรม":
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
พิมพ์คำว่า (แสงธรรมนำทางธรรมะนำใจ) ครับ:
รู้สึกระอายใจไหมที่เราทำร้ายคนอื่นด้วยวาจาหรือสำนวนที่ไม่สุภาพ โดยที่คนคนนั้นเค้าเคยเป็นผู้มีพระคุณต่อเรามา (ไม่ละอายใจ)หรือ(ละอายใจ):
ขนทรายเข้าวัดคือ พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ทำบุญทำกุศลโดยวิธีนำหรือหาประโยชน์เพื่อส่วนรวมมิได้ทำเพื่อตนเอง):
ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ผู้ที่ทำตนให้เล็กที่สุด ผู้ที่เล็กที่สุดก็จะกลายเป็นผู้ที่ใหญ่ที่สุด ผู้ที่มีเกียรติคือผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น ฉะนั้นสมาชิกใต้ร่มธรรมควรให้เกียรติกันและกัน พิมพ์คำว่า (ฉันจะให้เกียรติสมาชิกทุกๆท่านในใต้ร่มธรรมเสมอด้วยวาจาสุภาพอ่อนน้อม):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: พฤศจิกายน 14, 2013, 07:51:08 pm »

 
สักกปัญหสูตร
พระผู้มีพระภาคประทับ ณ ถ้ำอิทสาละ ใกล้เวทยิกบรรพต ทางทิศเหนือของหมู่บ้านพราหมณ์ ชื่ออัมพสณฑ์ ซึ่งตั้งอยู่ทางด้านตะวันออกของกรุงราชคฤห์ แคว้นมคธ.
ท้าวสักกะใคร่จะไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค จึงเรียกปัญจสิขะบุตรคนธรรพ์มา ชวนให้ไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคด้วยกัน ปัญจสิขะถือพิณมีสีเหลืองเหมือนผลมะตูมไปด้วย เมื่อไปถึงที่ประทับแล้ว ท้าวสักกะจึงให้ปัญจสิขะบุตรคนธรรพ์หาทางทำความพอพระทัยให้พระผู้มีพระภาคก่อนที่จะได้เข้าไปเฝ้า.

ปัญจสิขะบุครคนธรรพ์ถือพิณเข้าไปยืน ณ ที่ควรส่วนหนึ่ง ไม่ไกลหรือใกล้เกินไป ดีดพิณ กล่าวคาถาด้วยพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ พระอรหันต์ และกาม.
พระผู้มีพระภาคตรัสชมแก่ปัญจสิขะบุตรคนธรรมพ์ว่า เสียงพิณกับเสียงเพลงขับเข้ากันดี แล้วตรัสถามว่า คาถาอันเกี่ยวด้วยพระพุทธ เป็นต้นนี้ แต่งไว้ตั้งแต่ครั้งไร . ปัญจสิขะกราบทูลว่า ตังแต่ครั้งพระผู้มีพระภาคตรัสรู้ใหม่ ๆ ประทับที่ต้นอชปาลนิโครธ ใกล้ฝั่งน้ำเนรัญชรา.

ครั้นได้โอกาส ท้าวสักกะพร้อมด้วยบริวารก็เข้าไปเฝ้า เมื่อได้ตรัสสัมโมทียกถาพอสมควรแล้ว พระผู้มีพระภาคก็ทรงให้ท้าวสักกะกราบทูลถามปัญหาได้ ต่อไปนี้เป็นคำถามและพระพุทธดำรัสตอบ.

๑. ถาม:เทวา มนุษย์ อสูร นาค คนธรรพ์ และหมู่สัตว์เป็นอันมากอื่น ๆ ถูกอะไรผูกมัดแม้ตั้งใจว่าจะไม่จองเวร ไม่ใช่อาชญา ไม่มีศัตรู ไม่เบียดเบียน อยู่อย่างไม่มีเวร แต่ก็ต้องจองเวร ใช่อาญา มีศัตรู เบียดเบียน และอยู่อย่างมีเวร.
ตอบ:มีความริษยาและความตระหนี่เป็นเป็นเครื่องผูกมัด.
๒. ถาม: ความริษยาและความตระหนี่เกิดจากอะไร.
ตอบ: เกิดจากสิ่งเป็นที่รักและสิ่งอันไม่เป็นที่รัก เมื่อไม่มีสิ่งเป็นที่รักและไม่ที่รัก ก็ไม่มีความริษยาและความตระหนี่.

๓. ถาม: สิ่งเป็นที่รักและไม่และเป็นที่รักเกิดจากอะไร.
ตอบ: เกิดจากความพอใจ เมื่อไม่มีความพอใจ ก็ไม่มีสิ่งที่เป็นที่รักและไม่เป็นที่รัก.
๔. ถาม: ความพอใจเกิดจากอะไร.
ตอบ: เกิดจากความตรึก ( วิตก ) เมื่อไม่มีความตรึก ก็ไม่มีความพอใจ.
๕. ถาม:ความตรึกเกิดจากอะไร .
ตอบ: เกิดจากปปัญจสัญญาสังขานิทาน คือส่วนแห่งความกำหนดหมายกิเลส ( ตัณหา ความทะยานอยาก , มานะ ความถือตัว , ทิฏฐิ ความเห็น ) เป็นเหตุให้เนิ่นช้า.

๖. ถาม:ภิกษุปฏิบัติอย่างไร จึงเชื่อว่าปฏิบัติข้อที่ปฏิบัติที่สมควร ที่ให้ถึงความดับส่วนแห่งความกำหนดหมายกิเลสเป็นเหตุให้เนิ่นช้า.
ตอบ :โสมนัส ( ความดีใจ ) โทมนัส ( ความเสียใจ ) อุเบกขา ( ความวางเฉย ) มีอยู่ ๒ อย่าง อย่างหนึ่งควรส้องเสพ อีกอย่างหนึ่งไม่ควรส้องเสพ คือเมื่อส้องเสพโสมนัส เป็นต้น อย่างใดอย่างหนึ่ง กุศลธรรมเสื่อมไป อกุศลธรรมเจริญขึ้น สิ่งนั้นก็ไม่ควรส้องเสพ ; ถ้าอกุศลธรรมเสื่อมไป กุศลธรรมเจริญขึ้นสิ่งนั้นก็ควรส้องเสพ . ธรรมที่ควรส้องเสพนั้น คือที่มีวิตก ( ความตรึก ) มีวิจาร ( ความตรอง ) ; ที่ไม่มีวิตก วิจาร ; ที่ไม่มีวิตก วิจาร แต่ปราณีตขึ้นไปกว่า . ( หมายถึงโสมนัส เป็นต้น อันเกิดเพราะเนกขัมมะบ้าง เพราะวิปัสสนาบ้าง เพราะอนุสสติบ้าง เพราะปฐมฌาน เป็นต้นบ้าง – อรรถกถาบ้าง ). ภิกษุปฏิบัติอย่างนี้ ชื่อว่าปฏิบัติข้อปฏิบัติที่สมควร ที่ให้ถึงความดับส่วนแห่งความกำหนดหมายกิเลสเป็นเหตุให้เนิ่นช้า.

๗.ถาม:ภิกษุปฏิบัติอย่างไร จึงเชื่อว่าปฏิบัติเพื่อสำรวมปาฏิโมกข์ ( ศีลที่เป็นใหญ่เป็นประธาน ).
ตอบ:ความประพฤติทางกาย ( กายสมาจาร ) ความประพฤติทางวาจา ( วจีสมาจาร ) และการแสวงหา ( ปริเยสนา ) อย่างหนึ่งควรส้องเสพ อีกอย่างหนึ่งไม่ควรส้องเสพ คือเมื่อส้องเสพความประพฤติทางกายเป็นต้น อย่างใดอย่างหนึ่ง กุศลธรรมเสื่อมไป อกุศลธรรมเจริญขึ้น สิ่งนันก็ไม่ควรส้องเสพ ; ถ้าอกุศลธรรมเสื่อมไป กุศลธรรมเจริญขึ้น สิ่งนั้นก็ควรส้องเสพ ภิกษุผู้บฏิบัติอย่างนี้ ชื่อว่าปฏิบัติเพื่อสำรวมปาฏิโมกข์.

๘.ถาม:ภิกษุปฏิบัติอย่างไร จึงชื่อว่าปฏิบัติเพื่อสำรวมอินทรีย์ ( คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ).
ตอบ : อารมณ์ที่พึงรู้แจ้งทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ นั้น มี ๒ อย่าง อย่างหนึ่งควรส้องเสพ อีกอย่างหนึ่งไม่ควรส้องเสพ. ( พอตรัสถึงเพียงนี้ ท้าวสักกะก็กราบทูลถามว่า เข้าใจความหมายว่า ที่ไม่ควรส้องเสพ และควรส้องเสพนั้น กำหนดด้วย เมื่อส้องเสพแล้วอกุศลธรรมหรือกุศลธรรมจะเจริญกันกันแน่ ).

๙.ถาม: สมณพราหมณ์ทั้งปวง มีวาทะ มีศีล มีฉันทะ มีจุดหมายปลายทาง อย่างเดียวกันใช่หรือไม่.
ตอบ:ไม่ใช่ เพราะโลกธาตุเป็นอเนก มีธาตุต่าง ๆ กัน สัตว์ยึดถือธาตุอันใด ก็กล่าวเพราะความยึดถือธาตุนั้นว่า นี้แลจริง อย่างอื่นเป็นโมฆะ.


๑๐. ถาม:สมณพราหมณ์ทั้งปวง มีความสำเร็จ มีความปลอดโปร่งจากกิเลสเครื่องยึด ( โยคักเขมี ) เป็นพรหมจารี มีที่สุดล่วงส่วน ใช่หรือไม่ ( คำว่า ล่วงส่วน หมายความว่า เด็ดขาด ไม่กลับกำเริบหรือแปรปรวนอีก.
ตอบ:ไม่ใช่ จะมีความสำเร็จ เป็นต้น ล่วงส่วน ก็เฉพาะผู้ที่พ้นแล้วจากตัณหา ( ความทะยานอยาก) เท่านั้น.

ท้าวสักกะจึงกราบทูลว่า ตัณหาอันทำให้หวั่นไหว เป็นโรค เป็นหัวฝี เป็นลูกศร ย่อมฉุดคร่า บุรุษเพื่อให้เกิดในภพนั้น ๆ ถึงความสูงบ้าง ต่ำบ้าง . ครั้นแล้วได้แสดงความพอใจที่พระผู้มีพระภาคทรงตอบปัญหาแก้ความสงสัยได้ เท่าที่เคยไปถามสมณพราหมณ์เหล่าอื่น แทนที่จะตอบ กลับมาย้อนถามว่า เป็นใคร ครั้นรู้ว่าเป็นท้าวสักกะ ก็กลับถามปัญหายิ่ง ๆ ขึ้นว่า ทำกรรมอะไรไว้จึงเกิดเป็นท้าวสักกะ ท้าวสักกะก็ตอบไปตามที่ได้ฟัง ที่เล่าเรียนมา สมณพราหมณ์เหล่านั้น ก็อิ่มเอิบใจ ว่าได้เห็นท้าวสักกะ ได้ถามปัญหา และท้าวสักกะได้ตอบแก่เรา กลายมาเป็นสาวกของข้าพระองค์ไป.
ครั้นแล้วกล่าววาจาสุภาษิตอีกหลายประการ ในที่สุดได้เอามือลูบแผ่นดิน แล้วเปล่งอุทานว่า นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส รวม ๓ ครั้ง.

หมายเหตุ : พระสูตรนี้ มีท่วงทำนอง จะแก้ความเคารพบูชาเทวดาสำคัญ ๆ เช่น พระอินทร์หรือท้าวสักกะของบุคคลส่วนใหญ่ โดยชี้ให้เห็นว่าในพระพุทธศาสนา เทวดาเหล่านั้น ยังต่ำกว่าพระพุทธพุทธเจ้า ผู้มีพระปัญญาตรัสรู้ เท่ากับเป็นหลักการอันหนึ่งที่แสดงว่า ท่านผู้เป็นพุทธะ เป็นผู้ตรัสรู้หมดกิเลส มีความบริสุทธิ์สะอาดสูงกว่าเทวดาทั้งปวง

>>> F/B เติบโต สู่พุทธภูมิ