ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
คนที่มีจิตใจอ่อนโยนส่วนใหญ่มัก คิดถึงสิ่งใดก่อนเสมอ  ( เลือกตอบแค่ ตัวเอง กับ คนอื่น ครับผม ):
กัน-ละ-ยา-นะ-มิด เขียนเป็นภาษาไทยที่ถูกต้องว่าอย่างไรครับ:
คุณเชื่อในศรัทธาของความดีไหมครับ ( เลือกตอบแค่ เชื่อ กับ ไม่เชื่อ ครับผม):
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆแนวธรรมะในจิตใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า แสงธรรมนำใจ:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ความดีนำทาง:
เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใครทำบุญแล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วยกมือขึ้น (สาธุ) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ  สาธุ:
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆในโลกออนไลน์ใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
ท่านจะปฏิบัติตามกฏระเบียบข้อตกลงของเว็บใต้ร่มธรรมทุกประการหรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
โดยปกติชน นิ้วมือของคนเรา มีกี่นิ้ว (ตอบเป็นภาษาไทยครับ):
เมื่อให้ท่านเลือก ระหว่าง (หนังสือเก่าๆเล่มหนึ่งที่เรารัก) กับ (มิตรแท้ที่รักเรา) คุณจะะเลือก:
กล่าวคำดังนี้  "ขอโทษนะ":
ระหว่าง (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะผู้อื่น) กับ (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะตัวเอง)  ท่านจะเลือกเป็น:
กล่าวคำดังนี้  "ขออโหสิกรรม":
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
พิมพ์คำว่า (แสงธรรมนำทางธรรมะนำใจ) ครับ:
ขนทรายเข้าวัดคือ พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ทำบุญทำกุศลโดยวิธีนำหรือหาประโยชน์เพื่อส่วนรวมมิได้ทำเพื่อตนเอง):
ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ผู้ที่ทำตนให้เล็กที่สุด ผู้ที่เล็กที่สุดก็จะกลายเป็นผู้ที่ใหญ่ที่สุด ผู้ที่มีเกียรติคือผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น ฉะนั้นสมาชิกใต้ร่มธรรมควรให้เกียรติกันและกัน พิมพ์คำว่า (ฉันจะให้เกียรติสมาชิกทุกๆท่านในใต้ร่มธรรมเสมอด้วยวาจาสุภาพอ่อนน้อม):
ไม่มีอะไรสายสำหรับการเริ่มต้น พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (It is never too late to mend):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: sithiphong
« เมื่อ: ธันวาคม 08, 2013, 03:02:01 pm »

ฝรั่งชี้ทางสว่าง! พัฒนา “ภาษาอังกฤษ” เด็กไทยต้องเริ่ม..“ฟัง-พูด” ก่อน “อ่าน-เขียน”
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์    8 ธันวาคม 2556 08:54 น.

-http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9560000151151-






นางดอริส โกลด์ วิบูลศิลป์


ผศ.ดร.เสงี่ยม โตรัตน์


ดร.รังสรรค์ มณีเล็ก


นายรวิศุทธ์ คณิตกุลเศรษฐ์



“ภาษาอังกฤษ” สำคัญใช่ไหม?? ใคร ใครก็บอกกันมาอย่างนี้ ยิ่งตื่นถึงขั้นลนลานกันมากขึ้น เมื่อประชาคมอาเซียนกำลังใกล้เข้ามาในปี 2558
       
       มีข้อมูลจาก สถาบันสอนภาษาอีเอฟ (Education First) ที่ได้รายงานดัชนีวัดระดับความรู้ทางภาษาอังกฤษ ประจำปี 2556 โดยทดสอบทางอินเทอร์เน็ตในกลุ่มประชากรวัยทำงานที่ใช้ภาษาอังกฤษ จำนวน 750,000 คน จาก 60 ประเทศทั่วโลก พบว่า ประเทศที่มีทักษะทางภาษาอังกฤษที่ดี 3 อันดับแรก คือ สวีเดน นอร์เวย์ และเนเธอร์แลนด์ ส่วนประเทศในโซนเอเชีย พบว่า มาเลเซีย ครองแชมป์อันดับ 1 โดยอยู่ในลำดับที่ 11 ส่วนประเทศไทยติดอันดับที่ 55 รั้งท้าย ดังนั้น ประเทศไทยจึงจำเป็นต้องค้นหามาตรการในการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ด้านภาษาอังกฤษเพื่อเตรียมพร้อมรับการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปี 2558
       
       เมื่อเร็วๆ นี้ สำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน (สสค.) ได้เปิดเวทีเสวนาทางวิชาการนานาชาติด้านการศึกษา ครั้งที่ 5 ในหัวข้อ “การจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ : ประสบการณ์จากต่างประเทศ” ร่วมกับสถานทูตฟินแลนด์ โดย ดร.ตูอิจา นิเอมี นักการศึกษา และผู้เชี่ยวชาญด้านการสอนภาษาต่างประเทศ จากประเทศฟินแลนด์ ได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการเรียนการสอนภาษาอังกฤษของฟินแลนด์ ว่า โครงสร้างหลักสูตรการเรียนภาษาอังกฤษของฟินแลนด์นั้น มาจากหลักสูตรแกนกลางชาติที่ชัดเจน โดยเด็กฟินแลนด์เริ่มเรียนภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่ 2 เมื่ออายุ 9 ปี หรือ ป.3 และเน้นการสื่อสาร และความสำคัญของหลักภาษา ทั้งนี้ บันได 5 ขั้นสู่ความสำเร็จของฟินแลนด์ในการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษคือ 1.ทิศทางการเรียนรู้ต้องชัด เน้นสื่อสารให้ผู้เรียนเข้าใจ และให้ความสำคัญตามหลักภาษา ผ่านสื่อการเรียนรู้ที่น่าสนใจ เช่น รูปภาพ เพลง 2.สอดแทรกการเรียนรู้ผ่านสื่อที่มีคุณภาพ และน่าสนใจ 3.การฝึกฝนการอ่านและออกเสียง 4.นำเข้าสู่บทเรียน/เริ่มการฝึกฝน และ 5.นำเข้าสู่หลักภาษา เชื่อมโยงและประยุกต์ใช้กับการสื่อสารพื้นฐาน และการทำซ้ำย้ำเติมในสถานการณ์ที่หลากหลาย สิ่งสำคัญคือการมีหลักสูตรแกนกลางชาติที่ชัดเจนต่อเนื่อง จะนำสู่การวางแผนการเรียนการสอนอย่างเหมาะสม ผ่านครูที่มีคุณภาพ และสื่อการเรียนรู้ที่น่าสนใจจะสร้างให้เด็กเรียนรู้อย่างสมดุลด้วยทักษะหลากภาษา
       
       ขณะที่ ผศ.ดร.เสงี่ยม โตรัตน์ ผู้เชี่ยวชาญด้านภาษาอังกฤษ จากมหาวิทยาลัยศิลปากร ได้วิเคราะห์สถานการณ์นโยบายการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษในประเทศไทยเปรียบเทียบกับประเทศจีน สิงคโปร์ มาเลเซีย และเวียดนาม ระบุว่า ประเทศไทยไม่มีการกำหนดนโนบายด้านภาษาต่างประเทศที่ชัดเจน เพียงแต่รับรู้ว่าภาษาอังกฤษเป็นเพียงภาษาต่างประเทศ ซึ่งเป็น 1 ใน 8 ของกลุ่มสาระวิชา มีเป้าหมายเป็นเครื่องมือในการสื่อสาร ในขณะที่ประเทศอื่นๆ มีนโยบายการพัฒนาการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ แบ่งออกเป็น 4 มาตรการหลักชัดเจน ได้แก่ 1.มีการกำหนดทิศทางการพัฒนาภาษาอังกฤษไว้อย่างชัดเจน เช่น จีน เน้นแก้ปัญหาการฟังพูดภาษาอังกฤษไม่คล่องแม้จะอ่านเขียนได้ดี หรือสิงคโปร์ ที่ยกระดับภาษาอังกฤษเป็นภาษาราชการเพื่อแก้ปัญหาความหลากหลายของประชากรต่างเชื้อชาติ ซึ่งต่างจากประเทศไทย จีน เวียดนาม และมาเลเซีย ที่ภาษาอังกฤษยังเป็นเพียงภาษาต่างชาติ 2.นโยบายภาษาที่เกี่ยวข้องกับการปรับเปลี่ยนรูปแบบภาษา เช่น มีเพียงประเทศมาเลเซียที่แก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำในการศึกษาด้วยการประกาศใช้ภาษาบาฮาซามาเลเซียเป็นภาษากลาง เพื่อแก้ปัญหาความเสียเปรียบของชนมาเลย์มุสลิมให้น้อยลง 3.มีการวางแผนการพัฒนาหลักสูตร การพัฒนาครู และการวัดประเมินผล เช่น สิงคโปร์ เน้นการเรียนรู้ภาษาอังกฤษบูรณาการกับการศึกษาในศตวรรษที่ 21 มีการพัฒนาหลักสูตร และบุคลากรต่อเนื่อง มีการใช้ ICT ในการฝึกฝนเด็กตั้งแต่ยังเล็ก ซึ่งดึงการมีส่วนร่วมของผู้ปกครอง ขณะที่มาเลเซีย มีการจัดทำพิมพ์เขียวของการปฏิรูปการศึกษาที่ชัดเจนโดยเทียบเคียงกับผลการสอบระดับนานาชาติอย่าง PISA โดยทั้งสิงคโปร์ จีน และมาเลเซีย ให้ความสำคัญกับการเรียนวรรณกรรมด้วยภาษาอังกฤษ เพื่อฝึกฝนกระบวนการคิดวิเคราะห์ ขณะที่ประเทศไทยระบุเพียงผลการเรียนรู้ และความคาดหวังให้ผู้เรียนมีทักษะการฟัง พูด อ่าน เขียนได้
       
       ส่วนการผลิตครูนั้น เฉพาะประเทศไทยผู้ที่สอนภาษาอังกฤษต้องมีวุฒิด้านครู และจบเอกวิชาภาษาอังกฤษ จากคณะครุศาสตร์ ซึ่งพื้นฐานความรู้จะน้อยกว่าผู้ที่จบการศึกษาเอกภาษาอังกฤษโดยตรง ขณะที่ประเทศจีน เวียดนาม สิงคโปร์ และมาเลเซียนั้นผู้สอนมักเรียนจบจากคณะอักษรศาสตร์ ศิลปศาสตร์ แล้วจึงเรียนในวิชาชีพครูเพิ่มเติม และ 4.นโยบายการเสริมสร้างสภาพแวดล้อมที่ช่วยเสริมศักยภาพการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ เช่น ประเทศไทยมีนโยบายปี 2555 ให้เป็นปีแห่งการพูดภาษาอังกฤษ โดยจัดให้ 1 วันใน 1 สัปดาห์ ทั้งครูและนักเรียนใช้ภาษาอังกฤษร่วมกัน อย่างไรก็ดี เมื่อขาดการติดตามประเมินผลและนโยบายไม่ต่อเนื่อง ทำให้ไม่เห็นการพัฒนาที่ชัดเจน ขณะที่จีนมีการจัดตั้งมุมภาษาอังกฤษ (English Corner) ในสถาบันการศึกษา ในสวนสาธารณะ หรือตามศูนย์กลางความเจริญ เพื่อเชื่อมโยงการใช้ภาษาอังกฤษในชีวิตประจำวัน ขณะที่มาเลเซีย กำหนดให้ทุกโรงเรียนในกระทรวงศึกษาธิการสอนคณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์โดยใช้สื่อการสอนภาษาอังกฤษตั้งแต่ปี 2546
       
       “ประเทศไทยควรมีการทดสอบผลการเรียนภาษาอังกฤษแห่งชาติ โดยใช้มาตรฐานเดียวกันทั้งประเทศเช่นเดียวกับในประเทศจีน ทั้งนี้ การพัฒนาหลักสูตรภาษาอังกฤษในไทยต้องอาศัยนโยบายภาษาแห่งชาติ มีการจัดทำแผนระยะยาว และการออกแบบตำรา หนังสือเรียนควรต้องให้ผู้เชี่ยวชาญในภาษาอังกฤษจริงๆ เป็นผู้ออกแบบหนังสือเรียน เพราะมีหนังสือหลายเล่มที่มีข้อบกพร่องมากมายเผยแพร่ออกไปโดยขาดการตรวจสอบ นอกจากนี้ ปัญหาด้านธุรกิจ และการเมือง ยังส่งผลต่อการพัฒนา เพราะเห็นได้จากกระทรวงศึกษาธิการมีโครงการพัฒนาภาษาอังกฤษมากมาย แต่ขาดเป้าหมาย และการประเมินผลที่ชัดเจน ด้วยติดกรอบทางธุรกิจ และการเมือง”
       
       ด้าน พัฒนวิมล อิศรางกูร จาก British Council Thailand กล่าวว่า การปฏิรูปการเรียนรู้ภาษาอังกฤษของไทย จากข้อมูลของ British Council ครูสอนภาษาอังกฤษในไทยมีทักษะการสอนในระดับต่ำกว่าในประเทศเพื่อนบ้านอย่างมาเลเซีย เพราะเป้าหมายที่ระบุในหลักสูตรการเรียนภาษาอังกฤษในไทยไม่สอดคล้องกับการทดสอบระดับชาติ ซึ่งเน้นเพียงคำศัพท์ และไวยากรณ์ ดังนั้น ปัจจัยที่ควรเน้นในการพัฒนาการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ คือ การพัฒนาผู้สอน หลักสูตร และการประเมินผล
       
       นางดอริส โกลด์ วิบูลศิลป์ อดีตผู้อำนวยการบริหารมูลนิธิฟุลไบรท์ กล่าวว่า ถึงเวลาปฏิวัติการเรียนภาษาอังกฤษของประเทศไทย เพราะเมื่อ 50 ปี มาแล้วที่ตนเข้ามาเป็นครูในชนบทของประเทศไทย เมื่อเปรียบเทียบ ณ วันนี้นักเรียน และครูไทยพูด และเขียนภาษาอังกฤษได้แย่กว่าเมื่อก่อน ทั้งๆ ที่มีการเน้นภาษาอังกฤษมากขึ้น ดังนั้น ขอเสนอแนะ คำย่อซึ่งประกอบด้วยตัวอักษร 5 ตัว เพื่อปรับปรุงภาษาอังกฤษให้ดีขึ้น คือ “SCARE” ซึ่งแปลว่า น่ากลัว ประกอบด้วย S : Sincere ความเอาจริงเอาจัง เพราะปัญหาผู้กำหนดนโยบายขาดความเอาจริง เพราะอยู่ในตำแหน่งเพียงช่วงเวลาสั้นๆ C : Continuity ความต่อเนื่อง พบว่าประเทศมาเลเซียมีนโยบายครอบคลุม 10-12 ปี แต่ไทยมีนโยบายตามตำแหน่งในระยะเวลา 6 เดือน โดยโยนความผิดไปที่ครู A : Accountability ความรับผิดชอบจากรัฐบาล และโรงเรียน โดยเฉพาะสถาบัน องค์กรที่มีหน้าที่ผลิตครู ซึ่งคือ คณะครุศาสตร์ ศึกษาศาสตร์ ต้องผลิตครูที่มีคุณภาพ โดยครูต้องผ่านการทดสอบที่ได้มาตรฐาน และได้รับการรับรองวิทยฐานะที่ชัดเจนก่อนออกไปสอน เพราะหากมีครูต่ำกว่ามาตรฐานก็จะได้นักเรียนที่ต่ำกว่ามาตรฐาน หากไม่สามารถเป็นเลิศได้ก็ไม่ควรรับเพื่อตัดวงจรอุบาทว์ และควรมีค่าตอบแทนที่สูงเพื่อเป็นแรงจูงใจให้ได้ครูที่มีมาตรฐานสูงยิ่งขึ้น R : Responsibility ความรับผิดชอบของผู้เรียนที่ต้องใฝ่เรียนรู้ด้วยตนเอง และ E : Excellence ความเป็นเลิศ ซึ่งโรงเรียนไม่สามารถทำได้ตามลำพัง เอกชน รัฐบาล ครอบครัว ต้องทำให้ภาษาอังกฤษมีมาตรฐานที่สูงขึ้น เพราะเราต้องคำนึงถึงการเปิดอาเซียนที่ต้องอยู่ร่วมกับประเทศเพื่อนบ้าน
       
       ดร.รังสรรค์ มณีเล็ก ที่ปรึกษาด้านพัฒนากระบวนการเรียนรู้ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ที่ผ่านมาการศึกษาภาษาอังกฤษของประเทศไทยไม่ถึงกับเลวร้าย เพราะขอให้เข้าใจด้วยว่าเมื่อบริบทของสังคมเปลี่ยนไป จะให้ ศธ.ยึดนโยบาย หรือหลักสูตรรูปแบบเดิมๆ รวมทั้งเรื่องครู สื่อการเรียนการสอน การวัด และประเมินผล ซึ่งจะให้เหมือนบางประเทศที่มีนโยบายระยะยาว 10-12 ปีคงเป็นไปไม่ได้ แต่ก็ยอมรับและเห็นด้วยที่ต้องเปลี่ยนแปลงให้ภาษาอังกฤษดีขึ้นกว่าเดิม
       
       “บริบท สภาพแวดล้อมในการนำภาษาอังกฤษไปใช้ เป็นสิ่งสำคัญ เพราะคนไทย หรือเด็กไทยเมื่อเรียนภาษาอังกฤษแล้ว การจะนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน โดยเฉพาะการฟัง การพูดจะน้อยกว่าการอ่าน และเขียน แต่เมื่ออยู่ต่างประเทศจะช้าหรือเร็วก็พูดและฟังได้ ดังนั้น บริบทและสภาพแวดล้อมจึงเป็นปัจจัยสำคัญมาก นอกจากนี้ ผมมองว่าสื่อต่างๆ ทั้งโทรทัศน์ วิทยุ และสื่อโซเชียลมีเดีย เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่จะช่วยให้คนไทย และเด็กไทยคุ้นเคยต่อการใช้ภาษาอังกฤษมากยิ่งขึ้น”
       
       ด้านนายรวิศุทธ์ คณิตกุลเศรษฐ์ นักเรียนชั้น ม.6 ร.ร.สวนกุหลาบ 2 จากเครือข่ายยุวทัศน์ กล่าวว่า ตนเป็นผลผลิตจากระบบการศึกษาที่ไม่ตอบโจทย์ว่าเรียนเพื่ออะไร หากเรียนเพื่อสอบเข้ามหาวิทยาลัยก็คงต้องลดชั้นเรียนลง แต่ถ้าเรียนเพื่อนำไปสื่อสารกับต่างชาติ ถือว่าทำผิดตั้งแต่ชั้นอนุบาล เพราะตัวกระตุ้นสำคัญต้องทำให้เด็กชอบ นำไปใช้อย่างสนุก เรียนอย่างรู้เป้าหมายในการนำไปใช้ แต่กลับสอนให้เรียนแบบท่องจำ กระบวนการศึกษาไทยจึงก้าวพลาด
       
       ฟังแล้วปวดใจ แทน ศธ. แต่ถึงอย่างไรนับเป็นเรื่องดีที่จะได้นำข้อมูลไปปรับปรุงหลักสูตรการเรียนการสอน สาระการเรียนรู้วิชาการภาษาอังกฤษที่ ศธ.ดำเนินการอยู่ ซึ่งนับว่ายังไม่มีอะไรสายเกินไปที่จะแก้