ข้อความโดย: sithiphong
« เมื่อ: ธันวาคม 10, 2013, 07:19:04 pm »สมอ.เตือนแบตมือถือปลอมระบาด
-http://www.dailynews.co.th/Content/economic/200889/%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B8%AD.%E0%B9%80%E0%B8%95%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B9%81%E0%B8%9A%E0%B8%95%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%96%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%9B%E0%B8%A5%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%9A%E0%B8%B2%E0%B8%94-
ระบุอันตรายห้ามใช้ถึงตายได้ ขู่ผู้ผลิต – นำเข้าไม่ได้มาตรฐานมอก. โดนอ่วมแน่ทั้งจำคุก ทั้งปรับ
วันอังคาร 10 ธันวาคม 2556 เวลา 15:35 น.
นายอุฤทธิ์ ศรีหนองโคตร เลขาธิการสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.)เปิดเผยว่า ขณะนี้มีแบตเตอรี่มือถือปลอมระบาดอย่างต่อเนื่อง อยากเตือนให้ประชาชนที่ซื้อแบตเตอรี่มือถือ ระมัดระวังในการเลือกซื้อ อย่าซื้อสินค้าที่เป็นของลอกเลียนแบบ ราคาถูกเกินไป เนื่องจากอาจเกิดเหตุระเบิด อันตรายถึงชีวิตได้ ที่ผ่านมา สมอ. ได้ส่งเจ้าหน้าที่ออกตรวจจับผู้ผลิต หรือผู้นำเข้า ที่จำหน่ายแบตเตอรี่มือถือไม่ได้มาตรฐานอย่างต่อเนื่อง เพราะแบตเตอรี่มือถือ เป็นสินค้าที่ได้รับรับมาตรฐานมอก. เลขที่ 2217-2548
สำหรับมาตรฐาน มอก. เลขที่ 2217-2548 เป็นข้อกำหนดเกี่ยวกับความปลอดภัยต่อผู้ใช้งาน เช่น การระบายความดันภายในส่วนเกิน การป้องกันการแตกร้าว การระเบิดและการติดไฟ ฉนวนต้องสามารถทนต่อกระแสไฟฟ้าและอุณหภูมิที่สูงเกินปกติ โดยกำหนดให้ผู้ทำและผู้นำเข้าจะต้องขออนุญาตก่อนทำและนำเข้ามาจำหน่ายในประเทศไทย จะต้องแสดงเครื่องหมาย มอก. ที่ตัวผลิตภัณฑ์ หรือระบุชื่อผู้ทำ หรือผู้นำเข้าแล้วแต่กรณี ส่วนผู้จำหน่ายแบตเตอรี่จะต้องตรวจสอบสินค้าด้วยว่าแสดงเครื่องหมายมาตรฐาน และชื่อผู้ทำหรือนำเข้าก่อนวางจำหน่าย โดยให้ผู้บริโภคสังเกตแบตเตอรี่ ที่ได้มาตรฐาน ให้ดูที่ตัวแบตเตอรี่ จะมีสัญลักษณ์มอก. และบริเวณกล่องแบตเตอรี่ จะมีชื่อผู้ผลิต หรือผู้นำเข้า หากไม่มี หรือตัวอักษรดูจาง หรือแปลกๆ อาจเป็นของปลอมได้
ทั้งนี้หากผู้ผลิต หรือผู้นำ เข้า ฝ่าฝืนนำเข้าโดยไม่ได้รับอนุญาต จะมีความผิดตามกฎหมาย มีโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 1 ล้านหรือทั้งจำทั้งปรับ ส่วนการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ที่ไม่ได้มาตรฐานมีโทษจำคุกไม่เกิน 1 เดือน ปรับตั้งแต่ 5,000 -50,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ โดยมาตรฐานดังกล่าว ไม่ครอบคลุมถึงแบตเตอรี่ที่ติดมากับตัวเครื่อง ไม่อยู่ในอำนาจควบคุมของ สมอ.
“ไม่อยากให้ผู้บริโภคเห็นแก่ของถูก เพราะแบตเตอรี่ถือเป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าประเภทหนึ่งที่มีความสำคัญมาก หากใช้สินค้าที่ไม่ได้มาตรฐาน อันตรายถึงชีวิตได้ ซึ่งที่ผ่านมาทางสมอ.ได้กวดขันจับกุมอย่างต่อเนื่อง และจากการตรวจสอบในท้องตลาดพบว่า ยังมีการลักลอบนำเข้าแบตเตอรี่มือถือเข้ามาจำหน่ายจำนวนมาก เช่น ลอกเลียนแบบตราสัญลักษณ์มอก. หรือผู้ผลิต ได้ตราสัญลักษณ์มอก. แล้วผลิตไม่ได้ตามมาตรฐาน ซึ่งสมอ. ได้ดำเนินการตรวจติดตามและจับกุมดำเนินคดีผู้จำหน่ายแล้วกว่า 78 ราย และมีนโยบายในการดำเนินการร่วมกับ มีการร่วมกับกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค (ปคบ.) ขยายผลการจับกุมเพื่อสาวไปให้ถึงผู้ลักลอบนำเข้ามาดำเนินคดีต่อไป”
อย่างไรก็ตามผู้บริโภคทั่วไป ที่ต้องการทราบข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าที่ได้มาตรฐานมอก. สามารถสอบถามข้อมุลได้ที่หมายเลขโทรศัพท์ . 0 2202 3510, 0 2202 3515 หรือเว็บไซต์สมอ. http://library.tisi.go.th/New-web/T/Info-act/ index.htm
-http://www.dailynews.co.th/Content/economic/200889/%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B8%AD.%E0%B9%80%E0%B8%95%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B9%81%E0%B8%9A%E0%B8%95%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%96%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%9B%E0%B8%A5%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%9A%E0%B8%B2%E0%B8%94-
ระบุอันตรายห้ามใช้ถึงตายได้ ขู่ผู้ผลิต – นำเข้าไม่ได้มาตรฐานมอก. โดนอ่วมแน่ทั้งจำคุก ทั้งปรับ
วันอังคาร 10 ธันวาคม 2556 เวลา 15:35 น.
นายอุฤทธิ์ ศรีหนองโคตร เลขาธิการสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.)เปิดเผยว่า ขณะนี้มีแบตเตอรี่มือถือปลอมระบาดอย่างต่อเนื่อง อยากเตือนให้ประชาชนที่ซื้อแบตเตอรี่มือถือ ระมัดระวังในการเลือกซื้อ อย่าซื้อสินค้าที่เป็นของลอกเลียนแบบ ราคาถูกเกินไป เนื่องจากอาจเกิดเหตุระเบิด อันตรายถึงชีวิตได้ ที่ผ่านมา สมอ. ได้ส่งเจ้าหน้าที่ออกตรวจจับผู้ผลิต หรือผู้นำเข้า ที่จำหน่ายแบตเตอรี่มือถือไม่ได้มาตรฐานอย่างต่อเนื่อง เพราะแบตเตอรี่มือถือ เป็นสินค้าที่ได้รับรับมาตรฐานมอก. เลขที่ 2217-2548
สำหรับมาตรฐาน มอก. เลขที่ 2217-2548 เป็นข้อกำหนดเกี่ยวกับความปลอดภัยต่อผู้ใช้งาน เช่น การระบายความดันภายในส่วนเกิน การป้องกันการแตกร้าว การระเบิดและการติดไฟ ฉนวนต้องสามารถทนต่อกระแสไฟฟ้าและอุณหภูมิที่สูงเกินปกติ โดยกำหนดให้ผู้ทำและผู้นำเข้าจะต้องขออนุญาตก่อนทำและนำเข้ามาจำหน่ายในประเทศไทย จะต้องแสดงเครื่องหมาย มอก. ที่ตัวผลิตภัณฑ์ หรือระบุชื่อผู้ทำ หรือผู้นำเข้าแล้วแต่กรณี ส่วนผู้จำหน่ายแบตเตอรี่จะต้องตรวจสอบสินค้าด้วยว่าแสดงเครื่องหมายมาตรฐาน และชื่อผู้ทำหรือนำเข้าก่อนวางจำหน่าย โดยให้ผู้บริโภคสังเกตแบตเตอรี่ ที่ได้มาตรฐาน ให้ดูที่ตัวแบตเตอรี่ จะมีสัญลักษณ์มอก. และบริเวณกล่องแบตเตอรี่ จะมีชื่อผู้ผลิต หรือผู้นำเข้า หากไม่มี หรือตัวอักษรดูจาง หรือแปลกๆ อาจเป็นของปลอมได้
ทั้งนี้หากผู้ผลิต หรือผู้นำ เข้า ฝ่าฝืนนำเข้าโดยไม่ได้รับอนุญาต จะมีความผิดตามกฎหมาย มีโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 1 ล้านหรือทั้งจำทั้งปรับ ส่วนการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ที่ไม่ได้มาตรฐานมีโทษจำคุกไม่เกิน 1 เดือน ปรับตั้งแต่ 5,000 -50,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ โดยมาตรฐานดังกล่าว ไม่ครอบคลุมถึงแบตเตอรี่ที่ติดมากับตัวเครื่อง ไม่อยู่ในอำนาจควบคุมของ สมอ.
“ไม่อยากให้ผู้บริโภคเห็นแก่ของถูก เพราะแบตเตอรี่ถือเป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าประเภทหนึ่งที่มีความสำคัญมาก หากใช้สินค้าที่ไม่ได้มาตรฐาน อันตรายถึงชีวิตได้ ซึ่งที่ผ่านมาทางสมอ.ได้กวดขันจับกุมอย่างต่อเนื่อง และจากการตรวจสอบในท้องตลาดพบว่า ยังมีการลักลอบนำเข้าแบตเตอรี่มือถือเข้ามาจำหน่ายจำนวนมาก เช่น ลอกเลียนแบบตราสัญลักษณ์มอก. หรือผู้ผลิต ได้ตราสัญลักษณ์มอก. แล้วผลิตไม่ได้ตามมาตรฐาน ซึ่งสมอ. ได้ดำเนินการตรวจติดตามและจับกุมดำเนินคดีผู้จำหน่ายแล้วกว่า 78 ราย และมีนโยบายในการดำเนินการร่วมกับ มีการร่วมกับกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค (ปคบ.) ขยายผลการจับกุมเพื่อสาวไปให้ถึงผู้ลักลอบนำเข้ามาดำเนินคดีต่อไป”
อย่างไรก็ตามผู้บริโภคทั่วไป ที่ต้องการทราบข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าที่ได้มาตรฐานมอก. สามารถสอบถามข้อมุลได้ที่หมายเลขโทรศัพท์ . 0 2202 3510, 0 2202 3515 หรือเว็บไซต์สมอ. http://library.tisi.go.th/New-web/T/Info-act/ index.htm