ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
คนที่มีจิตใจอ่อนโยนส่วนใหญ่มัก คิดถึงสิ่งใดก่อนเสมอ  ( เลือกตอบแค่ ตัวเอง กับ คนอื่น ครับผม ):
คุณเชื่อในศรัทธาของความดีไหมครับ ( เลือกตอบแค่ เชื่อ กับ ไม่เชื่อ ครับผม):
คิดว่าความดีทำยากไหม( เลือกตอบแค่ ยาก กับ ไม่ยาก ครับผม):
คุณเชื่อว่าทุกศาสนาสอนให้ทุกคนเป็นคนดีใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆแนวธรรมะในจิตใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ความดีนำทาง:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ใต้ร่มธรรม:
การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ นิยมใช้คำว่า (อนุโมทนา) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ อนุโมทนา:
เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใครทำบุญแล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วยกมือขึ้น (สาธุ) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ  สาธุ:
ท่านจะปฏิบัติตามกฏระเบียบข้อตกลงของเว็บใต้ร่มธรรมทุกประการหรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
วัฒนธรรมไทยเมื่อเห็นผู้ใหญ่ท่านจะทำความเคารพ ด้วยการไหว้ท่านก่อนเสมอใช่หรือไม่:
เมื่อให้ท่านเลือก ระหว่าง (หนังสือเก่าๆเล่มหนึ่งที่เรารัก) กับ (มิตรแท้ที่รักเรา) คุณจะะเลือก:
บุคคลที่ไปหลายๆเว็บไซต์ โดยที่สวมบทบาทเป็นหลายๆคน โดยที่ไม่รู้ว่า แท้จริงใจเราต้องการอะไร เพื่อน หรือ ชัยชนะ:
ระหว่าง (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะผู้อื่น) กับ (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะตัวเอง)  ท่านจะเลือกเป็น:
กล่าวคำดังนี้  "ให้อภัยนะ":
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
ในโลกออนไลน์หรือโลกแห่งจิต ไม่มีใครทำอะไรเราได้ นอกเสียไปจาก (คนพาล) หรือ (ใจของเราเอง):
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ใต้ร่มธรรมเองก็จะเป็นไปตามวัฐจักรนี้ ฉันท์ใดก็ฉันท์นั้น (เป็นจริง) หรือ (ไม่จริง):
ขนทรายเข้าวัดคือ พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ทำบุญทำกุศลโดยวิธีนำหรือหาประโยชน์เพื่อส่วนรวมมิได้ทำเพื่อตนเอง):
ไม่มีอะไรสายสำหรับการเริ่มต้น พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (It is never too late to mend):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: sithiphong
« เมื่อ: ธันวาคม 29, 2013, 10:35:01 am »

เรื่องเล่า จาก “ตะเกียบ”

-http://club.sanook.com/18309/%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B9%88%E0%B8%B2-%E0%B8%88%E0%B8%B2%E0%B8%81-%E0%B8%95%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%9A-


เรื่องเล่า จาก “ตะเกียบ”

วันนี้เราจะมีเรื่องราวความเป็นมาของ “ตะเกียบ” มาฝากกันค่ะ ว่าจริงๆแล้วเจ้า “ตะเกียบ” คู่เล็กๆ คู่นี้ ที่เราไว้สำหรับทานอาหารให้เอร็ดอร่อยเพื่อเพิ่มสะดวกสบายนั้น มีต้นกำเนิดและเรื่องราวความเป็นมาอย่างไร



“ตะเกียบ” คืออุปกรณ์ในการรับประทานอาหารมีลักษณะเป็นแท่งสองแท่งมีขนาดใกล้เคียงกัน ใช้เป็นอุปกรณ์หลักในการกินอาหาร ในประเทศจีน ญี่ปุ่น เกาหลี และเวียดนาม ในประเทศไทยใช้สำหรับอาหารประเภทก๋วยเตี๋ยว ตะเกียบนิยมทำมาจาก ไม้ ไม้ไผ่ โลหะ และพลาสติก บางชนิดทำมาจากงาช้าง

ในประเทศจีนสมัยโบราณกษัตริย์มีการใช้ตะเกียบที่ทำจากเงินเพื่อใช้ในการตรวจสอบยาพิษ (ประเภทออกไซด์ของโลหะ) โดยเชื่อว่าถ้ามียาพิษในอาหารตะเกียบจะเปลี่ยนจากสีเงินเป็นสีดำ

 

ประวัติศาสตร์ของตะเกียบ

ในสมัยราชวงศ์ถัง นักการศึกษาชื่อ ขงอิ่งต๋า ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญตำราคัมภีร์ขงจื๊อ มีชีวิตอยู่เมื่อปี ค.ศ. 574 – 648 ได้สนองรับคำสั่งของพระเจ้าถังไท้จง เรียบเรียง “ อู่จิงเจิ้งอี้ ” ( Wujing Zhengyi ) หรือ “ An Exact Implication of the Five Classics ” สำหรับใช้เป็นบรรทัดฐานในการสอบคัดเลือกคนเข้ารับราชการ เขาได้พูดถึงธรรมเนียมและมารยาทในการกินข้าวของคนจีนในสมัยนั้นว่า

“ มารยาทการกินข้าวของคนโบราณจะไม่ใช้ตะเกียบ แต่ใช้มือ เมื่อกินข้าวร่วมกับคนอื่น ควรชำระมือให้สะอาดหมดจด อย่าให้ถึงเวลากินข้าวแล้วเอามือถูใบสน หยิบข้าวกิน เกรงจะเป็นที่ติฉินของคนอื่นว่าสกปรก ”

คนโบราณที่ ขงอิ่งต๋า กล่าวถีงคือคนในยุคขงจื๊อ จึงมีความเชื่อกันว่า คนจีนน่าจะรู้จักใช้ตะเกียบกันมา เป็นเวลานานมากกว่า 2,000 ปี ตะเกียบใช้สำหรับคีบผักต้มจากหม้อน้ำแกงมาไว้ในชามข้าว จากนั้นจึงเอามือหยิบข้าวกิน ถ้ามีใครใช้ตะเกียบพุ้ยข้าวเข้าปาก จะถือว่าเป็นการเสียมารยาทมาก สิ่งใดที่บรรพบุรุษสร้างไว้หรือกำหนดไว้ จะไม่มีผู้ใดกล้าฝ่าฝืน คนจีนจึงรักษาธรรมเนียมการกินด้วยมือ อยู่เป็นเวลานานหลายร้อยปี

จีนเริ่มใช้ตะเกียบตั้งแต่เมื่อใด ไม่มีหลักฐานปรากฏชัดแจ้ง แต่เป็นที่ยอมรับกันทั่วไปว่า คนจีนใช้ตะเกียบกินข้าวกันอย่างแพร่หลายหลังยุคราชวงศ์ฮั่น ประมาณในคริสต์ศตวรรษที่ 3 คนในสมัยนั้นเรียกตะเกียบว่า “ จู้ ” ( Zhu ) ต่อมาเปลี่ยนเป็น “ ไขว้จื่อ ” ( Kuaizi ) เหตุผลก็เป็นเพราะว่าชาวเรือ ถือคำว่า “ จู้ ” ที่ไปพ้องเสียงกับคำที่มีความหมายว่า “ หยุด ” ซึ่งไม่เป็นมงคลต่อการเดินเรือ จึงเปลี่ยนไปใช้ “ ไขว้จื่อ ” แทน “ จู้ ” คนแต้จิ๋วออกเสียง “ จู้ ” ว่า “ ตื่อ ” ( Del ) และในปัจจุบันก็ยังคงใช้กันอยู่

การที่คนจีนใช้ตะเกียบในการกินอาหารมาเป็นเวลานานนับพันปี จึงมีความรู้คำสอนไว้มากมายจนกระทั่งกลายมาเป็น วัฒนธรรมตะเกียบ ซึ่งมีตั้งแต่การจับตะเกียบที่ต้องพิถีพิถันกันมาก จนกระทั่งถึงข้อห้ามต่างๆ อาทิ เช่น

 

-ห้ามวางตะเกียบเปะปะ จะต้องวางให้เป็นระเบียบเสมอกันทั้งคู่ การวางตะเกียบไม่เสมอกัน ถือว่าเป็นเรื่องที่ไม่เป็นมงคลอย่างยิ่ง คนจีนถือคำว่า “ชางฉางเหลียงต่วน ” ความหมายตามตัวอักษรนั้น หมายถึง สามยาวสองสั้น คำนี้ คนจีนมักหมายถึง ความตาย หรือความวิบัติฉิบหาย ดังนั้นการวางตะเกียบที่ทำให้เหมือนมีแท่งไม้สั้นๆยาวๆ จึงไม่เป็นมงคลอย่างยิ่ง ห้ามทำเช่นนี้เด็ดขาด

 

-ห้ามใช้ตะเกียบชี้หน้าผู้อื่น หรือถือไว้ในลักษณะที่ให้นิ้วชี้ ชี้คนอื่นที่อยู่ร่วมโต๊ะ แต่การใช้นิ้วชี้ผู้อื่นคนไทยก็ถือว่า ไม่สุภาพเช่นเดียวกัน ไม่ใช่เฉพาะแต่คนจีนเท่านั้น

 

-ห้าม อม ดูด หรือ เลียตะเกียบ กิริยานี้เป็นเรื่องที่เสียมารยาทอย่างยิ่ง ถ้ายิ่งดูดจนเกิดเสียงดังด้วยแล้ว ถือเป็นกิริยาที่ขาดการอบรมที่ดี

 

-ห้ามใช้ตะเกียบเคาะถ้วยชาม เพราะมีแต่ขอทานเท่านั้นที่จะเคาะถ้วยชาม ปากก็ร้องขอความเมตตา เพื่อชวนให้เวทนาสงสาร เรียกร้องความสนใจให้บริจาคทาน

 

-ห้ามใช้ตะเกียบวนไปมาบนโต๊ะอาหาร โดยไม่รู้ว่าจะคีบอาหารชนิดใด ถือว่าเป็นกิริยาที่ควรหลีกเลี่ยง ควรใช้ตะเกียบคีบอาหารที่ต้องการนั้นทันที

 

-ห้ามใช้ตะเกียบคุ้ยหาอาหาร การกระทำเช่นนี้เปรียบเหมือน พวกโจรสลัดขุดสุสาน เพื่อหาสมบัติที่ต้องการ ถือเป็นกิริยาที่น่ารังเกียจ

 

-ห้ามคีบอาหารให้น้ำหยดใส่อาหารจานอื่น เมื่อคีบอาหารได้แล้วจะต้องให้สะเด็ดน้ำสักนิด เพื่อไม่ให้น้ำหยดและอย่าทำอาหารที่คีบอยู่หล่นใส่โต๊ะ หรืออาหารจานอื่น การทำเช่นนี้ถือเป็นกิริยาที่เสียมารยาทเป็นอย่างยิ่ง

 

-ห้ามถือตะเกียบกลับข้าง คือถือปลายตะเกียบขึ้น ใช้ช่วงบนตะเกียบคีบอาหาร กิริยานี้น่าดูแคลนที่สุด เพราะถือว่าไม่ไว้หน้าตนเอง เหมือนหิวจนไม่สนใจอะไรทั้งสิ้น

 

-ห้ามใช้ตะเกียบข้างเดียวเสียบแทงลงในอาหาร ถือว่าเป็นการเหยียดหยามน้ำใจกัน ไม่ต่างอะไรจากการชูนิ้วกลางให้ของฝรั่ง

 

-ห้ามปักตะเกียบไว้ในชามข้าว เพราะดูเหมือนปักธูปในกระถางไหว้คนตาย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถ้าข้าวให้คนอื่นแล้วปักตะเกียบไว้ในชามข้าวส่งให้ จะถือว่าเป็นการสาปแช่ง

 

-ห้ามวางตะเกียนไขว้กัน คนจีนในปักกิ่งถือว่าเป็นการไม่ให้เกียรติกัน ทั้งแก่ตนเองและเพื่อนร่วมโต๊ะ

 

-ห้ามทำตะเกียบตกพื้น เพราะเสียมารยาทอย่างยิ่ง จะทำให้วิญญาณที่หลับสงบอยู่ใต้พิภพตื่นตกใจ ถือว่าเป็นสิ่งอกตัญญู จะต้องรีบเก็บตะเกียบคู่นั้นวาดเครื่องหมายกาก –บาท บนจุดที่ตะเกียบตกทันที พร้อมกับกล่าวคำขอโทษ

 

-วิธีถือตะเกียบที่ถูกต้อง จะต้องถือตะเกียบไว้ตรงง่ามนิ้วหัวแม่มือกับนิ้วชี้ ให้อีกสามนิ้วที่เหลือคอยประคองตัวตะเกียบไว้ และต้องถือให้เสมอกัน เมื่ออิ่มแล้วต้องวางตะเกียบขวางไว้กลางชามข้าวเสมอ.

 

ขอขอบคุณข้อมูลอ้างอิงจาก wikipedia,lib.ru.ac.th



-http://club.sanook.com/18309/%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B9%88%E0%B8%B2-%E0%B8%88%E0%B8%B2%E0%B8%81-%E0%B8%95%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%9A-