ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
คุณเชื่อในศรัทธาของความดีไหมครับ ( เลือกตอบแค่ เชื่อ กับ ไม่เชื่อ ครับผม):
คุณเชื่อว่าทุกศาสนาสอนให้ทุกคนเป็นคนดีใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆแนวธรรมะในจิตใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า แสงธรรมนำใจ:
การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ นิยมใช้คำว่า (อนุโมทนา) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ อนุโมทนา:
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆในโลกออนไลน์ใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
โดยปกติชน นิ้วมือของคนเรา มีกี่นิ้ว (ตอบเป็นภาษาไทยครับ):
เมื่อให้ท่านเลือก ระหว่าง (หนังสือเก่าๆเล่มหนึ่งที่เรารัก) กับ (มิตรแท้ที่รักเรา) คุณจะะเลือก:
บุคคลที่ไปหลายๆเว็บไซต์ โดยที่สวมบทบาทเป็นหลายๆคน โดยที่ไม่รู้ว่า แท้จริงใจเราต้องการอะไร เพื่อน หรือ ชัยชนะ:
กล่าวคำดังนี้  "ให้อภัยนะ":
กล่าวคำดังนี้  "ขออโหสิกรรม":
ในโลกออนไลน์หรือโลกแห่งจิต ไม่มีใครทำอะไรเราได้ นอกเสียไปจาก (คนพาล) หรือ (ใจของเราเอง):
เคยนวดฝ่าเท้าให้ คุณพ่อคุณแม่บ้างไหม ถ้ามีโอกาส เราควรทำหรือไม่ (ควรกระทำอย่างยิ่ง หรือ ไม่ควรทำ):
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ใต้ร่มธรรมเองก็จะเป็นไปตามวัฐจักรนี้ ฉันท์ใดก็ฉันท์นั้น (เป็นจริง) หรือ (ไม่จริง):
พิมพ์คำว่า (แสงธรรมนำทางธรรมะนำใจ) ครับ:
รู้สึกระอายใจไหมที่เราทำร้ายคนอื่นด้วยวาจาหรือสำนวนที่ไม่สุภาพ โดยที่คนคนนั้นเค้าเคยเป็นผู้มีพระคุณต่อเรามา (ไม่ละอายใจ)หรือ(ละอายใจ):
สำนวนไทยที่ว่า แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน  พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ลางเนื้อชอบลางยา):
ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ผู้ที่ทำตนให้เล็กที่สุด ผู้ที่เล็กที่สุดก็จะกลายเป็นผู้ที่ใหญ่ที่สุด ผู้ที่มีเกียรติคือผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น ฉะนั้นสมาชิกใต้ร่มธรรมควรให้เกียรติกันและกัน พิมพ์คำว่า (ฉันจะให้เกียรติสมาชิกทุกๆท่านในใต้ร่มธรรมเสมอด้วยวาจาสุภาพอ่อนน้อม):
ไม่มีอะไรสายสำหรับการเริ่มต้น พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (It is never too late to mend):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: มดเอ๊กซ
« เมื่อ: มกราคม 08, 2014, 03:54:09 pm »



เชื่อว่าทุกคนคงเคยประสบกับช่วงเวลาที่พลังชีวิตหดหาย ส่งผลให้เกิดอาการเหนื่อยกาย เหนื่อยใจ เครียด ท้อ เบื่อ เซ็ง หงุดหงิด อารมณ์เสีย โกรธง่ายหายยาก พาลคนทั้งโลก หากเป็นหนักก็อาจหมดกำลังใจ ไร้พลังสร้างสรรค์ รู้สึกชีวิตไม่มีคุณค่า โลกไม่โสภา ไม่น่าอยู่เอาเสียเลย...เฮ้อ!!! ก่อนที่จะหมดพลังไปมากกว่านี้ ขอแนะนำ ๑๕ วิธีฟื้นชีวิตให้มีชีวา เรียกพลังชีวิตให้คืนกลับมา ลองเลือกดูวิธีที่ถูกจริต หรือจะลองเปิดใจทำในสิ่งที่ไม่คุ้นเคย เผื่อจะพบวิธีใหม่ๆ ในการชาร์จพลังชีวิตให้กลับมาสดใสมากกว่าเดิมค่ะ

         ๑.ปลีกตัว ละจากงานตรงหน้าชั่วคราว เปลี่ยนอิริยาบถ อาจไปเข้าห้องน้ำ ล้างมือ ดื่มน้ำ หาเครื่องดื่มที่ชื่นชอบมาดื่มให้ชื่นใจ หรือถ้าสามารถเปลี่ยนไปทำอะไรอย่างอื่นก่อนได้จะดีมาก เช่น เดินซื้อของ กวาดบ้าน ถูบ้าน จัดห้อง ฯลฯ เพื่อให้ผ่อนคลายจากความบีบคั้นตรงหน้า

         ๒.ฟังหรือร้องเพลงที่ชื่นชอบ จะฟังเฉยๆ สบายๆ หรือจะร้องคาราโอเกะ เต้น ตะโกนแข่งกับเสียงเพลง ปลดปล่อยความเป็นเด็กในตัวเองออกมาอย่างอิสระ ไม่ต้องคิดว่าจะร้องเพราะหรือไม่ ถูกจังหวะหรือเปล่า ขอให้ร้องด้วยอารมณ์ความรู้สึกเท่านั้นพอ

         ๓.ผ่อนคลายร่างกาย ด้วยการนอนหลับตานิ่งๆ เปิดเพลงบรรเลงสบายๆ และผ่อนคลายร่างกายทีละส่วนตั้งแต่ศีรษะจนจรดปลายเท้า รับรู้ความผ่อนคลายที่เกิดขึ้น ปล่อยวางความคิดทุกอย่างลงชั่วคราว หรือจะจินตนาการตามเสียงบรรยาย “ผ่อนพักตระหนักรู้ สู่สมดุลชีวิต” ของ รศ.ดร.อาภรณ์ เชื้อประไพศิลป์ ซึ่งหาดาวน์โหลดได้จากอินเทอร์เน็ต ก็ช่วยผ่อนคลายความเครียดและฟื้นพลังได้ดี

         ๔.ดูรูปถ่ายเก่าๆ อาจเป็นรูปสมัยที่เรายังเป็นเด็ก ได้เที่ยวได้ทำกิจกรรมกับเพื่อนๆ หรือครอบครัว หรืออาจเป็นรูปของลูกสมัยที่เขายังเล็ก ฯลฯ การได้ย้อนระลึกถึงความทรงจำดีๆ ในอดีตจะช่วยให้รอยยิ้มคืนกลับมา และพาหัวใจให้พองฟูขึ้นอีกครั้ง

         ๕.อยู่เงียบๆ กับธรรมชาติ อาจหาเวลาไปเดินเล่นที่สวนสาธารณะ หรือที่ไหนก็ได้ที่มีต้นไม้ ลองเดินชื่นชมธรรมชาติรอบตัวเงียบๆ เฝ้ามองต้นไม้ ใบหญ้า มดตัวน้อยๆ แมลงต่างๆ ใช้หัวใจสื่อสารกับธรรมชาติ จะช่วยให้ผ่อนคลาย จิตใจละเอียดอ่อนขึ้น และอาจมองเห็นข้อคิด สัจธรรม จากธรรมชาติมาสอนใจอีกด้วย

         ๖.ปลูกต้นไม้ การลงมือปลูกต้นไม้ รดน้ำ พรวนดิน ช่วยให้เกิดสมาธิและผ่อนคลายได้ดี นอกจากนี้ การเฝ้าดูการเจริญเติบโตทีละเล็กทีละน้อย ได้เห็นใบอ่อนที่แทงยอดออกมาเพียงไม่กี่ใบก็อาจเรียกรอยยิ้มอิ่มใจ รู้สึกชีวิตมีความหวังขึ้นมาอีกครั้งก็ได้

         ๗.เขียนบันทึกแบบน้ำไหล ระบายความรู้สึกในใจให้ไหลพรั่งพรูเหมือนสายน้ำ เขียนต่อเนื่องโดยไม่ต้องคิด ไม่ต้องกลับไปทบทวนหรือลำดับเหตุการณ์ใดๆ ทั้งสิ้น เขียนไปจนหมดเรื่องจะเขียนหรืออารมณ์ผ่อนคลายลงแล้วค่อยหยุด

         ๘.พูดระบายความเครียด ความอึดอัด คับข้องใจให้ใครสักคนที่คุณไว้วางใจฟัง หรืออาจแชตกับเพื่อนทางอินเทอร์เน็ต คุยกับต้นไม้ หมา แมว หรืออะไรก็ได้ที่จะช่วยให้ระบายความอึดอัดใจออกไป บางครั้งเพียงแค่พูดออกไปอาจช่วยให้มองเห็นทางออกของปัญหาที่เผชิญอยู่ก็เป็นได้

         ๙.แอบมองพฤติกรรมเด็กวัยอนุบาล ลองนั่งมองเด็กๆ เล่นกัน หรือแอบฟังเขาคุยกับพ่อแม่ เพื่อน ครู ฯลฯ คำพูดคำจาที่ใสซื่อ จริงใจ ไร้เดียงสาของเด็ก จะช่วยให้หัวใจที่มืดมนดูสว่างไสวขึ้นได้อย่างเหลือเชื่อ

         ๑๐.อ่านหนังสือ  อาจเป็นหนังสือเล่มโปรด นวนิยายที่หลงใหล หรือหนังสือที่ช่วยสร้างกำลังใจ เรื่องเล่าเร้าพลัง หรือถ้าเป็นหนังสือธรรมะที่อ่านง่ายๆ ช่วยให้ข้อคิดดีๆ กับชีวิต จะช่วยให้ตั้งสติรับมือกับทุกสิ่งที่เข้ามาในชีวิตได้ดีขึ้น

         ๑๑.กอดคนที่รักเรา กอดเขานิ่งๆ นานๆ โดยยังไม่ต้องพูดคุยกัน เพื่อเปิดรับพลังความรักความเมตตาผ่านสัมผัสมาเยียวยาจิตใจให้เต็มที่ บางทีเพียงแค่นี้ก็ช่วยให้พลังชีวิตกลับเต็มขึ้นมาอีกครั้งได้อย่างง่ายดาย

         ๑๒.นวด นวด นวด จะใช้บริการนวดแผนไทย นวดอโรมา นวดสปา ฯลฯ ตามร้านที่เปิดกันเกลื่อนเมือง หรือจะอ้อนคนที่รักนวดให้ก็ยิ่งวิเศษขึ้นอีกหลายเท่า

         ๑๓.สวดมนต์ นั่งสมาธิ ลองเลือกบทสวดมนต์ที่ชอบ สวดแล้วสบายใจมาสวดสักบท ปิดท้ายด้วยการนั่งสมาธิสั้นยาวแล้วแต่ความถนัด จะช่วยลดความฟุ้งซ่าน นำความสงบมาสู่จิตใจ คลายเครียดได้

         ๑๔.ระลึกถึงสิ่งดีๆ ที่ได้พบเจอในแต่ละวัน อาจเป็นเรื่องเล็กๆ น้อยๆ เช่น วันนี้อากาศดีจัง มีคนยิ้มให้ ได้เอื้อเฟื้อให้คนข้ามถนนขณะขับรถ ฯลฯ การระลึกถึงสิ่งดีๆ จะช่วยเปิดพื้นที่ให้ความสุขมาเยือนจิตใจได้ง่ายขึ้น

         ๑๕.นึกถึงคุณค่าของสิ่งที่ทำ เช่น รอยยิ้มของคนไข้และญาติ ความสัมพันธ์ดีๆ ที่มีต่อกัน การได้ช่วยเหลือคนไข้เหมือนได้ทำบุญทุกวัน ฯลฯ การได้มีเวลาตั้งสติ คิดทบทวนตัวเอง ทบทวนสิ่งที่ทำอยู่ จะช่วยให้ตั้งหลักได้และไม่หวั่นไหวหากหลายสิ่งหลายอย่างรอบตัวไม่เป็นไปดังที่ใจคาดหวัง แถมยังมีพลังทำสิ่งที่มีคุณค่าต่อไปได้อย่างไม่มีวันหมดไฟด้วยค่ะ.

- See more at: http://www.budnet.org/sunset/node/198