ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: มกราคม 14, 2014, 07:26:28 pm »“อ้างอิง....................................
ธรรมที่ได้ฟังมาแล้ว เป็น “สุตมยญาณ” อย่างไร
“ปัญญาอันเป็นเครื่องทรงจำธรรมที่ได้ฟังมาแล้ว” คือ.......
เครื่องรู้ชัดธรรมที่ได้สดับมาแล้วนั้นว่า....
..... ธรรมเหล่านี้ควรรู้ยิ่ง
*****************************************
ธรรมอย่างหนึ่งควรรู้ยิ่ง คือ สัตว์ทั้งปวงดำรงอยู่ได้ด้วยอาหาร
ธรรม ๒ ควรรู้ยิ่ง คือ ธาตุ ๒
ธรรม ๓ ควรรู้ยิ่ง คือ ธาตุ ๓
ธรรม ๔ ควรรู้ยิ่ง คือ อริยสัจ ๔
ธรรม ๕ ควรรู้ยิ่ง คือ วิมุตตายตนะ ๕
ธรรม ๖ ควรรู้ยิ่ง คือ อนุตตริยะ ๖
ธรรม ๗ ควรรู้ยิ่ง คือ นิททสวัตถุ ๗ [เหตุที่พระขีณาสพนิพพานแล้วไม่ปฏิสนธิ
อีกต่อไป]
ธรรม ๘ ควรรู้ยิ่ง คือ อภิภายตนะ ๘ [อารมณ์แห่งญาณอันฌายี
บุคคลครอบงำไว้]
ธรรม ๙ ควรรู้ยิ่ง คือ อนุปุพพวิหาร ๙
ธรรม ๑๐ ควรรู้ยิ่ง คือ นิชชรวัตถุ ๑๐ [เหตุกำจัดมิจฉาทิฐิ]
*************************
“ธรรม ๘ ” ควรรู้ยิ่ง คือ “อภิภายตนะ ๘”
“อภิภายตนะ ๘” [อารมณ์แห่งญาณอันฌายีบุคคลครอบงำไว้]
“อภิภายตนะ ๘”
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย “อภิภายตนะ ๘” ประการนี้
“อภิภายตนะ ๘” ประการนี้ เป็นไฉน......
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ .........
ผู้หนึ่ง มีความสำคัญ “ในรูปภายใน เห็นรูปภายนอกเล็กน้อยมีวรรณะดีและทราม” ครอบงำรูปเหล่านั้นแล้ว มีความสำคัญอย่างนี้ว่าเรารู้ เราเห็น
นี้เป็น “อภิภายตนะ ที่ ๑”
ผู้หนึ่ง มีความสำคัญ “ในรูปภายใน เห็นรูปภายนอกไม่มีประมาณมีวรรณะดีและทราม” ครอบงำรูปเหล่านั้นแล้ว มีความสำคัญอย่างนี้ว่าเรารู้ เราเห็น
นี้เป็น “อภิภายตนะ ที่ ๒”
ผู้หนึ่ง มีความสำคัญ “ในอรูปภายใน เห็นรูปภายนอกเล็กน้อยมีวรรณะดีและทราม” ครอบงำรูปเหล่านั้นแล้ว มีความสำคัญอย่างนี้ว่าเรารู้ เราเห็น
นี้เป็น “อภิภายตนะ ที่ ๓”
ผู้หนึ่ง มีความสำคัญ “ในอรูปภายใน เห็นรูปภายนอกไม่มีประมาณมีวรรณะดีและทราม” ครอบงำรูปเหล่านั้นแล้ว มีความสำคัญอย่างนี้ว่าเรารู้ เราเห็น
นี้เป็น “อภิภายตนะ ที่ ๔”
ผู้หนึ่ง......... มีความสำคัญ “ในอรูปภายใน
เห็นรูปภายนอกอันเขียว มีวรรณะเขียว เขียวล้วน มีรังสีเขียว
หรือว่าผ้าที่กำเนิดในเมืองพาราณาสีมีส่วนทั้งสอง เกลี้ยงเขียว มีวรรณะเขียว เขียวล้วน มีรังสีเขียว แม้ฉันใด”
ผู้หนึ่ง..........มีความสำคัญ “ในอรูปภายใน
เห็นรูปภายนอกอันเขียว มีวรรณะเขียว เขียวล้วน มีรังสีเขียว” ฉันนั้นเหมือนกัน
ครอบงำรูปเหล่านั้นแล้ว มีความสำคัญอย่างนี้ว่าเรารู้ เราเห็น
นี้เป็น “อภิภายตนะ ที่ ๕”
ผู้หนึ่ง......... มีความสำคัญ “ในอรูปภายใน
เห็นรูปภายนอกอันเหลือง มีวรรณะเหลือง เหลืองล้วน มีรังสีเหลือง
ดอกกรรณิกาอันเหลือง มีวรรณะเหลือง เหลืองล้วน มีรังสีเหลือง
หรือว่าผ้าที่กำเนิดในเมืองพาราณสีมีส่วนทั้งสอง เกลี้ยงเหลือง มีวรรณะเหลือง เหลืองล้วน มีรังสีเหลือง แม้ฉันใด”
ผู้หนึ่ง..........มีความสำคัญ “ในอรูปภายใน
เห็นรูปภายนอกอันเหลือง มีวรรณะเหลือง เหลืองล้วน มีรังสีเหลือง” ฉันนั้นเหมือนกัน
ครอบงำรูปเหล่านั้นแล้ว มีความสำคัญอย่างนี้ว่าเรารู้ เราเห็น
นี้เป็น “อภิภายตนะ ที่ ๖”
ผู้หนึ่ง......... มีความสำคัญ “ในอรูปภายใน
เห็นรูปภายนอกอันแดง มีวรรณะแดง แดงล้วน มีรังสีแดง
ดอกหงอนไก่อันแดง มีวรรณะแดง แดงล้วน มีรังสีแดง
หรือว่าผ้าที่กำเนิดในเมืองพาราณสีมีส่วนทั้งสองเกลี้ยงแดง มีวรรณะแดง แดงล้วน มีรังสีแดง แม้ฉันใด”
ผู้หนึ่ง..........มีความสำคัญ “ในอรูปภายใน
เห็นรูปภายนอกอันแดง มีวรรณะแดง แดงล้วน มีรังสีแดง” ฉันนั้นเหมือนกัน
ครอบงำรูปเหล่านั้นแล้ว มีความสำคัญอย่างนี้ว่าเรารู้ เราเห็น
นี้เป็น “อภิภายตนะ ที่ ๗”
ผู้หนึ่ง......... มีความสำคัญ “ในอรูปภายใน
เห็นรูปภายนอกอันขาว มีวรรณะขาว ขาวล้วน มีรังสีขาว
ดาวประกายพรึกอันขาว มีวรรณะขาว ขาวล้วน มีรังสีขาว
หรือว่าผ้าที่กำเนิดในเมืองพาราณสีมีส่วนทั้งสองเกลี้ยงขาว มีวรรณะขาว ขาวล้วน มีรังสีขาว แม้ฉันใด”
ผู้หนึ่ง..........มีความสำคัญ “ในอรูปภายใน
เห็นรูปภายนอกอันขาว มีวรรณะขาว ขาวล้วน มีรังสีขาว” ฉันนั้นเหมือนกัน
ครอบงำรูปเหล่านั้นแล้ว มีความสำคัญอย่างนี้ว่าเรารู้ เราเห็น
นี้เป็น “อภิภายตนะ ที่ ๘”
เสริมความ...................
“อฏฺฐ อภิภายตนานิ - อภิภายตนะ ๘” มีความหมายว่า อายตนะทั้งหลายครอบงำฌานเหล่านั้น
ฉะนั้น “ฌาน” เหล่านั้น จึงชื่อว่า “อภิภายตนะ”
คำว่า “อายตนานิ” หมายความว่า ฌานมี “กสิณ” เป็นอารมณ์
คำว่า “อายตนะ” เพราะอรรถว่า “เป็นที่ตั้งอันยิ่ง”
คำว่า “อายตนานิ” หมายความว่า ฌานมี “กสิณ” เป็นอารมณ์
ดูกรภิกษุทั้งหลาย......... บ่อเกิดแห่งกสิณ ๑๐ ประการนี้
กสิณ ๑๐ ประการนี้ เป็นไฉน คือ ...........
บุคคลผู้หนึ่งย่อมรู้ชัดซึ่ง “ปฐวีกสิณ” ในเบื้องบน เบื้องต่ำ เบื้องขวาง ไม่มีสอง หาปริมาณมิได้
บุคคลผู้หนึ่งย่อมรู้ชัดซึ่ง “อาโปกสิณ” ในเบื้องบน เบื้องต่ำ เบื้องขวาง ไม่มีสอง หาปริมาณมิได้
บุคคลผู้หนึ่งย่อมรู้ชัดซึ่ง “เตโชกสิณ” ในเบื้องบน เบื้องต่ำ เบื้องขวาง ไม่มีสอง หาปริมาณมิได้
บุคคลผู้หนึ่งย่อมรู้ชัดซึ่ง “วาโยกสิณ” ในเบื้องบน เบื้องต่ำ เบื้องขวาง ไม่มีสอง หาปริมาณมิได้
บุคคลผู้หนึ่งย่อมรู้ชัดซึ่ง “นีลกสิณ” ในเบื้องบน เบื้องต่ำ เบื้องขวาง ไม่มีสอง หาปริมาณมิได้
บุคคลผู้หนึ่งย่อมรู้ชัดซึ่ง “ปีตกสิณ” ในเบื้องบน เบื้องต่ำ เบื้องขวาง ไม่มีสอง หาปริมาณมิได้
บุคคลผู้หนึ่งย่อมชัดซึ่ง “โลหิตกสิณ” ในเบื้องบน เบื้องต่ำ เบื้องขวาง ไม่มีสอง หาปริมาณมิได้
บุคคลผู้หนึ่งย่อมรู้ชัดซึ่ง “โอทาตกสิณ” ในเบื้องบน เบื้องต่ำ เบื้องขวาง ไม่มีสอง หาปริมาณมิได้
บุคคลผู้หนึ่งย่อมรู้ชัดซึ่ง “อากาสกสิณ” ในเบื้องบน เบื้องต่ำ เบื้องขวาง ไม่มีสอง หาปริมาณมิได้
บุคคลผู้หนึ่งย่อมรู้ชัดซึ่ง “วิญญาณกสิณ” ในเบื้องบน เบื้องต่ำ เบื้องขวาง ไม่มีสอง หาปริมาณมิได้
กสิณ หมายถึง วัตถุอันจูงใจ หรือวัตถุสำหรับเพ่งเพื่อจูงจิตให้เป็นสมาธิ แบ่งเป็น ๓ กลุ่ม คือ.........
๑. ภูตกสิณ ๔ (กสิณคือมหาภูตรูป) ได้แก่.......
.....๑.๑ ปฐวีกสิณ (กสิณคือดิน) กสิณที่ใช้ดินเป็นอารมณ์
.....๑.๒ อาโปกสิณ (กสิณคือน้ำ) กสิณที่ใช้น้ำเป็นอารมณ์
.....๑.๓ เตโชกสิณ (กสิณคือไฟ) กสิณที่ใช้ไฟเป็นอารมณ์
.....๑.๔ วาโยกสิณ (กสิณคือลม) กสิณที่ใช้ลมเป็นอารมณ์
๒. วรรณกสิณ ๔ (กสิณคือสี) ได้แก่........
.....๒.๕ นีลกสิณ (กสิณคือสีเขียว) กสิณที่ใช้สีเขียวเป็นอารมณ์
.....๒.๖ ปีตกสิณ (กสิณคือสีเหลือง) กสิณที่ใช้สีเหลืองเป็นอารมณ์
.....๒.๗ โลหิตกสิณ (กสิณคือสีแดง) กสิณที่ใช้สีแดงเป็นอารมณ์
.....๒.๘ โอทาตกสิณ (กสิณคือสีขาว) กสิณที่ใช้สีขาวเป็นอารมณ์
๓. กสิณอื่นๆ..............
.....๓.๙ อากาสกสิณ (กสิณคือที่ว่างเปล่า ช่องว่าง) กสิณที่ใช้ความว่างเป็นอารมณ์
.....๓.๑๐ วิญญาณกสิณ (กสิณคือวิญญาณ) กสิณที่ใช้ความรู้สึกเป็นอารมณ์
**********
ในพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๔ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๖ อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต "กสิณสูตร" ได้แสดงไว้ ดังข้อความที่ ๘
.
แต่ในพจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรมพระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)
พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต) ได้อธิบาย ในหมวดกสินอื่นๆ ดังนี้ค่ะ
ค. กสิณอื่นๆ
9. อาโลกกสิณ (กสิณคือแสงสว่าง — the Light Kasina)
10. อากาสกสิณ (กสิณคือที่ว่างเปล่า, ช่องว่าง — the Space Kasina)
กสิณที่มาในบาลี เช่น องฺ.ทสก. 24/25/48 (A.V. 46) ไม่มีอาโลกกสิณแต่มีวิญญาณกสิณ (กสิณคือวิญญาณ -- the Consciousness Kasina) เป็นข้อที่ 10 และอากาสกสิณ เป็นข้อที่ 9
คำว่า “อายตนะ” เพราะอรรถว่า “เป็นที่ตั้งอันยิ่ง”
อธิบายว่า ...............
ก็บุคคลมีญาณอันยิ่ง ผู้มีญาณแกล้วกล้าคิดว่า อันเราพึงเข้าใจในอารมณ์นี้เพราะเหตไร ภาระในการทำจิตให้เป็น “เอกัคคตา” ไม่มีแก่เรา ดังนี้ แล้วครอบงำอารมณ์เหล่านั้นเสีย “เข้าสมาบัติ”
ยัง “อัปปนา” ให้เกิดขึ้นในอารมณ์นี้ พร้อมกับการเกิดขึ้นแห่งนิมิต
ฌานที่ให้เกิดขึ้นโดยประการอย่างนี้ ท่านเรียกว่า “อภิภายตนะ”
****************************
"เอกัคคตา" หมายถึง ความมีอารมณ์เป็นอันเดียว คือ ความมีจิตแน่วแน่อยู่ในอารมณ์อันเดียว ได้แก่สมาธิ
"อัปปนาสมาธิ" หมายถึง สมาธิแน่วแน่ จิตตั้งมั่นสนิท เป็นสมาธิในฌาน
สมาธิถึงขั้นอัปปนา คือ ภาวะจิตที่มั่นคงเรียบรื่นสงบสนิทดีที่สุด
"สมาบัติ" หมายถึง ภาวะสงบประณีตซึ่งพึงเข้าถึง
สมาบัติมีหลายอย่าง เช่น ฌานสมาบัติ ผลสมาบัติ อนุปุพพวิหารสมาบัติ เป็นต้น
สมาบัติที่กล่าวถึงบ่อยคือ ฌานสมาบัติ กล่าวคือ สมาบัติ ๘ อันได้แก่ รูปฌาน ๔ และอรูปฌาน ๔ ถ้าเพิ่มนิโรธสมาบัติ ต่อท้ายสมาบัติ ๘ นี้ รวมเรียกว่า อนุปุพพวิหารสมาบัติ ๙
ต่อที่ “ธรรม ๙ ” ควรรู้ยิ่ง คือ “อนุปุพพวิหาร ๙”
“อนุปุพพวิหาร ๙” [ธรรมเป็นเครื่องอยู่อันพระโยคีบุคคลพึงเข้าอยู่ตามลำดับ]
dhammathai.org/kaveedhamma