ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
คิดว่าความดีทำยากไหม( เลือกตอบแค่ ยาก กับ ไม่ยาก ครับผม):
ชีวิตบางครั้งก็เหมือนเหรียญสองด้านใช่หรือไม่ครับบางครั้งก็หัวบางครั้งก็ก้อย( เลือกตอบแค่ ใช่ กับไม่ใช่ครับผม):
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆแนวธรรมะในจิตใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า แสงธรรมนำใจ:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ใต้ร่มธรรม:
การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ นิยมใช้คำว่า (อนุโมทนา) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ อนุโมทนา:
เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใครทำบุญแล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วยกมือขึ้น (สาธุ) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ  สาธุ:
โดยปกติชน นิ้วมือของคนเรา มีกี่นิ้ว (ตอบเป็นภาษาไทยครับ):
ใต้ร่มธรรม เป็น แค่เว็บไซต์และจินตนาการทางจิต การทำดี สำคัญที่ใจเรา เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ พิมพ์คำว่า "เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ":
เมื่อให้ท่านเลือก ระหว่าง (หนังสือเก่าๆเล่มหนึ่งที่เรารัก) กับ (มิตรแท้ที่รักเรา) คุณจะะเลือก:
บุคคลที่ไปหลายๆเว็บไซต์ โดยที่สวมบทบาทเป็นหลายๆคน โดยที่ไม่รู้ว่า แท้จริงใจเราต้องการอะไร เพื่อน หรือ ชัยชนะ:
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ใต้ร่มธรรมเองก็จะเป็นไปตามวัฐจักรนี้ ฉันท์ใดก็ฉันท์นั้น (เป็นจริง) หรือ (ไม่จริง):
ธรรมะคือ ธรรมชาติ พิมพ์คำว่า (ธรรมะชาติ) ครับ:
พิมพ์คำว่า (แสงธรรมนำทางธรรมะนำใจ) ครับ:
สำนวนไทยที่ว่า แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน  พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ลางเนื้อชอบลางยา):
ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ผู้ที่ทำตนให้เล็กที่สุด ผู้ที่เล็กที่สุดก็จะกลายเป็นผู้ที่ใหญ่ที่สุด ผู้ที่มีเกียรติคือผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น ฉะนั้นสมาชิกใต้ร่มธรรมควรให้เกียรติกันและกัน พิมพ์คำว่า (ฉันจะให้เกียรติสมาชิกทุกๆท่านในใต้ร่มธรรมเสมอด้วยวาจาสุภาพอ่อนน้อม):
ไม่มีอะไรสายสำหรับการเริ่มต้น พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (It is never too late to mend):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: มกราคม 15, 2014, 03:42:53 pm »




ฌาน ญาณ ไม่ใช่ของวิเศษ

เราเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ประวัติศาสตร์เคมีฟิสิคส์ เมื่อเรียนเราก็รู้ เมื่อรู้เราก็เรียนต่อไปเรื่อยๆ เราไม่เคยคิดว่าสิ่งที่เรารู้เป็นของวิเศษของพิสดารของไม่ธรรมดา การปฏิบัติธรรมก็เช่นกัน ฌานญาณชั้นต่างๆก็เป็นแค่องค์ความรู้ เป็นความธรรมดาเหมือนองค์ความรู้อื่นๆ ไม่มีสิ่งใดพิเศษพิสดารเหนือความรู้ในวิชาแขนงต่างๆที่มีอยู่ในธรรมชาติ เราเรียนฟิสิคส์เราก็รู้เรื่องฟิสิคส์ เราเรียนเรื่องฌานเราก็รู้เรื่องฌาน เรียนเรื่องญาณเราก็รู้เรื่องญาณ แต่นักปฏิบัติส่วนมากให้ความสำคัญในวาทะคำว่าฌานว่าญาณผิดๆ ไปหลงผิดคิดว่าวิชาในศาสนาของเรามันวิเศษพิสดารไม่ธรรมดา เรียกว่ามีอัตตวาทุปาทาน ยึดมั่นถือมั่นว่ามีว่าได้ว่าเป็นเมื่อได้ฌานได้ญาณ ทั้งๆที่การได้ฌานได้ญาณก็มิได้แตกต่างจากการรู้เรื่องกอไก่ขอไข่

สาเหตุที่เราคิดว่าฌานว่าญาณเป็นของวิเศษก็เพราะเรายึดมั่นถือมั่นในวาทะในศัพท์ เมื่อใช้ศัพท์บาลีเราจะบวกค่าของคำเพิ่มขึ้นมาด้วยอัตตวาทุปาทานโดยไม่รู้ตัว อย่างคำว่าญาณแปลว่าความรู้ หากเราพูดว่าเราได้ความรู้ เราจะไม่รู้สึกว่าเราได้ของวิเศษ แต่พอพูดเป็นภาษาบาลีว่าเราได้ญาณ มันดูกลายเป็นเราได้สิ่งวิเศษขึ้นมาทันทีทั้งๆที่เราได้สิ่งเดียวกัน การรู้สึกเช่นนี้แหละเรียกว่าเรามีความยึดมั่นว่ามีความวิเศษสิงอยู่ในวาทะหรือคำพูดที่เกินจริง อัตตวาทุปาทานจึงเป็นสิ่งที่เราควรระวังอย่าให้เกิดมีขึ้น เราใช้คำบาลีได้เพื่อสื่อความหมายให้เข้าใจตรงกัน แต่อย่ามีอัตตวาทุปาทานเมื่อเวลาใข้คำบาลี

เราต้องทำความรู้สึกเมื่อได้ฌานได้ญาณเหมือนเรารู้เรื่องกอไก่ขอไข่ เรารู้เรื่องกอไข่ขอไข่แล้วเรารู้สึกธรรมดาเช่นไร เมื่อเราได้ฌานได้ญาณเราต้องรู้สึกให้ได้เช่นนั้น การทำเช่นนี้จะทำให้เราไม่มีอัตตวาทุปาทานในฌานในญาณ จึงจะทำให้เราได้ฌานได้ญาณชั้นสูงๆขึ้นไป หากเราไปคิดว่าฌานและญาณมันไม่ธรรมดานั่นคือเรากำลังติดหล่มในวาทะว่าได้ว่ามีว่าดีว่าเป็นขึ้นมาแล้ว อัตตวาทุปาทานเกิดขึ้นแล้ว การเมาตนเองเมาความรู้อวิชชาความหลงผิดในฌานในญาณเกิดขึ้นแล้ว อวิชชาสวะ ภวาสวะ กามาสวะ ทิฐาสวะย่อมเกิดตามมา การปฏิบัติย่อมหยุดอยู่กับที่

พระพุทธเจ้ายังตรัสไว้เลยว่า เมื่อได้ฌานได้ญาณใดๆจงทิ้งความสำคัญในฌานในญาณเหล่านั้นเสีย ทิ้งความสำคัญเลิกให้ความสำคัญในฌานในญาณหมดสิ้นเมื่อไรจึงจะพบสัมมาวิมุตติ วิชาความรู้ในพุทธศาสนาไม่ได้แตกต่างจากวิชาความรู้แขนงอื่นๆ ต่างกันที่เนื้อหา แต่ความสำคัญเท่าเทียมกัน เรารู้วิชาอื่นๆเมื่อรู้เรารู้สึกแค่รู้ มิได้เห็นว่าเรามีสิ่งวิเศษใดๆเกิดขึ้นฉันใด เมื่อเรารู้วิชาความรู้ในพุทธศาสนาก็มิได้มีสิ่งวิเศษใดๆเกิดขึ้นฉันนั้น แต่นักปฏิบัติบางคนทำใจเช่นนั้นไม่ได้ ไปคิดว่าวิชาความรู้ในพุทธศาสนามีความวิเศษเหนือธรรมดา เลยเกิดภาวะความมีความเป็น คือมีความรู้ชั้นวิเศษ แล้วคิดว่าตนเองได้ชั้นนั้นชั้นนี้ แล้วกลายเป็นความภูมิใจลึกๆว่าเราไม่ธรรมดา อย่างนี้เป็นต้น

วิชาความรู้ทางพุทธศาสนาก็เหมือนวิชาความรู้แขนงอื่นๆมิได้แตกต่างกัน จงอย่าให้เกิดอัตตวาทุปาทานในฌานในญาณขึ้นมา ทำไว้ในใจเสมอๆไม่ว่าจะรู้อะไรได้ฌานอะไรได้ญาณชั้นไหน ทำเหมือนเรารู้เรื่องกอไก่ขอไข่ การกระทำเช่นนี้จะทำให้เกิดอาสวักขยญาณสะสมอย่างต่อเนื่อง ซึ่งวันหนึ่งข้างหน้าเมื่ออาสวักขยญาณมีกำลังแก่กล้าย่อมทำลายอาสวะทั้งหลายได้จนหมดสิ้น นั่นคือทางแห่งนิพพานอันเป็นธรรมหมดจดย่อมปรากฏแก่เราทุกๆคน

เจริญธรรม
สมสุโขภิกขุ


>>>F/B >> สมสุโขภิกขุ ธรรมะติดดิน
ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: มิถุนายน 15, 2013, 12:56:56 pm »



ภาพโดย สราวุฒิ อินทรบ

ถ้าหากเราเชื่อพระพุทธเจ้า
ก็ต้องเชื่อว่า
ในกายนี้และในใจนี้............ไม่ได้มีเรา




ข้อเสียของนักปฏิบัติคือ
พูด.. ถึงความว่างเปล่า
คิด.. ถึงความว่างเปล่า
เขียน.. ถึงความว่าง
แต่มิได้  ฝึก"มี"  ความว่างเปล่า

ฝึกแต่ความมีตัวมีตน
อยู่กันทุกลมหายใจเข้าออก
ฝึกมีตัวตน
เพื่อที่จะ  เข้าถึง  ความว่างเปล่า
เป็นการปฏิบัติที่หลงทาง




ต้องฝึก  "มี"  ความว่างเปล่า
ทุกลมหายใจเข้าออก
เพื่อทำลาย.. ความมี  ตัวตน
นั่นคือ  การปฏิบัติ  ที่ถูกทาง

สมสุโขภิกขุ ธรรมะติดดิน


>>> F/B ธรรมะคือยาขนานเอก
ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: มกราคม 31, 2013, 08:44:38 am »

ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: มกราคม 31, 2013, 08:13:07 am »


               

ธรรมชาติที่รับรู้อารมณ์ :สมสุโขภิกขุ
คำตอบเรื่องตัวรู้

ความจริง วิญญาณ(ธาตุรู้)คือธรรมชาติที่รับรู้อารมณ์ นี่คือความจริงที่เป็นเหมือนกฏทางวิทยาศาสตร์ เป็นอื่นไม่ได้ ดังนั้น หากมีการรู้เกิดขึ้น ต้องมีความมีความเป็นเกิดขึ้น คือมีตัวรู้และตัวถูกรู้ มีตัวตนสองตัว แล้วจึงจะ รู้สึก จำ ปรุง กลายเป็น กลุ่มสิ่งปรุงแต่ง นี่คือความจริงขั้นพื้นฐาน

ถ้าถามว่าในจุดสุดท้ายจะมีตัวรู้หรือผู้รู้ ที่มารู้จุดสุดท้ายหรือไม่ ไม่อยากค้านแย้งกับใคร จึงขอตอบเพื่อให้ใช้ปัญญาคิดเอง ว่า ถ้ามีตัวรู้เป็นผู้ดูหรือผู้เห็นความหลุดพ้น ก็ย่อมยังมีความมีความเป็นอยู่ มีตัวผู้รู้ผู้ดูผู้เห็นหรืออาการใดๆอยู่แม้เพียงตัวใดตัวเดียว มันก็ต้องมี สิ่งที่รู้และสิ่งที่ถูกรู้อยู่ดี มันจึงมีเศษเหลือ มันย่อมหลุดพ้นไม่ได้

ต้องระลึกถึงคำตรัสของพระพุทธเจ้าที่ตรัสกับพาหิยะว่า "รับทราบสักว่ารับทราบ หลุดพ้นสักว่าหลุดพ้น" จงสังเกตให้ดีๆ แม้หลุดพ้นแล้วยังต้องสักว่าหลุดพ้น หากจะสักว่าหลุดพ้นได้ ก็ต้องเลิกคิดเรื่องหลุดพ้น เลิกคิดว่าใครหลุดพ้น ไม่มีความรู้สึกว่าหลุดพ้นไปเลย มันจะกลายเป็นไร้สภาวะไปเลย ไม่ใช่สภาวะไร้สภาพด้วย มันต้องไม่มีสภาวะใดๆไปเลย ตอนไร้สภาวะจึงมีสิ่งไรๆไม่ได้ ไม่มีทั้งฌานทั้งญาณ มันจึงไร้สภาวะ ความไร้สภาวะมันมีอยู่ แต่ไม่มีความคิดว่ามีมันจึงไร้สภาวะ

ตรงนี้ปุถุชนเข้าใจยาก เข้าใจยากตรงที่ธรรมดาเมื่อเราเห็นสภาพใดๆเราก็รู้ว่ามีสภาพนั้นๆ แม้เราคิดว่ามันไม่มี มันก็มีสภาพ คือสภาพไม่มี เราไม่เคยรู้ว่ายังมีความไร้สภาพอยู่ในธรรมชาตินี้ และเราเรียกว่ามันมีสภาพหรือเป็นสภาพไม่ได้ เราจะคิดว่ามีก็ไม่ได้ และเราต้องไม่คิดว่ามันไร้สภาพใดๆ เราจึงจะไร้สภาพได้ คิดว่ามีหรือไม่มีมันจะกลายเป็นมีสภาพ มีความมีความเป็นหรือมีภพมีภาวะใดภาวะหนึ่งขึ้นทันที

ดังนั้นความไร้สภาพ มันต้องไร้สภาพไร้สภาวะไร้ภาวะ พระพุทธองค์จึงตรัสว่าแม้นิพพานเราก็ต้องไม่ย้อมติด คือไม่คิดว่านิพพานมีสภาพ จึงจะไม่ย้อมติดในนิพพานได้ ไปคิดว่านิพพานมีก็จะไม่สิ้นภพ(แม้มันมีก็อย่าไปคิดว่ามีว่าได้) ต้อง"หลุดพ้นสักว่าหลุดพ้น" จึงจะหลุดพ้นอย่างแท้จริง มีอีกตอนหนึ่งพระองค์ตรัสว่า ทางนั้นมีอยู่แต่ผู้เดินหามีไม่ คือไม่มีใครผู้เข้าถึงนิพพานจึงจะนิพพาน มันแตกต่างจากความคิดความเห็นของปุถุชนทั่วๆไป ที่ต้องมีตัวตนผู้ได้ ผู้เข้าถึง ผู้หลุดพ้น มันต่างกันด้วยเหตุนี้

ดังนั้นการมีตัวรู้ตัวเห็นตัวได้สมาธิ ตัวได้ฌาน ตัวได้ญาณนั้น มันยังเป็นความเห็นที่ไม่ถูกตรง ต้องถอนความเห็นหรือเลิกคิดว่าเราได้สมาธิได้ฌาน ได้ญาณ พระพุทธเจ้าตรัสไว้เลยว่าเมื่อได้ฌาน ได้ญาณ เมื่อถอยออกมาก็ต้องพิจารณาตามกฎไตรลักษณ์ทันที ว่ามันไม่เที่ยงเป็นทุกข์ไร้ตัวตนทีมีอยู่จริงๆ ฌานสักว่าฌาน ญาณสักว่าญาณ หลุดพ้นสักว่าหลุดพ้น พระองค์ตรัสไว้เช่นนี้เลย คือพระองค์ไม่ต้องการให้สาวกของพระองค์ ไปยึดติดสิ่งเหล่านี้ ต้องทิ้งให้ได้ พระองค์ทรงทิ้งมาแล้วจึงตรัสรู้ ใช้ได้แต่ต้องไม่ให้สาระสำคัญกับมันอย่างเด็ดขาด แต่ต้องใช้ฌานไม่ใช้ไม่ได้ แต่ไม่ยึดติดไม่ให้สาระสำคัญ การปฏิบัติจึงจะก้าวหน้า

เจริญธรรม
สมสุโขภิกขุ

17 คำตอบเรื่องตัวรู้